Infographic

พามาเบิ่ง เป็นหยังคือเอิ้นว่า “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ 2566”

“ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” เริ่มมีการปลูกอย่างจริงจัง เมื่อปี 2531 ทุเรียนให้ผลผลิตครั้งแรกในปี 2537 จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีการนำ ตันพันธุ์ทุเรียนพันธุ์หมอนทองมาทดลองปลูก โดยปลูกครั้งแรกปี 2528 ที่อำเภอขุนหาญ ซึ่งปรากฏว่า ได้ผลดี ทุเรียนเจริญเติบโต ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี เนื่องจากดินบริเวณนี้เป็นดินที่เกิดมาจากภูเขาไฟโบราณผุพังมาจากหินบะซอลล์ มีธาตุอาหารชนิดต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อพืชปริมาณสูง อำเภอขุนหาญคือ แหล่งกำเนิดการปลูกไม้ผล โดยเฉพาะทุเรียนของจังหวัดศรีสะเกษ จากนั้นก็มีการปลูกไม้ผลชนิดอื่น ๆ ตามมาก่อนขยายพื้นที่ปลูกไปยังอำเภอกันทรลักษ์ และอำเภอศรีรัตนะในเวลาต่อมา ปัจจุบันศรีสะเกษเป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ผลมากมายหลายชนิดในภาคอีสาน จนได้รับการเรียกขานว่าเป็นดินแดนมหัศจรรย์ และทุเรียนศรีสะเกษ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดอีกด้วย คุณสมบัติพิเศษ คือ เนื้อทุเรียนแห้ง นุ่มเหนียว เส้นใยละเอียด มีกลิ่นหอมไม่ฉุนมาก รสซาติค่อนข้างหวาน ลักษณะภูมิอากาศ โดยทั่วไปอากาศจะร้อนจัดในช่วงฤดูร้อน และค่อนข้างหนาวในช่วงฤดูหนาว ส่วน ฤดูฝนจะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน จะตกหนักในพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัด สำหรับการเก็บเกี่ยว ช่วงระยะประมาณปลายเดือนพฤษภาคม – ต้นเดือนมิถุนายน แล้วแต่สภาพภูมิอากาศของแต่ละปี โดยจะออกช้ากว่าทุเรียนภาคตะวันอก 1 เดือน และก่อนทุเรียนภาคใต้จะออกสู่ตลาด 1 เดือนเช่นกัน นอจากนี้”ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ”เป็น “ทุเรียนภูเขาไฟ GI” สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นทุเรียนที่อัตลักษณ์เฉพาะ กล่าวคือ มีอัตลักษณ์ไม่เหมือนใคร อ้างอิงจาก: – สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร – ฐานเศรษฐกิจ ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ #ทุเรียนภูเขาไฟ #ทุเรียน #GI

