Infographic

ย้อนเบิ่ง  จำนวนวัดในภาคอีสานมีท่อใด๋ ในปี 2564

ย้อนเบิ่ง  จำนวนวัด  ภาคอีสานมีท่อใด๋ ในปี 2564 เมื่อลองดูสถิติจำนวนวัดในภาคอีสานแล้ว จะเห็นได้ว่าภาคอีสานมีจำนวนวัดมากที่สุดในประเทศเลยทีเดียว อีกทั้งคนไทยหันมาหาที่พึ่งทางจิตใจเยอะมากขึ้นเนื่องจากมีสถานการณ์โควิด-19 จากงานวิจัยของ นายบุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด มหาวิทยาลัยมหิดล หัวข้อการตลาด ซึ่งสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างกว่า 1,200 ตัวอย่าง พบว่า ปัจจัยที่ทำให้คนไทยเกิดความกังวล ได้แก่ การแพร่ระบาดของโควิด-19 คิดเป็น 76.8% จากความกังวลและความไม่แน่นอนดังกล่าว ประกอบกับสถานการณ์การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ทำให้คนไทยต้องหาวิธีจัดการกับความรู้สึก จนเกิดปรากฏการณ์ 3 อย่าง หนึ่งในนั้นคือหันหน้าพึ่งสายมูเตลู หรือมีความเชื่อโชคลาง จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจด้านนี้ ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับการวัด การทำบุญ หรือ มูเตลู ได้รับความสนใจมากขึ้น อีกทั้งเหล่าผู้ประกอบการน้อยใหญ่ต่างปรับกลยุทธ์การตลาดให้เท่าทันไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถประคองตัวผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปได้ อ้างอิงจาก : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-732999 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ภาคอีสาน #วัดอีสาน #วัด

