Nanthawan Laithong

เมื่อเงินดอลลาร์หลั่งไหลสู่อีสาน! พามาเบิ่ง สหรัฐฯ ทุ่มทุนกว่า 3.4 พันล้านบาท กระจายอยู่จังหวัดไหนบ้าง

เงินดอลลาร์หลั่งไหลอีสาน การลงทุนสหรัฐฯ 3.4 พันล้านบาท ใครรุ่ง? ใครร่วง? จากข้อมูลจะเห็นได้ว่ากว่า 97% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมดจากสหรัฐฯ มุ่งไปที่ “ภาคการผลิต” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การผลิตอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล” ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มการย้ายฐานการผลิต หรือการขยายกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม (ICT) มายังประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสานที่มีศักยภาพด้านแรงงานและต้นทุนที่แข่งขันได้ การลงทุนที่เหลืออีก 2% อยู่ในภาคบริการ (การให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการ) และ 1% ในภาคการค้า (การขายส่งข้าวและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการโรงสีข้าว) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการลงทุนจากสหรัฐฯ ครั้งนี้มีเป้าหมายหลักที่การสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหกรรม มากกว่าการค้าและบริการทั่วไป   แชมป์ผู้รับการลงทุน นครราชสีมากับบทบาทประตูสู่อีสาน การที่ จังหวัดนครราชสีมา กวาดเม็ดเงินลงทุนไปสูงถึง 2,890 ล้านบาท ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหากพิจารณาจากศักยภาพและบทบาทเชิงยุทธศาสตร์ของจังหวัด นครราชสีมาเป็นเสมือน “ประตูสู่ภาคอีสาน” ที่มีโครงสร้างพื้นฐานครบครัน ทั้งด้านคมนาคมขนส่ง (ถนนสายหลัก, รถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ที่กำลังพัฒนา) การเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนจากต่างชาติอยู่แล้ว โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร ความพร้อมของแรงงานที่มีทักษะในระดับหนึ่ง รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมและเขตส่งเสริมการลงทุนที่รองรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้โคราชมีความได้เปรียบในการดึงดูดการลงทุนในภาคการผลิตอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล ซึ่งต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งและระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่เอื้ออำนวย   ดาวเด่นรองลงมา สุรินทร์-ขอนแก่นกับบทบาทที่แตกต่าง จังหวัดสุรินทร์ มีมูลค่าการลงทุนกว่า 278 ล้านบาท ซึ่งอาจสร้างความประหลาดใจเล็กน้อยเมื่อเทียบกับจังหวัดใหญ่อื่นๆ อย่างขอนแก่นหรืออุดรธานี การลงทุนในสุรินทร์อาจชี้ให้เห็นถึงการกระจายตัวของฐานการผลิต โดยมีบริษัท เอชบีไอ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีมูลค่าการลงทุนกว่า 277 ล้านบาท ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตเสื้อผ้าชั้นนอก ขณะที่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของภาคอีสาน กลับได้รับเม็ดเงินลงทุน 176 ล้านบาท น้อยกว่าที่หลายคนคาดการณ์ไว้เมื่อเทียบกับศักยภาพในภาพรวมของจังหวัด อย่างไรก็ตาม ขอนแก่นอาจมีความโดดเด่นในภาคบริการ การศึกษา และการแพทย์มากกว่าภาคการผลิตหนักๆ การลงทุนในขอนแก่นจึงอาจมุ่งเน้นไปที่ภาคบริการ เช่น การให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการ หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมซึ่งเป็นรากฐานของ Smart City ที่ขอนแก่นกำลังผลักดันอยู่ การที่เม็ดเงินลงทุนด้านการผลิตอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลไปลงที่โคราชมากกว่า อาจบ่งชี้ว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมหนักของขอนแก่นยังไม่เทียบเท่า หรือบริษัทผู้ลงทุนมีซัพพลายเชนเดิมอยู่ในพื้นที่โคราชอยู่แล้วนั่นเอง   การลงทุนจากสหรัฐฯ ในภาคอีสานครั้งนี้จะช่วยยกระดับภาคการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการมุ่งเน้นที่การผลิตอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล จะช่วยยกระดับขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมของอีสาน จากฐานเกษตรกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้น ซึ่งจะนำมาซึ่งการถ่ายทอดองค์ความรู้ การสร้างงานที่มีมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาทักษะแรงงานในระยะยาว ถึงแม้ว่าจะยังกระจุกตัวอยู่ในนครราชสีมาเป็นหลัก แต่การที่จังหวัดอื่นๆ ได้รับส่วนแบ่งบ้างก็ถือเป็นสัญญาณที่ดีของการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและแรงงานในจังหวัดรองๆ มากขึ้น การลงทุนจากประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐฯ จะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นในการลงทุนในภูมิภาคอีสาน ซึ่งอาจเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนจากประเทศอื่นๆ หรือจากภาคเอกชนไทยให้เข้ามาเพิ่มเติมในอนาคตนั่นเอง     อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business […]

เมื่อเงินดอลลาร์หลั่งไหลสู่อีสาน! พามาเบิ่ง สหรัฐฯ ทุ่มทุนกว่า 3.4 พันล้านบาท กระจายอยู่จังหวัดไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติม »

สมรภูมิเดือด! เขตแดนทับซ้อน เปิดตำนาน “ช่องบก” หรือ สามเหลี่ยมมรกต จุดชนวนไทย-กัมพูชา พร้อมข้อตกลงล่าสุด