พามาฮู้จัก “ตำมั่ว” จากร้านอาหารข้างทาง เติบโตจนขายบนห้าง ขยายไปไกลถึงต่างประเทศ

หลายคนน่าจะรู้จัก “ตำมั่ว” ร้านนี้ คือ ร้านอาหารไทยสไตล์อีสาน ที่เมื่อก่อนเริ่มจากการเป็นร้านอาหารข้างทาง วันนี้ “ตำมั่ว” เติบโตจนมาขายบนห้างสรรพสินค้า แถมยังขยายไปไกล ถึงต่างประเทศ แล้วเจ้าของร้านนี้ ทำได้อย่างไร ? จุดเริ่มต้นของร้านตำมั่ว เกิดมาตั้งแต่ปี 2532 โดยชื่อเดิมของร้าน ชื่อว่า “นครพนมอาหารอีสาน” โดยผู้ที่เป็นเจ้าของร้านก็คือ คุณแม่ของ คุณศิรุวัฒน์ ชัชวาลย์ แม่ทัพของร้านคนปัจจุบัน สมัยที่ยังใช้ชื่อร้านว่า นครพนมอาหารอีสาน คุณศิรุวัฒน์ เล่าว่าถึงร้านของคุณแม่จะขายดีแค่ไหน แต่ปัญหาคือลูกค้าหลายคนก็ยังจำชื่อร้านไม่ค่อยได้ และร้านเองก็ไม่ใช่แบรนด์แรก ๆ ที่ลูกค้านึกถึง พอเป็นแบบนี้ เขาจึงเริ่มปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ – เน้นสร้างแบรนด์ให้เป็นที่น่าจดจำ ทำการตลาดมากขึ้น คุณศิรุวัฒน์ รีแบรนด์ใหม่ด้วยชื่อว่า ร้าน “ตำมั่ว” พร้อมทั้งใช้กลยุทธ์การตลาดที่เรียกว่า Music marketing เพื่อทำการโปรโมตร้านอาหารของตนเองผ่านเพลง บ่เป็นหยัง ของ ก้อง ห้วยไร่ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งจนถึงวันนี้มีผู้เข้ามารับชมกว่า 72 ล้านครั้ง ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนรู้จักร้านตำมั่วมากขึ้นไปอีก – วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อจะได้เสนอสินค้าและบริการที่ตรงใจมากขึ้น คุณศิรุวัฒน์ บอกว่า สิ่งสำคัญแรก ๆ คือ รู้ว่าเรากำลังจะขายอาหารให้ใคร ? เพราะการที่เรารู้ว่าลูกค้าคือใคร จะช่วยให้เราวิเคราะห์ต่อไปได้ว่า ลูกค้ามีกำลังจ่ายได้เท่าไร และอะไรคือสิ่งที่พวกเขาต้องการ ซึ่งทางร้านก็พบว่ากลุ่มลูกค้าของร้านตำมั่วนั้นมีหลากหลาย ทุกเพศ ทุกวัย และมีตั้งแต่กลุ่มรายได้น้อยไปจนถึงรายได้สูง หรือพูดง่าย ๆ คือ อาหารที่ร้านนั้นอยู่ในตลาดแมส นั่นคือ ทุกคนสามารถเข้ามาทานได้ตั้งแต่คนรายได้น้อย มนุษย์เงินเดือนรายได้ปานกลาง ไปจนถึงคนรวย เขาบอกว่า เมื่อรู้แล้วว่า กลุ่มลูกค้าคือกลุ่มแมส ดังนั้นจึงค่อยคิดเรื่องอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นราคาอาหาร การตกแต่งร้าน อุปกรณ์ภายในร้าน – เลือกพันธมิตรดี ๆ เวลาต้องขยายธุรกิจไปในสถานที่ที่เราไม่รู้จักดีพอ เช่น การไปเติบโตในต่างประเทศของตำมั่ว ในลาว เมียนมา และกัมพูชา จะทำผ่านการลงทุนกับพันธมิตรด้วยการขายแฟรนไชส์ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้เงินลงทุนคือ ทัศนคติของผู้ที่ต้องการมาร่วมธุรกิจ คุณศิรุวัฒน์บอกว่า ถ้าคนที่ต้องการเป็นพันธมิตรรายไหนบอกว่า รสชาติอาหารของตำมั่วอร่อย แต่เขาจะขอปรับรสชาติ ปรับวัตถุดิบตามแบบของตนเองได้ไหม ถ้าเป็นแบบนี้ คุณศิรุวัฒน์จะไม่คุยต่อเลย เพราะเขามองว่า รสชาติและคุณภาพของตำมั่วไม่ว่าทานที่ไหน จะต้องเหมือนกันหมด นี่คือจุดยืนของทางร้าน การเติบโตของตำมั่ว ทำให้ในปี 2559 ตำมั่ว ได้เซ็นสัญญาร่วมธุรกิจกับบริษัทภายในเครือร้านอาหารยักษ์ใหญ่ ที่ชื่อว่า บริษัท เซ็น แอนด์ สไปซี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท เซ็น …

พามาฮู้จัก “ตำมั่ว” จากร้านอาหารข้างทาง เติบโตจนขายบนห้าง ขยายไปไกลถึงต่างประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 7 อันดับอาณาจักรขายปลีกเครื่องประดับที่มีรายได้รวมมากที่สุดในภาคอีสาน .

