Nanthawan Laithong

ชวนเบิ่ง 10 จังหวัดที่โรงงานอุตสาหกรรมเลิกประกอบกิจการ ในรอบปี 2564

ในปี 2564 โรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการในภาคอีสานมีจำนวน 86 โรงงาน คิดเป็นสัดส่วน 12.3% ของโรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการทั้งหมดในประเทศไทย และมีมูลค่ารวมกันกว่า 11,158 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 27.5% ของมูลค่าโรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการทั้งหมดในประเทศไทย การแพร่ระบายของ COVID-19 รอบ 2 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างหนักหน่วง โรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากไม่สามารถเปิดดำเนินการต่อไปได้ หลายโรงต้องลดกำลังการผลิต บางแห่งต้องใช้วิธีควบรวมยุบย้ายโรงงาน โดยกลุ่มผู้ประกอบการหลักที่ปิดกิจการไปส่วนใหญ่ คือ ผู้ผลิตสินค้าและวัตถุดิบเพื่อส่งต่อให้กับธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร และโรงแรมในประเทศ ซึ่งตลาดนี้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ ทำให้ไม่มีการเดินทางท่องเที่ยว กระทบต่อโรงงานกลุ่มนี้มีสัดส่วน 50-70% ของทั้งอุตสาหกรรม ซึ่งในรายที่ปรับตัวไม่ได้ก็ต้องหยุดไป ส่วนที่ปรับตัวได้จะหันไปขายผ่านช่องทางออนไลน์และผลิตเพื่อขายเข้าซุปเปอร์มาร์เก็ต ขณะที่โรงงานที่ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกบางรายได้รับผลกระทบจากเดิมอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่เกิดขึ้นมานานแล้วและมาเผชิญกับ COVID-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอาหาร มีทั้งวิกฤตและโอกาส อย่างกลุ่มอาหารสุขภาพและอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตมากถึง 20% เพราะคนหันมาใส่ใจด้านสุขภาพ การทำงานที่บ้านมีการซื้อวัตถุดิบจากซุปเปอร์มาร์เก็ตไปปรุงเองและอยู่บ้านเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน ทำให้อาหารสัตว์เลี้ยงไปได้ดีและมีราคาสูงด้วย แนวโน้มและปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในระยะถัดไป แนวโน้มธุรกิจในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 คาดว่าขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน และไตรมาสก่อนในเกือบทุกภาคธุรกิจ ตามความเช่ือมั่นท่ีปรับดีข้ึนจากมาตรการเปิดเมือง และการ ประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่น โดยภาคการผลิต ขยายตัวตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ยังมีต่อเนื่อง การจับจ่ายใช้สอยและกิจกรรมทาง เศรษฐกิจที่ทยอยปรับดีขึ้น ท้ังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่ยังอยู่ในระดับสูง ราคาสินค้าที่ปรับตัว สูงขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อภาคธุรกิจท่ีต้องติดตามในระยะต่อไป อ้างอิงจาก: https://www.diw.go.th/webdiw/static-fac/ https://www.oie.go.th/…/Industry%20conditions/Q2-2565.pdf https://www.bot.or.th/…/EconomicCondi…/BLP/BLPTH22Q2.pdf https://www.prachachat.net/economy/news-606851 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โรงงานอุตสาหกรรมเลิกประกอบกิจการ #โรงงานอุตสาหกรรม #เลิกกิจการ #นครราชสีมา #ร้อยเอ็ด #อุบลราชธานี #มุกดาหาร #หนองคาย #เลย #สุรินทร์ #ศรีสะเกษ #กาฬสินธุ์ #ยโสธร

พาซอมเบิ่ง 7 จังหวัดในภาคอีสานที่มีมูลค่าการลงทุนสะสม เพื่อสร้างโรงงานหลายกว่าหมู่

