Infographic

พามาเบิ่ง ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “สายมู” ภาคอีสานเป็นจั่งใด๋แหน่

สายมู กำลังเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาคอีสานและภาคกลาง ซึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือการขอให้เป็นสิริมงคล ความเชื่อ ทั้งด้านสายมูรวมถึงความนับถือในด้านสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สร้างรายได้เฉลี่ยรวมประเทศกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีเงินบริจาคเฉลี่ยทั่วประเทศอีกกว่า 35,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งหากอีสานสามารถใช้จุดแข็งด้านสายมูของพื้นที่ในการดึงดูดผู้เยี่ยมเยือนสายมูมาในพื้นที่ได้ก็จะสามารถสร้างรายได้ภาคการท่องเที่ยวของภาคอีสานให้ปรับตัวดีขึ้นได้ อีกทั้ง เมื่อมีผู้เยี่ยมเยือนสายมูมาในพื้นที่ก็สามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจต่างๆ โดยธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากความเชื่อ เช่น โรงแรม และกลุ่มที่พัก, ร้านค้าปลีกของฝาก ของที่ระลึก, ร้านอาหาร, การผลิตเสื้อผ้า เครื่องประดับ และการขนส่งบุคคล เป็นต้น อ้างอิงจาก: – สำนักงานสถิติแห่งชาติ – กรมพัมนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สายมู #ธุรกิจสายมู #ท่องเที่ยวสายมู #สายมูอีสาน

สายมู มาทางนี้ พามาเบิ่งการท่องเที่ยวสายมูในอีสาน

สายมู มาทางนี้ พามาเบิ่งการท่องเที่ยวสายมูในอีสาน   ความเชื่อเป็นอีกปัจจัยที่จะสร้างรายได้สำหรับภาคการท่องเที่ยวของอีสานให้เพิ่มขึ้น โดยอีสานสะท้อนความพร้อมด้านการท่องเที่ยวสายมู ทั้งในรูปของสถานที่ท่องเที่ยว และเส้นทางในการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวสายมูส่วนใหญ่ในอีสานอยู่ติดกับแม่น้ำโขง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของวัดกับโบราณสถานเป็นหลัก แต่หนึ่งในรูปแบบสถานที่ท่องเที่ยวที่กำลังเป็นที่นิยมในอีสาน คือ พญานาค ที่มีการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างชัดเจน อีกทั้งภาพรวมค่าใช้จ่ายด้านความเชื่อ มีมูลค่ารวมกว่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งหากอีสานสามารถจูงใจให้กิจกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นในพื้นที่ จะสร้างกิจกรรมเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจน  ความเชื่อ ทั้งด้านสายมูรวมถึงความนับถือในด้านสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สร้างรายได้เฉลี่ยรวมประเทศกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีเงินบริจาคเฉลี่ยรวมประเทศอีกกว่า 35,000 ล้านบาทต่อปี  ซึ่งหากอีสานสามารถใช้จุดแข็งด้านสายมูของพื้นที่ในการดึงดูดผู้เยี่ยมเยือนสายมูมาในพื้นที่ได้ จะสร้างรายได้ภาคการท่องเที่ยวของอีสานให้ปรับดีขึ้นอีกด้วย   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติม: https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/03/ISAN-INSIGHT-Q1-2566.pdf    อ้างอิงจาก:  กรมอุทยานแห่งชาติ  กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานสถิติแห่งชาติและกรมการปกครอง   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #จำนวนวัด #สายมู

สถานการณ์ แรงงานย้ายถิ่นในอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?

สถานการณ์ แรงงานย้ายถิ่นในอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?   การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภาพรวม ส่งผลให้ความต้องการแรงงานเพิ่มสูงขึ้น แต่อีสานก็กำลังเผชิญปัญหาแรงงานไหลออก สะท้อนจากกำลังแรงงานที่ลดลง แรงงานอีสานที่ย้ายถิ่นสู่ภูมิภาคอื่น ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีทักษะ และอยู่ในกลุ่มภาคการค้า รวมถึงภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ตามการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจ ความต้องการแรงงานใหม่ของอีสานคิดเป็นประมาณ 11% ของทั้งประเทศเท่านั้น ทำให้แรงงานอีสานเริ่มไหลสู่ภูมิภาคอื่นที่มีความต้องการแรงงานมากกว่า ด้านภาคการค้าและภาคการท่องเที่ยว เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น จากกำลังซื้อของนักท่องเที่ยวที่หยุดชะงักมานาน ส่งผลให้เกิดความความต้องการแรงงานที่มีทักษะที่มากขึ้น การที่แรงงานไหลจากอีสาน อาจทำให้อีสานเกิดปัญหาขาดแรงงานที่มีทักษะในอนาคต และผู้ประกอบการต้องแย่งชิงในการจ้างงานมากขึ้น   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติม: https://isaninsight.kku.ac.th/…/ISAN-INSIGHT-Q1-2566.pdf    อ้างอิงจาก:  สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมการจัดหางาน   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #หางาน #แรงงานย้ายถิ่น #แรงงาน  

ชวนเบิ่ง บริษัทที่รายได้รวมเกิน 4,000 ล้านบาท แห่งเมืองย่าโม มีบริษัทใด๋แหน่??