อันดับที่ 1 บริษัท ห้างทองทองสวย จำกัด จังหวัด ขอนแก่น รายได้รวม 15,680 ล้านบาท กำไรรวม 7,809,214 บาท . อันดับที่ 2 บริษัท เอ็มทีพี บูลเลี่ยน จำกัด จังหวัด ขอนแก่น รายได้รวม 4,624 ล้านบาท กำไรรวม 959,833 บาท . อันดับที่ 3 บริษัท ห้างทองแม่ทองพูล จำกัด จังหวัด ขอนแก่น รายได้รวม 3,073 ล้านบาท กำไรรวม 2,318,411 บาท . อันดับที่ 4 บริษัท ทองกรุงเทพ จำกัด จังหวัด นครราชสีมา รายได้รวม 1,016 ล้านบาท กำไรรวม 325,084 บาท . อันดับที่ 5 บริษัท ห้างทองเยาวราช จำกัด จังหวัด ร้อยเอ็ด รายได้รวม 876 ล้านบาท กำไรรวม 5,053,659 บาท . อันดับที่ 6 บริษัท แสงมณี โคราช จำกัด จังหวัด นครราชสีมา รายได้รวม 752 ล้านบาท กำไรรวม 253,488 บาท . อันดับที่ 7 บริษัท เอ็มทีพี โกลด์ จำกัด จังหวัด ขอนแก่น รายได้รวม 737 ล้านบาท กำไรรวม 780,714 บาท หมายเหตุ: เป็นข้อมูลนิติบุคคล เฉพาะประเภทธุรกิจร้านขายปลีกเครื่องประดับ (รหัสประเภทธุรกิจ 47732) อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #อาณาจักรขายปลีกเครื่องประดับ #ร้านขายปลีกเครื่องประดับ

ชวนเบิ่ง ราคากัญชงที่คนทำธุรกิจเกี่ยวกับกัญชงต้องฮู้

อ้างอิงจาก: – สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #กัญชง #ธุรกิจกัญชง

สถานการณ์ยาเสพติดอีสาน เป็นจั้งใด๋ ? 

สถานการณ์ยาเสพติดอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?    เมื่อเรามารู้จำนวนคดียาเสพติดกันแล้ว มาดูกันว่า 5 อันดับ ชนิดยาเสพติดที่มีจำนวนคดียาเสพติดสูงสุดมีอะไรกันบ้าง ? และ  พามาดูผลการดำเนินงานด้านการบำบัดยาเสพติด ของสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด จากกระทรวงสาธารณะสุข    โดยขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ (Pre-Admission) ความหมาย เป็นการศึกษาประวัติข้อมูล และภูมิหลังผู้ติดยาเสพติด ทั้งจากผู้ขอรับการรักษาและครอบครัว เพื่อชักจูงให้คำแนะนำ และกระตุ้นให้ผู้ติดยาเสพติด มีความตั้งใจในการรักษา การดำเนินการ การสัมภาษณ์ การลงทะเบียนและวิธีการทางการแพทย์ ได้แก่ การตรวจร่างกาย เอกซเรย์ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ชั่งน้ำหนัก ขั้นถอนพิษยา (Detoxification) ความหมาย การบำบัดอาการทางกาย ที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด การดำเนินการ การให้ยาชนิดอื่นทดแทน เช่น เมธาโดน ยาสมุนไพรหรือให้เลิกเสพทันทีที่เรียกว่า หักดิบ แบ่งเป็นการถอนพิษแบบผู้ป่วยนอก คือ ไม่ต้องค้างคืนในสถานพยาบาล แต่ต้องรับประทานยาตามเวลาที่กำหนด และแบบผู้ป่วยใน คือ การค้างคืนในสถานพยาบาล ซึ่งนอกจากจะถอนพิษยาแล้ว ยังมีการรักษาโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมทั้งการให้ความรู้ด้วย เช่น การดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค เป็นต้น ขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabillitation) ความหมาย เป็นการปรับสภาพร่างกายและจิตใจ ของผู้เลิกยาให้มีความเข้มแขง ปรับเปลี่ยนบุคคลิกภาพและพฤติกรรม ให้สามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติ การดำเนินการ ใช้กิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การให้คำแนะนำปรึกษา ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม การอบรมธรรมะ การสันทนาการ การฝึกอาชีพ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีรุปแบบอื่น ๆ เช่น การฟื้นฟูสมรรถภาพแบบ “ชุมชนบำบัด” ซึ่งเป็นการสร้างชุมชน หรือสังคมจำลองให้ผู้เลิกยาเสพติดมาอยู่รวมกัน เพื่อให้การช่วยเหลือกกันเลียนแบบแปลงพฤติกรรม ฝึกความรับผิดชอบการรู้จักตนเอง และแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม เพื่อกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ และการฟื้นฟูจิตใจ โดยใช้หลักศาสนา ได้แก่ การนำผู้เลิกยาเสพติดเข้ารับการอุปสมท การศึกษาหลักธรรมทางศาสนา เป็นต้น ขั้นการติดตามดูแล (After-Care) ความหมาย เป็นการติดตามดูแลผู้เลิกยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษา ทั้ง 3 ขั้นตอน เพื่อให้คำแนะนำปรึกษา ให้กำลังใจ ทั้งนี้เพื่อมิให้หวนกลับไปเสพยาซ้ำอีก การดำเนินการ การเยี่ยมเยียน โทรศัพท์ นัดพบ ใช้แบบสอบถามและการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด   อ้างอิงจาก:  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณะสุข    ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  …

