Infographic

มาส่องเบิ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ เป็นจั่งใด๋แหน่

ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามรายภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง อยู่ที่ระดับ 100.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 96.6 ภาคเหนือ อยู่ที่ 86.6 เพิ่มขึ้นจากระดับ 82.6 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ 100.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 98.1 ในเดือนมกราคม ขณะที่ดัชนีความ เชื่อมั่นฯ ของภาคตะวันออก อยู่ที่ระดับ 96.9 ลดลงจากระดับ 97.7 และภาคใต้ 87.2 ลดลงจากระดับ 88.3 ในเดือนมกราคม ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการผลิต ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ใน ประเทศ การบริโภคและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวชัดเจน และอานิสงส์การเปิดประเทศของจีน ขณะเดียวกันการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐผ่านโครงการต่าง ๆ ตลอดจนการเร่งการใช้จ่ายภาครัฐ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่ต้นทุนประกอบการประเภทราคาวัตถุดิบปรับตัว ลดลงจากเดือนก่อน สำหรับปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในเดือนนี้ มาจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่หดตัวลง เศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะถดถอย ขณะที่สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ยังยืดเยื้อ รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐฯและยุโรป รวมทั้งความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนยังเป็นความเสี่ยงต่อการค้าระหว่างประเทศของไทย อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของภาคเอกชน ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามขนาดของอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมขนาดย่อม อยู่ที่ระดับ 84.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 80.0 อุตสาหกรรมขนาดย่อมที่มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์, อุตสาหกรรมเซรามิก, อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน, อุตสาหกรรมแก้วและกระจก, และอุตสาหกรรมหล่อโลหะ เป็นต้น อุตสาหกรรมขนาดกลาง อยู่ที่ 102.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 99.8 ในเดือนมกราคม อุตสาหกรรมขนาดกลางที่มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมน้ำตาล, อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง, อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ, และอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อยู่ที่ระดับ 96.2 ลดลงจากระดับ 100.8 ในเดือนมกราคม อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความเชื่อมั่นลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม, อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น, อุตสาหกรรมพลาสติก, และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามตลาด พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ตลาดในประเทศอยู่ที่ระดับ 100.5 เพิ่มขึ้นจากระดับ 90.5 ในเดือนมกราคม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ตลาดต่างประเทศ อยู่ที่ระดับ 82.9 ลดลงจากระดับ 83.8 ในเดือนมกราคม อ้างอิงจาก: – สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม #ดัชนีความเชื่อมั่น #ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม#อุตสาหกรรม

