กาฬสินธุ์ ถิ่นน้ำดำจากจังหวัดที่ยากจน สู่จังหวัดที่เติบโตด้านการท่องเที่ยว✈️ และลงทุนจากจีนอันดับ 2 ของภาคอีสาน

กาฬสินธุ์ถิ่นน้ำดำ แดนไดโนเสาร์ 

.

.

    จังหวัดกาฬสินธุ์อีกหนึ่งจังหวัดในภาคอีสานที่มีธรรมชาติ ศิลปะ และ วัฒนธรรมที่สวยงาม

และ เป็นจังหวัดที่มีการค้นพบ ฟอลซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์อย่าง ไดโนเสาร์ เป็นที่แรกของประเทศไทย

อีกด้วยที่มีการค้นพบและปัจจุบันก็ยังมีการค้นพบอยู่ และอีกอย่างที่เราจะไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือความสวยงามของจังหวัดกาฬสินธุ์ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ท่องเที่ยว หรือ ธรรมชาติที่สวยงามของกาฬสินธุ์

และ ปัจจุบันได้มีการลงทุนจากภายนอกอีกด้วย 

.

แล้วทำไมจังหวัดกาฬสินธุ์ของเราถึงเป็นอีกหนึ่งในที่ลงทุนจากภายนอกล่ะแล้วมันมีโอกาสการเติบโตมากแค่ไหน

อีสานอินไซต์จะพามาเบิ่ง

.

1.โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัด กาฬสินธุ์

             จังหวัดกาฬสินธุ์มีขนาดพื้นที่ 6,947 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 968,465 คน และในปี 2564 จังหวัดกาฬสินธุ์ขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด อยู่ที่ 60,997 ล้านบาท และรายได้ต่อหัวของจังหวัดอยู่ที่ 77,397 บาท

.

มีโครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจ SME ดังนี้

-ภาคบริการ คิดเป็น 43% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหารมีผู้ประกอบการอยู่ 3,051 ราย

-ภาคการเกษตร คิดเป็น 26% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การเลี้ยงโคนมและโคเนื้อ มีผู้ประกอบการอยู่ 364 ราย

-ภาคการผลิต คิดเป็น 20% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การทอผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ  

มีผู้ประกอบการอยู่ 4,791ราย 

-ภาคการค้า คิดเป็น 12% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การขายปลีกสินค้าในร้านค้าทั่วไป

มีผู้ประกอบการอยู่ 4,687 ราย 

สินค้า GI ของจังหวัด ได้แก่ ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์ และพุทรานมบ้านโพน

.

.

จากโครงสร้างเศรษฐกิจพบว่า GPP ของจังหวัดกาฬสินธุ์นั้น มีความคงที่

ไม่ได้มีการเติบโตขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่อันดับ 12  ของภูมิภาค มาตลอด แม้กระทั่งในปี 2565 ที่ผ่านมาเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้รายได้ต่อหัว

(GPP Per capita) มีอันดับที่คงที่เช่นกัน อยู่ในอันดับที่12 ของภูมิภาค 

และถ้าเราลองวิเคราะห์ต่อไปยัง รายได้ครัวเรือนอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี

แล้วยังมีค่าครองชีพที่ต่ำที่สุดในกลุ่มจังหวัด “ร้อยแก่นสารสินธุ์”

.

แต่ยังมีข้อสังเกต คือ กาฬสินธุ์ยังมีความเจริญที่กระจุกตัวในตัวอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ โดยหากดูเฉพาะข้อมูลของจำนวนเงินฝากในธนาคารทั้งจังหวัดเราจะพบว่าอำเภอเมืองกาฬสินธุ์มีจำนวนเงินฝากกว่า 1.6 หมื่นล้าน

หรือคิดเป็น 89.2% ของเงินฝากในธนาคารทั้งจังหวัด ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่สูงอย่างมากเมื่อเราเทียบกับจังหวัดอื่นๆในภูมิภาค

 

.

ถึงแม้ว่าตัวเลขเงินฝากจะไม่สามารถบ่งชี้มูลค่าเศรษฐกิจที่แท้จริงทางเศรษฐกิจของแต่ละอำเภอได้ทั้งหมด แต่เราก็พอจะนึกได้ว่า ในพื้นที่ต่างอำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์ มีรายได้น้อยกว่าภายในตัวอำเภอเมืองนั่นเอง

.