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา เสียงปะทะจากชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณ “ช่องบก” จังหวัดอุบลราชธานี ได้ปลุกความกังวลขึ้นอีกครั้ง เสียงที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 05.30 น. จากรายงานของหน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กองกำลังสุรนารี ที่ระบุถึงการวางกำลังของทหารกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิ์ และการใช้อาวุธก่อน ทำให้ฝ่ายไทยต้องตอบโต้ นับเป็นเหตุการณ์ที่ตอกย้ำว่า “ช่องบก” ไม่ได้เป็นเพียงชื่อสถานที่ แต่เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และยุทธศาสตร์อันซับซ้อนที่ยังคงส่งผลสะเทือนมาถึงปัจจุบัน ช่องบก ในอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการขนานนามว่า “สามเหลี่ยมมรกต” (Emerald Triangle) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่เชื่อมต่อชายแดนสามประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว และกัมพูชา การบรรจบกันของสามดินแดนนี้ ทำให้ช่องบกกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่งยวด ย้อนกลับไปในอดีต ช่องบกเคยเป็น “สมรภูมิช่องบก” อันดุเดือดในช่วงปี พ.ศ. 2528-2530 ซึ่งเป็นการปะทะโดยตรงระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพเวียดนามที่เข้ายึดครองกัมพูชาในขณะนั้น การต่อสู้เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติไทยครั้งนั้น ต้องแลกมาด้วยความสูญเสียชีวิตของทหารหาญไทยกว่า 109 ชีวิต ซึ่งเป็นเครื่องเตือนใจถึงราคาของเอกราชและบูรณภาพแห่งดินแดน พื้นที่ “สามเหลี่ยมมรกต” ครอบคลุมประมาณ 12 ตารางกิโลเมตร โดยจุดหลักของช่องบกอยู่ในอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี และเชื่อมโยงไปยังจังหวัดศรีสะเกษของไทย แขวงจำปาศักดิ์และแขวงสาละวันของลาว รวมถึงจังหวัดพระวิหาร จังหวัดอุดรมีชัย และจังหวัดสตึงเตร็งของกัมพูชา แม้เวลาจะผ่านมาหลายสิบปี แต่ช่องบกยังคงเป็น “พื้นที่ชายแดนที่มีข้อพิพาทและพื้นที่ทับซ้อน” ในเรื่องการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเป็นชนวนสำคัญที่อาจนำไปสู่ความตึงเครียดหรือการปะทะกันได้เป็นครั้งคราว ปัจจัยหลักที่ยังคงคุกคามสันติภาพในพื้นที่นี้ประกอบด้วย พื้นที่พิพาทที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจน ทำให้ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างสิทธิในพื้นที่และเป็นที่มาของความขัดแย้ง การเคลื่อนไหวทางทหาร เนื่องจากทั้งสองประเทศยังคงมีการตรึงกำลังทหารเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันอธิปไตยของตนเอง ความเข้าใจผิดหรือการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน ระหว่างเจ้าหน้าที่ภาคสนาม ซึ่งอาจนำไปสู่เหตุการณ์ปะทะโดยไม่ตั้งใจได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้น แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติภูจองนายอยและพื้นที่ใกล้เคียงที่ไม่ได้อยู่ในแนวชายแดนพิพาทโดยตรง “ถือว่าปลอดภัย” และยังคงสามารถท่องเที่ยวได้ตามปกติ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้อง “ห้ามเข้า” พื้นที่ที่ประกาศว่าเป็นเขตหวงห้ามหรือเขตอันตรายโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจมีการวางทุ่นระเบิดเก่าที่หลงเหลือจากอดีต หรือเป็นพื้นที่ปฏิบัติการของทหารที่ยังคงมีการเคลื่อนไหว ในการตอบสนองต่อสถานการณ์ล่าสุด ผู้บัญชาการทหารบกไทยได้เข้าหารือกับ พล.อ. เมา โซะพัน รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบกกัมพูชา ณ จุดประสานงานชายแดนไทย-กัมพูชา จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม การหารือครั้งนี้มุ่งเน้นการเจรจาด้วยสันติวิธี เนื่องจากทหารทั้งสองฝ่ายยังคงวางกำลังในลักษณะเผชิญหน้ากัน เบื้องต้นได้ข้อตกลง 3 ข้อ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ความตึงเครียด ได้แก่ การเร่งรัดการแก้ปัญหาเขตแดนในรูปแบบคณะกรรมการปักปันเขตแดน (JBC) ซึ่งจะดำเนินการภายใน 2 สัปดาห์ การให้กำลังพลถอยออกจากจุดปะทะ 200 เมตร เพื่อลดโอกาสการเผชิญหน้า การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับหน่วยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปะทะซ้ำในพื้นที่อีก   ผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจจากเหตุการณ์การปะทะกันในครั้งนี้ ซึ่งถือว่าเป็นคลื่นใต้น้ำที่น่ากังวล แม้ข้อตกลงเบื้องต้นจะดูเป็นสัญญาณที่ดี แต่เหตุการณ์ปะทะที่ช่องบกนี้ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในระดับภูมิภาคอีสาน และจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นประตูด่านหน้า ไม่ว่าจะเป็น การค้าชายแดนที่ต้องหยุดชะงักและต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ช่องบกและพื้นที่เชื่อมโยงเป็นเส้นเลือดหลักของการค้าขายกับลาวและกัมพูชา เมื่อเกิดความตึงเครียดขึ้น ย่อมสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ประกอบการและนักลงทุน การขนส่งสินค้าอาจต้องหยุดชะงัก หรือประสบความล่าช้าจากการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้นบริเวณด่านชายแดน สิ่งเหล่านี้ล้วนเพิ่มต้นทุนการดำเนินงานให้กับธุรกิจนำเข้าและส่งออก และอาจทำให้มูลค่าการค้าลดลง หรือแม้กระทั่งภาคการท่องเที่ยวที่เปราะบางกว่าที่คิด แม้ทางการจะยืนยันว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ปลอดภัย

สมรภูมิเดือด! เขตแดนทับซ้อน เปิดตำนาน “ช่องบก” หรือ สามเหลี่ยมมรกต จุดชนวนไทย-กัมพูชา พร้อมข้อตกลงล่าสุด อ่านเพิ่มเติม »

อีสานบ่ได้มีแค่ข้าวเหนียว พาเปิดเบิ่ง อาณาจักรทุเรียน ทองคำเปลือกหนามแห่งแดนอีสาน

