January 2025

พาสำรวจเบิ่ง อีสานผลิตข้าวนาปรัง กว่า 1.1 ล้านตัน กระจายอยู่ไหนบ้าง

“ข้าวนาปรัง” คือ ข้าวที่ถูกเพาะปลูกในฤดูแล้งซึ่งต้องอาศัยน้ำจากระบบชลประทาน โดยเพาะปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายนของปีถัดไป ส่วนใหญ่นิยมปลูกในภาคกลางและภาคเหนือ   ในปีเพาะปลูก 2566 ประเทศไทยมีผลผลิตข้าวนาปรัง อยู่ที่ 6,917,771 ตัน และมีผลผลิตต่อไร่อยู่ 654 กิโลกรัม/ไร่ แล้วเคยรู้หรือไหมว่าภาคอีสานมีผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ของข้าวนาปรังมากแค่ไหน?   โดยในภาคอีสานของเรามีผลผลิตข้าวนาปรังอยู่ 1,094,978 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 15.8% ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมดในประเทศ และมีผลผลิตต่อพื้นที่เก็บเกี่ยวอยู่ 576 กิโลกรัม/ไร่   จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า ผลผลิตข้าวนาปรังส่วนใหญ่มาจากจังหวัดในอีสานตอนกลาง อย่างจังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และขอนแก่น ซึ่งเพียง 4 จังหวัดนี้ก็มีผลผลิตข้าวนาปรังมากกว่า 523,485 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 47.8%   ทำไมถึงกระจุกตัวอยู่จังหวัดในอีสานตอนล่าง?   ข้าวนาปรังจะปลูกในฤดูแล้งซึ่งต้องอาศัยน้ำจากระบบชลประทาน โดยอีสานตอนกลางก็มีแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ 3 แห่งในเขตรับผิดชอบด้วยกัน คือ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนลำปาว อีกทั้งยังมีแหล่งน้ำต่างๆ ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ประมาณ 60 กว่าแห่งใน 4 จังหวัดนี้อีกด้วย ทำให้ประชากรในบริเวณอีสานกลางนิยมปลูกข้าวนาปรังกันมาก เนื่องจากมีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าว อีกทั้งข้าวได้รับน้ำและแร่ธาตุที่เพียงพอเป็นผลทำให้มีผลผลิตต่อไร่ที่มากเช่นกัน   “ถึงแม้ภาคอีสานจะมีผลผลิตข้าวนาปรังที่น้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ แต่ภาคอีสานมีผลผลิตข้าวนาปรังมากเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ ซึ่งมากกว่า 13 ล้านตันเลยทีเดียว”   สาเหตุที่ภาคอีสานปลูกข้าวนาปรังน้อยเนื่องจากมีระบบชลประทานที่ไม่ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และด้วยสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทำให้การปลูกข้าวของคนในภาคอีสานส่วนใหญ่กว่า 95% ของพื้นที่เพาะปลูก เป็นการปลูกข้าวแบบนาปีที่สามารถทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น    อีกทั้งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในที่ราบสูง และมีความแห้งแล้ง ทำให้การปลูกข้าวจึงต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก เนื่องจากระบบชลประทานยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาดินเค็มในบางพื้นที่ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอีกด้วย     อ้างอิงจาก:  – สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร – วิจัยกรุงศรี – กรมวิชาการเกษตร   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightandOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ข้าวนาปรัง #อุตสาหกรรมข้าว #อุตสาหกรรมข้าวในอีสาน #ข้าวนาปรังในอีสาน #ข้าว

พาสำรวจเบิ่ง อีสานผลิตข้าวนาปรัง กว่า 1.1 ล้านตัน กระจายอยู่ไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 8 ปีผ่านไป ไทยขาดดุลจีนมากแค่ไหน