สถานการณ์ยาเสพติดอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?  อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง สถิติคดียาเสพติดของอีสาน

พามาเบิ่ง สถิติคดียาเสพติดของอีสาน   เนื่องจากใกล้ช่วง วันต่อต้านการใช้ยาเสพติดและการลักลอบค้ายาเสพติดสากล หรือ วันยาเสพติดโลก  ถูกกำหนดขึ้นในวันที่ 26 มิ.ย. ทุกปี เพื่อเสริมสร้างการดำเนินการและความร่วมมือในการบรรลุโลกที่ปราศจากยาเสพติด   มื้อนี่ ISAN Insight พามาเบิ่ง สถิติคดียาเสพติดอีสานว่าเป็นจั้งใด๋ ?   อ้างอิงจาก:  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #คดียาเสพติด #คดียาเสพติดอีสาน   

พามาฮู้จัก “Satom Organic Farm (แซตอม ออร์แกนิก ฟาร์ม)” เกษตรอินทรีย์สุดเริ่ด แห่งอีสาน

“แซตอม” เป็นภาษาของชนพื้นเมืองชาว กวย หรือ กูย ในจังหวัดสุรินทร์ แปลว่า นาที่ตั้งอยู่ริมห้วยบริเวณทุ่งแซตอม ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำลำชีอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำเกษตรกรรมในดินแดนแห่งนี้ คุณสุแทน สุขจิตร ลูกหลานชาวนาแห่งเมืองสุรินทร์ได้พลิกฟื้นผืนดินนี้ไปสู่วิถีเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด ที่นี่ปลูกเฉพาะข้าวเมืองสุรินทร์ที่หากินที่อื่นได้ยาก เช่น ข้าวผกาอำปึล หรือ ข้าวดอกมะขาม มีรสชาติเหมือนข้าวโพดข้าวเหนียว หุงแล้วพองตัวเหมือนลูกเดือย ข้าวมะลินิลสุรินทร์ หรือ มะลิดำ มีจุดเด่นที่สัมผัสนุ่ม หุงง่ายไม่ต่างจากข้าวหอมมะลิขาว ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ หรือ ข้าวมะลิแดง และ ข้าวเหนียวแดง ที่ได้รับรางวัลข้าวเหนียวอร่อย ประจำปี 2563 จากกรมการข้าว อีกทั้ง คุณสุแทนยังได้นำข้าวที่เหลือไปผลิตสุราแช่พื้นเมือง หรือสาโท ซึ่งสาโทของวิสาหกิจชุมชนแซตอม ออร์แกนิก ฟาร์ม สุรินทร์นี้มาทั้งในรูปแบบของสาโทโบราณ รสชาติหวานซ่าสดชื่นและฟิวชั่นสาโท ที่หยิบเอาเทคนิคการทำไวน์องุ่นมาประยุกต์เข้ากับการทำสาโทโบราณ นอกจากจะเก็บไว้ได้นานกว่าแล้วยังมีรสชาติหลากหลายที่ทำมาจากข้าวนานาสายพันธุ์ เช่น ระรื่น ทำจากข้าวเหนียวแดง จุติ ทำจากข้าวเหนียวดำ และ เดอะ แบล็ค จัสมิน ทำจากข้าวมะลินิลสุรินทร์ รวมถึงไวน์ผลไม้ที่หมักจากมะม่วงกะล่อนและกล้วย อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – Gourmet and cuisine #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Satom #แซตอม #ธุรกิจอีสาน #ธุรกิจ #Business #แซตอมออร์แกนิกฟาร์ม #เกษตรอินทรีย์ #วิสาหกิจชุมชนแซตอม

ปี 2565 มีผู้ใช้รถไฟฟ้าหลายปานใด๋ ? 

