January 2023

10 อันดับ ประเภทของนิติบุคคลจดทะเบียนใหม่ มีอิหยังแหน่ ?

10 อันดับ ประเภทของนิติบุคคลจดทะเบียนใหม่ มีอิหยังแหน่ ?   ประเภทการขายส่งและขายปลีก มีจำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนใหม่มากที่สุด โดยมีการขายปลีกทางอินเตอร์เน็ตเป็นประเภทนิติบุคคลที่มีการจดทะเบียนมากที่สุดในเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งในปีที่แล้วการขายปลีกทางอินเตอร์เน็ตยังมีการจดทะเบียนเป็นรองเมื่อเทียบกับการขายปลีกสินค้าเบ็ดเตล็ด ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการในปัจจุบันมุ่งสู่ช่องทางออนไลน์มากขึ้น และเข้าถึงลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้มากขึ้น    อ้างอิงจาก: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #นิติบุคคล #นิติบุคคลจดใหม่ #ธุรกิจอีสาน   

ชวนเบิ่ง “ตั้งงี่สุน” อาณาจักรซูเปอร์สโตร์รายใหญ่แห่งภาคอีสาน

ตั้งงี่สุน ถือเป็นซูเปอร์สโตร์ขึ้นชื่อ ที่ทำธุรกิจมาอย่างยาวนานในอุดรธานี และที่สำคัญ ตั้งงี่สุนยังมีรายได้มากถึง 3.7 พันล้านบาท ทั้ง ๆ ที่ตั้งงี่สุนเกิดมาจากร้านโชห่วยเล็ก ๆ ในจังหวัดอุดรธานีเท่านั้น ต้นกำเนิดของตั้งงี่สุนมาจากอากงของ คุณมิลินทร์ วีระรัตนโรจน์ ทายาทรุ่นที่ 3 ของตั้งงี่สุน ที่แบกเสื่อผืนหมอนใบจากเมืองจีนมาตั้งรกรากอยู่ที่อุดรธานี และประกอบอาชีพขายสินค้าเบ็ดเตล็ดในรูปแบบร้านโชห่วยค้าส่ง-ค้าปลีกมาอย่างยาวนาน จนในปี 2530 ตั้งงี่สุนได้ปรับเปลี่ยนธุรกิจจากร้านยี่ปั๊วที่ขายสินค้าให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้าแบบค้าส่งแบบดั้งเดิม ที่บริการส่งสินค้าถึงร้านค้าของลูกค้าที่ซื้อสินค้าในราคาส่ง สู่ร้านซูเปอร์สโตร์ที่มีการจัดวางสินค้าบนเชลฟ์ เพื่อให้ลูกค้าได้เข้ามาเดินเลือกซื้อในร้านและขนสินค้ากลับไปกันเอง ซึ่งการปรับเปลี่ยนครั้งนั้นถือเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับวงการค้าส่งในประเทศไทย ที่ยังไม่มียี่ปั๊วคนไหนกล้าที่จะทำ โดยการเปลี่ยนแปลงนี้มาจากคุณแม่เสาวลักษณ์ ซึ่งเป็นภรรยาของคุณพ่อปรีชา วีระรัตนโรจน์ ลูกชายของอากง ที่แต่งงานมาช่วยกิจการได้เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศและสังเกตเห็นร้านไฮเปอร์มาร์เก็ตในต่างประเทศ ซึ่งมีรูปแบบเป็นร้านโชห่วยขนาดใหญ่ และมีเชลฟ์วางสินค้าให้ลูกค้าได้หยิบเลือกเอง ไฮเปอร์มาร์เก็ตในต่างประเทศนี้เอง ทำให้คุณแม่เสาวลักษณ์ได้นำมาปรับใช้กับตั้งงี่สุนธุรกิจของพ่อสามี ซึ่งในตอนแรกที่มีการปรับร้านใหม่ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากลูกค้าที่ซื้อสินค้าค้าส่งว่า ไม่ได้รับความสะดวกสบาย เพราะต้องเดินทางมาซื้อสินค้าเอง แทนการโทรมาสั่งสินค้าจำนวนมาก ๆ และเรื่องนี้คุณแม่เสาวลักษณ์ได้แก้เกมว่า การเดินทางมาซื้อเองที่ร้านตั้งงี่สุนจะสามารถซื้อสินค้าในจำนวนเท่าไรก็ได้ จะซื้อเพียง 1 ชิ้นก็ขาย นอกจากนี้ ตั้งงี่สุนยังมีการนำระบบไอทีมาใช้ในการชำระค่าสินค้า เพื่อให้ราคาสินค้าเป็นราคาเดียวกันทั้งหมด แม้ใครจะเป็นคนขายก็ตาม เพื่อขจัดปัญหาเดิมที่เคยเป็นอยู่คือราคาที่ขายให้กับลูกค้าแต่ละคนไม่เท่ากัน และการปรับเปลี่ยนนี้ได้กลายเกิดเป็นต้นแบบที่ทำให้ตั้งงี่สุนผ่านร้อนผ่านหนาวในการแข่งขันจากคู่แข่งที่เป็นเชนสโตร์ได้จนถึงวันนี้ สิ่งที่ทำให้ “ตั้งงี่สุน” ประสบความสำเร็จตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คืออะไร?? กลยุทธ์ราคาที่ทั้งแถมและถูก ราคาขายสินค้าปกติส่วนใหญ่มีราคาจำหน่ายต่ำกว่าร้านค้าอื่น ๆ ที่เป็นไฮเปอร์ เพราะราคาสินค้าถูก เป็นเหมือนแรงจูงใจชั้นดี ที่ทำให้โชห่วยเข้ามาซื้อสินค้าในร้านตั้งงี่สุนแทนคู่แข่ง และกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้านี้ยังเชิญชวนลูกค้าทั่วไปให้มาซื้อสินค้าปลีกในตั้งงี่สุนเช่นกัน นอกจากราคาที่ถูกแล้ว ยังมีกลยุทธ์ในการดึงดูดร้านค้าด้วยกลยุทธ์แถมสินค้าเพิ่มเข้าไป โดยในระยะเริ่มแรกของกลยุทธ์นี้ จะเน้นแถมสินค้าคนละ Category กับสินค้าที่จำหน่าย และสินค้านั้นเป็นสินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นให้กับร้านโชห่วย เพื่อให้ร้านโชห่วยนำสินค้าไปขายต่อได้ หรือเป็นสินค้าที่คิดว่าลูกค้าทั่วไปจะสามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยตั้งงี่สุนใช้วิธีการมัดสินค้าที่แถมรวมกับสินค้าที่จำหน่าย เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้น และลดความยุ่งยากในการที่ต้องให้ลูกค้านำใบเสร็จไปรับสินค้าอีกครั้งหนึ่ง ทำเลที่ตั้ง ตั้งงี่สุน