ฮู้บ่ว่า ไทยมีแนวโน้มที่จะขาดดุลทางการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการขาดดุลทางการค้ากับจีนในปีที่ผ่านมา( มกราคม – พฤศจิกายน) มากถึง 1.47 ล้านล้านบาท   . จีนนับว่าเป็นประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักกับไทยมาอย่างยาวนานและเป็นประเทศที่ไทยมีมูลค่าการนำเข้าสินค้าเข้ามามากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ในขณะเดียวกันไทยก็ขาดดุลทางการค้ากับจีนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเริ่มสร้างความกังวลให้กับผู้ผลิตในประเทศไทย ที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากสินค้านำเข้าจากจีนที่มากเกินไปกระทั่งเรียกได้ว่าเป็นสินค้าทะลักจากจีน   . ในช่วงก่อนสงครามทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ในปี 2561 ขณะนั้นไทยเองก็มีการนำเข้าสินค้าจากจีนมากกว่าส่งออกไปจีนมากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ส่งผลให้พอเกิดสงครามการค้าขึ้นที่จีนได้รับผลกระทบจากนโยบายทางภาษีศุลกากรจากสหรัฐอเมริกาและทำให้สินค้าจีนที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามีต้นทุนที่สูงขึ้นและได้เริ่มมองหาตลาดใหม่ๆเพื่อรองรับสินค้า ซึ่งเป้าหมายในการเป็นตลาดรองรับสินค้าจากจีนก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมไทยของเราด้วยนั่นเอง   . หากเปรียบเทียบระหว่างช่วงก่อนสงครามการค้าและในปัจจุบัน จะพบว่า ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจากจีนต่อการนำเข้าทั้งหมดในช่วงก่อนสงครามการค้าที่ 20% แต่ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 26% ซึ่งบ่งบอกถึงการพึ่งพาสินค้านำเข้าจากจีนที่มากขึ้น โดยมีสินค้าที่โดดเด่นหลักๆคือสินค้าประเภท อุปกรณ์ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้า ซึ่งเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงที่สุดที่ไทยได้นำเข้าจากจีนในปีที่ผ่านมา ในด้านการส่งออกของไทย จะมีสินค้าหลักเป็นสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์จากสินค้าเกษตร ได้แก่ ผลไม้และลูกนัต ยางและผลิตภัณฑ์จากยางเป็นต้น    . การนำเข้าสินค้าจากจีนที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ย่อมส่งผลกระทบกับประเทศไทยเองในหลายๆด้าน ซึ่งก็มีปัญหาที่หลายๆฝ่ายกังวลอย่างเช่น ผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศนั้นจะไม่สามารถแข่งกับสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในภาคการผลิต ที่ผลิตสินค้าใกล้เคียงกันกับสินค้าที่ไทยนำเข้ามาจากจีน ในส่วนของผู้ประกอบการภาคการค้า มีบางส่วนที่ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน แต่ก็มีผู้ประกอบการที่ได้รับอานิสงส์จากการนำเข้าสินค้าจากจีน จากต้นทุนด้านราคาที่ถูกลง    . เนื่องจากปัญหาของการนำเข้าจากจีนที่มากขึ้น สามารถสร้างผลกระทบให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและกระจายไปยังเศรษฐกิจในวงกว้าง ส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวควรมีการเร่งปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสีย และหาทางออกหรือแนวทางการป้องกันที่ครอบคลุมมากเพียงพอที่จะป้องกันภาคธุรกิจภายในประเทศ หรืออย่างน้อยก็สามารถทำให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวเพื่อสู้กับปัญหาสินค้าทะลักจากต่างประเทศได้ ลาวถูกแซงหน้า จากสินค้าจีนล้นด่านชายแดนอีสาน : เปรียบเทียบการนำเข้าก่อน-หลังสงครามการค้า สินค้า🇨🇳จีนทะลักครองสัดส่วนการนำเข้าสินค้าผ่านแดนอีสานสูงถึง 83% เปิด เส้นทางขนส่งสินค้า ออนไลน์ ทำไมต้องผ่าน “มุกดาหาร” 2 วัน ส่งไว จีน-ไทย ไม่เกินจริง

พามาเบิ่ง 8 ปีผ่านไป ไทยขาดดุลจีนมากแค่ไหน อ่านเพิ่มเติม »

Go Wholesale รุกอีสาน เปิดสาขาอุดร ขอนแก่น

ชื่อบริษัท: บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด โฮลเซลล์ จำกัด ปีที่จดทะเบียน: 24 พ.ย. 2565 ทุนจดทะเบียน: 1,800 รายได้ปี 2566: 479 ล้านบาท กำไรปี 2566: -342 ล้านบาท ผู้บริหาร: คุณสุชาดา อิทธิจารุกุล สาขาอุดรธานี ลำดับสาขา: 11 วันที่เปิด: 17 ม.ค. 2568 ที่ตั้ง: 217 ถ.เลี่ยงเมืองหนองคาย ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 ขนาดพื้นที่: ตั้งอยู่บนพื้นที่ 37 ไร่ พื้นที่ขายกว่า 9,100 ตร.ม. ภาพจาก Inside Udon   สาขาขอนแก่น ลำดับสาขา: 12 วันที่เปิด: 22 ม.ค. 2568 ที่ตั้ง: 1/51 ถ.ประชาสโมสร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 ขนาดพื้นที่: ตั้งอยู่บนพื้นที่ 27 ไร่ พื้นที่ขายประมาณ 9,000 ตร.ม. ภาพจาก Khon Kaen Update   สาขาทั่วประเทศ  กรุงเทพมหานคร 3 สาขา ชลบุรี 2 สาขา ปทุมธานี 1 สาขา เชียงใหม่ 1 สาขา สมุทรปราการ 1 สาขา ภูเก็ต 2 สาขา อุดรธานี 1 สาขา ขอนแก่น 1 สาขา Go Wholesale ศูนย์ค้าส่งน้องใหม่ในประเทศไทยจากเครือเซ็นทรัลที่พึ่งเกิดใหม่ในปี 2565 และเปิดสาขาแรกในปี 2566 มีสินค้าให้เลือกมากมายกว่า 20,000 รายการ การเข้ามาของ Go Wholesale แน่นอนว่าเข้ามาเพื่อเป็นคู่แข่งกับ Makro ของเครือซีพีโดยตรง โดยทาง Go Wholesale ได้คุณสุชาดา อิทธิจารุกุล มานำทัพในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด โฮลเซลล์ ในธุรกิจเครือ CRC เป็นที่ทราบกันดีว่าคุณสุชาดา อิทธิจารุกุล เป็นผู้คร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจค้าส่งมานานเกือบ 3