ปี 2565 มีผู้ใช้รถไฟฟ้าหลายปานใด๋ ?    กระแสความนิยมเลือกใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ภาครัฐออกมาตรการสนับสนุน และมีการลงนามเซ็น MOU ก่อนที่งานจะเริ่ม ทำให้ราคาขายของรถยนต์ไฟฟ้ามีความชัดเจน บางแบรนด์มีราคาถูกลงไปตั้งแต่ 1.6-2.4 แสนบาท   โดยภาครัฐมีเป้าหมายสูงสุดในอุตสาหกรรมรถพลังงานไฟฟ้า คือการผลักดันให้ประเทศไทยติด Top 10 ผู้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าระดับโลก และคาดว่าปี 2030 จะผลิตรถพลังงานไฟฟ้า เพื่อขายในประเทศและส่งออก 750,000 คัน คาดว่าจะมีรถพลังงานไฟฟ้าวิ่งอยู่บนนท้องถนนราว 2 ล้านคัน หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน   เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าขยายตัวมากขึ้น สิ่งที่เติบโตควบคู่เพื่อรองรับความต้องการ คือ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอีสานยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต   ซึ่งภาคอีสานมีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพียง 122 แห่ง จากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ มากที่สุด ที่จังหวัดนครราชสีมา รองลงมาเป็น ขอนแก่น อุดรธานี และบุรีรัมย์ ที่มีมากกว่า 10 แห่ง    ธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในธุรกิจที่น่าสนใจในขณะนี้ เนื่องจากความกังวัลหลักของผู้บริโภคไม่ใช่เรื่องของราคารถยนต์พลังงานไฟฟ้าอีกต่อไป แต่กังวลในเรื่องของสถานีชาร์จที่ยังไม่ครอบคลุม รวมถึงระยะเวลาในการชาร์จแต่ละครั้ง ทำให้การเดินทางระยะไกลต้องวางแผน และคำนวณระยะทางก่อน ซึ่งค่อนข้างใช้เวลาในการเตรียมตัว   การดำเนินธุรกิจนี้คงเกิดขึ้นได้ยาก หากขาดการผลักดันและสนับสนุนจากรัฐบาล เนื่องจากตู้ชาร์จและระบบต่าง ๆ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้ยังมีต้นทุนค่อนข้างสูง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตั้งสถานีชาร์จนำร่องเพื่อเป็นตัวอย่าง รวมถึงไปการร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ ในการสร้าง Ecosystem ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยการผลิตและจัดจำหน่ายด้วยตัวเอง ทำให้ต้นทุนมีราคาถูกลง และสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น   อ้างอิงจาก:  กรมการขนส่งทางบก   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #รถยนต์ไฟฟ้า #สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

ซอมเบิ่ง 6  เทรนด์นวัตกรรมเกษตร จาก Startup ไทย มีอิหยังแหน่ ? 

