GPP per Capita หมายถึง ค่าเฉลี่ยที่แสดงมูลค่าการผลิตของจังหวัดต่าง ๆ เฉลี่ยต่อประชากร 1 คน มิใช่ตัวเลขที่แสดงระดับรายได้ที่ประชาชนได้รับ
GPP หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด หมายถึง ผลรวมของมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Product) ของจังหวัดต่างๆ
.
และ GPP per Capita หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว หมายถึง ค่าเฉลี่ยที่แสดงมูลค่าการผลิตของจังหวัดต่าง ๆ เฉลี่ยต่อประชากร 1 คน
.
GPP per Capita จะเป็นรายได้คาดการณ์ที่คน 1 คนจะทำรายได้ให้จังหวัด ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่แสดงระดับรายได้ที่ประชาชนได้รับ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าจังหวัดที่มี GPP อยู่ในอันดับต้นๆของภาค กลับมี GPP per Capita ไม่ได้อยู่อันดับต้นๆตามอันดับของ GPP เลย
.
สาเหตุมาจากอะไร?
อีสานอินไซต์จะพาไปเบิ่ง
.
.
จังหวัดที่มี GPP สูงที่สุดอย่างนครราชสีมาและขอนแก่น เป็นเพียง 2 จังหวัดที่มีอันดับของมูลค่า GPP สัมพันธ์กับอันดับของ GPP per Capita ที่เป็นอันดับ 1 และ 2 เหมือนกัน ถึงแม้จะมีประชากรจำนวนมาก แต่ประชากรยังสามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดได้มาก เพราะ 2 จังหวัดนี้เน้นการทำอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้สูง แต่เมื่อสังเกตจังหวัดอื่นๆ เช่น อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ที่มีมูลค่า GPP อยู่ในอันดับต้นๆของภาค กลับมี GPP per Capita น้อยกว่าจังหวัดที่มีมูลค่า GPP ต่ำกว่า
.
สาเหตุหนึ่งเป็นผลมาจาก หลายจังหวัดสามารถสร้างมูลค่า GPP มาจากภาคเกษตรเป็นหลัก ซึ่งมีความไม่แน่นอนทั้งด้านปริมาณและราคาผลผลิต
.
ส่วนการผลิตภาคนอกเกษตรต่าง ๆ โดยเฉพาะการผลิตอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มาก จะมีสัดส่วนที่น้อย ทำให้ศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับจังหวัดโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ และก็จะมีจังหวัดที่มี GPP per Capita สูงเป็นอันดับต้นๆ เช่น เลย หนองคาย และนครพนม แต่มีขนาดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าจังหวัดอื่นๆ โดยเมื่อสังเกตจะพบว่าจังหวัดที่มี GPP per Capita สูง จะเป็นจังหวัดที่ติดกับชายแดน สามารถค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านได้ อีกทั้งยังมีเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เป็นตัวดึงดูดนักลงทุนและทำให้มูลค่าอุตสาหกรรมการผลิตหรือการค้าของจังหวัดมากพอ โดยการค้าผ่านชายแดนของไทยถือว่ามากเป็น 10% ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมด
จึงเป็นสาเหตุให้จังหวัดสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ในจังหวัดจะมีจำนวนประชากรที่น้อยกว่าจังหวัดอื่นๆที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่
.
สรุปได้ว่า จังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ๆ ไม่จำเป็นที่ประชากรในพื้นที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับพื้นที่ได้มากตามไปด้วย เมื่อดูจาก GPP per Capita
.
ดังนั้น การที่จะดูศักยภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัด จึงต้องดูทั้งมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดและผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัวประชากรด้วย
.
.
อ้างอิงจาก
- สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทศวรรษแห่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจขอนแแก่นและการทิ้งห่างของเศรษฐกิจโคราช