พามาเบิ่ง สถิติสงกรานต์ในยุค COVID-19 ปี 2564

พามาเบิ่ง สถิติสงกรานต์ในยุค COVID-19 ปี 2564   สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “สงกรานต์ในยุคโควิด-19” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,324 คน สำรวจวันที่ 3 – 9 เมษายน 2564  จากผลสำรวจพบว่า ถึงแม้จะมีโควิด-19 แต่วันสงกรานต์ยังเป็นเทศกาลที่ประชาชนให้ความสำคัญและใช้เวลากับครอบครัว สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เนื่องจากเป็นวัฒนธรรมประเพณีไทยที่ยึดถือปฏิบัติกันมายาวนาน โดยในปีนี้ถึงแม้มีวันหยุดหลายวัน แต่ประชาชนก็คาดการณ์ว่าจะใช้จ่ายไม่มากนัก เพราะยังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ และยังมีความไม่แน่นอนจากสภาวการณ์โควิด-19 ดังนั้น ภาครัฐจึงควรเร่งบริหารงานด้านสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนมั่นใจ กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว    ดร.วรานี เวสสุนทรเทพ รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตสุพรรณบุรี  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า เทศกาลสงกรานต์ในปี 2564 นี้ คนไทยก็ยังต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 อยู่ เพราะตัวเลขของผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น โดยภาพรวมของเทศกาลสงกรานต์ในปีนี้ประชาชนยังคงเดินทางกลับภูมิลำเนา เนื่องจากปีที่แล้วถูกงด และรัฐบาลไม่ได้ประกาศ Lock Down ซึ่งอาจช่วยให้เศรษฐกิจในช่วงเทศกาลนี้หมุนเวียนขึ้นมาบ้าง  ในส่วนของการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ยังคงมีการทำบุญที่วัด สรงน้ำพระ แต่ละวัดต้องมีมาตรการโควิด-19 อย่างเข้มงวด เว้นระยะห่าง ล้างมือ และอีกหลายๆ มาตรการ การสืบทอดและฉายภาพของวัฒนธรรมไทยมีการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ทำบุญที่วัดใกล้บ้าน การจัดนิทรรศการประเพณีสงกรานต์ และหน่วยงานภาคเอกชน เช่น ห้างสรรพสินค้าได้มีการจัดกิจกรรมที่จะฉายภาพประเพณีของแต่ละท้องถิ่นให้คนเข้าชม และที่สำคัญประชาชนนิยมใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น ในการรดน้ำอวยพรทั้งทางไลน์ เฟซบุ๊ก วันหยุดยาวนี้จึงเชื่อได้ว่าจะนำพาความสุขและกลิ่นอายของความสดชื่นจากเทศกาลสงกรานต์อย่างแน่นอน   อ้างอิงจาก : สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #สงกรานต์ในยุคโควิด-19 #สวนดุสิตโพล #SongkranFestival2023 #Songkran2023 #สงกรานต์2566 #เล่นน้ำสงกรานต์2566   

ชวนเบิ่ง 5 ทำเล ที่มีจำนวนหน่วยเหลือขายมากที่สุดในอีสาน

5 อันดับทำเลที่มีจำนวนหน่วยเหลือขายมากที่สุดใน 5 จังหวัดภาคอีสาน มีอิหยังแหน่? อันดับ 1 ทำเลจอหอ จำนวน 1,337 หน่วย และมีมูลค่า 4,239 ล้านบาท อันดับ 2 ทำเลในเมืองนครราชสีมา จำนวน 1,219 หน่วย และมีมูลค่า 5,252 ล้านบาท อันดับ 3 ทำเลบึงแก่นนคร จำนวน 843 หน่วย และมีมูลค่า 2,224 ล้านบาท อันดับ 4 ทำเล ม.ขอนแก่น จำนวน 815 หน่วย และมีมูลค่า 1,620 ล้านบาท อันดับ 5 ทำเลบ้านใหม่ – โคกกรวด จำนวน 808 หน่วย และมีมูลค่า 2,233 ล้านบาท โดยระดับราคาที่มีหน่วยเหลือขายมากที่สุดคือ 3.01-5.00 ล้านบาท มีจำนวนถึง 3,332 หน่วย มูลค่า 13,310 ล้านบาท อุปสงค์โดยรวม พบว่าในช่วงครึ่งหลังปี 2565 มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ 2,312 หน่วย มูลค่า 8,325 ล้านบาท ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 1,843 หน่วย มูลค่า 6,936 ล้านบาท และอาคารชุดเพียง 469 หน่วย มูลค่า 1,389 ล้านบาท สำหรับทำเลที่มีหน่วยขายได้สูงสุด 5 อันดับ มีอิหยังแหน่?? อันดับ 1 บึงแก่นนคร จำนวน 281 หน่วย และมีมูลค่า 751.3 ล้านบาท อันดับ 2 จอหอ จำนวน 216 หน่วย และมีมูลค่า 688.6 ล้านบาท อันดับ 3 ในเมืองนครราชสีมา จำนวน 188 หน่วย และมีมูลค่า 636.0 ล้านบาท อันดับ 4 บ้านใหม่ – โคกกรวด จำนวน 152 หน่วย และมีมูลค่า 444.3 ล้านบาท อันดับ 5 บ้านเป็ด จำนวน …

ชวนเบิ่ง 5 ทำเล ที่มีจำนวนหน่วยเหลือขายมากที่สุดในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง ธุรกิจ “หมอลำ” เวทีความบันเทิงที่ฟื้นตัวกลับมาแล้วอย่างเต็มรูปในภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋แหน่??

กำลังครึกครื้นทั่วไทยสำหรับกิจกรรมการแสดงหมอลำ หนึ่งในเวทีความบันเทิงที่ฟื้นตัวกลับมาแล้วอย่างเต็มรูปแบบหลังเกิดโควิด-19 โดยเฉพาะเวทีหมอลำใหญ่ “ลำเรื่องต่อกลอน” ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจากทุกเพศทุกวัย รวมยอดคนดูนับหมื่นคนต่อคืน สร้างรายได้และเงินสะพัดหลายล้านบาทต่อเดือน รูปแบบการแสดงหมอลำ มีอะไรบ้าง?? 1.ลำกลอนแบบดั้งเดิมที่ใช้คนเพียง 4 คน มีหมอแคน 2 คน หมอลำ 2 คน หรือเรียกว่าลำกลอนแคนเต้าเดียวไม่มีดนตรีอื่น 2.หมอลำซิ่งหรือหมอลำกลอน ปัจจุบันจะก้ำกึ่งเรียกว่าลำกลอนประยุกต์ มีตั้งแต่ 10-20 คน แต่ไม่ถึง 100 คน 3.หมอลำวงใหญ่หรือลำเรื่องต่อกลอน มีสมาชิกวง 200-400 คน หมอลำเงินดีกว่าค่าแรงขั้นต่ำ จริงไหม?? เฉพาะในจังหวัดขอนแก่น 26 อำเภอ ที่เป็นเมืองหมอแคนแดนหมอลำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีวงหมอลำกระจายอยู่เกือบทุกอำเภอ ช่วงการแสดงคือออกพรรษา-ช่วงเข้าพรรษา ระยะเวลารวมประมาณ 9 เดือน หลังจากนั้นถึงจะหยุดพักงาน โดย “หมอลำกลอนแบบดั้งเดิม” ราคาจ้างอยู่ที่ 20,000-30,000 บาท/งาน/วัน “หมอลำซิ่งหรือหมอลำกลอนประยุกต์” ราคาอยู่ที่ 40,000-60,000 บาท/งาน/วัน ถัดมาเป็น “หมอลำเรื่องต่อกลอน” ซึ่งเป็นหมอลำวงใหญ่และได้รับความนิยมมากที่สุด ในจังหวัดมีเกือบ 20 วง ทั้งวงเล็กวงใหญ่ ราคาเริ่มต้นที่ 200,000 บาทขึ้นไป คณะใหญ่ที่มีชื่อเสียงหากไม่มีคนจ้างงานก็สามารถแสดงแบบเก็บบัตรหน้างานได้ เพราะมักจะมีแฟนคลับ มีพ่อยก แม่ยก เป็นจำนวนมาก สำหรับหมอลำที่โด่งดังที่สุดในภาคอีสานขณะนี้ จะเป็นหมอลำเรื่องต่อกลอน 3 อันดับแรก คือ ระเบียบวาทะศิลป์ ปฐมบันเทิงศิลป์ และรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ราคาจ้างงานขั้นต่ำจะอยู่ที่ 250,000 บาท/งาน/วัน บุคลากร 300-400 คน/วง คณะที่เหลือก็รองลงมา ทั้งคนและราคาจ้างก็ลดหลั่นลงตามลำดับ เรียกได้ว่าในธุรกิจหมอลำสร้างเงินสะพัดได้หลายร้อยบาทต่อเดือนต่อปี แต่ประเมินค่อนข้างยากเพราะแต่ละวงมีขนาดไม่เท่ากัน อัตราการจ้างงานก็ต่างกัน ความถี่การรับงานหรือการแสดงก็เฉลี่ยไม่ได้ อาชีพหมอลำหากมีชื่อเสียงจะหาเงินได้มากกว่าเงินเดือนค่าแรงขั้นต่ำ อาจได้มากถึง 20,000-30,000 บาท/เดือน ระดับแดนเซอร์เฉลี่ยขั้นต่ำ 500 บาท/คืน ยิ่งช่วงเทศกาลจะได้มากเป็นพิเศษ โดยคณะหมอลำใหญ่ที่มีชื่อเสียง เมื่อหักค่าใช้จ่ายหลังการแสดงและแบ่งค่าแรงในวงแล้ว จะได้กำไรไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท/วัน แต่อาชีพนี้มีความเสี่ยงคือความไม่แน่นอน เพราะไม่ใช่งานประจำที่มีเงินเดือนตลอด เป็นอาชีพที่กอบโกยได้เฉพาะในช่วงนี้เท่านั้น อ้างอิงจาก: ประชาชาติธุรกิจ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#ธุรกิจหมอลำ #หมอลำ