Go Wholesale รุกอีสาน เปิดสาขาอุดร ขอนแก่น อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง โฉนดที่ดินของเเต่ละจังหวัดในอีสาน เปลี่ยนเเปลงเพิ่มขึ้นไปมากเท่าใด ในช่วงเกือบทศวรรษที่ผ่านมา

. โฉนดที่ดิน ถือเป็นเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินประเภทหนึ่ง ที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะใช้เอกสารดังกล่าว ในการแสดงความเป็นเจ้าของ และใช้ในการประกอบธุรกรรมด้านต่างๆ เช่น ซื้อ ขาย จำนอง เป็นต้น  . ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานจากข้อมูลของกรมที่ดินพบว่า จังหวัดนครราชสีมาเเละขอนเเก่นเป็นจังหวัดที่มีโฉนดที่ดินมากที่สุดในประเทศเป็นอันดับที่ 2  เเละ  3 เป็นรองเพียงกรุงเทพมหานคร โดยมีปริมาณเอกสารสิทธิประเภทโฉนดที่ดินอยู่ที่1,566,201 เเปลงเเละ 1,166,513  เเปลง ตามลําดับ ส่วนกรุงเทพมหานครมากสุดในประเทศอยู่ที่ 2,182,095 เเปลง จากทั้งหมด 37,272,607 เเปลงทั่วประเทศ  . ในช่วงเกือบทศวรรษที่ผ่านมา(พ.ศ.2559- 2567) เมื่อมองถึงร้อยละการเปลี่ยนเเปลงที่เพิ่มขึ้นจะพบว่าจังหวัดที่มีโฉนดที่ดินเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือบึงกาฬ ที่ร้อยละ 22.73 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนเเปลงของทั้งภูมิภาคที่อยู่ที่ร้อยละ 15.67 ส่วนจังหวัดนครราชสีมาที่มีโฉนดที่ดินมากที่สุดกลับเปลี่ยนเเปลงเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 14.04 . โดยโฉนดที่ดินของทั้งภูมิภาคในปัจจุบันอยู่ที่ 12,343,003 เเปลง ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงในด้านการถือครองและการจัดการโฉนดที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐาน การขยายตัวของเขตเมือง และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชน ความเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การสิ่งเเวดล้อม การสํารวจดูการเปลี่ยนเเปลงเอกสารสิทธ์ในที่ดิน โดยเฉพาะโฉนดที่ดินจึงมีประโยชน์เเก่ผู้ที่สนใจเเละสามารถนําข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการวิเคราะห์วางเเผนด้านต่างๆ . พาสำรวจเบิ่ง “ราคาที่ดินต่ำสุด-สูงสุด” แต่จังหวัดในภาคอีสาน ที่มา : กรมที่ดิน . ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #ที่ดิน #โฉนด #โฉนดที่ดิน

พามาเบิ่ง โฉนดที่ดินของเเต่ละจังหวัดในอีสาน เปลี่ยนเเปลงเพิ่มขึ้นไปมากเท่าใด ในช่วงเกือบทศวรรษที่ผ่านมา อ่านเพิ่มเติม »