ในปี 2564 มูลค่าการลงทุนสะสมในภาคอีสานมีจำนวน 637,134 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 2.1% และมีจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจำนวน 8,919 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 3.9% 7 จังหวัดที่มูลค่าการลงทุนสะสมมากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา มีมูลค่า 201,354 ล้านบาท อันดับที่ 2 ขอนแก่น มีมูลค่า 104,376 ล้านบาท อันดับที่ 3 อุบลราชธานี มีมูลค่า 56,062 ล้านบาท อันดับที่ 4 อุดรธานี มีมูลค่า 38,157 ล้านบาท อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ มีมูลค่า 32,330 ล้านบาท อันดับที่ 6 ชัยภูมิ มีมูลค่า 25,444 ล้านบาท อันดับที่ 7 สุรินทร์ มีมูลค่า 22,462 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า จังหวัดนครราชสีมามีมูลค่าการลงทุนสะสมเพื่อสร้างโรงงานมากที่สุดในภาคอีสาน เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีกำลังซื้อสูง และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งในหลายทำเลก็กำลังมีการเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยมีการขยายตัวของเมืองไปยังหัวเมืองต่างๆ อีกทั้งยังมีความพร้อมในการรองรับการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในจังหวัดเองและการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค จึงทำให้นักลงทุนภาคเอกชนเข้ามาลงทุน โดยปัจจุบันเป็นจังหวัดที่มีการลงทุนจากภาคเอกชนเป็นเงินจำนวนมาก แนวโน้มการลงทุนในภาคอีสาน ความกังวลต่อ COVID-19 ที่น้อยลงทำให้การลงทุนในภาคอีสานปรับตัวดีขึ้น แต่ยังคงเน้นที่อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมเป็นหลัก และจากปัจจัยกดดันทั้งด้านต้นทุนที่สูงขึ้น รวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ทำให้แนวโน้มการลงทุนภาคอีสานชะลอตัวลง การลงทุนในภาคอีสานมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีการขยายตัวอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2564 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสินค้าในประเทศคู่ค้าที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างยังคงทรงตัว และมีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อย การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในภาคอีสาน ยังเน้นลงทุนในอุตสาหกรรมเดิม ที่มีศักยภาพเป็นหลัก ซึ่งเน้นอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปอาหาร อ้างอิงจาก: https://www.diw.go.th/webdiw/static-fac/ https://baanbaan.co/story/โคราชดียังไง-ทำไมถึงน่าอยู่/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #มูลค่าการลงทุนสะสม #โรงงานอุตสาหกรรม #นครราชสีมา #ขอนแก่น #อุบลราชธานี #อุดรธานี #บุรีรัมย์ #ชัยภูมิ #สุรินทร์ #โรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ

พาส่องเบิ่ง 6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว

ในเดือน มกราคม – มิถุนายน 2565 ภาคอีสานมีมูลค่าการค้าชายแดนกับ สปป.ลาว 106,622 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 12.6% ของการค้าชายแดนทั้งหมดในประเทศ โดยมีการส่งออกมูลค่ากว่า 69,567 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในช่วงเดือนเดียวของปีก่อนหน้า 19.8% และมีมูลค่าการนำเข้ากว่า 37,055 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.3% 6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว หนองคาย => มูลค่าการส่งออก 36,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.5% มุกดาหาร => มูลค่าการส่งออก 17,233 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54% อุบลราชธานี => มูลค่าการส่งออก 8,492 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.2% เลย => มูลค่าการส่งออก 1,830 ล้านบาท ลดลง -25.3% นครพนม => มูลค่าการส่งออก 3,888 ล้านบาท ลดลง -16.4% บึงกาฬ => มูลค่าการส่งออก 1,675 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77.2% จะเห็นได้ว่า หนองคายมูลค่าการส่งออกมากกว่าทุกจังหวัด เนื่องจากเป็นด่านหลักในการส่งออกสินค้าจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไปยัง สปป. ลาว โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็น ถึงแม้ว่า สปป. ลาว จะได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้ออย่างหนัก แต่สินค้าที่ส่งออกจากด่านหนองคาย จะเป็นสินค้ากลุ่มสุดท้ายที่ลาวจะยังมีการนำเข้า อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยที่ตั้งของอีสานที่เป็นด่านสำคัญในการส่งออกสินค้าไป สปป.ลาว รวมถึงปัจจัยสนับสนุนจาก รถไฟจีน–ลาว จึงทําให้อีสานอยากวางตำแหน่งตัวเอง เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง แต่ปัจจุบันจากหลายๆปัจจัยเสี่ยง อาจทําให้แผนในการพัฒนาอีสานเป็น Gate ของภูมิภาคชะงัก อ้างอิงจาาก: http://btsstat.dft.go.th/มูลค่าการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน/การค้าชายแดนไทย-สปปลาว/มูลค่าการค้าชายแดนไทย-สปปลาว-รายจังหวัด #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การค้าชายแดน #การค้าชายแดนไทยลาว #ลาว

