Siree Jamsuwan

แฟนๆ “ New Era ” ภาคอีสานมีเฮ! เปิดตัวหน้าร้านครั้งแรกที่จังหวัดขอนแก่นและอุบลฯ

แฟนๆ “ New Era ” ภาคอีสานมีเฮ! เปิดตัวหน้าร้านครั้งแรกที่จังหวัดขอนแก่นและอุบลฯ   New Era สุดยอดแบรนด์หมวกและแฟชั่นชั้นนำจากอเมริกา เอาใจลูกค้าชาวอีสาน เปิดตัวหน้าร้านแบรนด์ New Era ครั้งแรกในภาคอีสาน จำนวนถึง 2 แห่ง ให้ไปช้อปกันได้แล้วที่ เซ็นทรัล ขอนแก่น และ เซ็นทรัล  อุบลราชธานี พร้อมเปิดตัวคอลเลคชันใหม่ประจำเดือนสิงหาคมอย่าง COLOR ERA คอลเลคชันหมวก และเสื้อผ้า หลากหลายสีสันถึง 6 เฉดสี ให้เอาไปมิกซ์แอนด์แมทช์ลุคสนุก ได้แบบไม่มีเอ้าท์อีกด้วย   สำหรับคอลเลคชันพิเศษประจำเดือนสิงหาคมนี้ New Era มาพร้อมกับความสดใสด้วยคอลเลคชันใหม่ COLOR ERA ที่มาเพิ่มสีสันให้กับทุกลุค พร้อมปรับมู้ดให้อารมณ์ดีได้ตลอดทั้งวัน โดยคอลเลคชันนี้มีให้เลือกถึง 6 เฉดสี ให้เอาไปแมทช์ได้หลายลุคตามใจในทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะเป็น สีเหลือง สีเขียวมอส สีเทอร์ควอยซ์ สีน้ำเงิน สีม่วง และสีโอ๊ตที่มาพร้อมกับโลโก้ NY – LA สินค้ายอดฮิตของ New Era ในรุ่น 9FORTY และ 9FORTY® AF TRUCKER และด้วยดีไซน์การออกแบบที่เรียบง่ายเป็นเฉดสีเดียวกันทั้งใบ ทำให้หมวกรุ่นนี้ มีความโฉบเฉี่ยว ใส่ได้หลายลุค หลายโอกาสมากยิ่งขึ้น    นอกจากนี้ ในคอลเลคชัน COLOR ERA ยังมีไอเทมเสื้อผ้าอีกกว่า 18 ชิ้น ที่มาใน 6 เฉดสีเช่นเดียวกันกับหมวก ให้การมิกซ์แอนท์แมทช์สนุกเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เสื้อยืดแขนสั้น เสื้อสเวสเตอร์ รวมถึงกางเกงไหมพรมขาสั้นและขายาว และด้วยการออกแบบที่เรียบง่าย ทำให้ลุคที่แต่งออกมา ดูน่าสนใจมากกว่าที่เคย คอลเลคชันนี้ไม่เพียงแต่เหมาะกับการแต่งลุคสไตล์โมโนโครม (Monochrome) ในโทนสีเดียวเท่านั้น แต่ยังเหมาะกับการแต่งสไตล์ คัลเลอร์บล็อก (Color Block) โดยการเอาสีที่ตัดกันมาแต่งเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างลุคดูสนุก ขี้เล่น เพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย    คุณวิชนารถ สิริสิงห์ ผู้จัดการทั่วไป BANGKOK SPORTSWEAR กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้ขยายสาขาหน้าร้านของเรามายังภาคอีสาน ในจังหวัดขอนแก่น และอุบลราชธานี ซึ่งการเปิดสาขาใหม่ในครั้งนี้ เพื่อตอบรับกับความต้องการของลูกค้าของ New Era ในภาคอีสานที่มีอย่างเหนียวแน่น รวมถึงมีความต้องการซื้อสินค้าของเราในภาคอีสานอย่างต่อเนื่อง โดยเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าลูกค้าจะสามารถมาลอง และสัมผัสสินค้าจริง และซื้อสินค้าได้เองง่าย ๆ จากหน้าร้านของเราได้โดยตรง”   ชาวอีสานอย่าลืมแวะไปช้อป พร้อมสัมผัสความเป็น New Era …

แฟนๆ “ New Era ” ภาคอีสานมีเฮ! เปิดตัวหน้าร้านครั้งแรกที่จังหวัดขอนแก่นและอุบลฯ อ่านเพิ่มเติม »

สิพามาเจาะลึก ศูนย์รวมผ้าไหม จ.ขอนแก่น ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท และ ผ้าลายแคนแก่นคูน