มีทำเลที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งถือว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่ ที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมาก และจังหวัดอุดรธานียังติดกับหนองคายซึ่งเป็นจังหวัดติดชายแดน เลย หนองบัวลำภู และอื่น ๆ ทำให้ตั้งงี่สุนไม่ได้มีลูกค้าเฉพาะในอุดรธานีเท่านั้น แต่ยังมีลูกค้าจากจังหวัดอื่น ๆ ที่เดินทางเข้ามาซื้อสินค้าไปขายปลีกต่อ โดยในปัจจุบัน ตั้งงี่สุนมีสัดส่วนลูกค้าจากอุดรธานี 85% ลูกค้าจากจังหวัดใกล้เคียง 10% และอีก 5% ที่เหลือเป็นลูกค้าจากประเทศลาวและเวียดนาม นอกจากนี้ตั้งงี่สุนยังใช้กลยุทธ์ ไม่ต้องขยายสาขามากเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริหารการจัดการ แต่อยู่ในพื้นที่ที่ลูกค้าเดินทางสะดวก โดยสาขาแรกของตั้งงี่สุนอยู่ในตัวเมือง เจาะกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในเมือง ส่วนสาขาที่สองอยู่ที่ถนนอุดร-เลย ห่างจากสาขาแรกประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งเป็นถนนเส้นหลักที่เดินทางสะดวก เจาะกลุ่มลูกค้าอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการฝ่ารถติดเข้ามาซื้อสินค้าจากตั้งงี่สุนในตัวเมืองอุดรธานี ศึกษาลูกค้าจากซัปพลายเออร์ ด้วยความเป็นร้านค้าในจังหวัดอุดรธานี การศึกษาเทรนด์ของผู้บริโภคจึงมาจากการพูดคุย ขอคำแนะนำ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเซลส์ของซัปพลายเออร์ เพื่อหาสินค้าและแคมเปญต่าง ๆ มาทำให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าในพื้นที่โดยเฉพาะ โดยไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากเพื่อไปซื้อข้อมูลจากบริษัท Research เพื่อมาทำตลาด ทั้งนี้ แม้การทำธุรกิจในวันนี้ตั้งงี่สุนอาจจะเจอคู่แข่งที่มากหน้าหลายตาที่เป็นยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีกและค้าส่ง แต่เพราะการปรับตัวเสมอของตั้งงี่สุน ทำให้ตั้งงี่สุนยังคงเป็นซูเปอร์สโตร์ที่มีการเติบโตจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงทุกวันนี้ อ้างอิงจาก: https://marketeeronline.co/archives/115022 https://datawarehouse.dbd.go.th/…/profile/5/0415543000517 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน …

ชวนเบิ่ง “ตั้งงี่สุน” อาณาจักรซูเปอร์สโตร์รายใหญ่แห่งภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ฮู้จัก “สต็อกโฮล์ม” 🐐✨ SME ฟาร์มแพะมหาสารคาม ผู้บุกเบิกฟาร์มแพะครบวงจรภาคอีสานรายแรกๆ ของไทย

ฮู้จัก “สต็อกโฮล์ม” 🐐✨ SME ฟาร์มแพะมหาสารคาม ผู้บุกเบิกฟาร์มแพะครบวงจรภาคอีสานรายแรกๆ ของไทย ทำความรู้จักกับธุรกิจฟาร์มแพะครบวงจรภาคอีสานรายแรกๆ ของไทยอย่าง “สต็อกโฮล์ม” (Stockholm) SME จาก จ.มหาสารคาม ที่เริ่มต้นด้วยการเปิดร้านอาหารสัตว์และต่อยอดจนเกิดเป็นฟาร์มแพะครบวงจรในที่สุด พร้อมกับมองเห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจฟาร์มแพะในอนาคต เนื่องจากผลิตภัณฑ์จาก “แพะ” มีทิศทางตลาดเติบโตสูง จากความนิยมรับประทานเนื้อและนม รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปที่เพิ่มขึ้น ผลักดันให้มีผู้ประกอบการสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจฟาร์มเลี้ยงแพะ จำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บุกเบิกธุรกิจฟาร์มเลี้ยงแพะเป็นรายแรกๆ ของเมืองไทย และพัฒนาจนยืนหนึ่งด้วยการเป็นฟาร์มเลี้ยงแพะครบวงจร ต้นแบบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำแห่งเดียวในพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะการเป็นศูนย์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งแพะ และต่อยอดธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง มีส่วนสำคัญ ช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่คนท้องถิ่น โดย SME D Bank ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย เป็นเพื่อนร่วมทาง สนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง เยาวลักษณ์ แดนพันธ์ หรือ “เจี๊ยบ” เจ้าของกิจการ เผยเส้นทางธุรกิจ “สต็อกโฮล์ม” เริ่มจากเปิดร้านขายสินค้าการเกษตร โดยเฉพาะ “อาหารสัตว์” อยู่ที่ อ.เมือง จ.มหาสารคาม ประกอบกับส่วนตัว เรียนจบด้าน “สัตวศาสตร์” จึงนำมารู้ มาขยายธุรกิจ ช่วยเสริมเกื้อหนุนกับธุรกิจเดิม ด้วยการทำฟาร์มเลี้ยง “แพะขุน” อยู่ที่ ต.หนองเรือ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม เพราะมองแนวโน้มสินค้าจากแพะยังเป็นตลาดใหม่ในเมืองไทย โอกาสยังเปิดอีกกว้าง รวมถึง ข้อดีของการเลี้ยงแพะ มีวงจรตั้งท้องเพียง 5 เดือน ทำให้สามารถขายแพะได้ถึง 2 รอบต่อปี   ทั้งนี้เธอได้นำความรู้ด้าน “สัตวศาสตร์” มายกระดับฟาร์มเลี้ยงสู่ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งแพะ ที่ได้มาตรฐานกรมปศุสัตว์ ซึ่งถือเป็นรายแรกของภาคอีสาน และเป็นรายที่สองของประเทศไทยจากทั้งหมดสามราย เปิดจำหน่ายน้ำเชื้อแพะให้แก่ผู้สนใจที่จะทำธุรกิจฟาร์มแพะ นำ “น้ำเชื้อ” ไปผสมเทียมเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป โดยพ่อพันธุ์นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีพระเอก คือ “แซมมี่ บอย” พันธุ์ Chammy America Bore Goat สุดยอดพ่อพันธุ์ สายแชมป์ นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา ตอนอายุ 8 เดือน ในราคา 5 แสนบาท ปัจจุบันอายุประมาณ 3 ปี ถ้าจะขาย ราคาไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท   นอกจากนี้เธอยังอธิบายถึงจุดเด่นด้านบริการของ “สต็อกโฮล์ม” ที่นอกจากการจำหน่ายน้ำเชื้อแล้ว ยังสอนกระบวนการผสมเทียมแบบวิธีฉีดน้ำเชื้อผ่านช่องคลองให้ด้วย ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย ใครๆ ก็ทำได้ เหมาะแก่เกษตรกรหน้าใหม่หรือผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพนี้ สามารถนำไปต่อยอด ขยายพันธุ์แพะได้ด้วยตัวเองในอนาคต   ไอเดียธุรกิจยังไม่หยุดนิ่งเท่านั้น เธอได้เนรมิตพื้นที่ภายในฟาร์มให้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้การเลี้ยงแพะครบวงจร เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ และเมื่อมีคนเข้ามาจำนวนมาก ต่อยอดเปิดโซนคาเฟ่ไว้รองรับ …

ฮู้จัก “สต็อกโฮล์ม” 🐐✨ SME ฟาร์มแพะมหาสารคาม ผู้บุกเบิกฟาร์มแพะครบวงจรภาคอีสานรายแรกๆ ของไทย อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง หลากหลายวิถีเกษตร ฝ่าวิกฤติโควิด-19