ชวนเบิ่ง การใช้ไฟฟ้าของคนในภาคอีสาน

เห็นได้ว่าในช่วงนี้ มีการขึ้นค่า Ft งวด ก.ย.-ธ.ค. 2565 ด้วยการขึ้นค่าไฟ 4.72 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือปรับขึ้น 17% จากค่า Ft อยู่ที่ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย วันนี้ ISAN insight & Outlook จะพามาดูการใช้ไฟฟ้าของคนในภาคอีสานว่ามากน้อยเพียงใด ในโลกยุคดิจิทัล ไฟฟ้าแทบจะถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตเลยทีเดียว เพราะชีวิตของเราต้องพึ่งพาพลังงานจากไฟฟ้าแทบจะตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่การให้แสงสว่าง การทำความเย็น การประกอบอาหาร การเดินทาง รวมไปถึงการติดต่อสื่อสารผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ดังนั้น ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าจึงเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถเจาะลึกไปถึงพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า และความเป็นอยู่ของทุกครัวเรือนไทย นอกจากจะมีความสำคัญโดยตรงต่อธุรกิจไฟฟ้าแล้ว ข้อมูลพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้ายังมีประโยชน์ในแง่ของการกำหนดนโยบายต่างๆ อีกด้วย อีสานบ้านเรามีการใช้ไฟฟ้ากันมากไหม? ภาพรวมของภาคอีสานในปี 2564 พลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายและใช้จำนวน 23,138 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง มีสัดส่วนอยู่ที่ 17% ของประเทศไทย ซึ่งเป็นรองภาคกลาง มีพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายและใช้อยู่ที่ 80,724 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วน 59.2% ของประเทศไทย รองลงมาเป็น ภาคเหนือ 12.1% และภาคใต้ 11.8% ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการใช้ไฟฟ้าเป็นประเภทในภาคอีสาน พบว่า การใช้ไฟฟ้าในบ้านอยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 42.4% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด รองลงมา คือ กิจการขนาดใหญ่คิดเป็นสัดส่วน 25.2% และใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร 0.7% แต่เมื่อพิจารณาการใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร พบว่า ภาคอีสานใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร 40.1% ของใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตรทั้งหมดใช้ประเทศ (อันดับที่ 2 ของประเทศ) เนื่องจากภาคอีสานเป็นแหล่งภาคการเกษตรที่สำคัญของประเทศ 5 อันดับจังหวัดที่มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา 6,235 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 2 ขอนแก่น 2,521 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 3 อุบลราชธานี 1,719 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 4 อุดรธานี 1,614 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ 1,302 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง จะเห็นได้ว่า นครราชสีมามีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และยังเป็นแหล่งศูนย์กลางความเจริญของภาคอีสาน อีกทั้งยังมีนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมายในช่วง 10 ปีหลัง และนครราชสีมายังเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังของประเทศ โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และวังน้ำเขียว มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 5 ล้านคนต่อปี จึงทำให้ธุรกิจบริการเกิดขึ้นใหม่มากมาย ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าจึงมากกว่าทุกจังหวัด เมื่อพิจารณาการใช้ไฟฟ้าทั้งภาคีอสาน จะเห็นได้ว่า จากสภาพอากาศที่ร้อนระอุตลอดทั้งปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งบางวันมีอุณหภูมิมากถึง …