พาสำรวจเบิ่ง 4 ยักษ์ใหญ่แห่งแดนภูธรที่ครองสิทธิบริหาร 7-Eleven

การเข้ามาของร้าน “เซเว่น-อีเลฟเว่น” มากกว่า 35 ปีที่ นอกจากพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล “ซีพี ออลล์” ต้องการบุกตลาดต่างจังหวัดควบคู่ไปด้วย “กลุ่มซีพี” จึงให้ “Sub-Area License” กับ 4 กลุ่มทุนรายใหญ่ใน 4 พื้นที่ ได้แก่ กลุ่มตันตราภัณฑ์ กลุ่มงานทวี กลุ่มยิ่งยง และกลุ่มศรีสมัย   การเติบโตของ “4 กลุ่มทุนเก่าแก่” มีต้นกำเนิดจากร้านโชห่วย-ขายของชำ ก่อนแตกไลน์ธุรกิจไปยังเซกเมนต์อื่นๆ โดยกลุ่มตันตราภัณฑ์โด่งดังจาก “ห้างตันตราภัณฑ์” กลุ่มยิ่งยงโตจาก “ยิ่งยงสรรพสินค้า” กลุ่มศรีสมัยมีรากฐานจาก “ศรีสมัยค้าส่ง” ส่วนกลุ่มงานทวีมีธุรกิจหลากหลาย จากร้านของชำพลิกไปทำเหมืองแร่-สวนยางพารา   ทั้ง “4 กลุ่มทุน” มีรายได้จากการถือ “Sub-Area License” หลักพันล้านบาททุกปี     ภาคเหนือ – กลุ่มตันตราภัณฑ์ กลุ่มตันตราภัณฑ์ของตระกูล “ตันตรานนท์” มีต้นตระกูลเป็นชาวจีนชื่อว่า “เถ้าแก่ง่วนชุน” เริ่มต้นจากการเปิดร้านขายของชำเรือนไม้ 2 ชั้น ริมถนนวิชยานนท์ ใกล้กับตลาดต้นลำไยและตลาดวโรรสหรือที่คนในพื้นที่เรียกว่า “กาดหลวง” เมื่อธุรกิจร้านโชห่วยเติบโตมากขึ้น ลูกชายอย่าง “ธวัช ตันตรานนท์” จึงคิดหาลู่ทางขยายกิจการ-ขยับสู่การทำห้างสรรพสินค้า “ตันตราภัณฑ์”   จุดเปลี่ยนสำคัญของ “กลุ่มตันตราภัณฑ์” เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วง 2530 “กลุ่มเซ็นทรัล” และบรรดา “ดิสเคาต์สโตร์” เริ่มขยายตลาดมายังภูมิภาคอื่นๆ มากขึ้น เมื่อดำเนินกิจการไปสักระยะก็พบว่า ศูนย์การค้าไม่ใช่เกมที่ตนถนัดประกอบกับห้างตันตราภัณฑ์เริ่มถูก “ดิสรัปต์” จากค้าปลีกเซ็นทรัลมากขึ้นเรื่อยๆ ท้ายที่สุดจึงตัดสินใจขายศูนย์การค้า “แอร์พอร์ตพลาซ่า” ให้กับกลุ่มเซ็นทรัล เหลือไว้เพียง “ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต” ที่เป็นจุดแข็งมาจนถึงปัจจุบัน   นอกจากธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ตแล้ว “กลุ่มตันตราภัณฑ์” ยังมีรายได้หลักจาก “บริษัท ชอยส์ มินิ สโตร์ จำกัด” บริษัทที่ประกอบกิจการร้านสะดวกซื้อ “เซเว่น-อีเลฟเว่น” ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือได้แก่ จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน และ จ.แม่ฮ่องสอน ผลประกอบการย้อนหลังตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2565 พบว่า บริษัทฯ มีรายได้หลัก “พันล้านบาท” ทุกปี และ ในปี 2566 ทำรายได้ “หลักหมื่นล้าน” เลยทีเดียว และยังเป็นกิจการที่สร้างเม็ดเงินให้กับ “กลุ่มตันตราภัณฑ์” สูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ในเครือด้วย     ภาคอีสาน – กลุ่มยิ่งยง ย้อนกลับไป 30

พาสำรวจเบิ่ง 4 ยักษ์ใหญ่แห่งแดนภูธรที่ครองสิทธิบริหาร 7-Eleven อ่านเพิ่มเติม »

