พามาเบิ่ง ตลาดออนไลน์ ไทย🇹🇭-จีน🇨🇳 ต่างกันอย่างไร? ในวันที่ ‘อีคอมเมิร์ซไทยวิกฤติ’ ทุนนอกฮุบ สินค้าจีนทะลัก

การขยายตัวที่แตกต่างของไทยและจีนในการซื้อขายผ่านโซเชียลมีเดีย

 

ไทย : 

  • ไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นของการใช้โซเชียลมีเดียในการซื้อขายออนไลน์
  • โดยเฉพาะการซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ในแพลตฟอร์มต่างๆ
  • การซื้อขายผ่านไลฟ์สดมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจากความนิยมในปัจจุบัน

จีน

  • สัดส่วนการซื้อขายผ่านโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นเป็น 16% จาก E-commerce ทั้งหมด
  • ความนิยมของคนจีนที่จะซื้อของออนไลน์ผ่านช่องทางการไลฟ์สดในโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • ตลาด E-commerce ของจีนมีแนวโน้มที่จะเกิดการขยายตัวในรูปแบบ C2C มากขึ้น

ที่มา: Euromonitor

หมายเหตุ: การซื้อขายผ่านไลฟ์สด (Live Streaming E-Commerce) คือการขายสินค้าแบบเรียลไทม์ผ่านการไลฟ์สดในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Live, TikTok Live, Shopee Live, Instagram Live, การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มโซเชียล (Social comerce) คือการซื้อขายผ่านโซเชียลมีเดียหรือ market place เช่น Facebook, Instagram, LINE, TikTok

 

‘อีคอมเมิร์ซไทยวิกฤติ’ ทุนนอกฮุบ 🇨🇳สินค้าจีนทะลักครองส่วนแบ่งรวมกันกว่า 79% ผู้ประกอบการไทย🇹🇭ต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างชาติเป็นหลัก ไม่มีอำนาจต่อรอง

🇨🇳ลาซาด้า
🇨🇳+🇸🇬ช้อปปี้
🇨🇳 TikTok

[1]🛒ตลาดซื้อขายออนไลน์ของไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการดังนี้:

.
🛜การเติบโตของอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ง่ายขึ้นและการแพร่หลายของสมาร์ทโฟนทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงและซื้อสินค้าออนไลน์ได้สะดวกยิ่งขึ้น
😷การแพร่ระบาดของ COVID-19: การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น เพื่อลดการสัมผัสและรักษาระยะห่างทางสังคม
📲การพัฒนาของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ: แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านความหลากหลายของสินค้า บริการชำระเงิน และการจัดส่งสินค้า ทำให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์การซื้อสินค้าออนไลน์ที่ดีขึ้น
🏛️การสนับสนุนจากภาครัฐ: ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการค้าออนไลน์และเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความมั่นใจในการซื้อขายออนไลน์มากขึ้น
ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับตลาดซื้อขายออนไลน์ของไทย:
.

[2]📈มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าหลายล้านล้านบาท

✅ผู้บริโภคกลุ่มหลักที่ซื้อสินค้าออนไลน์คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 20-39 ปี
✅สินค้าที่ได้รับความนิยมในการซื้อออนไลน์ ได้แก่ สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง อาหาร และเครื่องใช้ไฟฟ้า
.
🛒แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ได้แก่ Shopee, Lazada แต่ล่าสุดหลังจากการกลับบ้าน ของ JD การมาของ TikTok ที่เป็น social media แต่เรามีระบบตะกร้าสินค้าเหมือน e-commerce และการผสมผสานการ live commerce กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและแจ้งส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้น
✅ผลดีคือการแข่งขันของผู้ขายทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าและโปรโมชั่นที่มากขึ้น
✅แต่ก็เป็นเรื่องท้าทายต่อผู้ค้าขายหรือผู้ขายในช่องทางเหล่านี้ ที่กำลังเผชิญกับปัญหาสินค้าจีนทะลัก ซึ่งมีราคาถูกและทำให้ผู้ประกอบการไทย ประสบปัญหาด้านการแข่งขัน
.

[3]📈แนวโน้มตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในอนาคต:

✅ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI และ AR
การซื้อขายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย (Social Commerce) จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น
การแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซจะรุนแรงมากขึ้น โดยผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวและพัฒนาบริการให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
✅ Live commerce การซื้อผ่านหลายไลฟ์ ได้รับความนิยมและเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อแพลตฟอร์มประกาศขึ้นค่าธรรมเนียมต่อเนื่อง แต่ผู้ประกอบการไทยก็ไร้อำนาจต่อรอง ซ้ำร้ายต้องแข่งกับสินค้าจีนทะลัก ตัดราคา ขายราคาต่ำทุน
.
และปัญหาต่อเนื่องจาก Free Zone Area ณ จุดพักสินค้าจีนในไทย ที่อาศัยช่องว่างทางกฎหมายเข้ามาขายสินค้าในไทย ยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องจากรัฐบาลก่อนหน้า จนถึงรัฐบาลปัจจุบัน
.
ด้าน “ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพย์โซลูชั่น จำกัด และผู้เชี่ยวชาญในวงการอีคอมเมิร์ซไทย กล่าว
.
“ประเทศไทยได้ประโยชน์จากการลงทุนของต่างชาติมากแค่ไหน เราได้ร้อยเปอร์เซ็นต์หรือได้เพียงกี่เปอร์เซ็นต์กันแน่ บางบริษัทไม่ได้เสียภาษี จ้างคนงานไทยเพียงไม่กี่คน อย่างบางบริษัทจากประเทศจีน พอมาลงทุนในไทยแล้วเขามาพร้อมกับเครื่องจักร และหุ่นยนต์ เมื่อเปิดไปดูโรงงานทั้งโรงงานใหญ่โตมโหฬาร กลับพบว่ามีพนักงานอยู่แค่ 5 คนเท่านั้น ส่วนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในไทยตอนนี้ ต่างชาติฮุบไว้หมด”
โดย คุณภาวุธ ได้เปิดเผยข้อมูลว่า ปัจจุบัน 2 ใน 3 ของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยถูกครอบครองโดยแพลตฟอร์มต่างชาติ SMEs ไทยอยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างชาติเป็นหลัก โดยเฉพาะ Shopee และ Lazada ที่มีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันสูงถึง 79% ในขณะที่ TikTok กำลังเร่งขยายอิทธิพล และกดดัน Lazada อย่างต่อเนื่อง
.
“วันนี้เกิดการผูกขาดขึ้นแล้ว บรรดาพวกแพลตฟอร์มที่เข้ามาให้บริการในประเทศไทยเป็นของต่างชาติส่วนใหญ่ เมื่อมันมีผู้เล่นน้อยราย เขาก็สามารถควบคุมทุกอย่างได้”
.
ยิ่งไปกว่านั้นการทะลักเข้ามาของสินค้าจีน ยิ่งทำให้ผู้ค้าออนไลน์ของไทยอยู่ในช่วงที่ต้อง “ยอมจำนน” ต่อการครอบงำแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ เนื่องจากต้องเผชิญกับสงครามราคาที่รุนแรงและยากต่อการต่อสู้

 

 

@pawoot

สินค้าจีน ทุบเศรษฐกิจไทยยังไง?

♬ original sound – Pawoot Pom Pongvitayapanu – Pawoot Pom Pongvitayapanu

 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top