ชวนเบิ่ง การใช้ไฟฟ้าของคนในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง สถานการณ์ด้านอุปสงค์ตลาดที่อยู่อาศัยของภาคอีสาน ไตรมาส 1 ปี 2565

การโอนกรรมสิทธ์ิที่อยู่อาศัย ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศจำนวน 80,019 หน่วย มีมูลค่า 215,417 ล้านบาท ซึ่งมีการขยายตัวลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า -2.7% และ -4.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งจำนวนหน่วยยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 (ปี 2558 – 2562) ซึ่งมีจำนวนเฉลี่ย 90,233 หน่วย แต่มูลค่ากลับสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ซึ่งมีจำนวน 199,395 ล้านบาท จากข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่าในไตรมาสนี้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่สูงขึ้นโดยมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราคาเฉลี่ย 2.69 ล้านบาทต่อหน่วยในไตรมาสนี้ สูงกว่าระดับราคาโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ที่มีระดับราคาเฉลี่ย 2.21 ล้านบาทต่อหน่วย หากแยกตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่า ที่อยู่อาศัยแนวราบมีการโอนจำนวน 60,133 หน่วย ลดลง จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -0.3% แต่มีมูลค่า 163,125 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 0.6% ส่วนอาคารชุดมีการโอนจำนวน19,886 หน่วย ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -9.2% และมีมูลค่า 52,291 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -17.9% หากพิจารณาการโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะภาคอีสาน พบว่า มีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 8,527 หน่วย ขยายตัวลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -1.8% และมีมูลค่า 14,217 ล้านบาท ลดลง -3.9% จังหวัดท่ีมีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในภาคอีสาน ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันมากถึง 43% ของจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในภาคอีสาน และมีสัดส่วนมูลค่ารวมกัน 51.5% นครราชสีมา มีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 1,944 หน่วย ลดลง -0.3% แต่มีมูลค่า 4,075 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.5% โดยมีที่อยู่อาศัยแนวราบโอนกรรมสิทธิ์มากในอำเภอเมืองนครราชสีมา สูงเนิน และปากช่อง ส่วนอาคารชุดโอกรรมสิทธิ์นมากในอำเภอเมืองนครราชสีมา ปากช่อง และสูงเนิน ขอนแก่น มีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 1,736 หน่วย เพิ่มขึ้น 10.4% มูลค่า 3,201 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.6% โดยมีที่อยู่อาศัยแนวราบโอนกรรมสิทธิ์มากในอำเภอเมืองขอนแก่น ชุมแพ และน้ำพอง ส่วนอาคารชุดมีการโอนกรรมสิทธิ์ในอำเภอเมืองขอนแก่นเพียงอำเภอเดียว มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบแยกตามระดับราคามากที่สุด 3 ลำดับแรก ในไตรมาส 1 ปี 2565 พบว่า เป็นช่วงราคาเดียวกับภาพรวมมูลค่าการโอนตลาดที่อยู่อาศัย ได้แก่ ระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท ระดับราคา …

พาส่องเบิ่ง สถานการณ์ด้านอุปสงค์ตลาดที่อยู่อาศัยของภาคอีสาน ไตรมาส 1 ปี 2565 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภคภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋ ? (เดือนกรกฎาคม 2565) อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า 7.09% (YoY)

