ซอมเบิ่ง 6 เทรนด์นวัตกรรมเกษตร จาก Startup ไทย มีอิหยังแหน่ ?
ซอมเบิ่ง 6 เทรนด์นวัตกรรมเกษตร จาก Startup ไทย มีอิหยังแหน่ ? เทรนด์นวัตกรรมเกษตร หวังสร้างผลผลิตดีขึ้น ลดต้นทุน ทุ่นแรง สร้างตลาด เปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่ามุ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์การทำเกษตรกรรมผ่านหลากหลายโครงการ สำหรับเทรนด์ทางด้านนวัตกรรมการเกษตรที่น่าสนใจในปัจจุบันจาก Startup ไทย มี 6 เทรนด์ ประกอบด้วย การเกษตรดิจิทัล การจัดการฟาร์มด้วยเซนเซอร์ และระบบไอโอที ถูกนำมาใช้ในภาคการเกษตรเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชแต่ละชนิดมาศึกษา เพื่อวิเคราะห์การเจริญเติบโต การป้องกันโรค ความเหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูก ร่วมกับการพัฒนาเซนเซอร์และอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ เช่น FarmConnect Asia ระบบควบคุมและติดตามการบริหารจัดการน้ำและปุ๋ยในแปลงปลูกเมลอนกลางแจ้งให้มีความแม่นยำและเที่ยงตรงด้วยเทคโนโลยี IoT Fertigation ช่วยเพิ่มผลผลิตคุณภาพสูงทั้งเกรดเอและเกรดพรีเมียมได้ตรงตามความต้องการผู้บริโภค อีกทั้งได้พัฒนาระบบ AI จากข้อมูลการปลูกเมลอน เพื่อให้เกิดการทำเกษตรได้อย่างแม่นยำขึ้น เมอร์ลิเนียม ฟาร์ม ระบบเกษตรอัจฉริยะที่สื่อสารข้อมูลไร้สายด้วยเทคโนโลยีผลิตพลังงานในตัวด้วยแสงความเข้มต่ำ แก้ปัญหาความยุ่งยากของสมาร์ทฟาร์มแบบเดิมไปโดยสิ้นเชิง ไม่ต้องมีสายไฟ แดดน้อยก็ทำงานได้ เครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์ โดรน และระบบอัตโนมัติ เช่น การพ่นยาพ่นปุ๋ย การหว่านเมล็ด การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลรายแปลงเพื่อทำให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างแม่นยำขึ้น และระบบอัตโนมัติที่ช่วยผ่อนแรงการทำงานให้เกษตรกร เช่น Tiger Drone โดรนสัญชาติไทยที่มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล ใช้งานง่ายด้วยเมนูภาษาไทย มีระบบวางแผนเส้นทางการบินที่แม่นยำสูงและปลอดภัยทุกพื้นที่ พร้อมฟังก์ชันการใช้งานเพื่อเกษตรกรไทยโดยเฉพาะ เช่น โหมดโชยรวง ที่ช่วยให้ผลผลิตการเกษตรไม่เสียหายจากการบินโดรน โหมดกันข้าวไหม้ ที่ช่วยให้การฉีดพ่นเป็นไปได้อย่างสม่ำเสมอไม่มากเกินไป พร้อมการเก็บข้อมูลอย่างแม่นยำและปลอดภัย Rimbotics เรือรดน้ำไร้คนขับ ด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงเพิ่มเติมของเรือรดน้ำชาวสวนที่มีอยู่ ทำหน้าที่ควบคุมเรือรดน้ำแทนคน การตรวจจับร่องน้ำ สัญญาณที่ได้จากเซนเซอร์ส่งไปยังหน่วยประมวลผล และส่งไปควบคุมใบพัดให้หมุนทางซ้าย-ขวา เพื่อควบคุมหัวเรือให้อยู่กลางร่องน้ำเสมอ และควบคุมการเลี้ยวเมื่อเจอทางแยกของร่องน้ำ รวมทั้งสามารถตั้งค่าจำนวนร่องน้ำที่ต้องการรดได้ และเมื่อครบจำนวนตามกำหนดจะสั่งเครื่องยนต์ให้หยุดทำงานได้ เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เพื่อพัฒนากระบวนการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูง เช่น พันธุ์พืชทนโรค สารชีวภาพกำจัดโรค ปุ๋ยเพิ่มประสิทธิภาพ โดยสตาร์ตอัปในกลุ่มนี้จะเป็นการต่อยอดผลงานวิจัยอย่างน้อย 4-5 ปี สำหรับเป็นฐานองค์ความรู้มาสร้างให้เกิดธุรกิจ เช่น Siam Novas ที่ผลิตน้ำเชื้อโคคัดแยกเพศแห่งแรกของไทยด้วยกรรมวิธีการคัดเพศจากเซลล์น้ำเชื้อโดยปฏิกิริยาไซโตทอกซิคจากโมโนโคลนอลแอนติบอดี ทำให้เพิ่มอัตราการผสมติดและทำให้เกิดลูกเพศเมียได้สูงถึง 70-75% UniFAHS พัฒนาสารเสริมชีวภาพที่มีฤทธิ์ทำลายเชื้อซาลโมเนลลาในลำไส้สัตว์ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในระบบทางเดินอาหารของไก่ เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมี ขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาผลิตจากแบคเทอริโอเฟจในโรคไก่อื่นๆ เช่น โรคบิด และโรคในสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ ที่ครอบคลุมทั้งการปลูกพืชระบบปิดโดยใช้แสงเทียม ตอบโจทย์การปลูกพืชในเมืองโดยที่ไม่ต้องรอฟ้าฝนและแสงแดด การปลูกผักที่สะอาดไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง โดยสิ่งสำคัญคือความคุ้มค่าของการลงทุน ซึ่งผู้ปลูกจำเป็นต้องเลือกกลุ่มผักและผลิตผลทางการเกษตรที่สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค สามารถแข่งขันในด้านราคาได้ เช่น Distar Fresh ที่เกิดจากความต้องการผักปราศจากยาฆ่าแมลง จึงเกิดเป็นโรงงานผลิตพืชระบบปิดที่ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ ทั้งการให้น้ำ …
ซอมเบิ่ง 6 เทรนด์นวัตกรรมเกษตร จาก Startup ไทย มีอิหยังแหน่ ? อ่านเพิ่มเติม »