จากกระแสราคาทุเรียนต่ำกว่า 100 บาท/กก. ดิ่ง 90-95 บาท/กก. เหตุจีนเจอ “ทุเรียนอ่อน” เพียบ ผู้นำเข้าจีนชะลอซื้อ บางแผงหยุดรับซื้อเคลียร์ 1-2 วัน และล่าสุดจับ “ทุเรียนเวียดนาม” ขนส่งทางเรือ เตรียมส่งห้องเย็นแช่แข็ง หวัง “สวมสิทธิ” เป็นทุเรียนไทย หวั่นเจอ “สารแคดเมียม” ขณะที่จีนเพิ่งผ่อนปรนตรวจเข้มสารย้อมสี BY2 ของทุเรียนไทยเหลือ 30%   อีสานอินไซต์เลยจะพามาเบิ่งทุเรียนแดนอีสาน 🌳ในปี 2566 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียน อยู่ที่ 1,023,6741 ไร่ และมีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนอยู่ 162,293 ครัวเรือน แล้วรู้หรือไหมว่าภาคอีสานมีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตทุเรียนมากแค่ไหน? โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนกว่า 42,145 ไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 4.1% ของพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนทั้งหมดในประเทศ และมีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนอยู่ 7,416 ครัวเรือน หรือคิดเป็นสัดส่วน 4.6% ของจำนวนครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนทั้งหมดในประเทศ ตั้งแต่ปี 2554-2566 หรือในช่วง 12 ปี ที่ผ่านมา ไทยมีพื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เกษตรกรสามารถผลิตทุเรียนเพิ่มจาก 5 แสนตัน เป็น 1.4 ล้านตัน หรือได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 180% โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการขยายผลผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 1,500% เนื่องจากทุเรียนมีการส่งออกมากขึ้นและมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกษตรกรแต่ละจังหวัดหันมาปลูกทุเรียนกันมากขึ้น ในปี 2566 ไทยมีมูลค่าส่งออกทุเรียน 1.4 แสนล้านบาท ในตลาดจีนทุเรียนถือเป็นผลไม้ที่มีราคาสูงและได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้บริโภคซึ่งมีกำลังซื้อสูง ในปีนี้หลายประเทศต้องเผชิญกับสภาวะอากาศแห้งแล้ง รวมทั้งประเทศไทย จึงทำให้ปริมาณการผลิตลดลงสวนทางกับความต้องการตลาดผู้บริโภค จึงทำให้เกิดปัญหาการลักลอบนำเข้าทุเรียนเพื่อสวมสิทธิและสอดใส้เป็นทุเรียนไทยเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดจีน หากมาดูทุเรียนเป็นรายจังหวัดในอีสานก็จะพบว่าจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดในภาคอีสาน ก็คือ จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเพียง 2 จังหวัดมีพื้นที่รวมกันมากกว่า 22,085 ไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 52.4% เลยทีเดียว 💛โดยทั้ง 2 จังหวัดมี “ทุเรียน GI” หรือทุเรียนขึ้นทะเบียนว่าเป็นสินค้าขึ้นชื่อในแต่ละพื้นที่ ที่เรียกได้ว่ามีรสชาติเด่น เป็นเอกลักษณ์ และหาได้เฉพาะถิ่นเท่านั้น 💛ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ขึ้นทะเบียน GI เมื่อวันที่ 27 มิ.ย 2561 เป็นทุเรียนพันธุ์ก้านยาว พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี ปลูกในพื้นที่ อ.ขุนหาญ อ.กันทรลักษณ์ และ อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ ดินบริเวณนี้เป็นดินที่เกิดจากภูเขาไฟโบราณผุพังมาจากหินบะซอลต์ มีธาตุอาหารชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืชในปริมาณสูง ส่งผลให้ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษมีคุณสมบัติพิเศษคือ เนื้อทุเรียนละเอียด แห้ง เนียนนุ่ม รสชาติหวานมัน มีกลิ่นหอมปานกลาง สีเนื้อเหลืองสม่ำเสมอทั้งผล 💛ทุเรียนปากช่องเขาใหญ่ ขึ้นทะเบียน GI เมื่อวันที่

อีสานบ่ได้มีแค่ข้าวเหนียว พาเปิดเบิ่ง อาณาจักรทุเรียน ทองคำเปลือกหนามแห่งแดนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 20 อำเภอที่มีเงินฝากมากสุดในอีสานเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน❓💳💰

(1) 🏦💳ปี 2568 ถือเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัว และหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจก็คือ “เงินฝาก” ในระบบธนาคาร อ้างอิงข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเผยให้เห็นข้อมูลน่าสนใจของ 20 อันดับอำเภอทั่วภาคอีสาน ที่มีปริมาณเงินฝากสูงสุดในปี 2568 สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของแต่ละพื้นที่ 5 อันดับอำเภอที่มีเงินฝากมากที่สุดในภาคอีสาน – อำเภอเมืองนครราชสีมา 115,956 ล้านบาท – อำเภอเมืองขอนแก่น 94,464 ล้านบาท – อำเภอเมืองอุดรธานี 93,782 ล้านบาท – อำเภอเมืองอุบลราชธานี 53,708 ล้านบาท – อำเภอเมืองร้อยเอ็ด 28,834 ล้านบาท 💸จะเห็นได้ว่า “อำเภอเมืองนครราชสีมา” ครองอันดับ 1 ด้วยยอดเงินฝากสูงถึง 115,956 ล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของจังหวัดนครรสีมาในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจและคมนาคมที่เป็นประตูสู่ภาคอีสาน เป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างภูมิภาค มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมทั้งภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ภาคบริการ ภาคการค้าปลีกสมัยใหม่ ไปจนถึงการเป็นเมืองการศึกษาที่ดึงดูดทั้งแรงงานและผู้ประกอบการจำนวนมาก นอกจากนี้ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ รวมถึงการลงทุนจากภาคเอกชนในโครงการอสังหาริมทรัพย์และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ล้วนเป็นแม่เหล็กดึงดูดเม็ดเงินให้ไหลเวียนและสะสมอยู่ในระบบเศรษฐกิจของเมืองนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่อำเภอที่มีเงินฝากมากสุดส่วนใหญ่จะกระจุกตัวในอำเภอเมืองแต่ละจังหวัด จะมีอำเภอปากช่องที่เป็นอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่มาก มีธุรกิจเกี่ยวกับการค้าและบริการที่มากซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ แต่ที่น่าสังเกตุคือ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา, อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอชุมแพ, จังหวัดขอนแก่นที่ติดอันดับ ซึ่ง 3 อำเภอนี้ถือว่าอำเภอที่มีศักยภาพที่สูงและยังมีการลงทุนของธุรกิจการค้าและบริการทั้งขนาดกลางและขนาดย่อมภายในอำเภอที่มาก อีกทั้งยังเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่อีกด้วย (2) อีกหนึ่งอำเภอที่น่าจับตาคือ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด ที่ขยับอันดับจาก 7 ขึ้นมาอยู่ที่ 5 ในปี 2568 โดยมียอดเงินฝากเพิ่มขึ้นถึง 10,738 ล้านบาท จาก 18,096 ล้านบาท เป็น 28,834 ล้านบาท การปรับตัวที่ดีขึ้นของร้อยเอ็ดนี้มาจากหลายปัจจัย ทั้งจากความแข็งแกร่งของภาคเกษตรกรรมที่เป็นฐานรากสำคัญของเศรษฐกิจจังหวัด ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลายและมีราคาดีขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ได้เพิ่มกำลังซื้อและสภาพคล่องทางการเงินให้กับเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในจังหวัด การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ รวมถึงการยกระดับบริการสาธารณะและสิ่งอำนวยความสะดวกในตัวเมือง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินและสร้างความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยและการออมของประชาชนมากขึ้นนั่นเอง (3) ในอีกด้านหนึ่ง อำเภอที่ต้องเฝ้าระวังคือกลุ่มที่มีอันดับลดลง คือ อำเภอเมืองหนองคาย ที่ร่วงจากอันดับ 5 มาอยู่ที่ 12 แม้เงินฝากจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่การเติบโตที่เชื่องช้าเมื่อเทียบกับอำเภออื่น สะท้อนว่าหนองคายอาจกำลังเผชิญกับความท้าทายในการดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ หรือการค้าชายแดนอาจไม่ได้เติบโตโดดเด่นเท่าที่เคยเป็นมา เมื่อถูกเปรียบเทียบกับอำเภอชายแดนอื่นๆ (4) และอีก 1 อำเภอที่หลุดจาก 20 อันดับ คือ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ในปี 2568 มีเงินฝากเพิ่มขึ้นเป็น 10,364 ล้านบาท แม้เงินฝากจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับอำเภอเมืองหนองบัวลำภูที่มีเงินฝากในปี 2559 แต่อำเภอบ้านไผ่กลับมีเงินฝากสะสมที่น้อยกว่าในปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าอำเภออื่นๆ ที่ไม่เคยติดอันดับมาก่อน ได้ก้าวขึ้นมาแทนที่

พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 20 อำเภอที่มีเงินฝากมากสุดในอีสานเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน❓💳💰 อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง วิกฤตสาธารณสุขไทย เปิดลิสต์ 10 โรงพยาบาล  “เงินบำรุงติดลบ” หนักสุดในประเทศ

วิกฤตการเงินโรงพยาบาลรัฐ ความท้าทายของระบบสุขภาพไทย กับความหวังที่ต้องเร่งฟื้นฟู จากข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 พบว่า โรงพยาบาลในสังกัด สป.สธ. จำนวน 901 แห่ง มีเงินบำรุงสุทธิหลังหักภาระผูกพันคงเหลืออยู่ที่ 51,375 ล้านบาท แม้ในภาพรวมจะยังมีเงินสะสมอยู่ แต่ในรายละเอียดกลับพบความแตกต่างชัดเจนระหว่างโรงพยาบาลที่มีฐานะการเงินมั่นคงกับกลุ่มที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก โดยมีโรงพยาบาลถึง 183 แห่ง ที่มีเงินบำรุงติดลบรวมกันถึง -4,380.9 ล้านบาท ขณะที่อีก 718 แห่งมีเงินบำรุงเป็นบวกรวม 55,755.9 ล้านบาท ความรุนแรงของสถานการณ์ยังสะท้อนผ่านการจัดระดับวิกฤตทางการเงิน ซึ่งในปีงบประมาณ 2568 โรงพยาบาลที่อยู่ในระดับวิกฤตขั้นสูงสุด หรือ “ระดับ 7 (สีแดง)” มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 2 แห่งในปีก่อนหน้า เป็น 5 แห่งในปีนี้ ขณะที่ระดับ 6 (สีส้ม) ซึ่งเป็นระดับที่ยังพอแก้ไขได้กลับไม่มีเลยในปี 2568 จากที่เคยมีอยู่ 3 แห่งในปี 2567 ซึ่งอาจหมายถึงว่า สถานการณ์บางแห่งแย่ลงจนขยับขึ้นเป็นระดับสีแดง หรืออาจได้รับการเยียวยาจนหลุดพ้นระดับวิกฤตนี้แล้ว สาเหตุของวิกฤตนี้ไม่ได้มาเพียงเพราะการบริหารจัดการภายในเท่านั้น แต่ยังสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐ โดยรายได้หลักของโรงพยาบาลรัฐส่วนใหญ่ในประเทศไทย มาจากการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนสุขภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งเป็นหัวใจของการเข้าถึงการรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม รายได้ที่โรงพยาบาลได้รับจากการเบิกจ่ายกลับยังต่ำกว่าต้นทุนจริงของการให้บริการอยู่มาก อีกทั้งยังมีรายได้บางส่วนที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้เต็มจำนวน ทำให้เกิดการสะสมของปัญหาทางการเงินที่กัดกร่อนศักยภาพของโรงพยาบาลโดยรวม สิ่งที่น่าจับตามองคือ แม้สถานการณ์ทางการเงินจะวิกฤต แต่ความต้องการของประชาชนกลับไม่ลดลง ตรงกันข้าม ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2564-2567) จำนวนผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นถึง 13.84% หรือเฉลี่ยปีละ 4.42% ส่วนตัวชี้วัดด้านความซับซ้อนของโรคที่โรงพยาบาลรักษา (SumAdjRW) ก็เพิ่มขึ้นจาก 7.8 ล้าน เป็น 9.7 ล้าน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 24.53% สะท้อนถึงภาระงานที่เพิ่มขึ้นควบคู่กับการรักษาที่ซับซ้อนขึ้น นอกจากนี้ การให้บริการผู้ป่วยนอกก็เพิ่มขึ้นกว่า 5.58% ภายในเพียงหนึ่งปี จาก 149 ล้านรายเป็นกว่า 158 ล้านรายในปี 2567   4 ปัจจัยทำไมโรงพยาบาลรัฐถึงติดลบ? โรงพยาบาลรัฐในประเทศไทยประสบปัญหาหนี้สะสมและขาดทุนจากหลายสาเหตุที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน โดยหลักๆ มาจากความไม่สมดุลระหว่างรายรับและรายจ่าย รวมถึงโครงสร้างระบบสาธารณสุขในปัจจุบัน ปัจจัยสำคัญมีดังนี้: 1. รายรับไม่เพียงพอต่อต้นทุนที่แท้จริง: งบเหมาจ่ายรายหัว (บัตรทอง/หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ต่ำกว่าต้นทุน: ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของประเทศ มีการจัดสรรงบประมาณแบบเหมาจ่ายรายหัวให้กับโรงพยาบาล ซึ่งมักจะต่ำกว่าต้นทุนจริงในการให้บริการ โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลที่ซับซ้อนหรือโรคเรื้อรัง ทำให้โรงพยาบาลขาดทุนจากการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ การหักเงินเดือนบุคลากรจากงบเหมาจ่าย: เดิมมีการหักเงินเดือนบุคลากรจากงบเหมาจ่ายรายหัวที่จัดสรรให้โรงพยาบาล ซึ่งทำให้โรงพยาบาลมีเงินเหลือสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ลดลง โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีบุคลากรจำนวนมาก การเคลมค่าบริการต่ำกว่าความเป็นจริง: บางครั้งการเคลมค่าบริการจากหน่วยงานที่รับผิดชอบการจ่ายเงิน (เช่น สปสช.) ไม่ครอบคลุมต้นทุนทั้งหมด หรือมีการจ่ายล่าช้า