และเมื่อเรามาลองเจาะลึกดูโครงสร้างอาชีพของคนกาฬสินธุ์ที่เป็นที่มาของรายได้เราก็จะพบข้อมูล      จาก กรมฯแรงงาน ที่ค่อนข้างน่าสนใจเลยที่เดียว จังหวัดกาฬสินธุ์ มีจำนวนแรงงานอยู่ 4แสนกว่าคน

โดยเป็นแรงงานภาคเกษตรกว่า59.5% หรือ  220,622 คน โดยเกษตรกรเหล่านี้ มีการปลูกพืช      เศรษฐกิจอย่าง ข้าว อ้อย และ มันสำปะหลัง และ มีภาคปศุสัตว์อีกด้วย มีการเลี้ยงโคนม และ โคเนื้อ

ที่มีจำนวนโณงงานเลี้ยงเยอะเป็นอันดับ 3 ของภาคอีสานอีกด้วย ซึ่งรายได้จะขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์

มางการเกษตรในแต่ละช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งทำให้เกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์มีเกษตรกรที่เป็นหนี้

ในจำนวนที่มากถึง 78% แต่ยังโคดีที่มีค่าเฉลี่ยหนี้ 163,086 บาท ยังถือว่ายังต่ำกว่าหลายๆจังหวัดในภูมิภาค

.

 

นอกจากนี้ยังมีประเทศจีนเป็นผู้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยของเราอีกด้วยภาคอีสานเป็นหนึ่งในตัวเลือกของประเทศจีน โดยที่จังหวัดกาฬสินธุ์มีมูลค่าร่วมลงทุนอยู่ที่ 828 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่มากเป็น

อันดับ 2 ในภูมิภาคเลยทีเดียว โดยจีน เริ่มมีการลงทุนในโรงงาน อุตสาหกรรมน้ำตาล และ โรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass) จากการผลิตและแปรรูป แป้ง และน้ำตาลในจังหวัดกาฬสินธุ์

และหากลองไปเจาะข้อมูลให้ลึกขึ้นสถิติจาก เพจ ISAN Insight and Outlook เราจะเห็นได้ว่าการลงทุนจะกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดใหญ่ๆอย่างนครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี และเลย โดยเพียงแค่ 4 จังหวัดก็มีมูลค่าการร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีนมากกว่า 4,123 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 62.9% เลยทีเดียว แต่ที่น่าสังเกตคือ จังหวัดกาฬสินธุ์ที่มีมูลค่าการร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีนมากเป็นอันดับที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้จังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดกลางอย่างกาฬสินธุ์ถิ่นน้ำดำมีมูลค่าการร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีนมากขนาดนี้ เหตุผลที่ประเทศจีนมาลงทุนในภาคอีสาน เนื่องจากภาคอีสานมีโอกาสทางเศรษฐกิจจากการพัฒนาภูมิภาคที่มีศักยภาพในการเกษตร และ ต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่าพื้นที่ภูมิภาคอื่นๆ และสุดท้ายคือ เส้นทางาสยไหมใหม่หรือ (One Belt One Road) เป็นเส้นทางสายไหมใหม่ที่จะมาฟื้นคืนเส้นทางสายใหม่เดิมที่เชื่อมจีนกับเอเชียกลางไปสู่ยุโรป

 

.

และจังหวัดกาฬสินธุ์ยังมีสินค้า GI อย่าง ผ้าไหมแพรววา”ราชินีแห่งผ้าไหม” โดยมีขอบเขตการผลิตอยู่ในพื้นที่อำเภอค้าม่วง อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอสมเด็จ และ อำเภอสามชัย ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ราคาของผ้าไหมแพรววาจะตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักแสนเลยที่เดียว เนื่องจากความยากของกทอผ้าชนิดนี้รวมไปถึงลักษณะของผ้าไหมชนิดนี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นแต่ผ้าไหมแพรววาจังหวัดกาฬสินธุ์มีมีลวดลายที่วิจิตรบรรจงและกรรมวิธีการทอที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ชาวบ้านในอำเภอคำม่วงและสหัสขันธ์ยังคงใช้กี่ทอแบบโบราณเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า จนได้มีการยื่นขอต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และได้รับประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กันเลยทีเดียว

2. แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ที่เราจะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ

พิพิธภัณฑ์สิรินธรหรือเมื่อก่อนเคยถูกเรียกว่าศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยแห่งแรกในไทยที่มีการค้นพบซากกระดูกไดโนเสาร์ โดยในปี พ.ศ.2537 พบโครงกระดูกของไดโนเสาร์กินพืช ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ในบริเวณที่เป็นหลุมขุดค้นปัจจุบัน โดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมา คณะสำรวจไดโนเสาร์จากกรมทรัพยากรธรณีจึงได้เริ่มทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ และพบว่า ภูกุ้มข้าว เป็นแหล่งที่พบโครงกระดูกไดโนเสาร์กินพืชที่มีความสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย มีการพบโครงกระดูกไดโนเสาร์ขนาดต่างๆ เป็นกระดูกชนิดกินพืชมากกว่า 7 ตัว จำนวนกระดูกมากกว่า 700 ชิ้น ที่สำคัญคือ พบชิ้นส่วนของหัวกระโหลก ฟันและกราม และโครงกระดูกที่เรียงรายต่อกัน เกือบจะสมบูรณ์ทั้งตัวอยู่ด้วย โครงกระดูกทั้งหมดอยู่ในชั้นหินที่วางตัวอยู่บนไหล่เขาของภูกุ้มข้าวซึ่งมีรูปร่างคล้ายลอมฟาง มีความสูงประมาณ 240 เมตร และต่อมาในปี พ.ศ.2550 ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว หรือ พิพิธภัณฑ์สิรินธร ถือเป็นศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีว่า “พิพิธภัณฑ์สิริธร”

และยังมีโซนนิทรรศการถึง 8 โซนให้เราได้รับชมเลยทีเดียว 

.

และยังมีสถาที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ อย่างเขื่อนลำปาว เขื่อนดินขนาดใหญ่ สามารถกักเก็บน้ำได้มากกว่า 1,430 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้ในการบรรเทาอุทกภัย และใช้ประโยชน์ทางการเกษตร รวมถึงแหล่งเพาะพันธุ์ปลานานาชนิด นอกจากนั้นก็ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดกาฬสินธุ์ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จุดชมวิวยามเย็น บริเวณสันเขื่อนมีร้านค้าร้านอาหาร และคาเฟ่ให้บริการด้วย สามารถสั่งมานั่งทานไปชมวิวไปได้เลยทั้ง ปลาเผา กุ้งเผา หมูกะทะ รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งปั่นจักรยาน เล่นบานาน่าโบ๊ท ก็เพลิดเพลินอย่าบอกใครเลยล่ะ

.

และสถานที่ท่องเที่ยวสุดท้ายก็คือ พระธาตุยาคู ที่มีที่ตั้งอยู่ที่บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ชาวบ้านเชื่อว่าพระธาตุยาคูเป็นที่บรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ คำว่า “ยาคู” ในภาษาอีสานหมายถึงพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรม

ตั้งแต่สมัยทวารวดีที่มีลักษณะ ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้นสี่ทิศ และมีปูนปั้นประดับ สมัยอยุธยาที่สร้างฐานแปดเหลี่ยมซ้อนทับบนฐานเดิม และ สมัยรัตนโกสินทร์ที่สร้างส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดเพิ่มเติม  และ มีประเพณีที่ถูกจัดขึ้นในทุกปีนั่นคือ ประเพณีสรงน้ำพระธาตุยาคูทุกปีในช่วงวันวิสาขบูชา ชาวบ้านจะจัดงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุยาคู มีขบวนแห่และรำบูชาของนางรำกว่า 1,000 คน พร้อมทะเลธุงกว่า 1,600 ต้น เป็นการสืบสานวัฒนธรรมและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือน และ ประเพณีบุญบุฐบั้งไฟที่ถูกจัดขึ้นที่พระธาตุยาคูในทุกๆปีโดยประเพณีนี้มีรากฐานมาจากความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับการบูชาพญาแถน เทพแห่งฟ้าฝน และสะท้อนถึงความสัมพันธ์ของชุมชนกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง

.