สิพามาเจาะลึก ศูนย์รวมผ้าไหม จ.ขอนแก่น ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท และ ผ้าลายแคนแก่นคูน   ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท ประวัติ   “ชนบท” เป็นเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน มีการตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2326 โดยกวนเมืองแสน สมุหกลาโหมแห่งเมืองสุวรรณภูมิ พาสมัครพรรคพวกอพยพหนีออกจากเมือง สุวรรณภูมิ แคว้นจำปาสัก ในประเทศลาว มาตั้งเมืองที่บ้านหนองกองแก้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2335 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหนองกองแก้วขึ้นเป็นเมือง พระราชทานนามว่า “ชลบถพิบูลย์” ซึ่งแปลว่าทางน้ำหรือเมืองที่มีน้ำล้อมรอบ และตั้งท้าวคำพาวเป็นเจ้าเมือง ตำแหน่งพระจันตะประเทศ จากนั้นได้มีการจัดเขตการปกครองและเมืองชนบทได้ถูกยุบรวมหลายครั้ง จากอำเภอเป็นตำบล ขึ้นกับอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2509 ทางราชการจึงได้ตั้งเมืองชนบทขึ้นเป็นอำเภออีกครั้งหนึ่ง ในชื่อ “ชนบท” จนถึงปัจจุบัน   ชาวชนบทมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทุกครัวเรือนจะมีที่ดินทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ นอกจากอาชีพทำนาแล้ว ก็มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปลูกฝ้าย เพื่อนำเส้นไหมและฝ้ายมาทอเป็นผืนผ้า ดังคำกล่าวที่ว่า “ยามว่างจากนา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายจักสาน” ในอดีตที่ผ่านมา การทอผ้าถือเป็นหน้าที่สำคัญของผู้หญิงชาวอีสาน เพราะจะต้องทอผ้าเพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มในชีวิตประจำวัน ผู้หญิงอีสานต้องเรียนรู้และฝึกหัดการทอผ้ามาตั้งแต่เด็ก จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ดังคำผญาที่สอนสตรีชาวอีสานว่า “ทอหูกบ่เป็นแจ ทอแพรบ่เป็นฝาต้อน เลี้ยงม่อนบ่ฮู้โตลุกโตนอน อย่าฟ้าววอนเอาผัว” การทอผ้าเพื่อใช้ในครอบครัวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้หญิงอีสานจะต้องเรียนรู้และฝึกหัด โดยเริ่มจากผู้เป็นแม่ได้ถ่ายทอดความรู้และเทคนิควิธีการทอผ้าให้ลูกหลาน สืบทอดกันมาไม่ขาดสาย ผ้าไหมที่ทอได้ นิยมสวมใส่ไปทำบุญที่วัด หรือในงานพิธีและงานมงคลต่างๆ รวมทั้งเก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน   อำเภอชนบท เริ่มมีการทอผ้ามาตั้งแต่เมื่อไร ไม่สามารถสืบประวัติได้ แต่มีหลักฐานสำคัญคือ ผ้าไหมมัดหมี่หน้านาง หรือผ้าปูม อายุ กว่า 220 ปี ที่เจ้าเมืองชนบทคนแรกได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โดยทายาทของเจ้าเมืองเป็นผู้เก็บรักษาไว้ ซึ่งต่อมา คนชนบทได้นำมาเป็นต้นแบบในการทอผ้าไหมมัดหมี่หน้านาง ที่มีชื่อเสียงและเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของผ้าไหมชนบทในปัจจุบัน จึงสันนิษฐานว่าการทอผ้าของอำเภอชนบทน่าจะมีมาไม่ต่ำกว่า 100 ปี หรืออาจจะมีมาตั้งแต่เริ่มตั้งเมืองชนบท คือ ประมาณ 200 กว่าปีที่แล้ว   ผ้าที่ทอด้วยมือที่มีชื่อเสียงที่สุดของอำเภอชนบท ได้แก่ “ผ้าไหมมัดหมี่” โดยมีขั้นตอนเริ่มจากการคัดเลือกเส้นไหม การออกแบบลายหมี่ การให้สี การทอเป็นผืนผ้า ซึ่งเป็นงานที่ละเอียดอ่อน ผ้าไหมชนบทมีจุดเด่นคือ มีความสวยงาม ลวดลายละเอียดแตกต่างจากที่อื่น   เอกลักษณ์ของผ้าไหมชนบท คือ “ลาย”และ “เทคนิคการทอผ้า” ลายเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาและถือว่าเป็นลายต้นแบบและเป็นลายเก่าแก่ของผ้าเมืองขอนแก่น คือ ลายหมี่กง ลายขันหมากเบ็ง ลายขอพระเทพหรือลายเชิงเทียน โดยส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะเป็นการทอผ้าแบบ 3 ตะกอ ทำให้เนื้อผ้าแน่น สม่ำเสมอ มีลักษณะสีและลวดลายของผ้าด้านหนึ่งสีทึบกว่าอีกด้าน …

สิพามาเจาะลึก ศูนย์รวมผ้าไหม จ.ขอนแก่น ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท และ ผ้าลายแคนแก่นคูน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง จำนวนแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน ในแต่ละจังหวัดภาคอีสาน มีเท่าใด๋แหน่?