พาเปิดเบิ่ง วิกฤตสาธารณสุขไทย เปิดลิสต์ 10 โรงพยาบาล  “เงินบำรุงติดลบ” หนักสุดในประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

พาสำรวจเบิ่ง วิกฤติแม่น้ำกก-น้ำโขง จากเหมืองทุนจีนทะลัก พบสารปนเปื้อนสาเหตุปลาติดเชื้อ

ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2568 ความคืบหน้ากรณีพบสารปนเปื้อนทั้งสารหนูและสารตะกั่วในแม่น้ำกก สาเหตุมากจากการทำเหมืองทองคำของกลุ่มทุนจีนในพื้นที่ต้นแม่น้ำ เขตรัฐฉาน ประเทศเมียนมา ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตผู้คนในลุ่มแม่น้ำกก ทั้งน้ำอุปโภคบริโภค วิถีชีวิตประมง และเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาสายน้ำแห่งนี้   ล่าสุดภาพที่สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตเผยแพร่ ยิ่งตอกย้ำความน่ากังวล เมื่อพบปลาในแม่น้ำกกและแม่น้ำโขงเริ่มมีการติดเชื้อ โดยปลาที่จับได้มีตุ่มสีแดงตามครีบ ปาก และหนวด มีอาการคล้ายปลาป่วย ซึ่งสร้างความกังวลอย่างยิ่งให้กับชาวบ้านที่ดำรงชีพด้วยการหาปลา เพราะเกรงจะมีอันตรายต่อผู้บริโภค   มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ได้เปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียม พบว่าบริเวณต้นแม่น้ำกกและแม่น้ำสาย นอกเหนือจากเหมืองทองคำที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังอาจมีการทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ธทางตอนใต้ของเมืองสาด รัฐฉาน พม่า ซึ่งห่างจากชายแดนไทยอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เพียง 25 กิโลเมตรเท่านั้น ลักษณะของบ่อน้ำเพื่อการทำแร่ที่ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมหลายชั้น ซึ่งคล้ายโครงการขุดแร่แรร์เอิร์ธในรัฐคะฉิ่นซึ่งดำเนินการโดยบริษัทจีน และยิ่งเพิ่มความกังวลใจอย่างหนักถึงสารพิษตกค้างจากเหมืองแร่แรร์เอิร์ธในเมืองสาดแห่งนี้ ที่อาจเป็นอีกหนึ่งต้นกำเนิดของสารพิษที่ไหลลงสู่แม่น้ำกก ทำให้สถานการณ์น้ำในแม่น้ำกกเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม และคุกคามสุขภาพของประชาชนกว่าล้านคนที่อาศัยอยู่บริเวณท้ายน้ำทั้งสองฝั่งชายแดน   ซึ่งการทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ธในรัฐคะฉิ่นนั้นเป็นวิธีการทำเหมืองและละลายแร่ ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างมาก โดยต้องเทสารเคมีผ่านทอไปในเนินเขาเพื่อละลายแร่แรร์เอิร์ธ จากนั้นจะมีการสูบสารเคมีดังกล่าวเพื่อส่งผ่านท่อไปยังบ่อน้ำ และมีการเติมสารเคมีเพิ่มเติมเพื่อสกัดแร่แรร์เอิร์ธ   ดังนั้น เหมืองแร่แรร์เอิร์ธ ในเมืองยอน เขตเมืองสาด อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของต้นกำเนิดของสารพิษที่ถูกปล่อยลงในแม่น้ำกกไหลเข้าสู่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดเชียงราย และบรรจบลงสู่แม่น้ำโขงอันยิ่งใหญ่ที่อำเภอเชียงแสน เหมืองแร่แรร์เอิร์ธจึงไม่ได้เป็นเพียงปัญหาภายในประเทศเพื่อนบ้าน หรือจำกัดอยู่แค่ภาคเหนือของไทยอีกต่อไป แต่อาจจะกลายเป็นภัยคุกคามข้ามพรมแดนที่น่ากังวลสำหรับภาคอีสาน    แม่น้ำโขงเปรียบเสมือนหัวใจของภาคอีสาน หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนนับล้านที่พึ่งพาสายน้ำแห่งนี้ในการดำรงชีพ ไม่ว่าจะเป็นการเกษตร การประมง หรือการท่องเที่ยว เมื่อสารพิษอย่างสารหนูและตะกั่วจากแม่น้ำกกไหลลงสู่แม่น้ำโขง ย่อมหมายถึงการคุกคามโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน ชาวบ้านริมโขงที่ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ปลูกพืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์น้ำ ย่อมมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารพิษสะสมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพเรื้อรังและโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรงในระยะยาว   ปลาและสัตว์น้ำในแม่น้ำโขงเป็นแหล่งอาหารสำคัญของชุมชนริมน้ำ เมื่อสัตว์น้ำติดเชื้อหรือปนเปื้อนสารพิษ ย่อมส่งผลกระทบ การประมงพื้นบ้านที่เคยเป็นวิถีชีวิตและแหล่งรายได้หลัก จะเผชิญกับภาวะวิกฤตอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การปนเปื้อนสารพิษจะทำลายระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์น้ำนานาชนิด ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ซึ่งเป็นการสูญเสียที่ไม่สามารถประเมินค่าได้นั่นเอง   ผลกระทบยังลามไปถึงภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ แม่น้ำโขงเป็นแม่เหล็กสำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งการล่องเรือ การเยี่ยมชมวิถีชีวิตริมน้ำ หรือการทำกิจกรรมทางน้ำ เมื่อแม่น้ำถูกปนเปื้อน ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือจะลดลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และบริการท่องเที่ยวที่พึ่งพิงแม่น้ำโขงจะได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย และที่น่ากังวลไม่แพ้กันคือภาคการเกษตรและประมง สารพิษที่สะสมในน้ำก็อาจจะส่งผลกระทบต่อน้ำสำหรับการเกษตร ทำให้ผลผลิตลดลง หรือปนเปื้อนสารพิษจนไม่สามารถบริโภคได้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์ริมโขงก็จะต้องหยุดชะงัก      อ้างอิงจาก: – ประชาไท – Naewna – ไทยพีบีเอส (Thai PBS) – Lanner – PPTVHD36 – ข่าวสดออนไลน์   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์