พาส่องเบิ่ง “ขอนแก่นแหอวน” จาก Family Business สู่ธุรกิจแหอวนระดับโลก

วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูเส้นทาง “ขอนแก่นแหอวน” ว่ามีความเป็นมาอย่างไร?? จุดเริ่มต้นจากร้านโชห่วยในรุ่นพ่อ ที่ช่วยกันพัฒนาจากพี่น้องสามคนของตระกูล ‘เสรีโยธิน’ จนขยายกิจการเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายแห อวน ตาข่าย และอุปกรณ์การประมง การเกษตร ภายใต้แบรนด์สินค้าตรา ‘เรือใบ’ หรือ SHIP ในนามบริษัทขอนแก่นแหอวน จำกัด หรือ KKF ที่ผงาดสู่ระดับโลกได้สำเร็จ จากแนวคิด Family Business ของ คุณบวร เสรีโยธิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ขอนแก่นแหอวน จำกัด หนึ่งในผู้ก่อตั้งธุรกิจแหอวนระดับโลกจากสามพี่น้องตระกูลเสรีโยธิน คุณบวร เล่าว่า ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยเริ่มจากที่อยากพัฒนาบ้านเกิดตนเอง ซึ่งเป็นการทำธุรกิจที่เริ่มจากรับสินค้าจากชาวบ้านในจังหวัดขอนแก่น ที่ถักแหอวนด้วยมือ แล้วส่งไปขายต่อ จากนั้นเมื่อเข้าสู่ยุคสั่งสินค้า semi product จากญี่ปุ่น ก็มีการสั่งสินค้านำมาแปรรูปใส่ตะกั่วใส่ทุ่นเพิ่มทำให้อวนสำเร็จรูปมากขึ้น แล้วส่งขายไปทั่วภาคอีสาน เมื่อมีปริมาณการซื้อเพิ่มมากขึ้น จึงขยายตลาดไปภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ จุดพลิกผันด้านกำแพงภาษี ก่อนแจ้งเกิดระดับโลก จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ครอบครัวเสรีโยธินต้องพัฒนาสินค้าขึ้นเอง ตั้งแต่กระบวนการผลิตเส้นใย ด้วยเหตุที่ญี่ปุ่นตั้งกำแพงภาษีสำหรับสินค้าเส้นใย ทำให้ต้นทุนมีราคาที่สูงขึ้น จนหันมาตั้งโรงงานและเป็นผู้ผลิตแทนการนำเข้า โดยเริ่มจากการซื้อเครื่องจักรมือสองของไต้หวัน 10 เครื่อง ปัจจุบันยังมีการปรับใช้ Know-how ต่างๆ เข้าไปเพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เป็นระบบออโตเมชั่น ทำให้การใช้แรงงานคนลดน้อยลง วิกฤตสร้างโอกาส ขยายตลาดไม่หยุดยั้ง ปี 2540 เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก ส่งผลให้ต้องมีการกู้เงินตราต่างประเทศเพื่อขยายกิจการ จึงเป็นที่มาทำให้ขอนแก่นแหอวนหันไปบุกตลาดต่างประเทศอย่างจริงจัง เพื่อนำเงินสกุลต่างประเทศมาชดเชยกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในช่วงนั้น หลังจากที่เติบโตมาได้ระดับหนึ่ง ทำให้มองเห็นช่องทางโอกาสในการเติบโตที่มากขึ้น จึงค่อยๆ ขยายโรงงานเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันมีโรงงานอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด 6 แห่ง ประเทศจีน 2 แห่ง และประเทศเมียนมา 2 แห่ง ซึ่งกว่า 60% กระจายไปในตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ส่วนอีก 40% กระจายอยู่ในประเทศไทย สร้างจุดแข็งด้วยกลยุทธ์ Holding Company นอกจากมีการจัดตั้งธรรมนูญครอบครัว ขอนแก่นแหอวนยังมีกลยุทธ์ในการวางแผนบริหารธุรกิจโดยการจัดตั้ง Holding Company โดยผู้บริหารมาจากคนในตระกลูทั้งหมด โดยแบ่งหน้าที่ให้สอดคล้องกับความชำนาญของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจครอบครัวมักที่จะใช้ในการวางแผนบริหารธุรกิจ แนวคิด ‘ธรรมนูญครอบครัว’ เพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืน ขอนแก่นแหอวนถือเป็นต้นแบบการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวที่ดีเยี่ยมมากว่า 44 ปี โดยมีการบริหารจัดการธุรกิจแบบ ‘ธรรมนูญครอบครัว’ ซึ่งเป็นการสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว โดยสมาชิกที่เกี่ยวข้องจะมีส่วนร่วม มีสิทธิและเสียงในการสร้างข้อตกลงต่างๆ ขึ้นมา สำหรับธรรมนูญครอบครัวของขอนแก่นแหอวน คุณบวรเล่าว่า เนื่องจากเป็นธุรกิจครอบครัวและมีหลายเจนเนอเรชั่น จึงจำเป็นต้องสร้างหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรมให้กับทุกคนในครอบครัว เพื่อให้ธุรกิจครอบครัวประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน โดยมีการประชุมกงสีทุกไตรมาส ไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี เพื่อให้แต่ละเจนเนอเรชั่นเรียนรู้ซึ่งกันและกันให้มากขึ้น เชื่อว่าถ้ามีความสามัคคีกันจะทำให้แข็งแกร่งและอยู่ได้อย่างยั่งยืน …

พาส่องเบิ่ง “ขอนแก่นแหอวน” จาก Family Business สู่ธุรกิจแหอวนระดับโลก อ่านเพิ่มเติม »

