🇲🇲 จากแผนที่ประชากรของพม่า มีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 196.8 คนต่อตารางไมล์ (76.0 คนต่อตารางกิโลเมตร) เราจะเห็นว่าประชากรไม่ได้กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอทั่วประเทศ แต่มีการกระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่ เช่น ย่างกุ้ง , มัณฑะเลย์ และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอิรวดี เพราะมีดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการเพาะปลูกข้าวและเกษตรกรรม ทำให้ผู้คนตั้งถิ่นฐานและพัฒนาเป็นเมืองใหญ่ ซึ่งมีประชากรหนาแน่นที่สุด โดยบางจุดมีประชากรมากกว่า 600 คนต่อตารางไมล์ (230 คนต่อตารางกิโลเมตร) ในขณะที่พื้นที่ภูเขาทางเหนือและตะวันออกของประเทศมีประชากรเบาบางมาก เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้มีสภาพอากาศที่ยากลำบาก การคมนาคมเข้าถึงยาก และไม่เหมาะกับการเกษตรขนาดใหญ่ ในด้านของพีระมิดประชากรจะเห็นได้ว่า มีลักษณะของ ประชากรอายุน้อยและกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน ไปสู่สังคมสูงวัย ซึ่งไทยของเรามีโอกาสได้รับผลดีจากโครงสร้างประชากรพม่าที่เป็นแบบนี้ในหลายด้านไม่ว่าจะเป็น แรงงานจากพม่าจะยังไหลเข้าสู่ ไทย และภาคอีสานมากขึ้น, การค้าชายแดนขยายตัว เมืองชายแดน เช่น เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอน ระนอง เป็นต้น มีโอกาสเพิ่มการค้าและการลงทุนกับฝั่งพม่า เพราะคนวัยแรงงานยังมีกำลังซื้อ
ปัจจัยที่มีผลต่อการกระจุกตัวของประชากร
- สภาพภูมิศาสตร์ – พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีเป็นศูนย์กลางของเกษตรกรรมและเศรษฐกิจมาช้านาน ทำให้มีประชากรหนาแน่น
- เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน – เมืองใหญ่อย่าง ย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้า และการคมนาคม จึงดึงดูดประชากรจากชนบท
- ประวัติศาสตร์และการปกครอง – อดีตอาณานิคมอังกฤษพัฒนาเมืองย่างกุ้งให้เป็นศูนย์กลางการปกครองและการค้าระหว่างประเทศ ทำให้เมืองนี้ยังคงเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด
พีระมิดประชากรของพม่า
- ประชากรวัยเด็กและเยาวชนยังเยอะ ประมาณ 40% ของประชากรพม่าอายุต่ำกว่า 20 ปี แสดงให้เห็นว่าประเทศยังมีอัตราการเกิดสูง แต่แนวโน้มเริ่มลดลง
- วัยแรงงานเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด ช่วงอายุ 20-49 ปี มีจำนวนมากกว่า 40% ของประชากรทั้งหมด ทำให้พม่ายังมีศักยภาพด้านแรงงานสูง และเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
- แนวโน้มเข้าสู่สังคมสูงวัยในอนาคต กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปเริ่มเพิ่มขึ้น แม้ตอนนี้จะยังไม่มาก แต่หากอัตราการเกิดลดลง อาจนำไปสู่ปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต
-
11 จุดผ่านแดน ไทย-พม่า
- 1. กิ่วผาวอก 2. บ้านเปียงหลวง 3. บ้านห้วยผึ้ง 4. บ้านห้วยต้นนุ่น 5. บ้านเสาหิน 6. บ้านริมเมย 7. ด่านเจดีย์สามองค์ 8. พุน้ำร้อน 9. บ้านสบวก 10. ปากน้ำระนอง 11. ท่าเทียบเรือสะพานปลา
-
10 จังหวัดชายแดนไทย-พม่า
- 1. เชียงราย 2. แม่ฮ่องสอน 3. เชียงใหม่ 4. ตาก 5. กาญจนบุรี 6. ราชบุรี 7. เพชรบุรี 8. ประจวบคีรีขันธ์ 9. ชุมพร 10. ระนอง
แรงงานพม่า แรงงานต่างด้าวอันดับ 1 ที่เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยและงานที่แรงงานไทยทำแล้วไม่คุ้มค่า
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนแรงงานชาวเมียนมาในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจ นโยบายของรัฐบาล และสถานการณ์ในประเทศเมียนมาเอง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุดจากแหล่งต่างๆ ระบุว่า:
- ข้อมูลจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ระบุว่า ประเทศไทยมีแรงงานต่างด้าวจากเมียนมาจำนวน 1,198,920 คน
- อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์จำนวนแรงงานเมียนมาที่อยู่ในประเทศไทยอาจสูงถึง 6.8 ล้านคน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อจำนวนแรงงานชาวเมียนมาในประเทศไทย:
- สถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมา: ความไม่สงบทางการเมืองและเศรษฐกิจในเมียนมาอาจทำให้มีแรงงานจำนวนมากขึ้นเดินทางเข้ามาในประเทศไทย
- ความต้องการแรงงานในประเทศไทย: ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทยยังคงมีความต้องการแรงงานจากเมียนมา โดยเฉพาะในภาคก่อสร้าง เกษตรกรรม และบริการ
- นโยบายของรัฐบาลไทย: นโยบายของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการจ้างงานแรงงานต่างด้าวมีผลต่อจำนวนแรงงานชาวเมียนมาที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย
อ้างอิงรายงายวิจัยเจาะลึกข้อมูลกลุ่มแรงงานชาวเมียนมา ในหัวข้อ “ผ่าขุมทรัพย์แรงงานชาวเมียนมาในประเทศไทย” โดย MI GROUP หรือ บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด เปิดเผยว่ากลุ่มแรงงานชาวเมียนที่เข้ามาในเมืองไทยมีจำนวนมาก รวมแล้วมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลสูงถึง 8.2 แสนล้านบาทถึง 1.2 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนแรงงานที่เข้ามาอยู่ในไทยเพิ่มมากขึ้น
แรงงานพม่ากับการบริโภคภายในประเทศไทย
ปัจจุบันคาดการณ์มีจำนวนแรงงานเมียนมาในไทยทั้งถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย 6.8 ล้านคน กระจายอยู่ตามชายแดนและพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในจำนวนนี้ลงทะเบียนกว่า 1.85 ล้านคน คิดเป็น 67% ของจำนวนแรงงานข้ามชาติที่ลงทะเบียนทั้งหมดมีทั้งสิ้นกว่า 2.76 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกับ Gen Z ของประชากรไทย สะท้อนโอกาสของภาคธุรกิจที่จะสามารถนำข้อมูลมาใช้พัฒนาสินค้าและบริการที่สอดรับกับความต้องการและพฤติกรรมการจับจ่ายของกลุ่มแรงงานนี้ อันได้แก่สินค้าอุปโภคบริโภคและการบริการด้านการเงิน
แรงงานชาวเมียนมากกว่า 88% ปรารถนาที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น มุ่งหารายได้เป็นสำคัญ และการเข้ามาทำงานในประเทศไทยสร้างรายได้ถึง 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นค่าแรงขั้นต่ำ 500 บาทต่อวัน คิดเป็น 3 – 15 เท่าของเงินเดือนตอนที่อยู่ประเทศเมียนมา
ส่วนใหญ่ตั้งเป้าทำงานในประเทศไทย 3 – 5 ปี โดย 5 อาชีพนิยมมากที่สุด คือ พนักงานโรงงาน 39% ภาคก่อสร้าง 18% พนักงานขาย 15% เกษตรกร 11% และรับจ้างทั่วไป 9% โดยจะทำงานล่วงเวลามากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวันหรือมากกว่านั้นและอย่างน้อย 6 วันต่อสัปดาห์
โดยพฤติกรรมการใช้เวลาว่างยอดฮิตของกลุ่มแรงงาน มี 2 อย่าง คือ “จับจ่ายซื้อของ”และ “เล่นอินเทอร์เน็ต” ซึ่งพบว่า 74% ของคนเมียนมาในไทยมีการ “ช้อปออนไลน์” โดยช่องทางที่ใช้ช้อปมากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ Lazada, Facebook, Shopee, TikTok
และแม้ว่าจะมีคนเมียนมาในไทยเพียง 32% ที่มี Mobile Banking แต่ก็ไม่เป็นปัญหาเรื่องการจับจ่าย เพราะแพลตฟอร์ช้อปปิ้งออนไลน์สามารถเลือกเก็บเงินปลายทางได้ หรือให้เพื่อน/นายจ้างที่มีแอปฯ ช่วยโอนเงินแทน
ที่น่าสนใจ แรงงานชาวเมียนมาออมเงินได้ถึง 44% หรือเกือบครึ่งของรายรับ การออมเงินดังกล่าวนั้น ส่งกลับบ้านประมาณ 2 ใน 3 ซึ่งปัจจุบันนิยมให้นายหน้าผู้ดำเนินการโอนเงินให้ และเหลือเงินเก็บที่ตัวเองเพียง 1 ใน 3 ซึ่งสัดส่วนแรงงานที่เข้ามาเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง มีอายุเฉลี่ย 25-34 ปี มีเป้าหมายทำงานเก็บเงินกลับไปตั้งตัวและใช้ชีวิตที่ประเทศเมียนมา
โดยกลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการเข้าถึง Mobile Banking แรงงานชาวเมียนมาควบคุมรายจ่ายราว 56% จากรายได้ทั้งหมด โดยมีค่าใช้จ่ายสำคัญ คือ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (37%) ค่าที่อยู่อาศัย (16%) ค่าโทรศัพท์ (3%)
อย่างไรก็ดี แรงงานกลุ่มนี้มีความต้องการใช้สินค้าและบริการที่แตกต่างกันดังนั้น ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสทำตลาดนี้ โดยต้องทำสินค้าราคาจับต้องได้ เข้าถึงได้ เข้าใจได้และเชื่อถือได้
แรงงานพม่าในไทยกับปัญหาการใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณสุขในไทย
แรงงานชาวเมียนมาที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมีจำนวนมาก และการเข้ามาของแรงงานเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณสุขของไทยในหลายด้าน ดังนี้:
ผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐาน:
- การใช้ทรัพยากร:
- การเพิ่มขึ้นของประชากรแรงงานต่างด้าวทำให้มีการใช้ทรัพยากรมากขึ้น เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า และที่อยู่อาศัย ซึ่งอาจทำให้เกิดความแออัดและการขาดแคลนในบางพื้นที่
- การใช้ถนนและระบบขนส่งสาธารณะที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดปัญหาการจราจรและเสื่อมสภาพของโครงสร้างพื้นฐาน
- ที่อยู่อาศัย:
- แรงงานจำนวนมากมักอาศัยอยู่ในพื้นที่แออัดและมีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขอนามัยและปัญหาทางสังคมอื่นๆ
- การจัดการขยะ:
- การเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้เกิดปริมาณขยะมากขึ้น ซึ่งต้องมีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข:
- การเข้าถึงบริการ:
- แรงงานต่างด้าวอาจมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข เนื่องจากปัญหาด้านภาษา วัฒนธรรม และความไม่เข้าใจในระบบ
- การใช้บริการสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดความแออัดและภาระงานที่มากขึ้นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
- โรคติดต่อ:
- แรงงานต่างด้าวอาจนำโรคติดต่อบางชนิดเข้ามาในประเทศ ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังและควบคุมอย่างเข้มงวด
- ปัญหาด้านสุขอนามัยในที่พักอาศัยของแรงงานอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อได้ง่ายขึ้น อย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19
- ภาระค่าใช้จ่าย:
- การรักษาพยาบาลแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพอาจเป็นภาระค่าใช้จ่ายสำหรับโรงพยาบาลของรัฐ
แนวทางการแก้ไข:
- รัฐบาลไทยได้มีการดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้ เช่น การจัดให้มีระบบประกันสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าว การส่งเสริมการจดทะเบียนแรงงานอย่างถูกกฎหมาย และการปรับปรุงระบบสาธารณสุขให้รองรับแรงงานต่างด้าวมากขึ้น
- การสร้างความเข้าใจและการสื่อสารที่ดีระหว่างแรงงานต่างด้าวและบุคลากรทางการแพทย์เป็นสิ่งสำคัญในการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ
- การส่งเสริมสุขอนามัยที่ดีในที่พักอาศัยของแรงงานต่างด้าวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ
การจัดการปัญหาเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้แรงงานต่างด้าวสามารถทำงานและใช้ชีวิตในประเทศไทยได้อย่างมีสุขภาวะ และเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณสุขของประเทศ
ที่มา
เว็ปไซต์ :britannica,populationpyramid.net
พามาฮู้จัก รอยเลื่อนสะกาย ยักษ์หลับกลางเมืองพม่า ต้นเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ สะเทือนแรงถึงไทย
พาส่องเบิ่ง ระดับความรุนแรงในไทย จากเหตุแผ่นดินไหว 28 มี.ค. 68 ที่ผ่านมา
พามาเบิ่ง🧐ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และพีระมิดประชากรกัมพูชา🇰🇭