พามาเบิ่ง จำนวนแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน ในแต่ละจังหวัดภาคอีสาน มีเท่าใด๋แหน่?   กลุ่มประเทศอาเซียน และ CLMVT คืออะไร? อาเซียน คือ การรวมตัวกันของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ย่อมาจาก Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและร่วมมือกันในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก ทั้งยังช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้จากสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ช่วยสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจได้อีกด้วย โดยอาเซียนประกอบด้วย 10 ประเทศได้แก่ บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย   CLMVT คือ กลุ่มอาเซียนในเขตภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ที่มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกัน ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย   ข้อมูลทั่วไป คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทํางานในประเทศไทย ตามพระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางาน ของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว (ฉบับ 2) พ.ศ.2561 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวของ ดังนี้ คนต่างด้าวตลอดชีพ ได้แก่ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทํางานตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 322 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 คนต่างด้าวมาตรา 59 (ประเภททั่วไป) ได้แก่ คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยูในราชอาณาจักร หรือได้รับ อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้า มาในฐานะนักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทางผ่าน และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในกฎกระทรวง คนต่างด้าวมาตรา 59 (ประเภทนําเข้าตาม MoU) ได้แก่ คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่เข้ามาทํางานตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทย กับ รัฐบาลประเทศคู่ภาคี คนต่างด้าวมาตรา 62 (ประเภทส่งเสริมการลงทุน) ได้แก่ คนต่างด้าวที่เข้ามาทํางานในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520) หรือกฎหมายอื่น ได้แก่ พระราชบัญญัตินิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เช่น นักลงทุน ช่างฝีมือ ผู้ชํานาญการ คนต่างด้าวมาตรา 63/1 (ประเภทชนกลุ่มน้อย) ได้แก่ คนต่างด้าวที่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตาม กฎหมายว่าด้วยสัญชาติ และกระทรวงมหาดไทยได้ออกเอกสารเพื่อรอพิสูจน์สถานะยื่นขอใบอนุญาตทํางาน คนต่างด้าวมาตรา 64 …

พามาเบิ่ง จำนวนแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน ในแต่ละจังหวัดภาคอีสาน มีเท่าใด๋แหน่? อ่านเพิ่มเติม »

ย้อนเเบิ่ง GPP 2021 แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน เป็นจังใด๋แหน่

ย้อนเเบิ่ง GPP 2021 แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน เป็นจังใด๋แหน่   ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) หมายถึง มูลค่าการผลิตสินค้าและ บริการขั้นสุดท้ายของจังหวัด ซึ่งมีค่าเท่ากับมูลค่าเพิ่ม (value added) จากกิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดที่ผลิตขึ้นในขอบเขตของจังหวัด   ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน (Per capita GPP) เป็นตัวเลขที่แสดงถึงความสามารถในการสร้างรายได้ของจังหวัดเฉลี่ยต่อคน ข้อมูลนี้ใช้เปรียบเทียบกันระหว่างจังหวัด เพื่อดูระดับความแตกตางของความสามารถในการสร้าง รายได้ (Generated of factor income) จังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงแสดงถึงความสามารถ หรือศักยภาพในการสร้างรายได้ที่สูงกว่าจังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยตํ่า   ในปี 2564 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอีสาน หรือที่เรียกว่า GRP (Gross Regional Product) มีมูลค่าเท่ากับ 1,671,902 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าในส่วนนี้ คิดเป็นสัดส่วนได้เพียง 10.2% ของมูลค่า GDP ของประเทศไทยทั้งประเทศ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 16 ล้านล้านบาท   ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในภาคอีสาน เท่ากับ 86,233 บาทต่อปี หรือ 7,186 บาทต่อเดือน ซึ่งน้อยที่สุดในบรรดาภูมิภาคทั้ง 6 ภาคของประเทศไทย และเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทย ที่เท่ากับ 224,962 บาท จะเห็นว่า รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในภาคอีสาน น้อยกว่ารายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทยเกือบ 3 เท่า หรือ 38.3% ของรายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทย   5 จังหวัดที่มี GPP สูงสุด นครราชสีมา        มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 315,583 ล้านบาท  ขอนแก่น มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 213,039 ล้านบาท  อุบลราชธานี มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 135,617 ล้านบาท  อุดรธานี มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 113,797 ล้านบาท บุรีรัมย์                 มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 96,936 ล้านบาท   จะเห็นว่า จังหวัดที่กล่าวมา มีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกันกว่า 874,972  ล้านบาท แสดงให้เห็นว่า ความมั่งคั่งของคนในภาคอีสานมีความกระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่จังหวัด ทำให้เกิดปัญหาที่ตามมา คือ แรงงานจากจังหวัดในภาคอีสานจำนวนมากไปทำงานใน 5 จังหวัดที่มั่งคั่งดังกล่าว และบางส่วนอาจย้ายเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ เพื่อหาโอกาสในชีวิตที่ดีขึ้น นี่คือสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมของภาคอีสานไม่ได้ถูกขับเคลื่อนให้กระจายไปแต่ละพื้นที่ได้ดีเท่าที่ควร …