4 งาน Craft ของใช้สุดปัง  จากการต่อยอดของท้องถิ่นแดนอีสาน 

4 งาน Craft ของใช้สุดปัง  จากการต่อยอดของ ท้องถิ่นแดนอีสาน  แนวโน้มของงานคราฟต์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร  • เน้นที่การใช้งานมากขึ้น การออกแบบจะต้องแก้ปัญหาไม่ใช่เพียงแค่ผู้ใช้ แต่ต้องคำนึงถึงตัวชุมชนด้วย • มุมมองของการทำงานคราฟต์ หลังจากนี้จะเพื่อการฟื้นฟูเยียวยาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจมากขึ้น ตลาดตรงนี้ยังมีที่ว่างให้สร้างสรรค์ผลงานได้หลากหลายรูปแบบ • การสื่อสารจึงไม่ใช่แค่พยายามเน้นการขายสินค้าอย่างเดียว แต่คือการใส่เรื่องราวลงในสินค้า เพื่อสร้างคุณค่าและสร้างความเข้าใจว่าทำไมถึงราคานี้ • สิ่งหนึ่งที่กำลังเกิดปัญหาในวงการแฟชั่นตอนนี้คือสินค้าค้างสต็อก เพราะ Fast Fashion มันขึ้นกับฤดูกาล แต่งาน คราฟต์ มันไม่มีเก่า ไม่มีตกรุ่น จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีมากๆที่จะนำเสนอคุณค่าเหล่านั้นของงานคราฟต์ ออกมา ในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังมองหาความคุ้มค่าในรูปแบบตัวตนเฉพาะของตัวเอง อ้างอิงจาก: https://readthecloud.co/isan-craft-products/ https://www.prachachat.net/spinoff/lifestyle/news-333386 https://www.cea.or.th/…/single…/crafts-industry-covid-19 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #Craftอีสาน #คราฟต์อีสาน #อำนาจเจริญ #Thorr #สกลนคร #ดอนหมูดิน #มหาสารคาม #LITIN #เลย #FolkCharm

มาทำความฮู้จัก  เหล้าอุ สุราแช่พื้นเมืองอีสาน 

มาทำความฮู้จัก  เหล้าอุ สุราแช่พื้นเมืองอีสาน  จังหวัดนครพนม พื้นที่ที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น จึงไม่แปลกนักหากจะมีประเพณีการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองอันแตกต่างหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือเมนูเครื่องดื่มพื้นเมือง ที่ภายหลังถูกยกให้เป็นของฝากของดีและมีการจดทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ประจำอำเภอเรณูนคร อ้างอิงจาก : http://www2.nakhonphanom.go.th/otop/detail/4 https://www.silpa-mag.com/culture/article_36143 https://craftnroll.net/craft-insight/ . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เหล้าอุ #นครพนม #เรณูนคร #เหล้าสาโท #เหล้าโท