ซอมเบิ่ง 6  เทรนด์นวัตกรรมเกษตร จาก Startup ไทย มีอิหยังแหน่ ?    เทรนด์นวัตกรรมเกษตร หวังสร้างผลผลิตดีขึ้น ลดต้นทุน ทุ่นแรง สร้างตลาด เปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่ามุ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์การทำเกษตรกรรมผ่านหลากหลายโครงการ  สำหรับเทรนด์ทางด้านนวัตกรรมการเกษตรที่น่าสนใจในปัจจุบันจาก Startup ไทย มี 6 เทรนด์ ประกอบด้วย    การเกษตรดิจิทัล  การจัดการฟาร์มด้วยเซนเซอร์ และระบบไอโอที ถูกนำมาใช้ในภาคการเกษตรเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชแต่ละชนิดมาศึกษา เพื่อวิเคราะห์การเจริญเติบโต การป้องกันโรค ความเหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูก ร่วมกับการพัฒนาเซนเซอร์และอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ เช่น FarmConnect Asia ระบบควบคุมและติดตามการบริหารจัดการน้ำและปุ๋ยในแปลงปลูกเมลอนกลางแจ้งให้มีความแม่นยำและเที่ยงตรงด้วยเทคโนโลยี IoT Fertigation ช่วยเพิ่มผลผลิตคุณภาพสูงทั้งเกรดเอและเกรดพรีเมียมได้ตรงตามความต้องการผู้บริโภค อีกทั้งได้พัฒนาระบบ AI จากข้อมูลการปลูกเมลอน เพื่อให้เกิดการทำเกษตรได้อย่างแม่นยำขึ้น เมอร์ลิเนียม ฟาร์ม ระบบเกษตรอัจฉริยะที่สื่อสารข้อมูลไร้สายด้วยเทคโนโลยีผลิตพลังงานในตัวด้วยแสงความเข้มต่ำ แก้ปัญหาความยุ่งยากของสมาร์ทฟาร์มแบบเดิมไปโดยสิ้นเชิง ไม่ต้องมีสายไฟ แดดน้อยก็ทำงานได้   เครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์ โดรน และระบบอัตโนมัติ เช่น การพ่นยาพ่นปุ๋ย การหว่านเมล็ด การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลรายแปลงเพื่อทำให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างแม่นยำขึ้น และระบบอัตโนมัติที่ช่วยผ่อนแรงการทำงานให้เกษตรกร เช่น Tiger Drone โดรนสัญชาติไทยที่มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล ใช้งานง่ายด้วยเมนูภาษาไทย มีระบบวางแผนเส้นทางการบินที่แม่นยำสูงและปลอดภัยทุกพื้นที่ พร้อมฟังก์ชันการใช้งานเพื่อเกษตรกรไทยโดยเฉพาะ เช่น โหมดโชยรวง ที่ช่วยให้ผลผลิตการเกษตรไม่เสียหายจากการบินโดรน โหมดกันข้าวไหม้ ที่ช่วยให้การฉีดพ่นเป็นไปได้อย่างสม่ำเสมอไม่มากเกินไป พร้อมการเก็บข้อมูลอย่างแม่นยำและปลอดภัย Rimbotics เรือรดน้ำไร้คนขับ ด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงเพิ่มเติมของเรือรดน้ำชาวสวนที่มีอยู่ ทำหน้าที่ควบคุมเรือรดน้ำแทนคน การตรวจจับร่องน้ำ สัญญาณที่ได้จากเซนเซอร์ส่งไปยังหน่วยประมวลผล และส่งไปควบคุมใบพัดให้หมุนทางซ้าย-ขวา เพื่อควบคุมหัวเรือให้อยู่กลางร่องน้ำเสมอ และควบคุมการเลี้ยวเมื่อเจอทางแยกของร่องน้ำ รวมทั้งสามารถตั้งค่าจำนวนร่องน้ำที่ต้องการรดได้ และเมื่อครบจำนวนตามกำหนดจะสั่งเครื่องยนต์ให้หยุดทำงานได้   เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เพื่อพัฒนากระบวนการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูง เช่น พันธุ์พืชทนโรค สารชีวภาพกำจัดโรค ปุ๋ยเพิ่มประสิทธิภาพ โดยสตาร์ตอัปในกลุ่มนี้จะเป็นการต่อยอดผลงานวิจัยอย่างน้อย 4-5 ปี สำหรับเป็นฐานองค์ความรู้มาสร้างให้เกิดธุรกิจ เช่น Siam Novas ที่ผลิตน้ำเชื้อโคคัดแยกเพศแห่งแรกของไทยด้วยกรรมวิธีการคัดเพศจากเซลล์น้ำเชื้อโดยปฏิกิริยาไซโตทอกซิคจากโมโนโคลนอลแอนติบอดี ทำให้เพิ่มอัตราการผสมติดและทำให้เกิดลูกเพศเมียได้สูงถึง 70-75% UniFAHS พัฒนาสารเสริมชีวภาพที่มีฤทธิ์ทำลายเชื้อซาลโมเนลลาในลำไส้สัตว์ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในระบบทางเดินอาหารของไก่ เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมี ขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาผลิตจากแบคเทอริโอเฟจในโรคไก่อื่นๆ เช่น โรคบิด และโรคในสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา   การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ ที่ครอบคลุมทั้งการปลูกพืชระบบปิดโดยใช้แสงเทียม ตอบโจทย์การปลูกพืชในเมืองโดยที่ไม่ต้องรอฟ้าฝนและแสงแดด การปลูกผักที่สะอาดไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง โดยสิ่งสำคัญคือความคุ้มค่าของการลงทุน ซึ่งผู้ปลูกจำเป็นต้องเลือกกลุ่มผักและผลิตผลทางการเกษตรที่สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค สามารถแข่งขันในด้านราคาได้ เช่น Distar Fresh ที่เกิดจากความต้องการผักปราศจากยาฆ่าแมลง จึงเกิดเป็นโรงงานผลิตพืชระบบปิดที่ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ ทั้งการให้น้ำ …