ในปี 2564 จังหวัดนครราชสีมา มี GPP อยู่ที่ 315,583 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนตามโครงสร้าง GPP ที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ ภาคการผลิต 29.1% ภาคการเกษตร 14.3% และภาคการค้าส่งค้าปลีก 13.9% จำนวนประชากรของนครราชสีมามีจำนวนมากที่สุด มีถึง 2,634,154 คน รองลงมาเป็น อุบลราชธานี และขอนแก่น ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน นครราชสีมา เป็นอันดับที่ 3 ของภาคอีสาน อยู่ที่ 24,779 บาทต่อครัวเรือน จากข้อมูลข้างต้น ทั้งรายได้ที่บอกถึงกำลังซื้อของคนในจังหวัด และจำนวนประชากรที่จะบอกถึงจำนวนอุปสงค์ของคนในจังหวัด จะเห็นได้ว่า นครราชสีมา ถือเป็นอันดับต้น ๆ ของภาคอีสานจังหวัดหนึ่งที่มีความพร้อมรองรับการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในจังหวัดที่มีกำลังซื้อโดยเฉลี่ยค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่นักลงทุนภาคเอกชนนิยมลงทุนภายในนครราชสีมามากกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในภาคอีสาน โดยปัจจุบันได้มีการลงทุนจากภาคเอกชนซึ่งได้ทุ่มเม็ดเงินจำนวนมากมายังจังหวัดหัวเมืองภาคอีสานอย่างนครราชสีมา อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า – www.terrabkk.com #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #นครราชสีมา#โคราช #บริษัทพันล้าน #ธุรกิจพันล้าน

ภาคใด๋ ? จังหวัดใด๋ ? มีจำนวนวัด หลายที่สุดในไทย

ภาคใด๋ ? จังหวัดใด๋ ? มีจำนวนวัด หลายที่สุดในไทย   จุดแข็งเชิงพื้นที่ของอีสานที่สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ คือ ด้านความเชื่อ ซึ่งสะท้อนจากจำนวนงานเทศกาลเกี่ยวกับบุญและสายมู ทั้งในรูปของสถานที่ท่องเที่ยว และเส้นทางในการท่องเที่ยว รวมถึงจำนวนวัดที่มากที่สุดในประเทศ  ซึ่งเพิ่มโอกาสของธุรกิจอีกด้วย ซึ่งธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากความเชื่อ เช่น โรงแรม และกลุ่มที่พัก, ร้านค้าปลีกของฝาก ของที่ระลึก, ร้านอาหาร, การผลิตเสื้อผ้า เครื่องประดับ, การขนส่งบุคคล ความเชื่อ ทั้งด้านสายมูรวมถึงความนับถือในด้านสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สร้างรายได้เฉลี่ยรวมประเทศกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีเงินบริจาคเฉลี่ยรวมประเทศอีกกว่า 35,000 ล้านบาทต่อปี  ซึ่งหากอีสานสามารถใช้จุดแข็งด้านสายมูของพื้นที่ในการดึงดูดผู้เยี่ยมเยือนสายมูมาในพื้นที่ได้ จะสร้างรายได้ภาคการท่องเที่ยวของอีสานให้ปรับดีขึ้นอีกด้วย   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติม: https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/03/ISAN-INSIGHT-Q1-2566.pdf    อ้างอิงจาก:  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #จำนวนวัด #นครราชสีมา #อุบลราชธานี #ขอนแก่น #ร้อยเอ็ด #อุดรธานี #สายมู

พาย้อนเบิ่ง สถิติจำนวนนิติบุคคลใหม่ภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋แหน่?

ภาคธุรกิจในภาคอีสานมีการปรับตัวที่ดีขึ้นจากเดิม เป็นผลมาจากจำนวนนิติบุคคลสะสมและมูลค่าทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของธุรกิจสุขภาพ และโรมแรม ร้านอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับกระแสของคนรักสุขภาพและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สถิติจำนวนนิติบุคคลใหม่ #จำนวนนิติบุคคลใหม่ #นิติบุคคล

พามาเบิ่ง ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติในภาคอีสาน  เดือน มกราคม ปี 2566

พามาเบิ่ง ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติในภาคอีสาน  เดือน มกราคม ปี 2566   ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ คือ ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่ก่อนการปิดด่านตรวจคนเข้าเมือง และพำนักในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมผู้ที่วางแผนการท่องเที่ยวระยะสั้น แต่ไม่สามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาได้ตามแผนการเดินทาง (ไม่รวมชาวต่างชาติที่ประกอบอาชีพในประเทศไทย) ซึ่งเป็นการนับตามกิจกรรมการท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ ซึ่งอาจมีการนับซ้ำในบุคคลเดียวกัน   ปัจจัยบวก – ความต้องการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติยังอยู่ในระดับสูง – ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติที่เข้ามาในอีสาน ผ่านรถไฟลาว-จีน   ปัจจัยเสี่ยง – ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ยังอยู่ในระดับสูงจากต้นทุนเชื้อเพลิง – ขาดสถานที่ท่องเที่ยวที่จูงใจผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/03/ISAN-INSIGHT-Q1-2566.pdf     อ้างอิงจาก: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #นักท่องเที่ยว #รายได้นักท่องเที่ยว #เที่ยวอีสาน #นักท่องเที่ยวต่างชาติ

ภาคอีสานตอนล่าง Mega Project มีอิหยังแหน่ ?

