Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

พาซอมเบิ่ง ธุรกิจด้านการผลิตผลิตภัณฑ์โครงสร้างอาคารเหล็กสำเร็จรูป ระดับร้อยล้านในภาคอีสาน

บริษัท เค.ซี.เมททอลชีท จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านการผลิต จำหน่ายและบริการ ผลิตภัณฑ์โครงสร้างอาคารเหล็กสำเร็จรูป (Steel Building Solution) ตลอดจนอุปกรณ์ติดตั้ง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า พร้อมสร้างความประทับใจ และมีส่วนร่วมกับความสำเร็จของลูกค้า ด้วยการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง จากประสบการณ์ 10 ปีที่ผ่านมาตอนนี้ทาง รถถัง กฌมีสินค้า และ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย หลายรายการ หลังคาเหล็กเคลือบ เมทัลชีท อุปกรณ์ และ ให้บริการติดตั้ง ภาตใต้เครื่องหมายการค้า ตรา รถถัง และ คอมมานโด ผู้ประกอบธุรกิจเมททอลชีทรายใหญ่ในภาคอีสาน บริษัทประกอบธุรกิจข้ึนรูปแผ่นเหล็กตามรูปแบบและขนาดตามความต้องการของลูกค้า สำหรับใช้เป็นแผ่นหลังคาและผนังเหล็ก รวมทั้งขึ้นรูปชิ้นงานเหล็กกล้าสำเร็จรูปสำหรับงาน โครงสร้างหลังคาและผนัง และให้บริการงานออกแบบและติดตั้งงานโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปสำหรับอาคารสิ่งปลูกสร้างแบบครบวงจรและงานติดตั้งแผ่นหลังคาและผนังเหล็ก โดยสามารถแบ่งลักษณะกลุ่มผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบสังกะสีและอลูมิเนียม และกลุ่มผลิตภัณฑ์โครงสร้างเหล็กกล้าสำเร็จรูป นอกจากนั้นบริษัทยัง มีการขยายการให้บริการไปยังงานออกแบบและรับติดตั้งงานโครงสร้างเหล็กสำหรับอาคารสิ่งปลูกสร้างให้แก่ลูกค้า และได้เริ่มลงทุนธุรกิจก่อสร้างอาคารสาเร็จรูปเพื่อให้เช่าพื้นท่ีในจังหวัดเชียงใหม่ โดยในการทำธุรกิจของบริษัท ฯ นั้นต้องมีการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในอนาคต ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจ พร้อมสํารวจพฤติกรรมและความต้องการสินค้าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ก่อนการทำธุรกิจ อ้างอิงจาก: https://www.set.or.th/…/product/stock/quote/KCM/price https://kcmetalsheet.co.th/%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b5…/ https://s.isanook.com/…/b85284ab645abb24468ce098c7a09b3… #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจด้านการผลิตผลิตภัณฑ์โครงสร้างอาคารเหล็กสำเร็จรูป #ขอนแก่น #ธุรกิจผลิตเหล็ก #เหล็ก #รถถัง #KCM

พาซอมเบิ่ง ธุรกิจด้านการผลิตผลิตภัณฑ์โครงสร้างอาคารเหล็กสำเร็จรูป ระดับร้อยล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ภาพรวมปัจจัย การผลิตเกษตรอีสาน ในครึ่งปีแรก เป็นจั่งใด๋ ?

พามาเบิ่ง ภาพรวมปัจจัย การผลิตเกษตรอีสาน ในครึ่งปีแรก เป็นจั่งใด๋ ?   ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงสร้างการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ สาขาพืช ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 67.5 ของผลิตภัณฑ์ภาค ภาคเกษตร หรือ GRP ภาคเกษตร รองลงมา คือ สาขาปศุสัตว์ 20.1% สาขาบริการทางการเกษตร 8.7% สาขาประมง 3.2%  และสาขาป่าไม้ 0.5%.   สถานการณ์เศรษฐกิจไทยโดยรวมปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวได้ รวมทั้ง มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ต่อเนื่อง ช่วยสนับสนุนให้มีการเดินทางท่องเที่ยว และการบริโภคสินค้ามากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น     โดยมีปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร ได้แก่ สภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ต่อการทำการเกษตรและปริมาณฝนที่มีมากขึ้น ทำให้คาดว่าจะมีปริมาณนํ้าเพียงพอสำหรับ การเพาะปลูกและประสบปัญหาภัยแล้งลดลง การดำเนินนโยบายด้านการเกษตรที่ต่อเนื่อง ของภาครัฐ   อ้างอิงจาก :  ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การเกษตร #เกษตรอีสาน #ปริมาณน้ำฝนอีสาน #ปริมาณอ่างเก็บน้ำ