ย้อนเเบิ่ง GPP 2021 แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน เป็นจังใด๋แหน่ อ่านเพิ่มเติม »

ฮู้บ่ว่า  13 กลุ่มชาติพันธุ์ในอีสาน มีอิหยังแหน่ ?

ฮู้บ่ว่า  13 กลุ่มชาติพันธุ์ในอีสาน มีอิหยังแหน่ ? ภูมิภาคอีสาน เป็นดินแดนที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศในกลุ่มประชาคมลุ่มน้ำโขง ประชากรในภูมิภาคนี้มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยมีกลุ่มวัฒนธรรมไท-ลาวเป็นหลักและกลุ่ม วัฒนธรรมย่อยที่แตกต่างตามสภาพท้องถิ่นฐานเดิม กลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคนี้จำแนกตามตระกูลภาษาได้ 2 ตระกูล คือ กลุ่มไต-กะได ที่ประกอบด้วยกลุ่มวัฒนธรรมไท-ลาว ไทโคราช และกลุ่มออสโตรเอเชียติค สาขามอญ-เขมร ที่ประกอบด้วยกลุ่มเขมรถิ่นไทย กูย บรู   อีสานนอกจากการเป็นดินแดนอันกว้างขวาง ที่มีวัฒนาการทางสังคมอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีต การเดินทางติดต่อระหว่างกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ ที่ทำให้อีสานไม่ใช่ดินแดนที่อยู่โดดเดี่ยว พื้นที่สูง ที่ราบบนผืนแผ่นดินใหญ่และแนวชายฝั่งทะเล เป็นองค์ประกอบที่ทำให้มีการติดต่อไปมาหาสู่กันอย่างกว้างขวาง กลุ่มชนไต-กะไดเป็นกลุ่มชนหลักในภูมิภาค ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มชนอื่น ๆ เช่น กลุ่มออสโตร-เอเชียติค สาขามอญเขมรกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคนี้การผสมผสานทางวัฒนธรรมและพัฒนาการทางสังคมที่สั่งสมมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มชนต่าง ๆ สร้างสรรค์อารยธรรมขึ้นมาอย่างมีเอกลักษณ์จนกลายเป็นวัฒนธรรมของภูมิภาค   อ้างอิงจาก: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ชาติพันธุ์อีสาน  