สถานการณ์ “เงินเฟ้อ” ประจำเดือน กรกฎาคม 2565 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข้อมูลการปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อถึง 7.09% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ก.ค. 64) ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนกรกฎาคม 2565 เท่ากับ 107.41 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM) ลดลง -0.16% (เดือนมิถุนายน 2565 สูงขึ้น 0.90%) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้อยู่ที่ 7.61% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าขยายตัวในอัตรา ที่ใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา โดยอัตราเงินเฟ้อของภาคใต้สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งสูงขึ้น 7.81% รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และกรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงขึ้น 7.80% 7.73% และ 7.68% ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ 7.09% เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ามันเชื้อเพลิง กับข้าว สำเร็จรูป และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ผักและผลไม้ อาทิ ขิง ถั่วฝักยาว มะนาว และส้มเขียวหวาน เป็นต้น อัตราการเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาคอีสานที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น 1. กลุ่มอาหารสดและพลังงาน สูงขึ้น 14.41% โดยเฉพาะพลังงานสูงขึ้นถึง 31.35% เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าจากการอ่อนค่าของเงินบาท และความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้น 9.97% โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 25.57% ปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก 3. หมวดเคหสถาน สูงขึ้น 7.45% โดยเฉพาะค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น 62.71% ตามการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่าเอฟที (FT) ประจำเดือน กันยายน-ธันวาคม 2565 4. หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 7.30% โดยเฉพาะน้ำมันและไขมันสูงขึ้นถึง 33.38% แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าและบริการในวงกว้าง ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และราคาสินค้าเกษตรสำคัญ รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้มากขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อท่ัวไปปี 2565 เป็นระหว่างร้อยละ 5.5 – 6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) จากเดิมที่ คาดการณ์ไว้ในเดือนมีนาคม …

พามาเบิ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภคภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋ ? (เดือนกรกฎาคม 2565) อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า 7.09% (YoY) อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง เงินฝากของคนในอีสาน เป็นจังใด๋แหน่

ในเดือนพฤษภาคม 2565 สถาบันการเงินในภาคอีสานมีจำนวน 804 แห่ง ซึ่งจำนวนสาขาธนาคารลดลงจากเดือนมกราคม จำนวน 16 แห่ง เนื่องจากการใช้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันธนาคารยังเน้นการขยายสาขาในห้างสรรพสินค้า เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน ด้านเงินฝากคงค้างของภาคอีสาน อยู่ที่ 944,174 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนมีเพียง 5.6% ของยอดเงินฝากคงค้างประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นเงินฝากในรูปบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ 759,703 ล้านบาท (คิดเป็น 80.5%) รองลงมาเป็นเงินฝากประจำ 158,104 ล้านบาท (คิดเป็น 16.7%) และอื่นๆ (คิดเป็น 2.8%) ตามรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจำนวน โดยยอดเงินฝาก 59.2% กระจายอยู่ใน 5 จังหวัดหลักของภาคอีสาน ได้แก่ อันดับที่ 1 นครราชสีมา 189,880 ล้านบาท อันดับที่ 2 ขอนแก่น 131,693 ล้านบาท อันดับที่ 3 อุดรธานี 100,397 ล้านบาท อันดับที่ 4 อุบลราชธานี 85,824 ล้านบาท อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ 51,216 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับปี 2564 พบว่า ยอดเงินฝากคงค้างในปี 2565 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.8% โดยเงินฝากประจำมีการปรับสัดส่วนลดลง 18,002 ล้านบาท หรือ -10.2% และเงินฝากออมทรัพย์มีการปรับสัดส่วนเพิ่มขึ้น 59,411 ล้านบาท หรือ 8.5% ทั้งนี้ในเดือน พฤษภาคม ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ปี 2561 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 725,910 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.5% (YoY) ปี 2562 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 755,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.0% (YoY) ปี 2563 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 844,314 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.8% (YoY) ปี 2564 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 900,877 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.7% (YoY) ปี 2565 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 944,174 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.8% (YoY) จะเห็นได้ว่า เงินฝากขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ ตามการทยอยลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินหลายครั้ง จากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เงินเฟ้อ …

พาส่องเบิ่ง เงินฝากของคนในอีสาน เป็นจังใด๋แหน่ อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง GPP แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน เป็นจังใด๋แหน่