ศึกธุรกิจเครื่องดื่มวิตามินซีรายใหญ่

ช่วงสองสามปีที่ผ่านมา หนึ่งในตลาดที่ถือว่าร้อนแรง และมีผู้เล่นหลายราย ต่างเข้ามาลงเล่นในตลาด เพื่อหวังชิงเม็ดเงินจากกระเป๋าของผู้บริโภคมากที่สุด คือ ตลาดเครื่องดื่มประเภทวิตามิน ไม่ว่าจะเป็นน้ำวิตามินซี, น้ำวิตามินรวม รวมไปถึงน้ำดื่มผสมวิตามิน ด้วยเทรนด์รักสุขภาพของผู้คน ที่อยากรูปร่างดี ผิวสวย และสุขภาพแข็งแรง อาจสงสัยว่าตลาดนี้ มีใครเป็นผู้เล่นหลัก ๆ บ้าง ? โดยในปี 2563 สำหรับแบรนด์ ที่ครองส่วนแบ่งตลาดเครื่องดื่มวิตามินซีมากที่สุด ได้แก่ – C-vitt ของโอสถสภา 70.7% – Double C ของหนองคายเพาเวอร์ดริ๊งก์ 19.0% – Vit A Day ของเจนเนอรัล เบฟเวอร์เรจ 7.8% – Woody C+ Lock ของคาราบาวกรุ๊ป 1.5% – อื่น ๆ 1.0% ถ้าสังเกตดี ๆ จะพบว่า อันดับที่ 1, 3 และ 4 ล้วนเป็นแบรนด์จากบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของประเทศ ที่มีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มหลายประเภท อยู่ในพอร์ตสินค้าของบริษัท เช่น น้ำดื่ม, เครื่องดื่มบำรุงกำลัง, เกลือแร่, กาแฟ อยู่แล้ว ก่อนจะเข้ามาลงเล่นในตลาดนี้ แต่ที่น่าสนใจคือ ผู้เล่นที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์อันดับ 2 อย่าง Double C กลับไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศแต่อย่างใด เป็นบริษัทที่คนส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นหู และมีจุดเริ่มต้นมาจากจังหวัดหนองคาย แต่สามารถแข่งขันกับคู่แข่ง ที่เป็นบริษัทเครื่องดื่มแนวหน้าของประเทศ และคว้าส่วนแบ่งการตลาดอันดับต้น ๆ มาได้ บริษัท หนองคายเพาเวอร์ดริ๊งก์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2555 ที่จังหวัดหนองคาย ปัจจุบันดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มวิตามินซี ภายใต้แบรนด์ “Double C” โดยจุดเริ่มต้นของ Double C เกิดจากสองพี่น้องผู้บริหารหนุ่มไฟแรง คุณชนินทร์ เฮ้งเจริญสุข และคุณสรวิศ เฮ้งเจริญสุข สองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หนองคายเพาเวอร์ดริ๊งก์ จำกัด ได้เล่าว่า เดิมทีบริษัทก่อตั้งขึ้นมาเพื่อทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลัง ภายใต้แบรนด์ “ช้างแดง” แต่ด้วยสภาพการแข่งขันที่สูง และมีผู้เล่นเจ้าตลาดอยู่แล้ว ทำให้บริษัทเจาะตลาดไม่สำเร็จ และกิจการประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่อง คุณชนินทร์ และคุณสรวิศ จึงตัดสินใจมองหาธุรกิจใหม่ แล้วพบว่า ตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ กำลังเติบโตได้ดี และมีแนวโน้มโตอย่างต่อเนื่อง จากเทรนด์รักษาสุขภาพที่เริ่มเข้มข้นขึ้น แถมตอนนั้นคู่แข่งยังมีไม่มาก เลยมีพื้นที่ให้ทำตลาดอีกเยอะ ประกอบกับบริษัทมีทรัพยากรเดิมอยู่แล้ว เช่น เครื่องจักร ที่สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจใหม่ได้ จึงเดินหน้าวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่รวมวิตามินซีจากผลไม้ 2 …

ศึกธุรกิจเครื่องดื่มวิตามินซีรายใหญ่ อ่านเพิ่มเติม »