แต่ถ้าเรานำข้อมูลของจำนวนผู้เยี่ยมเยือนในปีที่ผ่านมามาพิจารณากับไตรมาสที่ 3 ในปีปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าในปีที่ผ่านมาจังหวัดกาฬสินธุ์มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเพียง 0.89ล้านคน             เป็นอันดับที่ 14 ของภาคอีสาน ถึงแม้จะมีสถานที่สำคัญๆในหลายๆแห่งภายในตัวจังหวัดแต่อาจจะเป็นเพราะยังไม่ได้เป็นที่รู้จักมากพอของนักท่องเที่ยวภายนอกแต่ถ้าเราลองมาดูตัวเลขใน      ไตรมาสที่ 3 ของปีปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าจังหวัดกาฬสินธุ์ของเรานั้นมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นสูงถึง 1.2 ล้านคน มันเกิดอะไรขึ้นกันนะมาๆเดี๋ยวอิสานอินไซต์สิพาไปเบิ่งหลายๆคนอาจจะรู้จัก

หลวงปู่ศิลา สิริจันโท เกจิชื่อดังที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งนี้หลวงปู่ศิลา เป็นเกจิที่วัดพระธาตุหมื่นหิน บ้านทุ่งกระเดา ต.กุดปลาค้าว อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ เนื่องด้วยหลวงปู่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการขับไล่สิ่งอัปมงคล หรือเรื่องลี้ลับ ทำให้เมื่อผลิตวัตถุมงคลขึ้น เหล่าศิษยานุศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือได้เกิดความศรัทธา ต่างพากันมาบูชาและกราบไหว้ และหลวงปู่ศิลา ยังมีบทสวดหลวงปู่ศิลา ซึ่งเป็นคาถาที่คนไทยเรานิยมสวดเนื่องจากเชื่อว่าหากสวดแล้วจะช่วยให้พบเจอแต่เรื่องดีๆชีวิตสว่างไสวไม่ว่าจะทำมาค้าขายหรือทำสิ่งใดก็จะดียิ่งขึ้น และแน่นอนด้วยความศรัทธาของใครหลายๆคนจึงทำให้พากันมา       สักการะบูชาท่านจึงทำให้มีผู้คนจากจังหวัดอื่นๆทั้งในภูมิภาคและนอกภูมิภาคเดินทางมาสักการะบูชา

ท่านมากขึ้นและนี่เป็นอีกหนึ่งโอกาศในการเติบโตของจังหวัดกาฬสินธุ์ในด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว

.

3.การขจัดความยากจนในจังหวัดกาฬสินธุ์

จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเคยถูกจัดอันดับเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย ด้วยประชากรร้อยละ 31.26 ที่อยู่ใต้เส้นความยากจน และ สถานการณ์ปัญหาความยากจนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ที่พบเจอนั้นมีรากฐานจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การขาดโอกาสในการพัฒนาอาชีพ รายได้ที่ไม่เพียงพอและโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ยังไม่เข้มแข็งซึ่งประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พึ่งพาพืชเศรษฐกิจที่ราคาไม่แน่นอน เช่น มันสำปะหลัง อ้อย และยางพารา ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ต่ำกว่ามาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 ได้ดำเนินมาตรการสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นระบบ โดยใช้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน รวมถึงการนำวิทยาศาสตร์ข้อมูลและการพัฒนาท้องถิ่นมาปรับใช้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนซึ่งมันทำให้เส้นรายได้ที่ได้จากการพัฒนาโครงการและการลงทุนทำรายได้ของจังหวัดกาฬสินธุ์เพิ่มขึ้นในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหานี้ได้รับการยกระดับให้เป็นวาระสำคัญระดับจังหวัด โดยอาศัยความร่วมมือจากองค์กรในและนอกพื้นที่ ซึ่งได้มีแนวทางการแก้ไขด้วยการออกแบบแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ครอบคลุมในหลายๆด้านผ่าน “แพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในระดับจังหวัด”

.

.

สรุป 

จังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดที่เคยยากจนที่สุดได้มีการพัฒนาองค์กรและ โครงสร้างเศรษฐกิจต่างๆทำให้ก้าวข้ามผ่านจังหวัดที่ยากจนที่สุด

ด้วยความที่เป็นจังหวัดที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองเกษตรกรรมแห่งอีสานบ้านเราด้วยข้อมูลโครงสร้างเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาในหลายๆไปทำให้จังหวัดกาฬสินธุ์ของเราค่อยก้าวผ่านจุดนั้นมาได้แล้วในปัจจุบันยังมีการร่วมลงทุนจากมหาอำนาจอย่างจีนจึงทำให้กาฬสินธุ์ของเรายังมีความหวังในการเติบโตในหลายๆ ด้านอีกด้วย

มหาอำนาจ จีนกำลังลงทุนอะไรในอีสาน?

 

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top