พามาเบิ่ง เส้นทาง “กลุ่มบริษัท น้ำตาลเอราวัณ” อาณาจักรโรงงานน้ำตาลรายใหญ่ในภาคอีสาน

ปี 2549

เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานโดยลงเสาเอกเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2549 และทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 บนพื้นที่มากกว่า 2,600 ไร่ และเริ่มปรับพื้นที่ ขุดสระน้ำดี บ่อน้ำเสีย และบ่อน้ำวน เป็นโครงการเริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียน 700 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจการผลิตน้ำตาลทรายจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ กำลังการผลิตที่ได้รับอนุญาตที่ 8,117 ตันอ้อย/วัน ตามมติคณะรัฐมนตรี

กากอ้อยที่เกิดจากกระบวนการผลิตน้ำตาลถือเป็นของเสียที่ทิ้งไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์ ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของผู้บริหาร จึงได้ก่อตั้ง บริษัท เอราวัณเพาเวอร์ จำกัด ขึ้น เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 ด้วยทุนจดทะเบียน 166 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวล(กากอ้อย) และพลังงานไอน้ำ เพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และบริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด

ปี 2550

เริ่มทำการหีบอ้อยได้ผลผลิตเป็นน้ำตาลทรายดิบ เป็นปฐมฤกษ์ในฤดูกาลผลิต 2550/2551 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2550

เริ่มก่อตั้งบริษัท เอ็น.อี.โลจิสติกส์ จำกัด เมื่อ 28 มีนาคม พ.ศ. 2550 ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท เดิมดำเนินกิจการเพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจขนส่งอ้อย น้ำตาล และสินค้าอื่น ๆ ของบริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด แต่ในปัจจุบันประกอบธุรกิจทั่วไปเกี่ยวกับด้านการขนส่งและขน ถ่ายสินค้าภายในประเทศ โดยควบคุมระบบการติดตามรถขนส่งสินค้าตลอดเส้นทางการเดินรถที่ทันสมัย และปลอดภัยจากอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งให้บริการซ่อมแซม บำรุงรักษา ตรวจสอบ ยานพาหนะทุกประเภท โดยช่างผู้ชำนาญการ

ปี 2551

ในฤดูกาลผลิตปี 2551/2552 บริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด ได้เพิ่มกำลังการผลิตจากเดิมเป็น 20,117 ตันอ้อย/วัน และบริษัทเอราวัณเพาเวอร์จำกัด ได้ขยายกำลังการผลิตเป็น 16 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับการเติบโตของลูกค้า ทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 500 ตัน/ชั่วโมง

ปี 2556

ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 700 ล้านบาท และได้ติดตั้งหม้อไอน้ำเพิ่มอีก 1 ลูก อีกทั้งยังเพิ่มกำลัง การผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็น 72 เมกะวัตต์ และผลิตไอน้ำ ได้ 800 ตัน/ชั่วโมง

ปี 2557

นอกจากใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว บริษัทฯ ยังคำนึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยติด ตั้งระบบดักฝุ่นละอองจากการเผาไหม้ของหม้อน้ำแต่ละชุด เป็นแบบ Multicyclone และ Electrostatic Precipitator(ESP) เพื่อป้องกันการปลดปล่อยฝุ่นและก๊าซต่าง ๆ ออกสู่บรรยากาศ และในฤดูกาลผลิตปี 2554/2555 บริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด ได้เพิ่มกำลังการผลิตจากเดิมเป็น 26,994.05 ตันอ้อย/วัน

อ้างอิงจาก:

เว็บไซต์ของบริษัท

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top