🔎พาส่องเบิ่ง ตัวอย่าง “โรงน้ำตาล” เจ้าใหญ่แห่งภูธรอีสาน🏭

📈📊ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลก โดยในปี 2566 ไทยครองตำแหน่งผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 2 ของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออกสูงถึง 4,506 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นรองเพียงบราซิลที่เป็นผู้นำด้านการส่งออกน้ำตาลของโลกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 15,982 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับคู่แข่งที่สำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกน้ำตาลใกล้เคียงกับไทย ได้แก่ อินเดียและเยอรมนี ซึ่งมูลค่าการส่งออกของทั้งสองประเทศมีการเปลี่ยนแปลงลำดับกันในแต่ละปีขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตและการส่งออกในช่วงเวลานั้น ๆ    ภาคอีสานถือเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลจากอ้อยที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย โดยในฤดูกาลผลิตปี 2567/2568 ประเทศไทยมีปริมาณอ้อยรวมทั้งหมด 93.2 ล้านตัน ซึ่งภาคอีสานมีปริมาณอ้อยถึง 45.9 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 50% ของปริมาณอ้อยทั้งประเทศเลยทีเดียว ภายในภาคอีสานมีโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 23 แห่ง โดยส่วนใหญ่เป็นของกลุ่มธุรกิจน้ำตาลรายใหญ่ในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังมีบางโรงงานที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มทุนใหญ่ เช่น บริษัท โรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม จำกัด, บริษัท โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน), และบริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด เป็นต้น   กลุ่มธุรกิจน้ำตาลที่เลือกตั้งโรงงานในภาคอีสานส่วนใหญ่นั้นเป็นแบรนด์ที่เราคุ้นเคยกันดี อย่างกลุ่มมิตรผล, กลุ่มวังขนาย, กลุ่มไทยรุ่งเรือง, กลุ่ม Thai Sugar Mill หรือ รู้จักกันในนาม GOOD SUGAAAR, กลุ่มน้ำตาลครบุรี (KBS) และน้ำตาลขอนแก่น (KSL) ซึ่งการเลือกตั้งโรงงานในภาคอีสานก็สามารถแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาคอีสานในฐานะพื้นที่ผลิตที่มีบทบาทสำคัญต่อกลยุทธ์ของบริษัท การตั้งโรงงานในพื้นที่ผลิตอ้อยช่วยลดต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบ ซึ่งเป็นต้นทุนส่วนสำคัญในการผลิตน้ำตาล     🏬จากข้อมูลอันดับข้างต้นก็จะพบว่า บริษัท รวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จำกัด มีมูลค่ารายได้รวมมากที่สุดในอีสาน ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทน้ําตาลมิตรผล ที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ําตาลรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยนั่นเอง “มิตรผล” ได้เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท รวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จํากัด ซึ่งปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 490 ลานบาท และเป็นเจาของโรงงานน้ําตาล 2 แห่ง คือ  – โรงงานน้ําตาลมิตรภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ มีอัตราการผลิตอ้อย 25,000 ตัน/วัน และสามารถผลิตน้ําตาลทรายขาวบริสุทธิ์ได้ 1,500 ตัน/วัน โรงงานผลิตน้ําตาล 4 ประเภท คือ น้ําตาลทรายดิบ น้ําตาลทรายดิบคุณภาพสูง (VHP) น้ําตาลทรายขาว และน้ําตาลทรายขาวบริสุทธิ์    – โรงงานน้ําตาลมิตรภูเวียง จังหวัดขอนแกน มีอัตราการผลิตอ้อย 24,000 ตัน/วัน และสามารถผลิตน้ําตาลทรายขาวบริสุทธิ์ได้ 700 ตัน/วัน โรงงานผลิตน้ําตาล 5 ประเภท คือ น้ําตาลทรายดิบ น้ําตาลทรายดิบคุณภาพสูง (VHP) น้ําตาลทรายขาว น้ําตาลปี๊บ และน้ําตาลทรายแดง นอกจากนี้โรงงานสามารถผลิตกระแสไฟฟา และจําหน่ายให้แก่การไฟฟาแห่งประเทศไทย โดยมีอัตราการผลิต

🔎พาส่องเบิ่ง ตัวอย่าง “โรงน้ำตาล” เจ้าใหญ่แห่งภูธรอีสาน🏭 อ่านเพิ่มเติม »

3 วัดชื่อดังของแต่ละประเทศเพื่อนบ้าน สายบุญห้ามพลาด!

วันนี้เราจะพามาแนะนำวัดชื่อดังที่สายบุญห้ามพลาด ต้องได้ลองไปสักครั้งหนึ่งในชีวิต   ไทย(อีสาน) – วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา  วัดเก่าแก่ในตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด เป็นวัดสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตของ พระเทพวิทยาคม หรือ “หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ” พระเกจิชื่อดังซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ ภายในวัดมีสิ่งปลูกสร้างสำคัญ ๆ อยู่หลายอาคาร ได้แก่ พระอุโบสถ พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ หอแก้ว หอระฆัง อาคารประชาสัมพันธ์ ศูนย์โอทอป (OTOP) และที่โดดเด่นสวยงามอย่างมากคือ หอเทพวิทยาคม เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา (อาคารปริสุทธปัญญา) ซึ่งเป็นอุทยานธรรม 5 ชั้น กลางบึงน้ำขนาดใหญ่    -วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่ที่ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง ภายในวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วิจิตรตระการตา และเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระใส” พระพุทธรูปสำคัญคู่เมือง เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ในสมัยล้านช้าง หล่อด้วยทองสีสุก หน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว ซึ่งในช่วงวันสงกรานต์ของทุกปี จะมีการจัดงานสมโภชและขบวนแห่ให้ชาวหนองคายได้สรงน้ำหลวงพ่อพระใสเพื่อความเป็นสิริมงคลกันอีกด้วย   -วัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองยโสธร ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมืองยโสธร อำเภอเมืองยโสธร ภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญคือ “พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์” หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน เป็นพระบูชาคู่บ้านคู่เมืองของยโสธรและเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำเมืองที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย และพระธาตุอานนท์ พระธาตุเก่าแก่ที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน   ลาว –วัดเชียงทอง สร้างขึ้นใน พ.ศ.2103 โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เป็นวัดสวยของหลวงพระบางที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ที่นี่ถือว่าเป็นวัดเก่าแก่ และสวยที่สุดในหลวงพระบาง จนได้รับการยกย่องจากนักโบราณคดีว่าเป็น “อัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมสกุลช่างล้านช้าง” เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างตอนเหนือที่งดงามมาก  จุดเด่นที่ต้องห้ามพลาดเลยก็คือ วิหารพระม่าน และหอพระพุทธไสยาสน์ ผนังด้านนอกทาพื้นเป็นสีชมพูกุหลาบ ตกแต่งดอกลวดลายสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของเมืองหลวงพระบาง ถ้าใครได้มาเที่ยวหลวงพระบางแล้ว ไม่ได้แวะมาเยือนวัดเชียงทอง แทบเหมือนมาไม่ถึงหลวงพระบางเลยทีเดียว   –พระธาตุพูสี ตั้งอยู่บนยอดเขากลางเมืองหลวงพระบาง ที่มีความสูงถึง 150 เมตรเลยทีเดียว สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอนุรุท ประมาณปี พ.ศ.2337 และเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ของชาวหลวงพระบาง มีพระพุทธรูป และรอยพระพุทธบาทเก่าแก่ การขึ้นพระธาตุพูสี ต้องเดินขึ้นบันไดจำนวน 328 ขั้น ทางขึ้นพระธาตุมี 2 ทาง คือทางฝั่งแม่น้ำคาน กับฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งมีความสวยงามต่างกันไป อีกทั้งด้านบนยังเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยที่สุดของหลวงพระบาง สามารถมองเห็นวิวหลวงพระบางได้แบบ 360 องศาเลยทีเดียว   –วัดโพนไซ วัดโพนไซ หรือ วัดโพนชัยชนะสงคราม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2344 โดยพระเจ้าอนุรุทธราช กษัตริย์แห่งหลวงพระบาง พระอุโบสถเป็นศิลปะแบบหลวงพระบาง ในอดีตมีความเชื่อกันว่า