พามาฮู้จัก อาณาจักร “โบนันซ่า เขาใหญ่” มีอิหยังแน่??

ครอบครัวเตชะณรงค์ โดยคุณพ่อไพวงษ์ เตชะณรงค์ ซึ่งเป็นคุณพ่อของคุณสงกรานต์ เตชะณรงค์ ได้เริ่มบุกเบิกธุรกิจ โบนันซ่า เขาใหญ่ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยอาณาจักรแห่งนี้มีเนื้อที่กว่า 5,000 ไร่ ทำธุรกิจครอบคลุมทั้งโรงแรม รีสอร์ต สนามกอล์ฟ และสถานที่ท่องเที่ยวแนว Adventure โดยมีแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์แนวคาวบอยเรื่อง Bonanza นั่นเอง โดยปัจจุบันธุรกิจในเครือโบนันซ่า เขาใหญ่ มีด้วยกัน ดังนี้ 1.บริษัท โบนันซ่า รีสอร์ท โฮเต็ล จำกัด ประกอบธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ต โดยใรปี 2563 มีมูลค่าบริษัท 14 ล้านบาท และมีรายได้ 26 ล้านบาท 2.บริษัท โบนันซ่า กอล์ฟ แอนด์ คันทรี่ คลับ จำกัด ประกอบธุรกิจสนามกอล์ฟ โดยปี 2563 มีมูลค่าบริษัท -22 ล้านบาท และมีรายได้ 11 ล้านบาท 3.บริษัท ชูเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ประกอบธุรกิจพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยในปี 2563 มีมูลค่าบริษัท 87 ล้านบาท และมีรายได้ 103 ล้านบาท 4.บริษัท ซับม่วง จำกัด ประกอบธุรกิจพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทาวน์โฮมและบ้านเดี่ยว โดยในปี 2563 มีมูลค่าบริษัท 46 ล้านบาท และมีรายได้ 6 ล้านบาท 5.บริษัท โบนันซ่า เอ็กโซติก ซู จำกัด ประกอบธุรกิจสวนสัตว์หายาก โดยในปี 2561 มีมูลค่าบริษัท 816,325 บาท และมีรายได้ 21 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า ในปี 2563 รายได้รวมทั้ง 4 บริษัท อยู่ที่ 146 ล้านบาท แม้บริษัทส่วนใหญ่ในเครือโบนันซ่า จะมีผลประกอบการขาดทุน แต่ถ้ามองในแง่สินทรัพย์นับว่าไม่ใช่น้อย ๆ เลย เพราะในปี 2563 สินทรัพย์รวมกันแล้ว คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,182 ล้านบาท . . . อ้างอิงจาก: – www.sanook.com – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#โบนันซ่าเขาใหญ่ #โบนันซ่า #เขาใหญ่ #เตชะณรงค์

เงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 ภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ? 

เงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 ภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?    ดัชนีราคาผู้บริโภค  เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ  โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไป   สำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนมีนาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 2.75% (YoY) เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้าในภาพรวมทั้งประเทศ พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) กับข้าวสำเร็จรูป ไก่สด และมะนาว สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ เนื้อสุกร น้ำมันพืช น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น   แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากราคาสินค้าสำคัญหลายรายการมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเงินเฟ้อ ประกอบกับฐานราคาปี 2565 อยู่ระดับสูง และมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของ ภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การส่งออกของไทยที่ชะลอตัว และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อาจจะส่งผลให้กำลังซื้อของภาคธุรกิจและประชาชนลดลง ซึ่งมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัว  อย่างไรก็ตาม ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้มที่ยังอยู่ระดับสูง รวมทั้งการขาดแคลนแรงงานยังคงเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นทุนอยู่ระดับสูง นอกจากนี้ เศรษฐกิจของไทยที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเทศกาลสงกรานต์ วันหยุดยาว และ การหาเสียงของพรรคการเมือง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น และจะส่งผลต่ออุปสงค์โดยรวม ราคาสินค้าและบริการ ตามลำดับซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันจากระหว่างร้อยละ 2.0 –3.0 (ค่ากลาง 2.5) เป็นระหว่างร้อยละ 1.7 – 2.7 (ค่ากลาง 2.2) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง   อ้างอิงจาก : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #เงินเฟ้อ #เงินเฟ้ออีสาน #ดัชนีราคาผู้บริโภค 

พามาเบิ่ง ค่าใช้จ่ายครัวเรือนหลายปานใด๋ ? (เดือนมีนาคม 2566)

พามาเบิ่ง ค่าใช้จ่ายครัวเรือนหลายปานใด๋ ? (เดือนมีนาคม 2566)   อ้างอิงจาก : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #เงินเฟ้อ #เงินเฟ้ออีสาน #ดัชนีราคาผู้บริโภค #ค่าใช้จ่ายครัวเรือน

ชวนเบิ่ง ซี่รีย์เงินทองของต้องฮู้ ตอน วางแผนการเงินแบบพุทธ vs แบบสมัยใหม่

“การเงินแบบพุทธเศรษฐศาสตร์ คือ การใช้เงินและการเสพเสวย บริโภค การจัดการการเงินอย่างรู้เท่าทันขอบเขตของตัวเอง ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นตัวสื่อนำให้เราไปใช้เงิน ดังนั้น เราต้องมีภูมิคุ้มกันด้วย” “การเงินแบบสมัยใหม่ มองเรื่องการหารายได้ การใช้จ่าย การรู้จักเก็บออม ไม่สร้างหนี้เกินตัว หรือ อาจจะมีหนี้พอประมาณ การเงินยังแบ่งออกเป็น 2 กระแสด้วยกัน มุมมองกระแสหลัก มองว่าคนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจ คือ คนมีเหตุมีผล ดังนั้นการลงทุนมุ่งผลตอบแทนสูงสุดถายใต้ความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ ในขณะที่มุมมองเศรษฐศาตร์พฤติกรรม (กระแสรอง) มองว่าคนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจ คือ ไม่มีเหตุผล มีความโลภ โกรธ หลงได้ ซึ่งจะตัดสินทางการเงินแบบไม่มีเหตุผล ผศ.ดร.จักรกฤช เจียวิริยบุญญา จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ รศ.ดร.รัตนะ ปัญญาภา จาก มรภ.อุบลราชธานี เป็นผู้นำเรื่อง ซีรี่ย์เงินทองของต้องรู้ ตอน ” วางแผนการเงินแบบพุทธ vs แบบสมัยใหม่ ” มาถ่ายทอดในรายการ Econ Talk สามารถฟังข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/esanbiz/videos/191343966925041/?vh=e #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #econtalk#มข #ความรู้การเงิน

โครงการ U2T ภาคอีสาน ผลลัพธ์เป็นจั้งใด๋ ? 