พามาเบิ่ง หลากหลายวิถีเกษตร ฝ่าวิกฤติโควิด-19   ในช่วง 2–3 ปีที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดได้สร้างรอยแผลให้กับพี่น้องเกษตรกรไม่น้อย ทั้งปัญหาผู้คนมีกำลังซื้อน้อย ห้าง ร้าน ตลาด แหล่งทำมาค้าขาย การเดินทาง การขนส่งสินค้าถูกปิด แต่ในภาวะวิกฤติช่วงอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ยังมีเกษตรกรจำนวนหนึ่งสามารถยืนหยัดฝ่าวิกฤตินี้มาได้ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรอินทรีย์ ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ที่ฉวยจังหวะวิกฤติเป็นโอกาส ปลูกฟ้าทะลายโจรอบแห้งส่งให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรปีละ 1,000-2,000 กก. สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านปีละ 160,000-320,000 บาท นอกจากจะมีรายได้จากฟ้าทะลายโจร ยังมีพืชผัก ผลไม้ตามฤดูกาล ทำให้เกิดการค้าขายกันเองในหมู่บ้าน และยังทำให้ผู้คนแถบนี้แทบไม่เคยพบเชื้อโควิดเลย   อีกทั้งยังมีไม้ประดับเป็นอีกตัวหนึ่งที่ยามผู้คนว่างอยู่กับบ้านมักใช้เวลาไปกับกิจกรรมเหล่านี้ อย่างแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับ บ้านแก่งไฮ ต.หนองบัว อ.ภูเรือ จ.เลย ปรับตัว ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและจำหน่าย หันมาผลิตไม้ใบสวย ไม้ประดับ และไม้มงคล ขายผ่านเฟซบุ๊ก 3 เพจ ได้แก่ เพจ “สวนต้นไม้มงคล ต้นไม้ดอกไม้ประดับ ต้นไม้จิ๋ว ต้นไม้ฟอกอากาศ BY nmco, เพจ “ไร่ภูซำเตย สวนปูไม้ดอกไม้ประดับ” และเพจ “จำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับไม้มงคล ไร่ภูซำเตย”   รวมถึงอีกหลายกลุ่มที่กล้าคิดนอกกรอบ อย่างกิมจิหอมแดง-กบแปรรูป ของกลุ่มเกษตรกรใน จ.ศรีสะเกษ, อีกทั้งยังมีอีกหลายจังหวัดในประเทศไทย เช่น การแปรรูปผักตบชวาเป็นสินค้าแฟชั่นของชาวบ้าน จ.ปทุมธานี, สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ข้าวออร์แกนิกมาตรฐานยูเอสดีเอมาผสมผสานกับพืชสมุนไพรของแมคนีน่าฟาร์ม จ.เชียงราย, สวนมะนาววโรชา จ.อ่างทอง ปลูกผักสวนครัวทั้งบนดินและภาชนะที่หาได้   นอกจากนั้น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ออกโมเดลการปลูกผักที่ทำให้มีกินได้ตลอด ซึ่งประสบความสำเร็จใช้ได้จริง เริ่มจากปลูกผักที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ไว ในช่วง 3 วันแรก อาทิ ถั่วงอก ถัดมาเป็นทานตะวันอ่อน ผักบุ้งอ่อน ที่เก็บเกี่ยวได้ตอนอายุ 7-10 วัน ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง แต่หากขายก็ได้ราคาแพงถึง กก.ละ 200-250 บาท ถ้าต้องการบริโภคต้นแก่ก็ปล่อยไว้ 14-24 วัน ส่วนผักที่เก็บกินในช่วง 30-45 วัน จะเป็นกลุ่มผักกินใบอย่างคะน้า กวางตุ้งฮ่องเต้ กรีนโอ๊ก และผักที่มีอายุให้บริโภคได้ในช่วง 45-60 วัน จะเป็นกลุ่มพริก แตงกวา มะเขือเปราะ ต่อมาคือมะเขือเทศใช้เวลาปลูก 70-90 วัน หรือจะเลือกปลูกดอกชมจันทร์ ที่ช่วยในเรื่องการขับถ่าย หรือข้าวโพดหวานที่ใช้เวลา 90 วันเท่ากัน แค่วางแผนผลิตให้ดี ก็มีผักให้เก็บกินทุกวัน ทำให้หลายคนนำไปใช้ทั้งปลูกไว้กินเอง และขายในเชิงพาณิชย์อีกด้วย   อ้างอิงจาก: …

พามาเบิ่ง หลากหลายวิถีเกษตร ฝ่าวิกฤติโควิด-19 อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง “จิ้งหรีด” โปรตีนทางเลือกในอนาคตที่สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจในภาคอีสาน แต่ละจังหวัดเป็นจังใด๋แหน่