3 วัดชื่อดังของแต่ละประเทศเพื่อนบ้าน สายบุญห้ามพลาด! อ่านเพิ่มเติม »

ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่าง “เถ้าแก่น้อยร้อยล้าน” แห่งภูธรอีสาน

คุณณิชกานต์ พัฒนพีระเดช📍สาวขอนแก่น เจ้าของ “แฟรี่พลาซ่า” , “ตลาดต้นตาล” และ “ศูนย์ค้าส่ง อู้ฟู่ ขอนแก่น” “ตลาดต้นตาล” แลนด์มาร์คเมืองของแก่น ที่มีทายาทรุ่นสาม เข้ามาร่วมพลิกโฉมจังหวัดขอนแก่นให้มีสีสันทั้งกลางวันและกลางคืน จากครอบครัวที่ทำธุรกิจเปิด “ห้างแฟรี่พลาซ่า” เปิดให้บริการมายาวนานกว่า 50 ปี จนกลายเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คสำคัญของขอนแก่น แต่ต้องเผชิญการแข่งขันในตลาดที่รุนแรงและธุรกิจห้างไม่ได้อยู่ในช่วงขาขึ้น จึงนำไปสู่การทำไนท์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ในจังหวัด   ซึ่งกลยุทธ์ของตลาดต้นตาลจะมุ่งจัดกิจกรรมทางด้านบันเทิงอย่างเข้มข้น เพื่อทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทุกคนต้องมาเยือน และร่วมกระตุ้นค้าปลีก จากการดึงผู้ประกอบการท้องถิ่นเข้ามาเปิดร้านค้า ร่วมสร้างการเติบโตให้แก่เศรษฐกิจของจังหวัด   นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนาธุรกิจค้าปลีกกับ “ห้างแฟรี่พลาซ่า” ที่อยู่ในตลาดมากกว่า 50 ปี โดยเป็นห้างบุกเบิกของจังหวัดขอนแก่น ได้มีการวางแผนจัดกิจกรรมการตลาดและอีเว้นท์อย่างเข้มข้นเช่นกัน ร่วมเพิ่มยอดทราฟฟิกของห้างให้ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางตลาดค้าปลีกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว!      คุณจิรเดช เนตรวงค์📍หนุ่มร้อยเอ็ด เจ้าของ “ร้านตำกระเทย” ที่เริ่มต้นจากศูนย์ ด้วยหนี้สินก้อนโต ทำให้ประสบปัญหาทางด้านการเงินในชีวิต จนต้องหาที่พึ่งพิงสุดท้ายจากครอบครัว ยืมเงินจากบัตรเครดิตของน้องชายมา 400,000 บาท และมาเริ่มต้นใหม่ในการทำธุรกิจร้านอาหาร โดยใช้ปลาร้าสูตรของคุณแม่ที่ทำกินเองที่บ้าน นำมาต่อยอดปรับสูตร ทำให้ได้รสชาติที่คิดว่าคนส่วนใหญ่ชอบทาน แม้ว่าในช่วงแรกที่เริ่มต้นจะขาดทุนกว่า 6 เดือน แต่ก็ไม่ยอมแพ้ ด้วยการขายสร้อยทองชิ้นสุดท้ายของคุณแม่ในการพัฒนาธุรกิจ   จากร้านส้มตำเล็กๆ คุณจิรเดชได้พัฒนาร้านโดยใช้สื่อโซเชียลในการโปรโมทร้านจนเริ่มเป็นที่รู้จัก จนทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยใช้เวลา 10 ปี ในการพาร้านอาหารขยายสาขาไปทั่วอีสาน 11 สาขาทั่วอีสาน เปิดในกรุงเทพฯ 1 สาขา และเปิดในกัมพูชาอีก 1 สาขา สร้างยอดขาย 300 ล้านบาท   ในปัจจุบัน ตำกระเทย สาเกต ได้ขยายธุรกิจจากแดนอีสานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ย่านสีลม และขยายไปต่างประเทศที่กัมพูชา โดยเป็นฝีมือการทำอาหารจากชาว LGBTQ ที่ไม่ได้รับโอกาส แต่ที่ร้านตำกระเทยเป็นผู้ให้โอกาสได้โชว์ฝีมือการทำอาหาร และเมนูที่ขายดี คือ ส้มตำ ที่ใช้น้ำปลาร้าในการปรุงอาหารทำให้รสชาติอร่อยมากยิ่งขึ้น ที่ทำรายได้กว่า 50% ของยอดขาย ซึ่งในปีที่ผ่านมาตำไปแล้วว่า 1 ล้านครก   คุณภูดิศ ประดับโชติ📍หนุ่มบุรีรัมย์ หนุ่มบุรีรัมย์ที่เรียนจบเลือกมาทำงานในกรุงเทพ ฯ ทำงานมาหลายอาชีพ ตั้งแต่เป็นคนจัดตารางวิทยุ พนักงานออฟฟิศ ขายไก่ย่างห้าดาว และเป็นตัวแทนจำหน่ายไอศกรีม จนในที่สุดเลือกที่จะมาทำธุรกิจของตัวเอง ใช้เงินลงทุนเพียงหลักพัน ขายเฉาก๊วยริมถนนในจังหวัดหนองคาย    จนกระทั่งมีคนมาเหมาไปเป็นของว่างงานประชุมตามบริษัทต่าง ๆ ทำให้คุณภูดิศเห็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจแฟรนไชส์ หลังจากนั้นคุณภูดิศได้มีไปออกงานแสดงสินค้าประจำปี งานบุญพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ที่ สปป.ลาว ขายทั้งหมด 7 วัน ได้วันละ 2,000 แก้ว ทำให้มีคนสนใจธุรกิจแฟรนไชส์ โดยใช้เวลากว่า 5

ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่าง “เถ้าแก่น้อยร้อยล้าน” แห่งภูธรอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

อำนาจเจริญ ความท้าทายที่ต้องก้าวข้าม จังหวัดที่มูลค่าเศรษฐกิจน้อยที่สุดในอีสาน

อำนาจเจริญ อีกหนึ่งจังหวัดที่มีความท้าทายที่ต้องก้าวผ่านนั่นคือ ความเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนมากที่สุดในภาคอีสาน .   ถ้าเราพูดถึงเศรษฐกิจ ย่อมมีทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ดี และไม่ดีแตกต่างกันไปในแต่พื้นที่ ที่ผ่านมาเพจ อีสาน อินไซต์ ของเพวกเราได้นำเสนอข้อมูลด้านเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัดซึ่งมีสัดส่วนตั้งแต่ดีมากไปจนถึงแย่ที่สุดและนี่เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนที่สูงมากเลยทีเดียว .   วันนี้อีสาน อินไซต์ สิพามาเบิ่ง สถานการณ์เศรษฐกิจและข้อมูลต่างๆของจังหวัด อำนาจเจริญ .   1.ข้อมูลพื้นฐาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีขนาดพื้นที่ ประมาณ 3,161 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 374,372 คน ถือว่ามีประชากรน้อยสุดลำดับที่ 19 ในภาคอีสาน มีประชากรมากกว่ามุกดาหารเท่านั้น โดยในปี 2564 จังหวัดอำนาจเจริญมีขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด อยู่ที่ 21,693 ล้านบาท และรายได้ต่อหัวของจังหวัดอยู่ที่ 77,048 บาท .   .   2.สถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดอำนาจเจริญจะมีการผสมผสานระหว่างธรรมชาติกับธรรมะที่การสมผสานกันอย่างลงตัว อย่างพระมงคลมิ่งเมืองและพุทธอุทยานนั้น จะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์พระหน้าตักกว้าง 11 เมตร ความสูงจากระดับพื้นดินถึงยอดเปลวรัศมีกว่า 20 เมตร โดยเป็น พระมงคลมิ่งเมือง จะเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบอินเดีย ที่เข้ามายังภาคอีสาน เมื่อพันปีก่อนนั่นเอง และบรรจุพระสารีริกธาตุ ที่ได้รับมาจากประเทศอินเดียไว้ที่องค์พระด้วย ใครที่ได้มากราบไหว้ขอพรนั้น ก็เลยเหมือนได้ไปกราบไหว้พระสารีริกธาตุที่ประเทศอินเดียนั่นเอง และอีกที่นึง นั่นคือน้ำตกตาดใหญ่ เป็นสถานที่ทางธรรมชาติอีกจุดของจังหวัดอำนาจเจริญตั้งอยู่ใน ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน โดยสายน้ำแห่งนี้เกิดขึ้นมาจากลำห้วยทม ไหลผ่านพลาญหินทรายลงไป มีขนาดกว้างกว่า 30 เมตร และสูงเกือบ 2-3 เมตรเลยทีเดียว ที่สำคัญยังมีน้ำไหลกันตลอดทั้งปีอีกด้วย แต่น้ำจะเยอะมากในหน้าฝน และสวยที่สุดช่วงปลายฝนต้นหนาว   .   3.โครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจ SME ในปี 2565 จังหวัดอำนาจเจริญมีขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด  (GPP) อยู่ที่ 21,693 ล้านบาท ด้วยตัวเลขนี้ทำให้อำนาจเจริญอยู่อันดับสุดท้ายของภูมิภาค แต่มีรายได้ต่อหัว (GPP Per Capita) อยู่ที่ 81,556 บาท อยู่ในลำดับที่ 13 ของภูมิภาค โดยจังหวัดอำนาจเจริญมีโครงสร้างเศรษฐกิจดังนี้   ภาคการบริการ คิดเป็น 49% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร อยู่ที่ 1,240 ราย ภาคการเกษตร คิดเป็น 28% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การเลี้ยงโคนมและโคเนื้อ อยู่ที่ 259 ราย ภาคการผลิต