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) หมายถึง มูลค่าการผลิตสินค้าและ บริการขั้นสุดท้ายของจังหวัด ซึ่งมีค่าเท่ากับมูลค่าเพิ่ม (value added) จากกิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดที่ผลิตขึ้นในขอบเขตของจังหวัด ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน (Per capita GPP) เป็นตัวเลขท่ีแสดงถึงความสามารถในการสร้างรายได้ของจังหวัดเฉลี่ยต่อคน ข้อมูลนี้ใช้เปรียบเทียบกันระหว่างจังหวัด เพื่อดูระดับความแตกตางของความสามารถในการสร้าง รายได้ (Generated of factor income) จังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงแสดงถึงความสามารถ หรือศักยภาพในการสร้างรายได้ท่ีสูงกว่าจังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยตํ่า ในปี 2563 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอีสาน หรือที่เรียกว่า GRP (Gross Regional Product) มีมูลค่าเท่ากับ 1,590,894 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าในส่วนนี้ คิดเป็นสัดส่วนได้เพียง 10.2% ของมูลค่า GDP ของประเทศไทยทั้งประเทศ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 16 ล้านล้านบาท ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในภาคอีสาน เท่ากับ 86,233 บาทต่อปี หรือ 7,186 บาทต่อเดือน ซึ่งน้อยที่สุดในบรรดาภูมิภาคทั้ง 6 ภาคของประเทศไทย และเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทย ที่เท่ากับ 224,962 บาท จะเห็นว่า รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในภาคอีสานน้อยกว่ารายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทยเกือบ 3 เท่า หรือ 38.3% ของรายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทย 5 อันดับจังหวัดที่มี GPP สูงสุด 1. นครราชสีมา มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 294,604 ล้านบาท 2. ขอนแก่น มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 208,472 ล้านบาท 3. อุบลราชธานี มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 129,081 ล้านบาท 4. อุดรธานี มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 108,113 ล้านบาท 5. บุรีรัมย์ มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 92,023 ล้านบาท จะเห็นว่า จังหวัดที่กล่าวมา มีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกันกว่า 832,293 ล้านบาท หรือ 52.3% ของมูลค่าเศรษฐกิจของภาคอีสาน แสดงให้เห็นว่า ความมั่งคั่งของคนในภาคอีสานมีความกระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่จังหวัด ทำให้เกิดปัญหาที่ตามมา คือ แรงงานจากจังหวัดในภาคอีสานจำนวนมากไปทำงานใน 5 จังหวัดที่มั่งคั่งดังกล่าว และบางส่วนอาจย้ายเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ เพื่อหาโอกาสในชีวิตที่ดีขึ้น นี่คือสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมของภาคอีสานไม่ได้ถูกขับเคลื่อนให้กระจายไปแต่ละพื้นที่ได้ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ทุกภาคส่วนควรกระตุ้นให้เศรษฐกิจภาคอีสานเติบโตมากขึ้นกว่านี้ และส่งเสริมให้ประชากรอีสานมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง เมื่อภาคอีสานมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ก็จะทำให้เศรษฐกิจทั้งประเทศไทยดีขึ้นตามทั้งทางตรงและทางอ้อม อ้างอิงจาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=12388… https://www.longtunman.com/25407 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #GPPแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน #ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด #ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน

พามาเบิ่ง ศึกธุรกิจบุฟเฟ่ต์ชาบูดังในจังหวัดขอนแก่น

หลายคนอาจจะเริ่มเห็นร้านบุฟเฟ่ต์ชาบูเปิดใหม่ขึ้นมากมาย และมีการแข่งขันอย่างดุเดือดของธุรกิจนี้ แต่เมื่อนึกถึงบุฟเฟ่ต์ชาบูในขอนแก่น หลายๆคนต้องนึกถึง “ร้านปลาวาฬใจดี สุกี้แอนด์ชาบู” และ “ร้านคินส์ เดอะ บูตะ” ทั้ง 2 ร้านเป็นที่นิยมของคนในขอนแก่นนั่นเอง เส้นทางของอาณาจักรบุฟเฟ่ต์ชาบูแต่ละรายนี้ เป็นมาอย่างไร? จุดเริ่มต้นของ “ร้านปลาวาฬใจดี สุกี้แอนด์ชาบู” มาจากคุณอวิรุทธ์ ทรัพย์วิวัฒนา เดิมเป็นพนักงานบริษัท ตำแหน่งผู้จัดการขายของร้านเฟอร์นิเจอร์แห่งหนึ่งมานานกว่า 5 ปี และชอบรับประทานชาบูเป็นทุนเดิมและมีความคิดอยากจะลองเปิดร้าน จึงได้ตัดสินใจลาออกจากงานมาทดลองเปิดร้านสุกี้ร้านเล็ก ๆ เป็นธุรกิจครอบครัว โดยได้คิดค้นเมนูอาหารเองจากประสบการณ์ และมีการพัฒนาต่อยอดเป็นของตัวเอง เริ่มแรกร้านมีเพียง 12 โต๊ะ หลังเปิดร้านได้ประมาณ 3-4 เดือน ผลประกอบการทางร้านดีมาก ต่อมาภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี ทางร้านได้ขยายโต๊ะมากถึง 70 โต๊ะ และขยายสาขาไปตามจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งร้านมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมี “ปลาวาฬ” เป็นมาสคอตของร้านที่สื่อให้เห็นถึงความบุฟเฟต์จากรูปร่างของปลาวาฬที่ตัวใหญ่ และขยายความด้วยคำว่า “ใจดี” เพราะที่ร้านจะเน้นความหลากหลาย อย่างไรก็ตาม จุดเด่นของร้านปลาวาฬใจดี สุกี้แอนด์ชาบู คือ มีน้ำซุปมากถึง 15 น้ำซุปและยังมีน้ำจิ้มถึง 8 รสชาติ น้ำซุปสามารถเลือกได้ 2 แบบภายในหม้อเดียว ร้านยังใส่ใจในเรื่องวัตถุดิบทั้งหมูทั้งผัก โดยทางร้านสั่งวัตถุดิบจากบริษัทนำเข้าชื่อดังในประเทศไทยเท่านั้น ในขณะที่ “ร้านคินส์ เดอะ บูตะ” คือ แบรนด์ร้านอาหารประเภทหม้อไฟ ที่มุ่งเน้นให้การรับประทานอาหารเป็นมากกว่าการรับประทานอาหารเพื่อดำรงชีพ การรับประทานอาหารแบบหม้อไฟ มีลักษณะเฉพาะตัวในการแบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเวลาระหว่างผู้ร่วมรับประทาน โดยทางร้านจัดเตรียมสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นน้ำซุบ น้ำจิ้มสูตรพิเศษ รวมถึงการคัดสรรวัตถุดิบที่ดีโดยการนำเสนอและจัดวางในรูปแบบที่เอื้ออำนวยต่อการใช้เวลาร่วมกัน ดำเนินการด้วยความจริงใจและซื่อสัตย์ ซึ่งจุดเด่นของร้าน คือ “อร่อย จัดเต็ม เหมือนทำกินเองที่บ้าน” โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ อร่อย คือ อาหารที่อร่อยประกอบไปด้วยการมีรสชาติที่ดีโดยสูตรเฉพาะตัวที่ทางร้านคิดค้นและพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้ถูกปากของคนไทย โดยถูกปรุงขึ้นอย่างสะอาดและมีคุณค่าทางโภชนาการด้วยอาหารที่สดแทบไม่ผ่านการปรุงแต่ง จัดเต็ม คือ ลักษณะการทานอาหารของลูกค้าที่ทางร้านคาดหวังให้ลูกค้าทุกคนที่เข้ามาทานอาหารของทางร้าน จะต้องได้คุณภาพและปริมาณที่จัดเต็ม ส่งผลต่อการนำเสนออาหารการจัดจานที่มีขนาดใหญ่เต็มจานทั้งแบบ A la carte และ Buffet เหมือนทำกินเองที่บ้าน คือ ทางร้านมุ่งหวังให้ลูกค้าได้รับประทานอาหารที่มีความสะอาดปลอดภัยเหมือนการทำอาหารทานเองในบ้าน รวมถึงบรรยากาศการทานอาหารที่มีความผ่อนคลายไม่แออัดและเป็นกันเอง ตกแต่งอย่างสวยงามสบายตา ร้านคินส์ เดอะ บูตะ เปิดดำเนินการครั้งแรกวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2013 และปัจจุบันได้ทำการขยายสาขาไปยังต่างจังหวัดในลักษณะแฟรนไชส์ รวมทั้งหมด 7 สาขา ซึ่งร้านเหมาะกับลูกค้าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนหรือคู่รัก อาหารของทางร้านเน้นเรื่องความสะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยไม่ใช้วัตถุกันเสียและผงชูรส นอกจากจะตอบสนองเรื่องการรับประทานอาหารแล้ว ยังตอบสนองเรื่อง ไลฟ์ไตล์ด้วยการตกแต่งร้านที่โดดเด่นเป็นที่จดจำ …