พาสำรวจเบิ่ง วิกฤติแม่น้ำกก-น้ำโขง จากเหมืองทุนจีนทะลัก พบสารปนเปื้อนสาเหตุปลาติดเชื้อ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง อีสาน…วิกฤตหนี้ เงินกู้มากกว่าเงินฝาก 10 จังหวัดน่าห่วง

(1) ข้อมูลสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 ถึงมีนาคม 2568 พบว่า ธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศมีเงินฝากรวมทั้งสิ้น 17,479,803 ล้านบาท ขณะที่ยอดสินเชื่อ (เงินกู้) อยู่ที่ 17,997,436 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนเงินกู้ต่อเงินฝากอยู่ที่ 103% สะท้อนภาพชัดเจนว่า ประเทศไทยมีภาระหนี้สินสูงกว่าเงินฝาก หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “หนี้ท่วมเงินฝาก”   อีกทั้งยังพบว่า ในประเทศไทยมีจังหวัดที่ “หนี้ท่วมเงินฝาก” อยู่ทั้งหมด 13 จังหวัด แต่ที่น่าตกใจคือมีจังหวัดในภาคอีสานปาไปกว่า 10 จังหวัด ได้แก่  – ร้อยเอ็ด 140% – อุบลราชธานี 115% – บึงกาฬ 113% – สกลนคร 110% – อำนาจเจริญ 109% – ยโสธร 109% – ขอนแก่น 105% – ศรีสะเกษ 104% – กาฬสินธุ์ 103% – สุรินทร์ 100%   ภาคอีสานมีเงินฝากรวมทั้งสิ้น 962,035 ล้านบาท ขณะที่ยอดสินเชื่อ (เงินกู้) อยู่ที่ 936,284 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเงินกู้ต่อเงินฝากอยู่ที่ 97% แม้ยอดเงินกู้จะยังไม่สูงเกินเงินฝาก แต่ตัวเลขที่ใกล้เคียงกันนี้ถือเป็นสัญญาณที่น่าจับตาและอาจสร้างความกังวลในระยะยาว     (2) อีสาน…ดินแดน “หนี้ท่วมฝาก” วิกฤตเงียบที่รอวันปะทุ ภาคอีสานกำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ จาก 13 จังหวัดทั่วประเทศไทยที่สัดส่วนเงินกู้สูงกว่าเงินฝากอย่างน่าตกใจ กลับมีจังหวัดในอีสานด้วยจำนวนถึง 10 จังหวัดที่กำลังเจอสถานการณ์ “หนี้ท่วมฝาก” โดยมี “ร้อยเอ็ด” ที่มีสัดส่วนเงินกู้ต่อเงินฝากที่พุ่งสูงถึง 140% สูงสุดในประเทศ นี่อาจไม่ใช่เพียงตัวเลขที่น่าตกใจ แต่เป็นสัญญาณเตือนถึงโครงสร้างเศรษฐกิจระดับครัวเรือนและภูมิภาค    การที่ “ร้อยเอ็ด” กลายเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนเงินกู้ต่อเงินฝากสูงที่สุดในประเทศนั้น อาจจะเป็นผลมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน ฐานเศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก ซึ่งมีความผันผวนสูงตามฤดูกาลและราคาผลผลิต ทำให้รายได้ของครัวเรือนไม่แน่นอน และอาจต้องพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบหรือสถาบันการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องในชีวิตประจำวัน แม้จะมีสถาบันการเงินให้บริการ แต่เงื่อนไขการเข้าถึงสินเชื่อสำหรับกลุ่มเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยอาจไม่เอื้ออำนวย ทำให้ต้องกู้ยืมด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และภาระหนี้สินที่หนักอึ้งตามมา หรือแม้กระทั่งการบริโภคสินค้าที่อาจเกินกำลังทรัพย์ หรือการเข้าถึงสินค้าและบริการที่ง่ายขึ้นผ่านสินเชื่อต่างๆ อาจกระตุ้นให้เกิดการก่อหนี้โดยไม่ทันได้วางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ การขาดความรู้และทักษะในการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลที่จำกัด อาจทำให้ประชากรตกเป็นเหยื่อของวงจรหนี้สินได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจบางประเภทที่เน้นการบริโภคผ่านสินเชื่อ อาจส่งผลให้ประชาชนก่อหนี้เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้สร้างรายได้ที่ยั่งยืนนั่นเอง   (3) “หนี้ท่วมฝาก” ที่เกิดขึ้นในภาคอีสาน ไม่ใช่เพียงปัญหาเฉพาะบุคคล แต่เป็นปัญหาใหญ่ที่พร้อมจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค เมื่อครัวเรือนมีภาระหนี้สินสูง ย่อมมีเงินเหลือสำหรับการบริโภคสินค้าและบริการลดลง ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ที่สูงขึ้น ย่อมเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของสถาบันการเงิน

พามาเบิ่ง อีสาน…วิกฤตหนี้ เงินกู้มากกว่าเงินฝาก 10 จังหวัดน่าห่วง อ่านเพิ่มเติม »

เมื่อผืนป่าอีสาน…จะเหลือป่าให้ลูกหลานเท่าไหร่? พาสำรวจเบิ่ง “สัดส่วนป่าไม้ในอีสาน” มีมากแค่ไหน