ซอมเบิ่ง 6  เทรนด์นวัตกรรมเกษตร จาก Startup ไทย มีอิหยังแหน่ ?  อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก เขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นจั้งใด๋ ? 

พามาฮู้จัก เขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นจั้งใด๋ ?    มื้อนี่ ISAN Insight พามาฮู้จัก เขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่เป็นพื้นที่จุดเริ่มต้นของสินค้า GI ที่โด่งดังมีประวัติจั้งใด๋?  เมื่อเรารู้จักทุ่งกุลาร้องไห้กันแล้ว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ยังได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาสินค้าอัตลักษณ์ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ (GI) จ.ร้อยเอ็ด อีกด้วย อยู่ในพื้นที่ อ.เกษตรวิสัย สำรวจเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่นำเทคโนโลยีโดรนมาใช้ในการผลิตข้าว กับเกษตรกรที่ไม่มีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าว กลุ่มละ 32 ราย   พบว่า เทคโนโลยีโดรนมาใช้ในการผลิตข้าว โดยนำมาใช้ในการฉีดพ่นยาสารเคมี พ่นปุ๋ยน้ำ หรือฮอร์โมน ทำให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตที่ดี การฉีดพ่นกระจายตัวได้อย่างทั่วถึง ลดการเหยียบย่ำในแปลงนาข้าว ลดความเสียหายของผลผลิต ลดผลกระทบจากการสัมผัสสารเคมีและปัญหาด้านสุขภาพของเกษตรกร รวมถึงลดระยะเวลาในการทำงาน และสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานอีกด้วย ผลสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีโดรนในการผลิตข้าว ส่งผลให้เกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 393 กก.ต่อปี ในขณะที่เกษตรกรที่ไม่มีการใช้เทคโนโลยีโดรนในการผลิตข้าว ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 342 กก.ต่อปี เกษตรกรที่ใช้เทคโนโลยีโดรนในการผลิตข้าว มีผลผลิตต่อไร่มากกว่าร้อยละ 15 ด้านราคาขายข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ GI จ.ร้อยเอ็ด ราคาเฉลี่ยปี 2564 ความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา เฉลี่ยอยู่ที่ กก.ละ 10.3 บาท ในส่วนของการแปรรูปเป็นข้าวสารบรรจุถุง ขนาด 1 กิโลกรัม ขายได้ราคาเฉลี่ยถุงละ 40-45 บาท ข้าวกล้องบรรจุถุงสุญญากาศ ราคาเฉลี่ยถุงละ 60-75 บาท ด้านภาพรวมของสถานการณ์ตลาด ผลผลิตร้อยละ 56 เกษตรจะจำหน่ายให้กับโรงสีและกลุ่มเกษตรกร แบ่งเป็น ร้อยละ 21 จำหน่ายให้โรงสี, ร้อยละ 20 จำหน่ายให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิ GI ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด และร้อยละ 15 จำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ พ่อค้าคนกลางและเกษตรกร ส่วนผลผลิตร้อยละ 44 แบ่งเป็น ร้อยละ 33 เก็บไว้บริโภคในครัวเรือน และร้อยละ 12 เก็บเป็นเมล็ดพันธุ์   อ้างอิงจาก:  สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2494030    ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #นวัตกรรม #ร้อยเอ็ด #ทุ่งกุลาร้องไห้ #เกษตรดิจิทัล #สินค้าGI