ความมั่นคงทางอาหารและความนิยมในกลุ่มอาหารแห่งอนาคต (Future food) สามารถสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการในภาคอีสาน ความต้องการอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับประสิทธิภาพการผลิตอาหารที่เริ่มชะลอตัวลงซึ่งกำลังกระทบกับความสามารถในการเข้าถึงอาหาร รวมถึงความมั่นคงทางอาหารในแต่ละประเทศ โปรตีนจากแมลงมีการเติบโตมากที่สุดในกลุ่มโปรตีนทางเลือกต่างๆ และมีการขยายตัวของมูลค่าตลาด และผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โปรตีนทางเลือกที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด คือ โปรตีนจากแมลง และควบคู่ด้วยเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง แต่การเพาะเลี้ยงแมลงที่ข้อได้เปรียบชัดเจน คือไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี หรือ R&D ในการผลิตที่สูง รวมถึงการที่ตลาดมีการขยายและรองรับการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ โปรตีนจากแมลงจึงเป็นอุตสาหกรรมที่เหมาะสมที่จะเข้ามาเป็นอุตสาหกรรมอาหารในอนาคตที่สุด การเพาะเลี้ยงแมลงมีความต้องการในการใช้ทรัพยากรการผลิตที่น้อย รวมถึงยังมีการปล่อยก๊าซเรือน กระจกในระดับที่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตโคเนื้อ ประกอบกับสินค้าแปรรูปของแมลง เช่น ผงจิ้งหรีด เป็นสินค้าจําพวกโปรตีนที่มีมูลค่าสูง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก ซึ่งที่ตั้งของไทยยังสะท้อนจุดแข็งในการเป็นฐานผลิตอุตสาหกรรมแมลง จากการที่เป็นแหล่งอาศัยของแมลงหลายชนิด และอยู่ใกล้กับตลาดผู้บริโภค แมลงที่กระจุกตัวในเอเชียตะวันออก โดยสินค้าแปรรูปของแมลง จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าวัตถุดิบพิเศษสําหรับการประกอบอาหาร ซึ่งจะเป็นกลุ่มอาหารโปรจีนที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงขึ้น อีสานเป็นแหล่งที่เหมาะสมในการเป็นฐานผลิตแมลง ทั้งจากปัจจัยด้านสถานที่ตั้ง สภาพอากาศ รวมถึง ด้านต้นทุนที่อยู่ในจุดที่เหมาะสมกับภูมิภาคอื่น ​​สถานที่ตั้งและสภาพอากาศของไทย โดยเฉพาะภาคอีสานเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงกินได้ รวมถึงเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหลักกว่า 80% ของประเทศ อีกปัจจัยที่สนับสนุนโดยภาคอีสานมีฟาร์มจิ้งหรีดจำนวนมากที่สุด เป็นเพราะการใช้กากการของมันสำปะหลังที่สามารถทดแทนอาหารเพาะเลี้ยงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นวิธีการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก อีสานยังเผชิญความท้าทายในอุตสาหกรรมแมลงอยู่ 2 ประเด็นหลัก คือ การที่ผลิตภัณฑ์ยังออกมาในรูปของสินค้าขั้นต้น ยังงขาดการแปรรูป และการบริโภคแมลงยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ผลิตภัณฑ์จากแมลงในปัจจุบันของไทย ยังอยู่ในรูปของสินค้าขั้นต้นเป็นหลัก เช่น แมลงแช่แข็ง และแมลงทอด ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้น้อย โดยการยกระดับอุตสาหกรรมแมลง ควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถสร้างมูลเพิ่มได้มากขึ้น เช่น การแปรรูปเป็นผงหรือสารสกัดจากแมลง ข้อจํากัดหลักของตลาดอาหารจากแมลง คือ การขยายตัวของเขตเมือง ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยของญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวของสังคมเมืองกระทบกับการรับรู้และความคุ้นเคยในการบริโภคแมลง และทำให้ความต้องการบริโภคแมลงลดลง แต่เมื่อเปรียบเทียบอีสานกับภูมิภาคอื่น อีสานมีการขยายตัวของเขตเมืองที่ช้ากว่า ซึ่งสะท้อนความเหมาะสมในการเป็นแหล่งเพาะเลี้ยง ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากแมลง อ้างอิงจาก: www.thaicricketdb.com #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผลิตภัณฑ์จากแมลง #แมลงแช่แข็ง #ธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรม #แมลงทอด #อาหารแห่งอนาคต #โปรตีนจากแมลง #อุตสาหกรรมแมลง