ประเทศไทยของงเรามีพื้นป่าอยู่ทั้งหมด 102 ล้านไร่ หรือมีสัดส่วนพื้นที่ป่ากว่า 31.5% ของพื้นที่หมดในประเทศ แล้วเคยรู้หรือไม่ว่าพื้นที่ป่าในภาคอีสานมีมากแค่ไหน?   โดยในภาคอีสานของเรามีพื้นที่ป่า 15.6 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 14.9% ของขนาดพื้นที่ทั้งหมดในภาคอีสาน ซึ่งลดลงจากปี 2516 เท่ากับ 16.1 ล้านไร่ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Change) จากพื้นที่ที่มีสภาพเป็นป่าไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชนหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือเกิดจากปัญหาไฟป่าที่มีความรุนแรงขึ้น (Forest Fire)   อีกหนึ่งสาเหตุหลักเป็นผลมาจากสมการที่ไม่สมดุลระหว่างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจในระยะสั้นกับการรักษาสมดุลทางนิเวศในระยะยาว การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ความต้องการที่ดินเพื่อการพัฒนา และการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เข้มงวดเพียงพอ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้ผืนป่าในภาคอีสานค่อยๆ เลือนหายไปนั่นเอง โดยการขยายตัวทางการเกษตรยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของป่า และทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ การเกษตรเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ (โดยเฉพาะการเลี้ยงปศุสัตว์) และเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพในท้องถิ่น   5 จังหวัดที่มีสัดส่วนพื้นที่ป่ามากที่สุด – มุกดาหาร คิดเป็น 32.8% หรือ 8.5 แสนไร่ – เลย คิดเป็น 32.2% หรือ 21.1 แสนไร่ – ชัยภูมิ คิดเป็น 31.5%  หรือ 25.0 แสนไร่ – อุบลราชธานี คิดเป็น 17.6% หรือ 17.2 แสนไร่ – สกลนคร คิดเป็น 16.9% หรือ 10.1 แสนไร่   จังหวัดมุกดาหาร เลย และชัยภูมิ ถือเป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนของป่าธรรมชาติหลงเหลืออยู่มากที่สุดในภาคอีสาน สาเหตุหลักส่วนหนึ่งมาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขาและที่ราบสูง ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรมหรือการตั้งถิ่นฐานถาวร ทำให้พื้นที่เหล่านี้ไม่ถูกแผ้วถางหรือพัฒนาเหมือนพื้นที่ราบลุ่มอื่นๆ   ในจังหวัดมุกดาหาร แม้จะเป็นจังหวัดชายแดน แต่กลับมีสภาพภูมิประเทศเป็นเนินเขาและป่าเบญจพรรณที่ทอดยาว โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ซึ่งยังคงความสมบูรณ์ของป่าไม้เอาไว้อย่างดี ส่วนจังหวัดเลยมีแนวเทือกเขาหลายสายทอดผ่าน ไม่ว่าจะเป็นเทือกเขาภูหลวง และภูเรือ และภูพาน ซึ่งเต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและยังคงความอุดมสมบูรณ์ไว้ได้มาก ขณะที่จังหวัดชัยภูมิก็มีเทือกเขาพังเหยและภูแลนคาเป็นเสมือนแนวกันชนทางธรรมชาติ ที่ช่วยรักษาพื้นที่ป่าทั้งในเชิงระบบนิเวศและเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   นอกจากนี้ พื้นที่ในจังหวัดเหล่านี้ยังได้รับการประกาศให้เป็นเขตอนุรักษ์ อย่างเช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือป่าไม้ถาวร ทำให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และไม่สามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจได้โดยง่าย การเข้าถึงที่ค่อนข้างลำบากในบางพื้นที่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยชะลอการบุกรุกพื้นที่ป่า ดังนั้น การที่มุกดาหาร เลย และชัยภูมิ ยังมีพื้นที่ป่าเหลืออยู่มาก จึงไม่ใช่เพียงผลจากธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังเกิดจากการบริหารจัดการทรัพยากรและการวางนโยบายอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นแบบอย่างสำคัญของการรักษาสมดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในภาคอีสานนั่นเอง   ในอีกด้านหนึ่งจังหวัดที่มีสัดส่วนป่าไม้ที่ต่ำที่สุด คือ จังหวัดมหาสารคาม มีสัดส่วนป่าเพียง 3.8% และร้อยเอ็ด 4.5% ซึ่งเป็นพื้นที่ราบส่วนใหญ่และมีการพัฒนาภาคเกษตรกรรมอย่างเข้มข้น สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีต่อผืนป่า ไม่ว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนจากภาคเกษตร การขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

เมื่อผืนป่าอีสาน…จะเหลือป่าให้ลูกหลานเท่าไหร่? พาสำรวจเบิ่ง “สัดส่วนป่าไม้ในอีสาน” มีมากแค่ไหน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ความหนาแน่นประชากรอีสาน จังหวัดไหน “เบียดเสียด” จังหวัดไหน “เงียบสงบ”❓