พามาเบิ่ง ศึกธุรกิจบุฟเฟ่ต์ชาบูดังในจังหวัดขอนแก่น อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง สถานการณ์ด้านอุปทานตลาดที่อยู่อาศัยของภาคอีสาน ไตรมาส 1 ปี 2565

การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ในไตรมาส 1/2565 มีโครงการที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศรวม 121 โครงการ 12,915 หน่วย ลดลงทั้งจำนวนโครงการและจำนวนหน่วย  -9.7% และ -17.7% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ที่มี 134 โครงการ มีจำนวน 15,699 หน่วย นอกจากนั้น จำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศในไตรมาสนี้ ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ปี (2558 – 2562) ซึ่งมีจำนวนโครงการที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินเฉลี่ยไตรมาสละ 26,000 หน่วย สำหรับประเภทที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดิน พบว่า ทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วน จำนวนหน่วยมากที่สุด 37.5% รองลงมาเป็นบ้านเดี่ยว 34.5%, บ้านแฝด 18.9%, ที่ดินเปล่าจัดสรร 7.8% และอาคารพาณิชย์ 1.3% ตามลำดับ  หากพิจารณาเฉพาะภาคอีสาน พบว่า ภาคอีสานมีจำนวนหน่วยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินมีจำนวน 14 โครงการ ลดลงจากปีก่อนหน้า -12.5% และ 1,295 หน่วย เพิ่มขึ้น 14.2% จังหวัดท่ีมีหน่วยได้รับใบอนุญาตจัดสรรท่ีดินสูงสุดในภาคอีสาน คือ นครราชสีมา ซึ่งมีจำนวน 5 โครงการ และ 946 หน่วย(คิดเป็น 7.3% ของประเทศ) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมาและบัวใหญ่   การออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย ในช่วงไตรมาส 1/2565 มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ ทั้งประเภท บ้านที่ประชาชนสร้างเอง และบ้านในโครงการจัดสรร จำนวนประมาณ 85,858 หน่วย เพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ที่มีจำนวน 84,261 หน่วย ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสแรกหลังจากที่มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างลดลงต่อเนื่องมาถึง 8 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 1/2563 อย่างไรก็ตาม จำนวนหน่วยที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในไตรมาสนี้ ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 (2558 – 2562) ซึ่งมีจํานวนที่ได้ใบอนุญาตก่อสร้างเฉลี่ย 86,282 หน่วย เมื่อแยกตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่า ที่อยู่อาศัยแนวราบได้รับใบอนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้น แต่อาคารชุดได้รับใบอนุญาตก่อสร้างลดลง โดยที่อยู่อาศัยแนวราบได้รับอนุญาตก่อสร้างจำนวน 70,192 หน่วย เพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2564 และอาคารชุดมีจำนวน 15,666 หน่วย ลดลง -12.5% เมื่อพิจารณาเฉพาะภาคอีสาน พบว่า การออกใบอนุญาตก่อสร้างท่ีอยู่อาศัยแนวราบมีจำนวน 14,748 หน่วย …

พาส่องเบิ่ง สถานการณ์ด้านอุปทานตลาดที่อยู่อาศัยของภาคอีสาน ไตรมาส 1 ปี 2565 อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top