ภาพรวมปัจจัย การผลิตเกษตรอีสาน ในครึ่งปีแรก เป็นจั่งใด๋ ? อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน เดือนกันยายน 2565

แม้ในปีนี้จะมีสัญญาณที่ดีจากการสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 แต่สถานการณ์เศรษฐกิจก็ยังมีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น บวกกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ครัวเรือนไทยต้องผจญปัจจัยเสี่ยงทางศรษฐกิจ ซึ่งยิ่งมีความเสี่ยง ก็ยิ่งต้องมีการวางแผนให้รอบคอบในเรื่องค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ดังนั้น การวางแผนใช้จ่ายครัวเรือนไทยปี 2565 และ 2566 จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะทิศทางราคาสินค้าหลายรายการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งในโครงสร้างการใช้จ่ายรายเดือนของครัวเรือนไทยยังมีค่าใช้จ่ายบางส่วนที่แอบแฝงอยู่ที่อาจต้องอยู่ในรายการที่ต้องตัดทิ้ง เช่น ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ ค่าอาหารบริโภคนอกบ้าน (ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง เป็นต้น แม้การตัดค่าใช้จ่ายรายเดือนจะเป็นเรื่องง่ายในทางการคำนวน แต่ในทางปฎิบัติถือว่ายากมากเพราะค่าใช้จ่ายเกือบทุกรายการล้วนแต่มีความจำเป็น ทั้งเพื่อการดำรงชีวิตอยู่และเพื่อการอยู่อย่างรื่นรมณ์ ขณะที่การหารายได้เพิ่มก็เป็นอีกความท้าทายในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้ การวางแผนเพื่อการดำรงชีพในปีใหม่ที่จะมาถึงนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน อ้างอิงจาก: https://www.price.moc.go.th/…/fileu…/file_cpi/Cpi_tg.pdf #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ค่าใช้จ่ายครัวเรือน

พามาเบิ่ง ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน เดือนกันยายน 2565 อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง เงินเฟ้อภาคอีสาน เดือนกันยายนเป็นจั่งใด๋ ? เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า 6.23% (YoY)

สถานการณ์ “เงินเฟ้อ” ประจำเดือน กันยายน 2565 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข้อมูลการปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อถึง 6.41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ก.ย. 64) ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนกันยายน 2565 เท่ากับ 107.70 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้อยู่ที่ 6.41% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ภาคที่ขยายตัวสูงสุด คือ ภาคเหนือ อยู่ที่ 6.80% รองลงมาเป็น กรุงเทพฯและปริมณฑล 6.54% ในส่วนภาคกลาง 6.26% และภาคใต้ 6.26% มีอัตราเงินเฟ้อที่เท่ากัน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ 6.23% เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ค่าส่งพัสดุไปรษณีย์ ขิง มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสารเหนียว ค่าส่งพัสดุ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ เครื่องปรับอากาศและเครื่องซักผ้า เป็นต้น เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 3.12 เฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.- ก.ย.) ปี 2565 เงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้นร้อยละ 6.17 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 2.26 (AoA) อัตราการเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาคอีสานที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น 1. กลุ่มอาหารสดและพลังงาน สูงขึ้น 12.10% โดยเฉพาะพลังงานสูงขึ้นถึง 16.22% ได้แก่ ก๊าซหุงต้ม จากการปรับขึ้นราคาแบบขั้นบันได สำหรับค่ากระแสไฟฟ้า แม้จะมีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในเดือนนี้ แต่ภาครัฐได้มีมาตรการช่วยเหลือสำหรับ ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วย ซึ่งสามารถช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนได้ส่วนหนึ่ง 2. หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 9.17% โดยเฉพาะข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นถึง 25.12% เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบจากภาวะ น้ำท่วมขัง อีกทั้งยังมีความต้องการในการบริโภคเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ 3. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้น 6.31% โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 15.9% ปรับสูงขึ้นตามทิศทางตามสถานการณ์พลังงานโลก แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า ตามต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ในประเทศ ที่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบและอาหารโลกที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับฐานราคาที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน

ชวนเบิ่ง เงินเฟ้อภาคอีสาน เดือนกันยายนเป็นจั่งใด๋ ? เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า 6.23% (YoY) อ่านเพิ่มเติม »

หนึ่งปีที่ผ่านมา อีสานเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากแค่ไหน ? 