ฉุดบ่อยู่ ! นวยนาด แบรนด์เครื่องหอม งาน Craft แดนอีสาน ดังไกลถึงต่างประเทศ 

ฉุดบ่อยู่ ! นวยนาด แบรนด์เครื่องหอม  งาน Craft แดนอีสาน ดังไกลถึงต่างประเทศ  . งานหัตถศิลป์ หรือ งานคราฟต์ คือ งานฝีมือ ที่มีกระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงาน จัดเป็นผลงานศิลป์อย่างหนึ่ง เหมาะที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย อาศัยความปราณีตพิถีพิถัน และแรงบันดาลใจจากผู้สร้างงาน แถมยังคงความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป . เส้นทางของแบรนด์ที่ใส่ใจรายละเอียด การหยิบยกของท้องถิ่นมาต่อยอด ไม่ว่าจะเป็นใบย่านางเป็นผักที่สะท้อนวิถีชีวิตคนอีสานได้เป็นอย่างดี, เนื้อครามอินทรีย์จาก จ.สกลนคร และไวน์หมากเม่า โดยครูคณพ วรรณวงค์ ผู้ก่อตั้งและผู้ที่ทำไวน์หมากเม่าคนแรกของอำเภอภูพาน จ.สกลนคร . อีกทั้งแบรนด์นวยนาดได้รับรางวัลดีไซน์จาก DEmark (Design Excellence Award) จากตัวเทียนหอมและร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ทำให้สามารถนำสิ่งที่ทำกับชุมชน ออกสู่นอกประเทศให้คนอื่นได้เห็นฝีมือของคนโคราชในรูปแบบใหม่ นอกจากเเค่ดินด่านเกวียนที่มักจะใช้ปั้นเป็นตุ๊กตาดิน กระถางต้นไม้สีน้ำตาล หินทรายที่เอาไว้แค่เเกะสลักองค์พระ หรือนำหินไปทำเป็นกระเบื้องประดับตกแต่งบ้าน ซึ่งความจริงสามารถต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้ ซึ่งยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน . นอกจากจะสร้างเอกลักษณ์ให้แบรนด์แล้ว ยังเพิ่มโอกาสทำให้คนในชุมชนได้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการทำงานฝีมือในแต่ละชิ้น ทำให้ต่างประเทศได้เห็นว่างานฝีมือของคนอีสาน ของคนโคราชมีดีและมีเอกลักษณ์ที่สวยงาม . . อ้างอิงจาก: https://urbancreature.co/nuaynard-korat/ https://www.nuaynardhandcraft.com/our-story https://adaybulletin.com/life-spaceandtime-nuaynard/52656 . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #นวยนาด #Craftอีสาน #คราฟต์อีสาน #nuaynard #nuaynardhandcraft

2 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ในปี 2565 (ม.ค. – ก.ค.)

ในเดือน มกราคม – กรกฎาคม 2565 ภาคอีสานมีมูลค่าการค้าชายแดนกับ กัมพูชา 7,922 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 6.8% ของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาทั้งหมดในประเทศ โดยมีการส่งออกมูลค่ากว่า 5,245 ล้านบาท ลดลงจากในช่วงเดือนเดียวของปีก่อนหน้า -27% และมีมูลค่าการนำเข้ากว่า 2,678 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 71.8% สินค้าส่งออกหลัก 1.รถยนต์ อุปกรณ์ 2.เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 3.รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ สินค้านำเข้าหลัก 1.ผักและของปรุงแต่งจากผัก 2.อลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ 3.ลวดและสายเคเบิลฯ แนวโน้มการค้าชายแดนไทยหลังจากนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าปัจจัยสนับสนุนการค้าชายแดนและผ่านแดน คือ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมสถานการณ์ COVID-19 ของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ที่สามารถเดินทางเข้าไทยทางจุดผ่านแดนถาวร (ทางบก) ได้โดยไม่ต้องกักตัว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นมา ขณะที่กัมพูชาก็ผ่อนคลายมาตรการโดยเปิดให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบเกณฑ์สามารถเดินทางเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัวเช่นกัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้าในพื้นที่ชายแดนของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าวต้องขึ้นกับความพร้อมของแต่ละจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้านด้วย ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ช่วยให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันด้านราคาได้มากขึ้น รวมถึงการผลักดันเปิดจุดผ่านแดนเพื่อขนส่งสินค้าภายใต้มาตรการควบคุมสถานการณ์ COVID-19 อ้างอิงจาาก: http://btsstat.dft.go.th/มูลค่าการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน/การค้าชายแดนไทย-สปปลาว/มูลค่าการค้าชายแดนไทย-สปปลาว-รายจังหวัด https://www.dft.go.th/Portals/3/2.1.1%20Info%20มค-เมย.%202565.pdf https://www.thansettakij.com/economy/531292 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การค้าชายแดน #การค้าชายแดนไทยกัมพูชา #กัมพูชา #สุรินทร์ #บุรีรัมย์

