November 2021

อีสานได้ประโยชน์อะไรจาก “ไฮสปีด จีน-ลาว”

นับถอยหลังอีกไม่กี่วัน สำหรับไฮสปีด จีน-ลาว ที่จะเริ่มเปิดวิ่งอย่างเป็นทางการในวันชาติลาว 2 ธันวาคมนี้ ซึ่งในอนาคตจะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงกับรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน . ระบบรางถูกออกแบบให้สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงที่ใช้ความเร็วได้มากกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แม้ว่าในส่วนของลาวจะเป็นขบวนรถที่ใช้ความเร็วเพียง 160-200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงสำหรับขบวนผู้โดยสาร และไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงสำหรับขบวนสินค้า . มีระยะทางรวม 414 กม. ทั้งหมด 31 สถานี เริ่มต้นที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เชื่อมต่อที่เมืองบ่อเต็น สปป.ลาว มีปลายทางที่นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งอยู่ใกล้กับจังหวัดหนองคาย . ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน อยู่ระหว่างก่อสร้าง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. กำหนดเปิดให้บริการปี 2569 สำหรับระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. ปัจจุบันได้ออกแบบรายละเอียด โดยมีกำหนดเปิดให้บริการปี 2571 พร้อมหารือร่วมกัน 3 ฝ่าย (ไทย-ลาว-จีน) เพื่อเตรียมการเดินรถเชื่อมต่อไทย-ลาว-จีนต่อไป . การที่เส้นทางรถไฟจีน-ลาว ที่มีปลายทางใกล้กับจังหวัดหนองคายนั้น จะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทยให้สามารถส่งสินค้าไปลาวและจีนได้เพิ่มขึ้น ทั้งสินค้าอุปโภค บริโภค และสินค้าทางการเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ที่มีอายุการเก็บรักษาสั้น สามารถกระจายไปยังมณฑลต่าง ๆ ของจีนได้อย่างทั่วถึงในระยะเวลาอันสั้น . นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่านักท่องเที่ยวจีนและลาว จะมาเที่ยวไทยได้สะดวกขึ้น มนนิภา โกวิทศิริกุล ประธานหอการค้าจังหวัดหนองคาย มั่นใจว่ารถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว จะทำให้การท่องเที่ยวขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วงแรกจะเป็นการขนส่งสินค้ามาจากจีนก่อน สำหรับผู้โดยสารนั้นจะต้องรอให้สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย . การขนส่งสินค้าแบบเดิมนั้น จะเป็นในรูปแบบทางอากาศกับทางเรือ แต่หลังจากมีรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวแล้ว นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานอาวุโสหอการค้าจังหวัดอุดรธานี และประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หอการค้าไทย ชี้ว่าจะทำให้การขนส่งสินค้าของไทยเป็นไปได้มากขึ้นกว่าเดิม . อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลเรื่องสินค้าจากจีนจะทะลักเข้าไทย อาจส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการของไทย เนื่องจากสินค้าจากจีนมีราคาถูก จึงต้องดูว่าสินค้าที่จะส่งมาจากจีนเป็นสินค้าประเภทใด หากเป็นสินค้าที่ผลิตในไทยได้ ทางรัฐบาลก็ต้องหามาตรการป้องกันไม่ให้สินค้าจากจีนมาตีตลาดสินค้าไทย . . ที่มา BBC NEWS, Thairath Online และฐานเศรษฐกิจ . . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน

เพราะอยู่นอกสายตา ขนส่งสาธารณะจึงไปไม่ถึง

การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ที่ต้องเผชิญกับสารพัดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นรอรถนาน รถติดแหง็กระหว่างทาง ความแออัดเบียดเสียดภายในรถ หรือต้องต่อรถหลายต่อกว่าจะไปถึงจุดหมายปลายทาง . เมื่อเทียบกับต่างจังหวัดแล้ว กรุงเทพฯ ก็ยังดีกว่าตรงที่มีรถโดยสารสาธารณะให้ใช้ เพราะในต่างจังหวัดโดยเฉพาะหลาย ๆ อำเภอที่อยู่ห่างจากตัวเมือง กลับยังไม่มีรถสาธารณะให้ใช้อย่างทั่วถึง . การมีรถยนต์ส่วนตัว แม้จะสะดวกสบาย แต่ก็ต้องแลกกับค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น ทั้งค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าประกัน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด และค่าซ่อมบำรุง . ส่วนถ้าไม่มีรถยนต์ส่วนตัวก็ยิ่งไปกันใหญ่ มันไม่ใช่แค่เรื่องของความลำบากทางกายภาพ แต่ยังรวมไปถึงการสูญเสียเวลาและโอกาสในการพัฒนาชีวิตในด้านอื่น ๆ เช่น การเข้าถึงบริการทางการศึกษา การรักษาพยาบาล หรือการเข้าถึงสิ่งจรรโลงใจ ‘แบบคนเมือง’ . สาเหตุที่ระบบขนส่งไม่ครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ หรือถ้ามีก็มักเป็นเอกชนจัดสรรให้ ซึ่งความถี่ก็จะน้อยตามมา หรือที่มักมีปัญหาอยู่บ่อย ๆ อย่าง การทิ้งผู้โดยสารระหว่างทาง ล้วนมาจาก ‘กิจการที่ทำแล้วไม่คุ้มทุนหรือขาดทุน’ นั่นเอง . เพราะขนาดขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่เราเห็นคนใช้กันเป็นจำนวนมาก ก็ขาดทุนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี แต่ที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ได้ก็เนื่องมาจากมีภาครัฐคอยสนับสนุน และกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้ . ทำให้หลายจังหวัดต่างพากันล้มเลิกความคิดที่จะให้ภาครัฐเข้ามาช่วยในส่วนนี้ แล้วพยายามผลักดันตนเองให้เป็นเมืองท่องเที่ยว แม้แต่การท่องเที่ยววิถีชุมชน เพื่อให้เอกชนกล้าที่จะเข้ามาลงทุนในระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยให้คนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ผู้คนก็สามารถใช้รถเหล่านี้สัญจรเข้าออกหมู่บ้านร่วมด้วยได้ . แต่โมเดลนี้ใช้ไม่ได้กับภาคอีสาน เพราะถ้าลองไปดูข้อมูลทางสถิติที่ผ่านมาจะพบว่า รายได้หลักของภูมิภาคไม่ได้มาจากการท่องเที่ยว แม้มีแหล่งท่องเที่ยวในเชิงโบราณสถาน-แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติจำนวนมาก แต่กลับสร้างรายได้คิดเป็นสัดส่วนเพียง 3 % ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งประเทศ และส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวในประเทศด้วย . ทั้งนี้ รายได้หลักจะมาจากภาคบริการ ภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร . อย่างไรก็ตาม การที่อีสานเป็นพื้นที่โครงข่ายที่สามารถเชื่อมโยงกับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS : Greater Makong Sub-region) ได้แก่ ลาว เมียนมา และจีน อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมไปยังเมืองคุนหมิงทางตอนใต้ของจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทาง One Belt, One Road ที่เชื่อมโยงทางการค้าใหม่ของจีนไปยังยุโรป . เชื่อมโยงกับแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) หรือเส้นทาง R2 ซึ่งเป็นเส้นทางเศรษฐกิจสำคัญที่สามารถเดินทางเชื่อม 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว ไทย และเมียนมา ไปยังประเทศอินเดียได้ . ทำให้หลายปีที่ผ่านมาเรามักเห็นภาครัฐพยายามทุ่มงบไปกับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งสินค้าตามชายแดนและระบบขนส่งสาธารณะตามหัวเมืองเศรษฐกิจของภูมิภาค (Big Four of Isan) อย่าง นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดรธานี . ปัจจุบัน Big Four of Isan จึงมีรถโดยสารครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่เมืองจนไปถึงสามารถเชื่อมต่อระหว่างอำเภอได้ …

เพราะอยู่นอกสายตา ขนส่งสาธารณะจึงไปไม่ถึง อ่านเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

จากจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสะสมในประเทศกว่า 1,129,877 คน (ไม่รวมกรุงเทพฯ ) เป็นผู้ป่วยในภาคอีสาน 431,677 คน โดยนครราชสีมา อุบลราชธานี และขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีผู้ป่วยซึมเศร้ามากที่สุดของประเทศเป็นอันดับ 1, 3 และ 4 ตามลำดับ

แพทย์แต่ละจังหวัดในภาคอีสานรับภาระมากน้อยแค่ไหน?