พามาเบิ่ง Update 8 สถานที่ สักการะพญานาค ริมแม่น้ำโขง

พามาเบิ่ง Update 8 สถานที่ สักการะพญานาค ริมแม่น้ำโขง   เจ้าเซื่อเรื่องพญานาคบ่ ? เชื่อเหลือเกินว่าคนไทยกับการมูเตลูนั้นเป็นของคู่กันมาแต่ช้านาน “พญานาค” ถือเป็นหนึ่งสิ่งศักด์สิทธิ์ที่หลายคนนับถือและต่างพูดถึงกันอย่างมาก   จังหวัดบึงกาฬ อ.บึงโขงหลง : ถ้ำนาคา เจ้าปู่อือลือนาคราช สถานที่แรกที่ไม่พูดถึงไม่ได้ในตอนนี้ คงไม่พ้น“ถ้ำนาคา บึงกาฬ” หรือ “ถ้ำพญานาค” สถานที่สุดฮิตที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในตอนนี้นอกจากจะเป็นแหล่งสักการะบูชาพญานาคแล้วยังถือเป็นแหล่งที่เที่ยวสำคัญในจังหวัดบึงกาฬอีกด้วย โดยการกราบไหว้สักการะ ควรไหว้ทั้ง 3 ส่วนไม่ว่าจะเป็น ส่วนหัว, ส่วนลำตัว และเกล็ดพญานาค  พิกัดสถานที่: https://goo.gl/maps/jUHXbteWwzyTCj896    จังหวัดอุดรธานี : วังนาคินทร์ คำชะโนด เป็นสถานที่สำคัญที่ผู้ที่บูชาพญานาคนั้นมากราบไหว้ขอพร โดยมหาเทพพญานาคผู้ปกปักรักษาที่นี่มีชื่อว่า “จ้าวปู่ศรีสุทโธ และ จ้าวย่าศรีปทุมมา” ที่หลายๆรู้กัน   พิกัดสถานที่ วัดคำชะโนด: https://goo.gl/maps/Ve4qjV8gw4ayQBuu6   จังหวัดศรีสะเกษ : ถ้ำนาคาธิบดี สำหรับ “ถ้ำนาคาธิบดี” หรือ “ถ้ำพญานาค แห่งวัดป่าศรีมงคลรัตนาราม”แห่งศรีสะเกษ คือ สถานที่ แลนด์มาร์กที่สามารถไปกราบไหว้บูชาพญานาค โดยภายในเป็นถ้ำที่มีลักษณะเสมือนวังบาดาลใต้น้ำเป็นอีกหนึ่งสถานที่สำหรับสักการะบูชาพญานาค ในจังหวัดศรีสะเกษ ภายในตัวถ้ำมีความสวยงามอลังการของหินงอกหินย้อย ประกอบกับแสงไฟหลากสี รวมไปถึงรูปปั้นพญานาคขนาดใหญ่สีสันสวยงามส่วนมากจะมีสีขาวภายในถ้ำ มีไว้เพื่อสักการะบูชา ขอพร และสำหรับข้างนอกถ้ำก็ยังมีรูปปั้นพญานาคและสระน้ำขนาดใหญ่ให้ได้นั่งชมอีกด้วย พิกัดสถานที่: https://goo.gl/maps/SbFeGBYwNfr6ReCM7    จังหวัดนครพนม : ลานพญาศรีสัตตนาคราช  มีรูปปั้นองค์พญาศรีสัตตนาคราช 7 เศียรสีเหลือทองที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน รูปปั้นพญานาคจะมีลักษณะขดหาง 7 เศียรตั้งอยู่บนแท่น 8 เหลี่ยมและองค์พญานาคพ่นน้ำได้อีกด้วย ซึ่งสำหรับ พญาศรีสัตตนาคราช นั้นเชื่อกันว่าเป็นองค์พญานาคตระกูลที่เป็นต้นตระกูลขององค์พญานาคอื่นๆทั้งหลาย เป็นหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัด พิกัดสถานที่: https://goo.gl/maps/oubWTbWYTdQDNdV87   จังหวัดอุบลราชธานี : วัดพระธาตุหนองบัว  เป็นสถานที่สักการะบูชากราบไหว้หลักๆของชาวอุบลมีรูปปั้นองค์พญานาคฉัพยาปุตตะ หรือพญานาคสีรุ้ง (เป็นหนึ่งใน 4 ของตระกูลพญานาคทั้งหมด4 ตระกูล) นอกจากองค์พญานาคแล้วจุดไฮไลท์ของที่นี่คือ พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ ที่มีลักษณะเป็นเจดีองค์ใหญ่ สีขาวทองแกะสลักลวดลายสวยงามว่ากันว่าจำลองมาจากเจดีย์พุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในประเทศอินเดียและภายในเจดีย์นั้นมีพระประทานและพระพุทธรูปหลายหลากองค์อยู่ในนั้นอีกด้วย พิกัดสถานที่: https://goo.gl/maps/ghTYiYpfL2Duxfh17   จังหวัดมุกดาหาร : วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ คือวัดที่ตั้งอยู่บนภูเขาริมแม่น้ำโขง ด้านบนของวัดจะมีรูปปั้นพญานาคองค์ใหญ่ “พญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราช”สีเขียวทองโอ่อ่าตระการตาที่มีความสูงมากกว่า 20 เมตรเลยทีเดียว และ “พระเจ้าใหญ่แก้วมุกดาศรีไตรรัตน์”สีขาวองค์ใหญ่มากเช่นกัน เป็นจุดถ่ายรูปที่สุดจะสดสวยงดงาม ซึ่งสามารถมองเห็นวิวของแม่น้ำโขงสามารถมองได้ไกลไปจนถึงฝั่งประเทศลาว พิกัดสถานที่: https://goo.gl/maps/7Bw4CywtjboNZ9S28   จังหวัดสกลนคร : วัดถ้ำผาแด่น  ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานในจังหวัดสกลนคร มีรูปปั้นพญานาคปรกสีเหลืองทองขนาดใหญ่ “พระพุทธชัยราชา”บริเวณภายในวัด โดยบริเวณรอบๆวัดมีความร่มรื่นเป็นอย่างมาก โดยตัววัดจะติดอยู่กับผาหินที่แกะสลักรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่ที่ดูยิ่งใหญ่และวิจิตรงดงามเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นสลักหินรูปพระพุทธสีหไสยาสน์ พญาครุฑเวสสุวรรณ และอื่นๆ   พิกัดสถานที่: …