5 จังหวัด 5 งานฝีมือ ผ้าไทยอีสาน

5 จังหวัด 5 งานฝีมือ ผ้าไทยอีสาน 🧵🤎  งานฝีมือที่ปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย มีความละมุนและสวยงามมากยิ่งขึ้น 🥰   อ้างอิงจาก https://readthecloud.co/isan-craft-products/  https://readthecloud.co/la-orr-thai-silk/  https://www.soimilk.com/fashion/news/bhukram-collection    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผ้าไหมอีสาน #ผ้าภูอัคนี #กลุ่มทอผ้าบ้านเจริญสุข #ผ้าไหมปักธงชัย #LaOrr #ผ้าไหมมัดหมี่ #แต้มหมี่ #สุภาณีไหมไทย #ผ้าขาวม้าโคลนพันปี #ดารานาคี #ผ้าคราม #ภูคราม

พามาเบิ่ง BCG Model: นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี อีสานบ้านเฮา

พามาเบิ่ง BCG Model: นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี อีสานบ้านเฮา   นิคมอุตสาหกรรม หมายถึง เขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง ระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์    นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วย บริการอื่นที่จำเป็น เช่น ที่ทำการไปรษณีย์ ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยสำหรับคนงาน สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น    ในด้านภาคอีสาน มีจุดแข็งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ความพร้อมของแรงงาน และพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งจะช่วยให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น อีกทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว . ดังนั้นแล้ว ภาคอีสานจึงมีความสำคัญในฐานะที่มีความหลากหลายของทรัพยากรและเป็นที่ตั้งของแหล่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในภาคอีสาน และนิคมกรีนแห่งแรกของอีสาน คือ นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี   การพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบ BCG Economy Model นี้ จะเห็นได้ว่ามีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของภาคอีสานและประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน มีการพัฒนาโดยอาศัยจุดแข็งของภาคอีสานในด้านต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม การท่องเที่ยว เป็นต้น และดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว  ซึ่งพบว่าภาคอีสานมีความเหมาะสมต่อรูปแบบการพัฒนานี้เป็นอย่างมาก และจะช่วยให้อีสานเป็นภูมิภาคที่มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอีกด้วย   อ้างอิงจาก:  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #BCGModel #นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี #นิคมกรีนอุดร #นิคมกรีนแห่งแรกของอีสาน

ชวนเบิ่ง 10 จังหวัดที่มีการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงหลายคักกว่าหมู่

ช่วงนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวนมากขึ้น วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคอีสานว่าเป็นอย่างไร? ในปี 2564 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง 6,690,015 พันลิตร หรือคิดเป็นสัดส่วน 16.8% ของการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมดในประเทศ ลดลงจากปีก่อนหน้า -2.3% เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดกลับมาสู่ระดับรุนแรงในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ภาครัฐจึงมีมาตรการจำกัดการเดินทางและปิดสถานประกอบการบางประเภทในช่วงกลางปี ส่งผลให้การใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง โดย 3 อันดับน้ำมันเชื้อเพลิงที่นิยมใช้สูงสุด 1. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B7 ปริมาณการใช้ 3,015,338 พันลิตร 2. น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ปริมาณการใช้ 1,231,051 พันลิตร 3. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 (E10) ปริมาณการใช้ 766,548 พันลิตร แนวโน้มการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงหลังจากนี้ การใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท ยกเว้นก๊าซธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากราคาตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซีย – ยูเครน โดยการใช้น้ำมันคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 12.9% จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคระบาดส่งผลให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมเข้าสู่ภาวะปกติ ในขณะที่การใช้ก๊าซธรรมชาติคาดว่าจะลดลง -9.5% เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง . ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จึงมีการใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลในการผลิตไฟฟ้า เพื่อทดแทนการใช้ก๊าซธรรมชาติ โดยรัฐบาลได้มีการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลที่ใช้ผลิตไฟฟ้าเหลือศูนย์จนถึงวันที่ 15 กันยายน 2565 เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ อ้างอิงจาก: – สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน – สำนักงานสถิติแห่งชาติ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง #การใช้น้ำมัน #น้ำมัน #ดีเซล #แก๊สโซฮอล์95

Scroll to Top