ฮู้บ่ว่า10 ปีผ่านไป คนไทยโสดเยอะขึ้นปานใด๋?
เปิดสถิติคนไทยวัยเจริญพันธุ์ โสด เกือบเท่าตัวของค่าเฉลี่ยทุกช่วงวัย
.
สถิติคนโสดภาคอีสานของไทย
ข้อมูลจำนวนคนโสด:
ปี 2561: สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า มีคนโสดวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-49 ปี) ในภาคอีสานอยู่ที่ ร้อยละ 41.2 ของประชากรทั้งหมด แบ่งเป็นเพศชาย ร้อยละ 39.7 และเพศหญิง ร้อยละ 42.7
ปี 2564: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศค.) ประเมินว่า สัดส่วนคนโสดในภาคอีสานน่าจะอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 43-44
ข้อมูลเพิ่มเติม:
เพศ: พบว่าผู้หญิงโสดมีจำนวนมากกว่าผู้ชายโสดในภาคอีสาน
อายุ: คนโสดส่วนใหญ่ในภาคอีสานมีอายุอยู่ระหว่าง 20-39 ปี
การศึกษา: พบว่าคนโสดในภาคอีสานมีการศึกษาสูงขึ้น โดยเฉพาะวุฒิปริญญาตรี
อาชีพ: คนโสดในภาคอีสานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
สถานะการสมรส: สาเหตุที่คนอีสานโสดมากขึ้น มาจากหลายปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ผู้หญิงมีการศึกษาสูงขึ้น มุ่งเน้นการทำงาน ค่านิยมการแต่งงานเปลี่ยนแปลง ฯลฯ
.
ประเทศไทย
ปี 2566: คนโสดในไทยมีมากกว่าร้อยละ 26.1% เป็นคนโสดหรืออยู่คนเดียว (ครอบครัวบุคคล) กว่า 7 ล้านครัวเรือน
คนโสดวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-49 ปี) ทั้งประเทศ 40.5%
.
โลก
คาดการณ์ ปี 2573 จะมีคนโสด มากกว่า ร้อยละ 39
.
#ปัจจัย ที่ส่งผลต่อการเป็นคนโสด
1) ค่านิยมทางสังคม ได้แก่
“SINK” (Single Income, No Kids) คนโสดรายได้ดีไม่เน้นมีลูก เน้นใช้จ่ายเพื่อตนเอง
“PANK” (Professional Aunt, No Kids) ผู้หญิงโสดอายุ 30+ รายได้ดี ไม่เน้นมีลูก ให้ความสำคัญกับหลาน และครอบครัว
“Waithood” คนโสดรอการมีความรัก อันเนื่องจากสถานะทางเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคง
2) ความต้องการ/ความคาดหวังไม่สอดคล้องกัน
วัฒนธรรมเอเชีย ที่ความคาดหวังต่อผู้หญิงทั้งการหาเงินและการเป็นแม่บ้าน รวมถึงปัญหาการอยู่ร่วมกันของครอบครัวใหญ่
ความต้องการหรือสเปคที่ต่างกัน เช่น ผู้หญิงต้องการแฟนที่ตัวสูงกว่า ในขณะที่ผู้ชายไม่คบผู้หญิงที่สูงกว่า เป็นต้น
3) โอกาสพบปะผู้คนน้อยลง
คนโสดทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 43.2 ชม./สัปดาห์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยรวมที่ 42.3 ชม./สัปดาห์
4) ขาดนโยบายส่งเสริมหรือเอื้อต่อการมีคู่ การสร้างครอบครัว และการมีบุตร
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และสถานะทางการเงินของประชากรไทย ทำให้การสมรส และการสร้างครอบครัวเป็นไปได้ยากมากขึ้น
#ผลกระทบ จากสังคมคนโสด
ข้อเสีย: โครงสร้างประชากรประเทศและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ข้อดี: คนโสดมีการใช้จ่ายเพื่อตัวเองในสัดส่วนที่สูงกว่าคนที่มีครอบครัว
.
อย่างไรก็ตาม ยังมี โอกาส ที่เกิดขึ้นพร้อมกับ ความท้าทาย ดังนี้
โอกาสทางธุรกิจ: สินค้าและบริการสำหรับคนโสดที่สูงอายุ, บ้านพักคนชรา เพราะคนโสดจะพึ่งพาตนเอง และไม่มีลูกหลานเลี้ยงตูยามแก่เฒ่า
โอกาสในการพัฒนาทักษะ: ทักษะดิจิทัล, การท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์จะตอบโจทย์กลุ่มคนโสด
โอกาสในการสร้างสังคมใหม่: การทำธุรกิจจัดหาคู่, การทำ matching date ในไทยยังไม่มีหรือไม่เป็นที่นิยมเหมือนในต่างประเทศ
คาดการณ์การเติบโตด้านค่าใช้จ่ายครัวเรือนบุคคล ปี ค.ศ.2040 มูลค่าค่าใช้ของครัวเรือนบุคคล(ที่อยู่คนเดียว) ของไทยจะเติบโตขึ้น 140% จากปัจจุบัน
.
ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต่างใช้วิธีการแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นจาก สังคมคนโสดซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างประชากรของประเทศทั้งสังคมผู้สูงอายุ การเกิดที่ต่ำ ส่วนการแก้ปัญหาในที่ละประเทศมีแนวทางที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ บริบท ของแต่ละประเทศ
.
ที่มา:
– UN, 2022
– รายงานผู้สูงอายุไทย 2565
– ประชุากรกลางปี 2565 สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
– มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)
– รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 1/2567
.
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight
.
#ISANInsight #ISANInsightandOutlook #ประชากรไทย #สังคมผู้สูงวัย #สังคมผู้สูงอายุ #สังคมคนโสด #ประชากรอีสาน #สถิติประชากร #คนอีสาน #ประชากรในภาคอีสาน #ประชากรอีสาน