พามาเบิ่ง Update 8 สถานที่ สักการะพญานาค ริมแม่น้ำโขง อ่านเพิ่มเติม »

ปังหลาย ! จ.สกลนคร แหล่งผลิตมันฝรั่งอันดับ 1 ภาคอีสาน  ‘แปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง’ สร้างรายได้กลุ่มปีละกว่า 10 ล้านบาท

ปังหลาย ! จ.สกลนคร แหล่งผลิตมันฝรั่งอันดับ 1 ภาคอีสาน  ‘แปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง’ สร้างรายได้กลุ่มปีละกว่า 10 ล้านบาท   จ.สกลนคร แหล่งผลิตมันฝรั่งอันดับ 1 ภาคอีสาน เกษตรกรรวมกลุ่ม แปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง สร้างรายได้กลุ่มปีละกว่า 10 ล้านบาท โดยมีนางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิตมันฝรั่งในพื้นที่จังหวัดสกลนคร แหล่งผลิตมันฝรั่งอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเกษตรกรนิยมปลูกเป็นพืชเสริมรายได้จากการทำนาเป็นหลัก จากข้อมูล สศก. ณ เดือนพฤษภาคม 2566 จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่ปลูกมันฝรั่ง 1,783 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 1,431 ไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.59)    เนื่องจากภาครัฐมีโครงการสนับสนุนการปลูกมันฝรั่งหลังฤดูทำนาปี ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาราคาดี เกษตรกรจึงขยายพื้นที่ปลูก พื้นที่ปลูกครอบคลุม 3 อำเภอ ได้แก่ เมือง พังโคน และโคกศรีสุพรรณ ผลผลิตรวม 5,438 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 5,930 ตัน (ลดลงร้อยละ 9.11) เนื่องจากมีฝนตกในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงมันฝรั่งลงหัวส่งผลให้หัวมันเน่า   จากการลงพื้นที่ของ สศท.3 พบว่า กลุ่มแปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง บ้านโคกก่อง ตำบลโคกก่อง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแปลงใหญ่มันฝรั่งหนึ่งเดียวในจังหวัดสกลนคร เกษตรกรในพื้นที่รวมตัวกันผลิตมันฝรั่งจนประสบผลสำเร็จ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2545 ปัจจุบันมีสมาชิกเกษตรกร 97 ราย พื้นที่ปลูกรวม 574 ไร่ โดยมีนายธาตุ คำสงค์ เป็นประธานแปลงใหญ่ ด้านสถานการณ์การผลิตของกลุ่ม เกษตรกรจะปลูกมันฝรั่งเป็นพืชหลังฤดูการทำนาปี ปีละ 1 รอบ ซึ่งในการปลูกมันฝรั่งเกษตรกรจะใช้หัวพันธุ์ในการเพาะปลูกประมาณ 250 – 325 กิโลกรัม/ไร่ ราคาหัวพันธุ์อยู่ที่ 26 – 35 บาท/กิโลกรัม หัวพันธุ์ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ มีระยะเวลาการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วัน นิยมปลูกช่วงเดือนตุลาคม พฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนมกราคม มีนาคม สำหรับในปี 2566 กลุ่มแปลงใหญ่ มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 23,590 บาท/ไร่/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 3,090 กิโลกรัม/ไร่/ปี รวมผลผลิตทั้งกลุ่ม 1,774 ตัน/ปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 41,200 บาท/ไร่/ปี คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย …

ปังหลาย ! จ.สกลนคร แหล่งผลิตมันฝรั่งอันดับ 1 ภาคอีสาน  ‘แปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง’ สร้างรายได้กลุ่มปีละกว่า 10 ล้านบาท อ่านเพิ่มเติม »

ปังหลาย ! คนดังอีสานไประดับโลก มีไผแหน่ ? 