ซอมเบิ่ง 8 อันดับธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษาที่มีรายได้รวมมากที่สุดในภาคอีสาน เปลี่ยนไปจังใด๋แหน่ในช่วง 3 ปี

อ้างอิงจาก: https://data.creden.co/ranking #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจที่มีรายได้รวมมากที่สุด #อันดับธุรกิจที่มีรายได้รวมมากที่สุด #ธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษา

ภาคอีสาน 5 อันดับ ผลผลิตทางการเกษตร อิหยังหลายที่สุด ?

ภาคอีสาน 5 อันดับ ผลผลิตทางการเกษตร อิหยังหลายที่สุด ? ผลผลิตสินค้าทางการเกษตรรวมสูงสุด 5 อันดับแรก ปี 2564 คือ 1. มันสำปะหลังโรงงาน โดยจังหวัดที่ทำผลผลิตมากที่สุดคือ จ.นครราชสีมา 5,507,286 ตัน 2. ข้าวนาปี โดยจังหวัดที่ทำผลผลิตมากที่สุดคือ จ.อุบลราชธานี 1,436,095 ตัน 3. ยางพารา โดยจังหวัดที่ทำผลผลิตมากที่สุดคือ จ.บึงกาฬ 208,058 ตัน 4. ข้าวนาปรัง โดยจังหวัดที่ทำผลผลิตมากที่สุดคือ จ.กาฬสินธุ์ 171,382 ตัน 5. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยจังหวัดที่ทำผลผลิตมากที่สุดคือ จ.นครราชสีมา 501,133 ตัน อ้างอิงจาก: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผลผลิตอีสาน #นครราชสีมา #อุบลราชธานี #บึงกาฬ #กาฬสินธุ์

ชวนเบิ่ง 10 อันดับธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรม รีสอร์ท และห้องชุด ที่มีรายได้รวมมากที่สุด ในภาคอีสาน

อ้างอิงจาก: CredenData #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจที่มีรายได้รวมมากที่สุด #อันดับธุรกิจที่มีรายได้รวมมากที่สุด #ธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรม #ธุรกิจเกี่ยวกับรีสอร์ท #ธุรกิจเกี่ยวกับห้องชุด

อยู่หม่องใด๋ จะแข่งขันอิหยัง ? สำรวจดัชนีโอกาสทางธุรกิจที่สูงสุดในแต่ละจังหวัด ภาคอีสาน

อยู่หม่องใด๋ จะแข่งขันอิหยัง ? สำรวจดัชนีโอกาสทางธุรกิจที่สูงสุดในแต่ละจังหวัด ภาคอีสาน เว็บไซต์ DBD DataWarehouse+ ซึ่งรวบรวมข้อมูลนิติบุคคลที่มีการจดทะเบียนตามกฎหมายกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดเผยดัชนีโอกาสหรือคะแนนที่บ่งบอกถึงโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมย่อย 5 อันดับ จังหวัดในภาคอีสานที่มีดัชนีโอกาสทางธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมย่อยสูงสุด 1. เลย ค่าดัชนี 0.94 กลุ่มยานยนต์ 2. หนองบัวลำภู ค่าดัชนี 0.88 กลุ่มส่วนประกอบของยานยนต์ 3. มหาสารคาม ค่าดัชนี 0.87 กลุ่มวัสดุอุตสาหกรรม และเครื่องจักร 4. หนองคาย ค่าดัชนี 0.87 กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 5. อำนาจเจริญ ค่าดัชนี 0.85 กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ น่าสนใจว่า 4 จาก 20 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ อุบลราชธานี และอุดรธานี มีโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมย่อยประเภท ‘ส่วนประกอบของยานยนต์’ สูงที่สุด เช่นเดียวกับอีก 4 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม มุกดาหาร ชัยภูมิ และสุรินทร์ ที่มีโอกาสทางธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมย่อยประเภท ‘วัสดุอุตสาหกรรม และเครื่องจักร’ สูงที่สุด อ้างอิงจาก : DBD DataWarehouse+ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ดัชนีโอกาส #โอกาสทางธุรกิจ #เลย #หนองบัวลำภู #หนองคาย #มหาสารคาม #อำนาจเจริญ