ตามรายงานทรัพยากรสาธารณสุข ที่มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศในปี 2563 พบว่า ไทยมีจำนวนแพทย์ทั้งสิ้น 36,472 ราย ในขณะที่ประชากรไทยมีจำนวน 66 ล้านคนทำให้ไทยมีสัดส่วนประชากร 1,794 คน ต่อแพทย์ 1 คน . โดยหากดูเฉพาะในภาคอีสาน จะพบว่าจังหวัดที่แพทย์มีภาระต้องแบกรับมากที่สุดนั้น คือ บึงกาฬ (ประชากร 6,303 คน ต่อแพทย์ 1 คน) ซึ่งเมื่อนำไปเทียบกับจังหวัดที่แพทย์มีภาระต้องแบกรับน้อยที่สุดอย่าง ขอนแก่น (ประชากร 1,204 คน ต่อแพทย์ 1 คน) จะพบว่าห่างกันถึง 5 เท่าตัว

มรดกแห่งภูมิปัญญา ต่อยอดผ้าไทยจากพื้นเมืองสู่สากล

นับเป็นปีที่ 3 แล้ว สำหรับโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ . เปิดโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่และผู้ประกอบการได้สร้างสรรค์พัฒนาผ้าไทย ให้ได้รับความนิยมในระดับสากล ส่งเสริมการต่อยอดผลิตภัณฑ์จากผ้าไทยและเครื่องนุ่งห่มให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและนำมาใช้จริงในชีวิตประจำวัน . ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงวัฒนธรรม คือการต่อยอดวัฒนธรรมด้วยการนำคุณค่าของวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์สินค้าและบริการ (Creative Culture) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พร้อมสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการทางวัฒนธรรม . โดยสนับสนุนการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ 5F ประกอบด้วย Film, Food, Festival, Fashion และ Fighting ส่วนในเรื่อง Fashion (การออกแบบและแฟชั่น) เป็นการบูรณาการและร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน . . ซึ่งในปี 2562 จัดขึ้นเป็นปีแรกนั้น มีผู้ประกอบการ 7 ชุมชน ที่ประสบความสำเร็จในการนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไปต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการขยายฐานลูกค้าออกไปสู่ต่างประเทศ การมียอดการสั่งผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น . การพัฒนาลวดลายบนผืนผ้าใหม่ ๆ การวางลายผ้าให้มีความทันสมัย มีความโดดเด่น เพิ่มมูลค่าให้กับผลงาน รวมถึงการได้รับเชิญเข้าร่วมงานแสดงเครื่องแต่งกายในงานแฟชั่นที่ต่างประเทศ อาทิ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสาธารณรัฐออสเตรีย . รวมไปถึงการต่อยอดกับเทคโนโลยีเกิดเป็นนวัตกรรมเส้นใยผ้า ส่งผลให้ผ้ามีคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การกำจัดและปกป้องกลิ่นกาย ป้องกันรังสียูวี เนื้อผ้าไม่ยับง่าย ดูแลรักษาง่าย และสวมใส่สบาย มีรายได้ทั้งจากงานหัตถกรรมและนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ้าในมิติผ้าไทยอีกด้วย . . ในปี 2563 ได้ทำงานกับชุมชนถึง 14 ชุมชนทั่วประเทศไทย โดยนายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข ดีไซเนอร์และเจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH เผยว่า ในคอลเลกชั่น Post-Wore Delicacies (โพส วอร์ เดลิเคซี่) ดีไซน์ของเสื้อผ้าจะค่อนข้างเบสิก เน้นไปที่แมททีเรียล โดดเด่นด้วยนวัตกรรมเส้นใยที่เรียกว่า FILAGEN (ฟิลาเจน) และ Nanozinc (นาโนซิงค์) พยายามดึงจุดเด่นของแต่ละที่ออกมา ทำให้งานมีความน่าสนใจมากขึ้น และตรงตามความต้องการของตลาด . นอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาและช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษา เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างความมั่นคงผ่านแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมภายในชุมชน กลุ่มที่ทอผ้าหรือผู้ประกอบการทั้ง 14 ชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน ได้แก่ . – ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ จุฑาทิพ จังหวัดขอนแก่น – ผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุขโข จังหวัดขอนแก่น – ไหมแต้มหมี่ กลุ่มสตรีทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย จังหวัดขอนแก่น – ผ้าขาวม้า อิมปานิ จังหวัดราชบุรี – ผ้าฝ้ายทอมือ คอตตอนฟาร์ม จังหวัดเชียงใหม่ – เรือนไหมใบหม่อน จังหวัดสุรินทร์ …