ปังหลาย ! คนดังอีสานไประดับโลก มีไผแหน่ ?    ไหนใครรู้จักคนไหนอีกบ้าง comment กันเลยค่า 🥰✨   อ้างอิงจาก:  wikipedia, trueid, mgronline, komchadluek, sanook, thestandard   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ลิซ่า #โอปอล #คริสซีทีเกน #จาพนม #บัวขาว #ภราดร

แอนโทเนีย โพซิ้ว MUT นครราชสีมา คว้าตำแหน่ง ‘Miss Universe Thailand 2023’

“แอนโทเนีย โพซิ้ว” ผู้ครองมงกุฎ Light of Glory ประจำตำแหน่งของ Miss Universe Thailand 2023    รู้จัก “แอนโทเนีย โพซิ้ว” สาวสวยมีมง! ลูกครึ่งไทย-เดนมาร์ก เกิดวันที่ 2 พฤศจิกายน 2539 อายุ 26 ปี จบปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติ สาขาวิชาการตลาดและประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด เติบโตมาจากครอบครัวที่ผสมผสานสองวัฒนธรรม โดยมีคุณแม่เป็นคนไทย และคุณพ่อเป็นคนเดนมาร์ก ในวัยเด็กแอนเคยอาศัยอยู่ 7 ประเทศ ทำให้แอนได้เรียนรู้การใช้ชีวิต และเปิดใจยอมรับในความแตกต่างของสภาพแวดล้อม และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทและคิดค้นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน ทุกคำสั่งซื้อจะสมทบทุน 1$ ให้กับโครงการ littlesteps ของตัวเอง ซึ่งทำอย่างต่อเนื่องมามากกว่า 5 ปี แอนเน้นย่ำความสำคัญในการคืนประโยชน์ให้แก่สังคม และผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีความแข็งแรงและปลอดภัย   สำหรับ “Miss Universe Thailand 2023 (มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2023” อย่างยิ่งใหญ่ พร้อมการประกาศชื่อ “แอนโทเนีย โพซิ้ว MUT31 จากจังหวัด นครราชสีมา” เป็นผู้ครองมงกุฎ “มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2023” เธอคือสาวงามที่ฉายแสงแห่งความงาม และพลังแห่งความสร้างสรรค์ในปี 2023 โดยคว้ามงกุฎ “Light of Glory” จากแบรนด์เครื่องเพชรระดับโลก MOUAWAD มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท  พร้อมด้วยคอนโดมิเนียมจาก ASSET WISE   เดินทางมาถึงค่ำคืนที่ทุกคนรอคอยกับการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2023 รอบตัดสิน (Final Competition) ที่จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม  ณ MCC Hall MCC Hall ชั้น 4 เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน ซึ่งสาวงามทั้ง 53 คนสุดท้าย ได้ประชันกันเป็นครั้งสุดท้ายบนเวทีที่สร้างสรรค์ขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เกินจินตนาการ พาผู้ชมและแฟนนางงามเดินทางสู่ดินแดนใหม่แห่งจักรวาล พร้อมเต็มอิ่มกับโชว์การประกวดที่ไม่เหมือนทุกครั้งและปังกว่าที่เคย   เปิดด้วยโชว์ Grand Opening รังสรรค์โดย ” Harlem Shake” ของเหล่า 53 สาวงาม ร่วมด้วยการประกาศผลผู้เข้ารอบ 20 คนสุดท้าย พร้อมด้วยการอวดลีลาเดินโชว์รอบชุดว่ายน้ำ by Vincent Clinic ตัดเย็บโดย UNIX อยากมงต้องทรง UNIX และประกาศผลสาวงาม 12 คนสุดท้ายที่มาจาก Fast Track …

แอนโทเนีย โพซิ้ว MUT นครราชสีมา คว้าตำแหน่ง ‘Miss Universe Thailand 2023’ อ่านเพิ่มเติม »

ISAN Insight & Outlook สิพามาเจาะลึก ประวัติ ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์