อำนาจเจริญ ความท้าทายที่ต้องก้าวข้าม จังหวัดที่มูลค่าเศรษฐกิจน้อยที่สุดในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พลิกโฉมนครพนม กับสุดยอดโครงการคมนาคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

จังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทั้งด้านประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจ ด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) เท่ากับ 50,217,015 บาท นครพนมยังมีบทบาทสำคัญในฐานะประตูเชื่อมต่อไทย ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 สะพานมิตรภาพแห่งนี้เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 โดยเชื่อมต่อจังหวัดนครพนมกับแขวงคำม่วนของประเทศลาว ด้วยความยาว 780 เมตร และทัศนียภาพที่สวยงามของแนวเขา สะพานแห่งนี้กลายเป็นเส้นทางสำคัญทั้งในด้านการท่องเที่ยวและการค้า ระหว่างประเทศไทย เวียดนาม และจีนตอนใต้ ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทย-ลาวแสดงให้เห็นถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังลาวที่ 6,705 ล้านบาท และการนำเข้าสินค้าจากลาวที่ 64,302 ล้านบาท สะพานแห่งนี้จึงเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนย้ายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาค โครงการพัฒนาด้านคมนาคมสำคัญในอนาคต เพื่อยกระดับศักยภาพของจังหวัดนครพนม ภาครัฐได้ผลักดันหลากหลายโครงการคมนาคมที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและการขนส่งในพื้นที่ 1. รถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม เส้นทาง: บ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3) ระยะทาง: 355 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ: 66,848 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จ: พ.ศ. 2571 ศักยภาพ: เชื่อมต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับพื้นที่เศรษฐกิจทางตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) รองรับผู้โดยสารได้ถึง 3.8 ล้านคนต่อปี เพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์เกษตร ซีเมนต์ และสินค้าอุปโภคบริโภค มากถึง 700,000 ตันต่อปี 2. ศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม พิกัด: ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม มูลค่าโครงการ: 1,300 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จ: พ.ศ. 2568 ศักยภาพ: เป็นศูนย์รวมการรวบรวม คัดแยก และกระจายสินค้า เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ สนับสนุนการเชื่อมโยงกับรถไฟทางคู่และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ 3. ถนนสายเชื่อมศูนย์ซ่อมอากาศยาน-ศูนย์กลางการค้าส่งชายแดน พิกัด: สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 – ทล.212 อำเภอท่าอุเทน (ระยะทาง 23.1 กิโลเมตร) มูลค่าโครงการ: 949 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จ: พ.ศ. 2568 ศักยภาพ: เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมระหว่างไทยและลาว สนับสนุนการขนส่งสินค้าด้วยระบบโลจิสติกส์ที่ครบวงจร เพิ่มโอกาสด้านการค้าและการลงทุน ด้วยศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังจะเกิดขึ้น นครพนมจึงเป็นพื้นที่ที่มีอนาคตสดใสในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการคมนาคม นอกจากจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของจังหวัด ยังส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน.   ที่มา: ประชาสัมพันธ์กระทรวงคมนาคม, กรมการขนส่งทางบก, สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครพนม, การรถไฟแห่งประเทศไทย, สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

พลิกโฉมนครพนม กับสุดยอดโครงการคมนาคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top