พามาเบิ่ง เส้นทาง “กลุ่มบริษัท น้ำตาลเอราวัณ” อาณาจักรโรงงานน้ำตาลรายใหญ่ในภาคอีสาน

ปี 2549 เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานโดยลงเสาเอกเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2549 และทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 บนพื้นที่มากกว่า 2,600 ไร่ และเริ่มปรับพื้นที่ ขุดสระน้ำดี บ่อน้ำเสีย และบ่อน้ำวน เป็นโครงการเริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียน 700 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจการผลิตน้ำตาลทรายจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ กำลังการผลิตที่ได้รับอนุญาตที่ 8,117 ตันอ้อย/วัน ตามมติคณะรัฐมนตรี กากอ้อยที่เกิดจากกระบวนการผลิตน้ำตาลถือเป็นของเสียที่ทิ้งไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์ ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของผู้บริหาร จึงได้ก่อตั้ง บริษัท เอราวัณเพาเวอร์ จำกัด ขึ้น เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 ด้วยทุนจดทะเบียน 166 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวล(กากอ้อย) และพลังงานไอน้ำ เพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และบริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด ปี 2550 เริ่มทำการหีบอ้อยได้ผลผลิตเป็นน้ำตาลทรายดิบ เป็นปฐมฤกษ์ในฤดูกาลผลิต 2550/2551 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2550 เริ่มก่อตั้งบริษัท เอ็น.อี.โลจิสติกส์ จำกัด เมื่อ 28 มีนาคม พ.ศ. 2550 ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท เดิมดำเนินกิจการเพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจขนส่งอ้อย น้ำตาล และสินค้าอื่น ๆ ของบริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด แต่ในปัจจุบันประกอบธุรกิจทั่วไปเกี่ยวกับด้านการขนส่งและขน ถ่ายสินค้าภายในประเทศ โดยควบคุมระบบการติดตามรถขนส่งสินค้าตลอดเส้นทางการเดินรถที่ทันสมัย และปลอดภัยจากอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งให้บริการซ่อมแซม บำรุงรักษา ตรวจสอบ ยานพาหนะทุกประเภท โดยช่างผู้ชำนาญการ ปี 2551 ในฤดูกาลผลิตปี 2551/2552 บริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด ได้เพิ่มกำลังการผลิตจากเดิมเป็น 20,117 ตันอ้อย/วัน และบริษัทเอราวัณเพาเวอร์จำกัด ได้ขยายกำลังการผลิตเป็น 16 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับการเติบโตของลูกค้า ทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 500 ตัน/ชั่วโมง ปี 2556 ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 700 ล้านบาท และได้ติดตั้งหม้อไอน้ำเพิ่มอีก 1 ลูก อีกทั้งยังเพิ่มกำลัง การผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็น 72 เมกะวัตต์ และผลิตไอน้ำ ได้ 800 ตัน/ชั่วโมง ปี 2557 นอกจากใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว บริษัทฯ ยังคำนึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยติด ตั้งระบบดักฝุ่นละอองจากการเผาไหม้ของหม้อน้ำแต่ละชุด เป็นแบบ Multicyclone และ Electrostatic Precipitator(ESP) เพื่อป้องกันการปลดปล่อยฝุ่นและก๊าซต่าง ๆ ออกสู่บรรยากาศ …

พามาเบิ่ง เส้นทาง “กลุ่มบริษัท น้ำตาลเอราวัณ” อาณาจักรโรงงานน้ำตาลรายใหญ่ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top