หนึ่งปีที่ผ่านมา อีสานเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากแค่ไหน ?    ข้อมูลปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม 2564 – สิงหาคม 2565) ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่เผชิญกับผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนนย่างหนัก   การเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกทั่วประเทศ มีจํานวนทั้งสิ้น 52,540 ครั้ง หรือเฉลี่ยเดือนละ 4,776 ครั้ง มีอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 19.95 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2564   มีเพียงเดือนสิงหาคม 2565 ที่จํานวนอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.80 และจํานวนรถที่เกิดอุบัติเหตุฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.98 ทั้งนี้คาดว่าเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มคลี่คลายลงและภาครัฐได้ยกเลิกมาตรการการควบคุมฯ ทําให้ประชาชนมีการเดินทางกลับเข้าสู่ภาวะปกติส่งผลให้จํานวนครั้งและจํานวนรถที่เกิดอุบัติเหตุฯ เพิ่มขึ้น   ผู้เสียชีวิตมีทั้งสิ้น 4,919 ราย หรือเฉลี่ยเดือนละ 447 ราย ลดลงร้อยละ 13.14 เมื่อ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2564 (5,663 ราย) โดยจังหวัดนครราชสีมามีผู้เสียชีวิตมากที่สุด 249 ราย (ร้อยละ 5.06)   อ้างอิงจาก : กลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อุบัติเหตุบนท้องถนน #จราจร

หนึ่งปีที่ผ่านมา อีสานเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากแค่ไหน ?  อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ธุรกิจผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ ระดับพันล้านในภาคอีสาน

บริษัทมีผลการดำเนินงานปี 2564 เติบโตกว่าปี 2563 ที่มีรายได้รวม 4,1288 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 504 ล้านบาท เป็นไปตามอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งนี้ บริษัทยังมีรายได้จากการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เข้ามาเพิ่มเติม โดยมีการวางเป้าหมายมีสัดส่วนรายได้มากกว่า 30% ของรายได้รวม ซึ่งที่ผ่านมา PCSGH ก็ได้มีการทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (ปี 63-67) ผ่านมาแล้ว 1 ปี เหลืออีก 4 ปี ในปีนี้บริษัทจะยังคงมุ่งเน้นการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นหลัก เนื่องด้วยปัจจุบันยังมีความต้องการมากอยู่จนกว่าจะเปลี่ยนแปลงไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยวางเป้าหมายจะมีสัดส่วนรายได้จากการผลิตชิ้นส่วน EV เพิ่มเป็น 52% ในปี 2568 ส่วนที่เหลือจะเป็นรายได้จากชิ้นส่วนรถยนต์ที่ไม่ใช่ EV เนื่องจากเทรนด์ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังมา บริษัทฯ ก็ได้เริ่มทำธุรกิจของรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ซึ่งด้วยความสามารถของ PCSGH ก็ถือว่ามีความพร้อมในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าในหลายส่วน เช่น การลดน้ำหนักของตัวรถ โดยเปลี่ยนวัสดุหนักจากเหล็กให้กลายเป็นวัสดุเบาอลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งบริษัทฯ สามารถขยับไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าได้ และเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง ก็เล็งเห็นว่าสินค้าของบริษัทฯ ในกลุ่มที่ไม่ใช่บิ๊กอัพ, ยานยนต์, เครื่องยนต์ และอื่นๆ ก็ยังคงให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง บริษัทยังมีแผนลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อรองรับโปรเจ็คต์ EV ที่น่าจะเริ่มผลิตได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า คาดว่าจะสามารถอนุมัติงบลงทุนได้ในช่วงกลางปีนี้ ขณะที่งบลงทุนอื่นๆ ในปีนี้วางงบไว้ราว 200 ล้านบาทเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบ Smart Factory ในเรื่องของดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น อ้างอิงจาก: https://www.set.or.th/…/financial…/company-highlights https://www.pcsgh.com/th/about/business_overview https://www.moneyclub.asia/pcsgh-%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0…/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ #ธุรกิจพันล้าน #นครราชสีมา