มรดกแห่งภูมิปัญญา ต่อยอดผ้าไทยจากพื้นเมืองสู่สากล อ่านเพิ่มเติม »

คนไทยพึงพอใจในชีวิตมากแค่ไหนในปีที่ผ่านมา

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงเวลาการระบาดของ COVID-19 นั้น ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนทั่วโลก นำมาซึ่งความวิตกกังวลที่ส่งผลต่อความสุข ทัศนคติ และความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองอย่างมาก . ความพึงพอใจในชีวิตของคนไทยนั้น สำนักงานสถิติได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความอยู่ดีมีสุข ซึ่งในช่วงเดือนธันวาคม 2562 คนไทยให้คะแนนความพึงพอใจในชีวิตเฉลี่ย 7.05 คะแนน ในขณะช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่เรียกไดว่ารุนแรงขึ้น (เดือนพฤษภาคม 2563) คนไทยให้คะแนนความสุขเฉลี่ยลดลงไปอยู่ที่ 5.02 . สำหรับความพึงพอใจในช่วงปีที่ผ่านมา (เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2563) คนไทยมีความพึงพอใจในชีวิตเฉลี่ย 6.70 คะแนน เนื่องจากยังมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 อยู่ โดยความพึงพอใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ในระดับ 6 – 7 และยังพบว่า ชีวิตครอบครัวเป็นเรื่องที่ผู้คนให้ความพึงพอใจมากที่สุด . ทั้งนี้ หากพูดถึงอนาคตผู้คน พวกเขาได้มีการวางแผนเรื่องการเงินมากที่สุด (6.30 คะแนน) รองลงมาคือ สุขภาพกายและสุขภาพจิต (6.26 คะแนน) และการทำงาน/อาชีพ (6.11 คะแนน) ตามลำดับ

EU ขึ้นทะเบียนให้ “ตั๊กแตน” เป็นอาหารปลอดภัย

เมื่อ 12 พ.ย. คณะกรรมการความปลอดภัยทางอาหารแห่งสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศรับรอง ‘ตั๊กแตนอพยพ’ (Locusta Migratoria) เป็นอาหารใหม่ (Novel Food) ที่ปลอดภัยในการบริโภค . โดยตั๊กแตนถือเป็นแมลงชนิดที่ 2 รองจาก ‘หนอนนกอบแห้ง’ (Dried Yellow Mealworms) ที่ได้รับการรับรองเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยจากอียูไปเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ‘จิ้งหรีดทองแดงลายหรือจิ้งหรีดขาว’ เป็นชนิดถัดไป . ทั้งนี้ถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ “ผู้เพาะเลี้ยงแมลง” ในการเจาะตลาดที่กว้างขึ้น

การฆ่าตัวตายของคนอีสานที่มากขึ้นกำลังบอกอะไรเกี่ยวกับภาวะสุขภาพจิตของคนในสังคม?