ISAN Insight & Outlook สิพามาเจาะลึก ประวัติ ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์   “ เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา  ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว  ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี ”   แพรวา หรือ ผ้าไหมแพรวาเป็นผ้าทอมืออันเป็นการทอผ้าแพรวามีมาพร้อมกับวัฒนธรรมของชาวภูไท ซึ่งเป็นชนกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในบริเวณแคว้นสิบสองจุไทย (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) อพยพเคลื่อนย้ายผ่านเวียดนาม ลาว แล้วข้ามฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่แถบเทือกเขาภูพานทางภาคอีสานของไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร โดยยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ การแต่งกาย และการทอผ้าไหมที่มีภูมิปัญญาในการทอด้วยการเก็บลายจากการเก็บขิด และการจก ที่มีลวดลายโดดเด่น ที่มีภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก บรรพบุรุษและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ผ้าแพรวาจึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาจาก กลุ่มภูไท   ผ้าแพรวามีความหมายรวมกันว่า ผ้าทอเป็นผืนที่มีขนาดความยาว 1 วา หรือ 1 ช่วงแขน ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือห่มสไบเฉียงที่เรียกว่าผ้าเบี่ยงของชาวผู้ไทย ซึ่งใช้ในโอกาสที่มีงานเทศกาลบุญประเพณีหรืองานสำคัญอื่นๆ โดยประเพณีทางวัฒนธรรมของหญิงสาวชาวภูไทจะต้องยึดถือปฏิบัติคือ จะต้องตัดเย็บผ้าทอ 3 อย่างคือ เสื้อดำ ตำแพร (หมายถึงการทอผ้าแพรวา) ซิ่นไหม ผ้าแพรวานิยมทอด้วยไหมทั้งผืน มีสีสัน ลวดลาย ที่หลากหลายนับเป็นผ้าไทยอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมสูง ในหมู่ผู้นิยมผ้าไทยทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีการทอผ้าไหมแพรวาที่งดงามและมีชื่อเสียง ผ้าแพรวาได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากโครงการศูนย์ศิลปาชีพพิเศษในสมเด็จ พระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมพสกนิกรชาวอำเภอคำม่วง เมื่อปี พ.ศ. 2520 ได้ทอดพระเนตรเห็นชาวภูไท บ้านโพน แต่งตัวโดยใช้ผ้าแพรวาห่มตามแบบสไบเฉียง หรือเรียกว่า ผ้าเบี่ยง ได้ทรงสนพระทัยมากจึงโปรดให้มีการสนับสนุน และได้มีพระราชดำริให้ขยายหน้าผ้าให้กว้างขึ้น เพื่อที่จะได้นำไปใช้เป็นผ้าผืนสำหรับตัดเสื้อผ้าได้ อีกทั้งพัฒนาลวดลายให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาด การพัฒนาการทอผ้าแพรวาเกิดขึ้นเพราะพระบารมีของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถที่ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นความงาม และคุณค่าแห่งศิลปะชิ้นนี้ในครั้งนั้น   – ลวดลายและกรรมวิธีการทอ ลวดลายผ้าแพรวานับเป็นผ้ามรดกของครอบครัว โดยในแต่ละครัวเรือน จะมี ผ้าแซ่ว ซึ่งเป็นผ้าไหมส่วนใหญ่ทอพื้นสีขาว ขนาดประมาณ 25 x 30 เซนติเมตร มีลวดลายต่าง ๆ เป็นต้นแบบลายดั้งเดิมแต่โบราณที่ทอไว้บนในผืนผ้าเป็นแม่แบบดั้งเดิมที่สืบต่อมาจากบรรพบุรุษ บนผ้าแซ่วผืนหนึ่งๆมีอาจลวดลายมากถึงประมาณกว่าร้อยลาย การทอผ้าจะดูลวดลายจากต้นแบบในผ้าแซ่วโดยจะจัดวางลายใดตรงส่วนไหน หรือให้สีใดขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ทอ เกิดเป็นเอกลักษณ์ของผ้าแพรวาจากการวางองค์ประกอบของลวดลายต้นแบบและการให้สีสรรของผู้ทอ ลวดลายของแพรวามีลักษณะคล้ายคลึงกับลายขิดอีสาน แตกต่างกันอยู่บ้างที่ ความหลากหลายของสีสันในแต่ละลวดลาย แต่มีลักษณะรวมกันคือ ลายหลักมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของลายผ้า ส่วนสีสันบนผ้าแพรวาแต่เดิมนิยมพื้นสีแดงคล้ำย้อมด้วยครั่ง มีลายจกสีเหลือง สีน้ำเงิน สีขาว และสีเขียวเข้มกระจายทั้งผืนผ้าสอดสลับในแต่ละลายแต่ละแถว   ส่วนประกอบของผ้าแพรวา ผ้าแพรวา เป็นผ้าทอจากเส้นใยไหม ที่มีลักษณะลวดลายผสมกันระหว่างลายขิดและจกบนผืนผ้า ในกระบวนการขิดจะใช้วิธีเก็บลายขิดบนผ้าพื้นเรียบโดยใช้ไม้เก็บขิด คัดเก็บขิดยกลายโดยต้องนับจำนวนเส้นไหมแล้วใช้ไม้ลายขิดสานเป็นลายเก็บไว้ ในการทอเก็บลายจะแบ่งเป็นช่วง แต่ละช่วงเก็บลายไม่เหมือนกัน …

ISAN Insight & Outlook สิพามาเจาะลึก ประวัติ ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top