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ “ภาคอีสาน” เป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดของประเทศ เลยทำให้ภาคอีสาน เป็นภูมิภาคที่สำคัญที่สุด ภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทย    ภาคอีสานมีเนื้อที่ประมาณ 168,883 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศไทย ที่น่าทึ่งคือ มีประชากรประมาณ 21.6 ล้านคน คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของคนทั้งประเทศ ซึ่งถือว่ามากพอๆ กับจำนวนประชากรของกัมพูชาและลาวรวมกัน   เศรษฐกิจอีสาน จากนาไร่ สู่เศรษฐกิจนอกภาคเกษตร ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของภาคอีสานเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีอัตราการเติบโตเป็นรองแค่ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมประเทศ การเติบโตนี้ทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนไป จากพื้นที่เกษตรกรรมดั้งเดิม กลายเป็นภูมิภาคที่มีธุรกิจนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น สัดส่วนคนจนลดลง ระบบเศรษฐกิจพัฒนา กำลังซื้อเพิ่มขึ้นจากในอดีต   มูลค่าเศรษฐกิจยังเล็ก เมื่อเทียบกับส่วนอื่นของประเทศ แม้เศรษฐกิจจะเติบโต แต่เมื่อมองในเชิงสัดส่วน ภาคอีสานยังมี GPP (Gross Provincial Product) เพียง 1.8 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 10.1% ของ GDP ประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งอยู่ที่ราว 17.95 ล้านล้านบาท ในปี 2566 จังหวัดพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูงสุด มหาสารคาม ความหนาแน่นของประชากร 175 คน/ตร.กม หนองคาย ความหนาแน่นของประชากร 169 คน/ตร.กม สุรินทร์ ความหนาแน่นของประชากร 167 คน/ตร.กม ศรีสะเกษ ความหนาแน่นของประชากร 163 คน/ตร.กม ขอนแก่น ความหนาแน่นของประชากร 163 คน/ตร.กม.   มหาสารคามและหนองคาย มีความหนาแน่นประชากรมากสุด สำหรับ “มหาสารคาม” ความหนาแน่นของประชากรที่สูงอาจจะเป็นเพราะบทบาทของการเป็น “นครแห่งการศึกษา” ที่แข็งแกร่ง จังหวัดนี้เป็นเสมือนแม่เหล็กที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วสารทิศ ด้วยการเป็นที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำหลายแห่ง ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การผลิตบัณฑิต หากแต่ยังสร้างระบบนิเวศทางเศรษฐกิจและสังคมที่เอื้อต่อการเติบโตของเมือง การไหลเข้ามาของนักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความต้องการที่อยู่อาศัย บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างต่อเนื่อง การขยายตัวของเมืองเพื่อรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้นนี้เอง ที่นำไปสู่การรวมตัวของประชากรในพื้นที่อย่างหนาแน่น   นอกจากนี้ การเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการศึกษา ยังกระตุ้นให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ร้านหนังสือ ร้านอาหาร สถาบันกวดวิชา ซึ่งเป็นการสร้างงานและดึงดูดผู้คนให้เข้ามาอยู่อาศัยและทำงานในพื้นที่มากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น มหาสารคามยังเป็นจุดเชื่อมต่อทางการคมนาคมที่สำคัญ ทำให้ผู้คนสัญจรและเข้ามาใช้บริการในจังหวัดนี้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความหนาแน่นของประชากรทั้งในแง่ของผู้อยู่อาศัยถาวรและประชากรแฝงนั่นเอง   ในขณะที่ “หนองคาย” กลับมีความแตกต่างออกไป ความหนาแน่นของประชากรในจังหวัดนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการเป็น “ประตูสู่ล้านช้าง” จังหวัดชายแดนแห่งนี้มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงประเทศไทยกับ สปป.ลาว โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเป็นสัญลักษณ์แห่งความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม

พามาเบิ่ง ความหนาแน่นประชากรอีสาน จังหวัดไหน “เบียดเสียด” จังหวัดไหน “เงียบสงบ”❓ อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง งบประมาณเทศบาลอีสาน ใครคือเบอร์ใหญ่❓

งบประมาณจากภาครัฐถือเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาของเทศบาลนคร เม็ดเงินเหล่านี้ถูกจัดสรรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในหลากหลายมิติ ตั้งแต่การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การให้บริการสาธารณะ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ไปจนถึงการส่งเสริมเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น   การได้รับงบประมาณที่เพียงพอและสอดคล้องกับขนาดและความต้องการของเทศบาลนครแต่ละแห่ง ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้กับเมือง เทศบาลนครที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการงบประมาณนั้น ก็สามารถแปลงเม็ดเงินที่ได้รับมาเป็นโครงการและกิจกรรมที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อประชาชนและเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อย่างชัดเจน แต่ในทางตรงกันข้ามเทศบาลที่ประสบปัญหาในการบริหารจัดการ อาจเผชิญกับข้อจำกัดในการพัฒนาและไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มที่   งบประมาณเทศบาลอีสาน การจัดสรรและการเติบโตที่แตกต่าง ภาพรวมงบประมาณของเทศบาลในภาคอีสานที่ปรากฏ เปรียบเหมือนเป็นกระจกสะท้อนทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ซับซ้อนของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็จะมีการเติบโต โอกาส และความท้าทายที่แตกต่างกัน   5 อันดับจังหวัดได้ที่งบประมาณเทศบาลมากสุด เทศบาลนครขอนแก่น 986 ล้านบาท เทศบาลนครนครราชสีมา 960 ล้านบาท เทศบาลนครอุดรธานี 804 ล้านบาท เทศบาลนครอุบลราชธานี 496 ล้านบาท เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด 453 ล้านบาท   ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี และอุบลฯ  Big 4 แห่งงบประมาณและความเจริญ เมื่อพิจารณาจากปริมาณงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลนครอุดรธานี และเทศบาลนครอุบลราชธานี ได้รับงบประมาณเทศบาลมากกว่าจังหวัดอื่นๆ สะท้อนให้เห็นถึงขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่โต ความเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และจำนวนประชากรที่หนาแน่น การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการศึกษา ทำให้เทศบาลเหล่านี้ได้รับงบประมาณมากกว่าจังหวัดอื่นๆ นอกจากนี้ การมีโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาแล้ว และการเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญ ยังดึงดูดกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลายรูปแบบ ส่งผลให้มีงบประมาณเพียงพอต่อการพัฒนาเมืองในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข หรือการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย   ปลายแถวแห่งงบประมาณ เมื่อมองไปยังเทศบาลที่มีงบประมาณน้อยที่สุด เช่น เทศบาลเมืองบึงกาฬ เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู และเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ซึ่งอาจเห็นข้อจำกัดทางด้านขนาดเศรษฐกิจ ฐานภาษี และจำนวนประชากร อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดเหล่านี้ก็อาจเป็นแรงผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการบริหารจัดการงบประมาณและการพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลเหล่านี้อาจต้องพึ่งพาการบูรณาการความร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ การดึงดูดการลงทุนเฉพาะกลุ่ม หรือการพัฒนาจุดแข็งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติเพื่อสร้างความแตกต่างและโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ๆ     อ้างอิงจาก: – สำนักงบประมาณ – สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ # #เศรษฐกิจอีสาน #เทศบาลนคร #เทศบาลนครในอีสาน  #เทศบาลนคร #เทศบาลเมือง

พาส่องเบิ่ง งบประมาณเทศบาลอีสาน ใครคือเบอร์ใหญ่❓ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top