Nanthawan Laithong

ชวนเบิ่งงาน Pride ในอีสาน การส่งเสียงของ LGBTQ+ เพื่อกฎหมายสมรสเท่าเทียม

ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เป็นเดือนแห่งความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยได้เห็นปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ในการเฉลิมฉลองเดือน “ไพรด์” คือ การจัดงานไพรด์นอกเหนือไปจากเมืองหลวงกรุงเทพฯ และเมืองท่องเที่ยว แต่เกิดขึ้นในจังหวัดอุดรธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี ที่ภาคประชาชนและกลุ่ม LGBTQ+ ร่วมกันทำให้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสียงถึงความต้องการกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่เพิ่งผ่านสภาในวาระ 1 การเดินขบวนของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ในงานบางกอกนฤมิตรไพรด์ที่จัดขึ้นบนถนนสีลม จุดประกายให้ภาคประชาชนกลุ่ม LGBTQ+ จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาเช่นกัน จังหวัดเหล่านี้ไม่ได้เคยมีงานไพรด์มาก่อน ธงสีรุ้ง กับขบวนของคนรุ่นใหม่ที่เดินไปตามถนนในเมือง และพิธีจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม ในเดือน มิ.ย. มีงานไพรด์เกิดขึ้นอย่างน้อย 4 จังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ ยูดี ไพรด์ อุดรธานี, บุญบั้งไพรด์ ศรีสะเกษ, ซะเร็นไพรด์ สุรินทร์, อุบลฯ ไพรด์ อุบลราชธานี ในอดีต งานประจำปีของจังหวัดล้วนเป็นงานที่ชูเอกลักษณ์และของดีประจำจังหวัด ขึ้นมาเป็นจุดขาย แต่ผู้ริเริ่มงานไพรด์ในสุรินทร์ และอุบลราชธานี หวังว่า นี่จะเป็นหมุดหมายสำคัญที่กลุ่มหลากหลายทางเพศจะได้แสดงออกถึงความภูมิใจในอัตลักษณ์ของกลุ่ม LGBTQ+ ซะเร็นไพรด์ งานไพรด์ของชาวสุรินทร์ เบญจมินทร์ ปันสน คณะทำงาน “ซะเร็นไพรด์” ผู้จัดงานใน จ.สุรินทร์ บอกว่า กิจกรรมดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนหลากหลายทางเพศในจังหวัดต้องการอยากจะเห็นกิจกรรมเช่นนี้เหมือนกัน เพียงแต่ว่าไม่ได้มีองค์กร หรือหน่วยงานไหน ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ไหนในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นคนเริ่มต้น กลุ่ม LGBTQ+ ที่อยู่ในธุรกิจช่างแต่งหน้า เช่าชุด ทำคลินิกเสริมความงาม ต่างร่วมสนับสนุนงานที่จัดขึ้น เพราะต้องการเห็นจากงานไพรด์ในกรุงเทพฯ และหวังให้มีงานนี้ขึ้นมาในจังหวัดของตัวเอง นอกจากงานเดินขบวนและกิจกรรมที่เป็นสีสัน ซึ่งต้องการให้งานนี้สร้างความเข้าใจเรื่องร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ว่าให้สิทธิที่แตกต่างกันกับ พ.ร.บ.คู่ชีวิต อย่างไร ขณะที่พื้นที่สำคัญที่ใช้จัดงานคือ ศาลากลางจังหวัดหลังเก่าที่เคยล้อมรั้วเหล็กเอาไว้ ได้รับอนุญาตให้จัดงานของประชาชนได้ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นงานสำคัญ ที่ทุกคนเห็นว่าพื้นที่ศาลากลางกลางเมืองมีประโยชน์และเหมาะสมสำหรับเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับทุกคน อุบลฯ ไพรด์ เมืองเซฟโซนของ LGBTQ+ พิทักษ์ชัย ชาวอุบลราชธานี ซึ่งเป็น ผอ.กองประกวดมิสแกรนด์อุบลฯ ปีนี้ด้วย เห็นถึงศักยภาพของ จ.อุบลฯ ว่าเป็นอีกเมืองหนึ่งที่น่าจะจัดงานได้ยิ่งใหญ่ อีกทั้งหลายภาคส่วนก็ร่วมสนับสนุนเรื่องนี้ ทั้งหอการค้าจังหวัด เอกชนในพื้นที่ และเทศบาลนครอุบลราชธานี และยังมีกลุ่มเยาวชนและผู้ประกอบการ มาร่วมด้วย โดยหลังจากการจัดงานไพรด์ในวันที่ 29 มิ.ย. แล้ว งานแห่เทียนพรรษา ซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปีของอุบลฯ ก็จะมีการผนวกรวมขบวนพาเหรดสีรุ้งของกลุ่มหลากหลายทางเพศในอุบลฯ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง โดยอุบลราชธานีจะมีการจัดทำให้อุบลฯ เป็น “เซฟโซน” หรือพื้นที่ปลอดภัยอีกหนึ่งเมืองของประเทศไทยที่รองรับ LGBTQ+ ทั่วโลกมาเที่ยว ผ่านแคมเปญ ALL FOR YOU ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มโรงแรม ห้างร้าน ร้านอาหาร ร่วมแสดงออกเชิงสัญลักษ์ว่าเป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างต้อนรับ LGBTQ+ ที่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะได้รับการปฏฺิบัติที่ไม่แบ่งแยกและปลอดภัย ดังนั้น เป็นการผลักดันให้อุบลฯ เป็นอีกหนึ่งเมืองที่รองรับ LGBTQ+ ทั่วโลกมาเที่ยว …