กรมสุขภาพจิต เผย “ข้อมูลการฆ่าตัวตายสำเร็จ ปี 2563” พบว่า ภาคอีสานมี “อัตราฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคน” สูงขึ้นจากปี 2562 เกือบทุกจังหวัด (มีเพียง 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเลย นครพนม และมุกดาหาร ที่ลดลง) . อีกทั้งส่วนใหญ่ยังมีอัตราฆ่าตัวตายสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศที่ 7.37 คน/ประชากร 1 แสนคน ในปี 2563 (มีเพียง 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดอํานาจเจริญ นครพนม มหาสารคาม ยโสธร สุรินทร์ หนองคาย และมุกดาหาร ที่ต่ำกว่า) . ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเผชิญกับสถานการณ์ COVID-19 โดยพบว่าคนไทยมีสภาวะความเครียดและซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ที่ต่อเนื่องยาวนาน พวกเขาจึงเริ่มเกิดภาวะเหนื่อยล้าทางอารมณ์จนทำให้หมดพลัง คาดว่าปี 2564 จะมีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงกว่าปีที่แล้ว

หนี้ครัวเรือนไทย เพิ่มขึ้นทั้งสัดส่วนของครัวเรือนและจำนวนหนี้ หวั่นอีสานครองแชมป์อีกปี

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน​ ปี 2564 (ในช่วง 6 เดือนแรก) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย และภาวะหนี้สินของครัวเรือน สรุปได้ดังนี้ . 1. ครัวเรือนทั่วประเทศ มีรายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 28,454 บาท . ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทำงาน 18,888 บาท (คิดเป็น 66.4%) ประกอบด้วย ค่าจ้างและเงินเดือน 12,052 บาท, กำไรสุทธิจากการทำธุรกิจ 4,607 บาท และกำไรสุทธิจากการทำการเกษตร 2,229 บาท . รองลงมาเป็นรายได้ที่ไม่ใช่ตัวเงิน ซึ่งอยู่ในรูปสวัสดิการ/สินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ได้รับมาโดยไม่ต้องซื้อ 4,879 บาท (17.1%), รายได้จากเงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐหรือบุคคลอื่นนอกครัวเรือน 4,080 บาท (14.3%) และรายได้ไม่ประจำและจากทรัพย์สิน 607 บาท (2.2%) . เมื่อพิจารณารายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนปี 2554 ถึง 2564 จะพบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 23,236 บาท ในปี 2554 เป็น 26,946 บาท ในปี 2560 และลดลงในปี 2562 เหลือจำนวน 26,018 บาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ก่อนจะกลับมาเพิ่มขึ้นในปี 2564 ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการช่วยเหลือต่าง ๆ ที่รัฐอุดหนุน ทั้งที่รัฐจ่ายเงินเข้าบัญชีให้แก่ประชาชน และการอุดหนุนในรูปแบบที่ไม่เป็นตัวเงินผ่านแอปพลิเคชัน คูปอง หรือในรูปแบบการลดค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า เป็นต้น . 2. ครัวเรือนทั่วประเทศ มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 22,325 บาท . ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค 19,353 บาท (คิดเป็น 86.7%) ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคที่ครัวเรือนซื้อหรือจ่ายเงินเอง 14,676 บาท และค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคที่ครัวเรือนไม่ได้ซื้อหรือจ่ายเงินเอง ซึ่งรวมไปถึงโครงการต่าง ๆ ของรัฐ เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คนละครึ่ง เราชนะ หรือแม้แต่การลดค่าสาธารณูปที่เป็นค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า เป็นต้น 4,678 บาท . ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค (เช่น ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกันภัย ซื้อสลากกินแบ่ง/หวย ดอกเบี้ย เป็นต้น) 2,972 บาท (13.3%) เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนปี 2554 …

หนี้ครัวเรือนไทย เพิ่มขึ้นทั้งสัดส่วนของครัวเรือนและจำนวนหนี้ หวั่นอีสานครองแชมป์อีกปี อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top