พามาเบิ่ง ธุรกิจผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ ระดับพันล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง เส้นทางธุรกิจคลังน้ำมันเชื้อเพลิง ระดับหลายร้อยล้านในภาคอีสาน

น้ำมันถือเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ “คลังน้ำมัน” ก็จัดเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการกระจายน้ำมันให้ครอบคลุม​ ​PTC หรือ บมจ. พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น ทำธุรกิจ “คลังน้ำมันอิสระ” ที่ทันสมัยที่สุดในภาคอีสาน และเป็นคลังน้ำมันอิสระรายแรกในตลาดหุ้นไทย รองรับเทรนด์ Infrastructure Sharing ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมการกระจายน้ำมันทั่วพื้นที่ภาคอีสานตอนบนและตอนล่าง ผ่านคลังที่ขอนแก่นและศรีสะเกษ ​โดยปัจจุบัน PTC มีรายได้สม่ำเสมอจากผู้เช่าที่เป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ และสามารถสร้างอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยสูงกว่า 40% ต่อปี​ วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาเบิ่งเส้นทางของ PTC ว่ามีความเป็นมาอย่างไร? บริษัท พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจให้บริการคลังรับ เก็บ และจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ด้วยวิสัยทัศน์ และประสบการณ์ของครอบครัวบูรพพัฒนพงศ์ (ผู้ก่อตั้ง) ซึ่งอยู่ในธุรกิจให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงมานานกว่า 20 ปี โดยเริ่มเปิดให้บริการคลังน้ำมันแห่งแรกที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ในปี 2557 ภายใต้ชื่อคลังน้ำมัน PTC ขอนแก่น ด้วยกำลังการจ่ายน้ำมันสูงสุด 3.2 ล้านลิตร เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยมี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้ามาเป็นผู้ใช้บริการในปีเดียวกัน โดยมีสัญญาให้บริการระยะยาว ในปี 2558 บริษัทฯ ได้ลงทุนเพิ่มกำลังการจ่าย และรับน้ำมันเพิ่มอีกอย่างละ 2 ช่องจ่าย โดยทำให้มีกำลังการจ่ายน้ำมันสูงสุดเพิ่มขึ้นเป็น 4.2 ล้านลิตรต่อวัน ทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังทำการติดตั้งระบบป้องกันการรับน้ำมันผิดผลิตภัณฑ์ (Product Unload Contaminated Protection) ซึ่งเป็นระบบที่ป้องกันการผิดพลาดทำให้เกิดความเสียหายกับคุณภาพน้ำมันที่บริษัทฯได้พัฒนาขึ้นมาเอง ในปี 2559 บริษัทฯ ได้ลงทุนก่อสร้างคลังน้ำมันแห่งที่สอง ที่ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในการกระจายน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และเป็นคลังน้ำมันตั้งอยู่บนทำเลที่สามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟได้ทำให้สามารถลดต้นทุนในการขนส่งได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังออกแบบคลังน้ำมันแห่งนี้ให้เป็นระบบ In-Line Blending ทำให้มีความยืดหยุ่นในการปรับสูตรผลิตภัณฑ์และสามารถลดต้นทุนในการขนส่งวัตถุดิบได้มาก ในปี 2561 บริษัทฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นและโครงสร้างต่างๆของบริษัทฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในปี 2562 บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2015, มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001 : 2018, มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO

พาซอมเบิ่ง เส้นทางธุรกิจคลังน้ำมันเชื้อเพลิง ระดับหลายร้อยล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจการเกษตร ด้านปศุสัตว์ เป็นจั่งใด๋ในครึ่งปีแรก ?