ชวนเบิ่งงาน Pride ในอีสาน การส่งเสียงของ LGBTQ+ เพื่อกฎหมายสมรสเท่าเทียม อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง จังหวัดใด๋ มีจำนวนผู้ว่างงานหลายกว่าหมู่

ตัวเลขการว่างงาน ถือเป็นดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจได้อย่างหนึ่ง ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ชัดเจนการจ้างงานจะเพิ่มขึ้น เมื่อตัวเลขการว่างงานลดลง ทำให้สามารถคาดการณ์ถึงตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น การใช้จ่ายของแรงงานที่เพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น ประเทศไทยกำลังจะผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ที่สร้างผลกระทบกับเศรษฐกิจมายาวนานกว่า 2 ปี สถานการณ์การจ้างงานในไทยในขณะนี้หากดูในเบื้องต้นจะพบว่ามีแนวโน้มที่ “ดีขึ้น” กว่าช่วงที่เผชิญกับโควิด-19 อย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 การเปิดเมืองรับการท่องเที่ยว โดยสถานการณ์การว่างงานภาคอีสาน ในไตรมาส 1/2565 (มกราคา – มีนาคม) มีผู้ว่างงานจำนวนทั้งสิ้น 115,978 คน ลดลงจากปีก่อนหน้า 37,572 คน (ลดลง 24.5%) ซึ่งว่างงานเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ จังหวัดที่มีการว่างงานเยอะที่สุด อันดับที่ 1 บุรีรัมย์ 20,514 คน อันดับที่ 2 นครราชสีมา 13,463 คน อันดับที่ 3 ขอนแก่น 12,208 คน อันดับที่ 4 กาฬสินธุ์ 12,085 คน อันดับที่ 5 สุรินทร์ 10,630 คน จะเห็นได้ว่า จังหวัดบุรีรัมย์ มีการว่างงานสูงกว่าทุกจังหวัด ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่ธุรกิจพยายามประคับประคองธุรกิจให้สามารถดำเนินต่อไปได้ โดยใช้วิธีลดจำนวนแรงงานลงเช่นเดียวกับหลายๆจังหวัด และหากเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้า จนส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลง จะทำให้กลุ่มคนที่ว่างงานก็จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาตําแหน่งงานว่าง จําแนกตามประเภทอาชีพ พบว่า อาชีพพื้นฐาน มีตําแหน่งงานว่างมากที่สุด จํานวน 207 อัตรา (45.80%) รองลงมา คือ พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด จํานวน 76 อัตรา (16.81%) ผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ จํานวน 52 อัตรา (11.50%) คนส่วนใหญ่มีความรู้และความสามารถไม่ถึงเกณฑ์กับตำแหน่งงานที่ว่าง จึงทำให้จำนวนการว่างงานสูงกว่าทุกจังหวัดในภาคอีสาน ดังนั้น ควรมีการเพิ่มโอกาสให้คนในพื้นที่ได้มีการศึกษาหาความรู้และเพิ่มทักษะ เกี่ยวกับด้านนี้เพื่อให้มีงานทำและสามารถทำให้จำนวนการว่างงานลดลง อ้างอิงจาก: https://www.doe.go.th/…/faab7ed29afe1e9746cf039d43dbe0d… https://www.bangkokbiznews.com/business/1006626 http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/02.aspx https://buriram.mol.go.th/news/รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดบุรีรัมย์-ไตรมาส-1-ปี-2565-มกราคม-มีนาคม-2565 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การว่างงาน#บุรีรัมย์