โครงการ U2T ภาคอีสาน ผลลัพธ์เป็นจั้งใด๋ ?  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมมือกับ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Science Park ,คลินิกเทคโนโลยี ผู้ผลิตสินค้าระดับโอทอป (OTOP) และ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนรูปแบบต่างๆ จนได้ผลผลิตภูมิปัญญาชุมชน ต่อยอดเป็นสินค้าที่จัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภคได้ทั้งในและต่างประเทศ ช่วยกระจายความรู้ ลดปัญหาการว่างงาน โดยมีผลลัพธ์ของภาคอีสานดังภาพและ อีกทั้งยังมีผลผลิตของโครงการโดยแบ่งได้ดังนี้ . ผลผลิตของโครงการ U2T เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แก่การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ที่ส่งผลต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของตำบลเป้าหมาย   เกิดการจ้างงานที่ตอบสนองต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ โดยในระยะแรกดำเนินการใน 3,000 ตำบลมีการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา ตามความเหมาะสมของแต่ละตำบล รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 60,000 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 2.1 ส่วนการปฏิบัติงานตามภารกิจในภาพรวม คือ การวิเคราะห์ข้อมูล วางแผนและตัดสินใจ เพื่อจัดทำนโยบาย แนวทาง และงบประมาณสนับสนุน (เป็นการจัดการข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บข้อมูลของโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการของกระทรวงมหาดไทย) การเฝ้าระวัง ประสานงานและติดตามข้อมูลสถานการณ์การระบาดของ COVID และโรคระบาดใหม่ การเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง การส่งต่อการรักษา การประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูลข่าวสาร การปรับสภาพแวดล้อม ระบบรายงานสถานการณ์การระบาดของโรค (การสอบสวนโลก การคัดกรอง จัดระดับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัย กลุ่มสัมผัส การวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มการระบาดในพื้นที่) โดยร่วมกับ ศบค. และการจัดทำข้อมูลราชการในพื้นที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Digitalizing Government Data) ร่วมกับ กพร. 2.2 ส่วนการปฏิบัติงานตามกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลของมหาวิทยาลัย รวมถึงเกิดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่างๆ รายตำบลตามโจทย์ปัญหาต่างๆของแต่ละตำบล ได้แก่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับ การท่องเที่ยว) การนาองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน)   เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและชุมชน.สอวช. สนับสนุนแนวทางส่งเสริมและผลักดันการพลิกโฉมการอุดมศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาปรับเปลี่ยนบทบาทให้ตอบโจทย์ทั้งการพัฒนากำลังคน การวิจัย นวัตกรรม ที่สอดคล้องกับบริบทประเทศและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และวิถีชีวิตของประชาชน โดยมุ่งหวังว่าชุมชนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ของประเทศจะมีขีดความสามารถ เข้มแข็ง ต่อยอดธุรกิจ และสามารถบริหารจัดการตนเองได้ ด้วยการนำศักยภาพด้านการอุดมศึกษาเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง อ้างอิงจาก:  สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ …

โครงการ U2T ภาคอีสาน ผลลัพธ์เป็นจั้งใด๋ ?  อ่านเพิ่มเติม »

มาฮู้จัก โครงการ U2T  มหาวิทยาลัยสู่ตำบล  สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน

มาฮู้จัก โครงการ U2T  มหาวิทยาลัยสู่ตำบล  สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน   โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล โครงการดีๆ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่จะช่วยสร้างรากแก้วให้ประเทศ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ มหาวิทยาลัยได้สามารถใช้องค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาประเทศ  ในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะนำโจทย์หรือปัญหาของประเทศ มาสู่การพัฒนาศักยภาพกำลังคน พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศ   โดยในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยในพื้นที่จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลักๆ คือ มหาวิทยาลัยจะทำหน้าที่หน่วยงานบูรณาการโครงการ (System Integrator) รายตำบล โดยใน 1 ตำบล จะมี 1 มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ดูแล มหาวิทยาลัยดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน เช่น การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ตามรูปแบบกิจกรรมที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยจ้างงานในการดำเนินโครงการของหน่วยงานต่างๆ ในตำบลที่ทำหน้าที่ดูแล โดยจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่และนักศึกษา ไม่น้อยกว่า 20 คนในแต่ละตำบล มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ประสานงานและทำงานร่วมกับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการโครงการภายในพื้นที่ มหาวิทยาลัยทำหน้าที่บูรณาการและสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ที่ไปดำเนินการโครงการภายในตำบล ในด้านองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนรายตำบล (Community Big Data) เพื่อให้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน    อ้างอิงจาก:  สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #U2T #โครงการU2T #สอวช

Scroll to Top