พามาเบิ่ง  เศรษฐกิจการเกษตร   ด้านปศุสัตว์ เป็นจั่งใด๋ในครึ่งปีแรก ?   ภาพรวมมีการขยายตัวอยู่ที่ ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ดี ผู้เลี้ยงกระบือ ไข่ไก่ โคเนื้อ และสุกร มีการปรับระบบการเลี้ยงเข้าสู่ระบบมาตรฐานฟาร์มและการเฝ้าระวังควบคุมโรคระบาดสัตว์เป็นอย่างดี ประกอบกับ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ให้ความช่วยเหลือดูแล ให้คำปรึกษาแนะนำอย่างทั่วถึงทำให้ระบบการผลิตปศุสัตว์มีประสิทธิภาพมากขึ้น   แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจสาขาปศุสัตว์ ในปี 2565  คาดว่า จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0-1.2 เมื่อเทียบกับ ปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณการผลิตสินค้าปศุสัตว์ โดยรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกร มีการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการบริโภค ของตลาดในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรให้ความสำคัญกับการพัฒนา ระบบการเลี้ยง มีการดูแลเอาใจใส่ บริหารจัด การฟาร์มที่ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีการควบคุมเฝ้าระวังโรคระบาด อย่างต่อเนื่อง   อ้างอิงจาก :  ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การเกษตร #เกษตรอีสาน #ปศุสัตว์ 

เศรษฐกิจการเกษตร ด้านปศุสัตว์ เป็นจั่งใด๋ในครึ่งปีแรก ? อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง NER โรงงานผลิตยางพารา หมื่นล้านในภาคอีสาน

รู้หรือไม่ว่าแหล่งผลิตยางพาราคุณภาพของประเทศไทยนั้น นอกจากพื้นที่ภาคใต้ และภาคตะวันออกแล้ว ยังมีอีกพื้นที่หนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูกยางพารา และสามารถผลิตน้ำยางที่มีคุณภาพไม่แพ้ที่อื่น ๆ นั่นคือ พื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งกินพื้นที่กว่า 4 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพาไปดู NER ทำธุรกิจอะไรบ้าง และเติบโตมาไกลแค่ไหน ? จุดเริ่มต้น NER ก่อตั้งโดย คุณชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ เดิมทีครอบครัวคุณชูวิทย์ประกอบอาชีพทำลานมันเส้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จนเมื่อปี พ.ศ. 2527 คุณพ่อของคุณชูวิทย์ได้ริเริ่มการปลูกยางพาราในพื้นที่อีสานใต้ ทำให้เกษตรกรในภาคอีสาน เริ่มสนใจและหันมาปลูกยางพาราเพื่อสร้างรายได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้นก็คือ ที่ภาคอีสานนั้น “ไม่มีสถานที่รับซื้อยางพารา” คุณชูวิทย์และเกษตรกรคนอื่น ๆ ต้องนำผลผลิตยางพาราที่ได้มาไปขายที่จังหวัดระยอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและโดนกดราคา แต่ปัญหาดังกล่าวก็ได้ทำให้คุณชูวิทย์เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจ โดยเขาได้ตัดสินใจตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราขึ้นมาชื่อว่า “นอร์ทอีส รับเบอร์” หรือ NER ในปี พ.ศ. 2549 โดยเริ่มจากการรับซื้อยางจากเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงและนำมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันขายให้กับคู่ค้าทั่วประเทศ แต่ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้น บริษัทได้เจอวิกฤติครั้งใหญ่ จากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยที่ไม่สต็อกของไว้ในมือ เมื่อราคาของยางพาราวิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทไม่มีเงินพอไปซื้อของมาขายตามที่สัญญาไว้ได้ ตอนนั้นคุณชูวิทย์มีทางเลือกอยู่สองทาง หนึ่งคือ การไม่ทำตามสัญญาแล้วออกจากธุรกิจนี้ไป สองคือ การไปเจรจากับคู่ค้าโดยตรง คุณชูวิทย์ตัดสินใจบินไปหาคู่ค้าที่สิงคโปร์ด้วยตัวเองและชี้แจงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยขอผ่อนชำระหนี้ในระยะยาวกับคู่ค้าแทน ซึ่งคู่ค้าก็เห็นด้วย เนื่องจากเป็นการแจ้งล่วงหน้า 3 เดือน ทำให้มีเวลาในการปรับตัว และยังสามารถเป็นคู่ค้ากันต่อไปได้ ผลจากวิกฤติครั้งนี้ทำให้บริษัทเรียนรู้ข้อผิดพลาด และเปลี่ยนวิธีทำธุรกิจโดยการไม่ยุ่งกับตลาดซื้อขายล่วงหน้าอีก แต่ใช้วิธี “Matching” คือ ซื้อเข้ามาแล้วขายออกเลย หรือรับออร์เดอร์ขายเข้ามาก่อน แล้วค่อยซื้อเข้ามาเก็บไว้ ทำให้บริษัทไม่ต้องรับความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของต้นทุนสินค้าอีกต่อไป จุดนี้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถสร้างรายได้สม่ำเสมอในระยะยาว แม้ว่าวัตถุดิบอย่างยางพาราจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ตัวหนึ่งที่มีวัฏจักรราคาหรือรอบของมันก็ตาม เมื่อบริษัทมีความมั่นคงและเป็นที่รู้จักมากขึ้น สามารถขยายโรงงานเพิ่มกำลังการผลิต และออกสินค้าตัวอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมา อย่างยางอัดแท่ง และยางผสม ซึ่งเป็นที่ต้องการของทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ หากพิจารณาผลประกอบการของ NER เป็นอย่างไรบ้างในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ? รายได้และกำไรของ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ปี 2561 รายได้ 10,074 ล้านบาท กำไร 487 ล้านบาท ปี 2562 รายได้ 13,021 ล้านบาท กำไร 539 ล้านบาท ปี 2563 รายได้ 16,365 ล้านบาท กำไร