โรงงานน้ำตาลแห่งใหญ่ในภาคอีสาน ที่อยู่ในตลาดหุ้น

ประเทศไทยผลิตน้ำตาลทรายได้มากเป็นอันดับ 5 ของโลก และส่งออกมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากบราซิล ปัจจุบันโรงงานน้ำตาลมีทั้งหมด 58 โรงงาน ซึ่งกระจายอยู่ตามแหล่งเพราะปลูกอ้อยที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะในภาคอีสาน มีจำนวนมากที่สุด เนื่องจากภาคอีสานมีพื้นที่ในการปลูกอ้อยมากที่สุด ทำให้ผู้ผลิตน้ำตาลทรายรายใหญ่ได้ย้ายฐานการผลิตจากภาคกลางมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนในการผลิต วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูเส้นทางของโรงงานน้ำตาลแห่งใหญ่ที่ก่อตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอยู่ในตลาดหุ้น ว่ามีความเป็นมาอย่างไร? บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) (“BRR”) เดิมชื่อ บริษัท โรงงานน้ำตาลสหไทยรุ่งเรือง (2506) จำกัด (ได้รับโอนกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงงานน้ำตาลสหไทยรุ่งเรือง) จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2506 ด้วยทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท เพื่อประกอบธุรกิจโรงงานน้ำตาลทรายแดง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเป็นหนึ่งในบรรดาผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมน้ำตาลของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีคุณวิเชียร ตั้งตรงเวชกิจ ผู้ริเริ่มปลูกอ้อยและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอ้อยในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวสีรำ และน้ำตาลทรายดิบทั้งในและต่างประเทศ นานกว่า 5 ทศวรรษ รวมถึงการนำผลพลอยได้ที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล เช่น กากอ้อย กากหม้อกรอง และกากน้ำตาล ต่อยอดธุรกิจอย่างครบวงจร ประกอบด้วยธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวล ธุรกิจผลิตและจำหน่ายปุ๋ย และธุรกิจบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาอ้อย และธุรกิจให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นธุรกิจสนับสนุน อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ของกลุ่มบริษัทน้ำตาลบุรีรัมย์ คือ มุ่งมั่นในการสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็มุ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ที่มีการทำเกษตรกรรมเป็นหลักให้มีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย มาประยุกต์ใช้ในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ให้เป็น ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงขึ้น ในขณะที่ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) คุณชวน ชินธรรมมิตร์ ชักชวน 2 ครอบครัวนักธุรกิจ คือ ครอบครัวโตการัณยเศรษฐ์ และครอบครัวโรจนสเถียร ร่วมกันก่อตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งแรกในปี 2488 คือ “โรงงานน้ำตาลกว้างสุ้นหลี” ตั้งอยู่ที่ถนนพระราม 1 กรุงเทพมหานคร และมีการก่อตั้งโรงงานน้ำตาลขึ้นเป็น 6 โรงงาน แต่เมื่อปี 2517 เมื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นมีการปรับโครงสร้างการบริหาร โดยมี คุณนันทา ชินธรรมมิตร์ เป็นประธาน มีการปรับโครงสร้างธุรกิจโดยคงไว้ซึ่งโรงงานน้ำตาลเดิม 3 แห่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้มีการขยายและจัดตั้งบริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด โดยลงทุนสร้างโรงงานน้ำตาลใหม่ขึ้นที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น คณะผู้บริหารกลุ่ม KSL เล็งเห็นศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจน้ำตาล ประกอบกับเพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าน้ำตาลในตลาดที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจึงแปรสภาพ “บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด” เป็น “บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)” ซึ่งถือเป็นบริษัทน้ำตาลแห่งแรกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ …

โรงงานน้ำตาลแห่งใหญ่ในภาคอีสาน ที่อยู่ในตลาดหุ้น อ่านเพิ่มเติม »

รายได้จากการท่องเที่ยวในภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋ ?

ปี 2565 (มกราคม-เมษายน) ภาคอีสานมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 10 ล้านคน และมีรายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 15,762 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.57% จากปี 2564 (มกราคม-เมษายน) ที่มีรายได้ 11,800 ล้านบาท โดยรายได้หลักยังคงมาจากคนในประเทศ    5 จังหวัดภาคอีสาน ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุด ปี 2565 เทียบกับ ปี 2564 อันดับ 1. นครราชสีมา 2,991 ล้านบาท | 3,150 ล้านบาท อันดับ 2. ขอนแก่น 2,574 ล้านบาท | 1,577 ล้านบาท อันดับ 3. อุดรธานี 1,694 ล้านบาท | 1,296 ล้านบาท อันดับ 4. บุรีรัมย์ 1,673 ล้านบาท | 914 ล้านบาท อันดับ 5. เลย 941 ล้านบาท | 531 ล้านบาท จะเห็นว่า ปี 2565 การท่องเที่ยวในภาคอีสานมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากรัฐบาลเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่แนวโน้มดีขึ้น   อีกทั้ง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แถลงข่าวเปิดตัวเส้นทางท่องเที่ยว ” Unseen New Series” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 25 Unseen New Series โดยคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ จำนวน 25 แหล่งจากทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น   สำหรับแหล่งท่องเที่ยว Unseen New Series ในภาคอีสาน ประกอบไปด้วย 5 แห่ง ได้แก่ โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา , พญานาค 3 พิภพ จ.มุกดาหาร , ภูพระ จ.เลย , หอโหวด จ.ร้อยเอ็ด และโลกของช้าง จ.สุรินทร์   อย่างไรก็ตาม ภาครัฐยังมีมาตรการที่ขับเคลื่อนนโยบายเปิดประเทศ เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย เช่น โครงการเราเที่ยวด้วยกัน รวมถึงการเน้นย้ำให้ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้รายได้ของภาคอีสานเพิ่มขึ้นจากปี 2564 …

รายได้จากการท่องเที่ยวในภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋ ? อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top