ภาคอีสานตอนล่าง Mega Project มีอิหยังแหน่ ? Mega Project ที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยในภาคอีสานตอนล่าง มีทั้งหมด 4 โครงการ 1. นิคมอุตสาหกรรม อุบลราชธานี บริษัท อุบลราชธานี อินดัสตรี้ จำกัด และกลุ่มสินรุ่งเรือง เสนอแผนร่วมดำเนินกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งถือว่าสอดรับกับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NEEC) ช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งในเรื่องพัฒนาสังคม พื้นที่ และยังเป็นฐานการผลิตของผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการต่ำลงจะสามารถแข่งขันในตลาด CLMV และช่วยให้เกิดการสร้างงานคนในท้องถิ่น ได้กว่า 20,000 อัตราในภาคอีสาน 2. Hydro-Floating Solar Hybrid เขื่อนสิรินธร เพื่อสนองนโยบายในการเพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนภายในประเทศ โดยสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในจังหวัดและภูมิภาคที่สูงขึ้น ก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร 3. สะพานไทย-ลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานี -สาละวัน) สะพานความยาว 1.02 กิโลเมตร จะเชื่อมทางหลวงหมายเลข 13 ใต้ในเมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวันของ สปป.ลาว กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2112 ในอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี โดยสะพานแห่งนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดน และทำหน้าที่เป็นระเบียงเศรษฐกิจสำหรับทั้งภูมิภาคด้วย เพราะสะพานแห่งนี้ไม่เพียงแต่จะเชื่อมภาคตะวันออกของไทยกับทางตอนใต้ของลาว แต่ยังจะเชื่อมโยงไปยังเวียดนามด้วย 4. ยกระดับสนามบินบุรีรัมย์ ขณะนี้กำลังเร่งก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานบุรีรัมย์ เพื่อยกระดับเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ ประกอบด้วย การก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่และสิ่งก่อสร้างประกอบอื่นๆ พร้อมคุรุภัณฑ์อำนวยความสะดวกและการต่อเติมความยาวทางวิ่งจากเดิม 2,100 เมตร เป็น 3,000 เมตร, ขยายทางขับและลานจอดเครื่องบินขนส่งสินค้า พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน รวมถึงส่วนอื่นๆ ปัจจุบันรองรับให้บริการผู้โดยสารปีละ 3.5 แสนคน หากพัฒนาปรับปรุงแล้ว คาดการณ์ว่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5 แสน – 1 ล้านคน ทั้งเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรองรับเปิดสายการบินระหว่างประเทศ หมายเหตุ: Mega project ที่มีงบประมาณ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อ้างอิงจาก: สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเจ้าของสังกัดหน่วยงานเจ้าของโครงการ เว็บไซต์บริษัท #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #MegaProject #เมกะโปรเจค #อุบลราชธานี #บุรีรัมย์

ชวนเบิ่ง ธุรกิจที่มีรายได้รวมเกิน 2,500 ล้านบาท แห่งอุบลราชธานี มีอิหยังแหน่??

อุบลราชธานีมีธุรกิจที่มีรายได้ 2,500 ล้านบาท คิดเป็น 18.9% จากธุรกิจที่มีรายได้ 2,500 ล้านบาททั้งหมดในภาคอีสาน และยังมีรายได้รวมทั้ง 7 บริษัท อยู่ที่ 48,994 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า จังหวัดอุบลราชธานี เป็น 1 ใน 4 หัวเมืองหลักของภาคอีสาน ถือเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ มีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีงบประมาณในการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง น้ำ ไฟฟ้า และพื้นที่สวนสาธารณะ ตลอดจนห้างสรรพสินค้า สนามบิน สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ทำให้ดึงดูดผู้คนจากจังหวัดอื่นๆให้ขยายตัวมาสู่จังหวัดอุบลได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะมาในรูปแบบของการขยายกิจการ หรือในรูปแบบของการลงหลักปักฐานเพื่ออยู่อาศัย อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อุบลราชธานี#ธุรกิจพันล้าน

พาส่องเบิ่ง ธุรกิจเกี่ยวกับการขายรถที่มีรายได้รวมเกิน 2,500 ล้านบาท อยู่จังหวัดใด๋แหน่??

มีบริษัทใด๋แหน่?? อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจเกี่ยวกับการขายรถ #ขายรถ #ธุรกิจพันล้าน

Scroll to Top