ชวนเบิ่ง NER โรงงานผลิตยางพารา หมื่นล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ครึ่งปีแรก ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร  ด้านผลผลิตพืช  เป็นจั่งใด๋ ?

พามาเบิ่ง ครึ่งปีแรก ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร  ด้านผลผลิตพืช  เป็นจั่งใด๋ ?   มาดูเหตุผลที่ทำให้ผลผลิตแต่ละอย่างเพิ่มขึ้น   ข้าวนาปรัง ผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจาก เกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม รวมทั้งเกษตรกร ขยายเนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง   อ้อยโรงงาน ผลผลิตเพิ่มขึ้นเพราะราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้เกษตรกรเอาใจใส่ผลผลิต อีกทั้งตลาดยังมีความต้องการ ทำให้ราคานํ้าตาลในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาขายปรับตัวเพิ่มขึ้น   ยางพารา ผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้ดูแลรักษามากขึ้น และเพิ่มจำนวนวันกรีด ทำให้ปริมาณ การผลิตยางพาราโดยรวมเพิ่มขึ้น อีกทั้งความต้องการใช้ยางพาราในอุตสาหกรรมยังมีอย่างต่อเนื่อง    ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกและเกษตรกรมีความชำนาญในการ กำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชมากขึ้น อีกทั้งตลาดมีความต้องการนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ราคาจึงปรับตัวสูงขึ้น    สับปะรด เนื่องจากเกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูกช่วงต้นปี 2564 มีปริมาณน้ำเพียงพอส่งผลให้ผลผลิตภาพรวมเพิ่มขึ้น ด้านราคาที่ลดลงเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้โรงงานแปรรูปสับปะรดลดกำลังการผลิตลง   สาเหตุที่ทำให้ผลผลิตลดลง  ข้าวเจ้านาปี & ข้าวเหนียวนาปี ผลผลิตลดลง เนื่องจากผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงเดือนกันยายนของปี 2564 ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวบางส่วนได้รับความเสียหาย ส่วนใหญ่เกิดในบริเวณจังหวัดนครราชสีมาและชัยภูมิ ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตลดลง  อีกทั้งระดับราคายังลดลงอีกด้วย เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจากสถานการณ์การโควิด-19 ทำให้กำลังซื้อลดลง และกระทบต่อการบริโภคภายในประเทศที่มีนักท่องเที่ยวลดลง ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลง   มันสำปะหลัง เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม ปี 2564 ทำให้เนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลงและเกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกอ้อยโรงงานที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตลดลงเล็กน้อย แต่มีราคาที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ หันมาใช้มันสำปะหลังทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์   อ้างอิงจาก :  ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การเกษตร #เกษตรอีสาน #ผลผลิตการเกษตร  

พามาเบิ่ง ครึ่งปีแรก ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร  ด้านผลผลิตพืช  เป็นจั่งใด๋ ? อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top