SHARP ADMIN

อุดรธานีมีคนเป็นหนี้น้อยสุดในอีสานจริงหรือ?

เมื่อพูดถึงภาคอีสาน หลายคนอาจทราบดีว่าเป็นภูมิภาคที่มีปัญหาหนี้สินครัวเรือนสูงที่สุดในประเทศไทย โดยสาเหตุหลักมาจากรายได้ที่ไม่สอดคล้องกับรายจ่าย รวมถึงหนี้ที่เกิดจากการทำการเกษตรซึ่งต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนด้านสภาพอากาศ ส่งผลให้กว่า 61% ของครัวเรือนในภาคอีสานมีหนี้สิน อย่างไรก็ตาม หากลงลึกถึงข้อมูลในระดับจังหวัด จะพบว่า อุดรธานี มีสัดส่วนครัวเรือนที่เป็นหนี้ต่ำที่สุดในภาคอีสาน   อุดรธานี: หนี้สินลดลง สวนทางกับแนวโน้มภาคอีสาน ข้อมูลปี 2566 ระบุว่า 46% ของครัวเรือนในอุดรธานีมีหนี้สิน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในภาคอีสาน และยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่อยู่ที่ 48% ยิ่งไปกว่านั้น หากเปรียบเทียบกับปี 2565 จะพบว่าสัดส่วนดังกล่าวลดลงถึง 22% ซึ่งสะท้อนถึงการปรับตัวเชิงบวกของครัวเรือนในจังหวัดนี้   เมื่อพิจารณา มูลค่าหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน พบว่าอยู่ที่ 105,266 บาท ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ยภาคอีสานที่อยู่ที่ 200,540 บาท วัตถุประสงค์หลักของการกู้ยืมในอุดรธานีคือเพื่อ อุปโภคบริโภค (มากกว่า 50%) รองลงมาคือเพื่อทำการเกษตร และประกอบธุรกิจ   หนี้สินครัวเรือนอุดรฯ: ต่ำทุกระดับรายได้ เมื่อเปรียบเทียบในทุกระดับรายได้ อุดรธานีมีสัดส่วนครัวเรือนที่เป็นหนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของระดับรายได้นั้นๆของภาคอีสาน โดยมีสัดส่วนครัวเรือนที่เป็นหนี้ต่อสัดส่วนครัวเรือนในกลุ่มรายได้นั้นๆ ดังต่อไปนี้ ครัวเรือนรายได้สูง: 42% (ค่าเฉลี่ยอีสาน 64%) มูลค่าหนี้สินเฉลี่ย 212,935 บาท/ครัวเรือน ครัวเรือนรายได้ปานกลาง: 47% (ค่าเฉลี่ยอีสาน 58%) มูลค่าหนี้สินเฉลี่ย 85,911 บาท/ครัวเรือน ครัวเรือนรายได้ต่ำ: 45% (ค่าเฉลี่ยอีสาน 65%) มูลค่าหนี้สินเฉลี่ย 57,005 บาท/ครัวเรือน   ภาระหนี้ต่ำ แม้รายจ่ายสูง แม้ว่าครัวเรือนในอุดรธานีจะมี สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้สูงถึง 83% แต่กลับมีมูลค่าหนี้สินต่อรายได้เพียง 5 เท่า ซึ่งต่ำที่สุดในภาคอีสาน และยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่อยู่ที่ 7 เท่า การที่ครัวเรือนอุดรธานีสามารถบริหารจัดการหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจสำหรับการแก้ไขปัญหาหนี้สินเรื้อรังในภูมิภาคนี้   บทเรียนจากอุดรธานี: แนวทางการพัฒนาแก้หนี้อีสาน การลดลงของหนี้สินครัวเรือนของอุดรธานีไม่เพียงสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการหนี้ของคนในพื้นที่ แต่ยังชี้ให้เห็นถึงแนวทางเชิงนโยบายที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในจังหวัดอื่น ๆ ของภาคอีสาน การสนับสนุนให้ครัวเรือนสามารถบริหารรายได้และรายจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างความมั่นคงด้านการเงินและลดภาระหนี้ที่ไม่จำเป็น จึงเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาหนี้สินในระยะยาว   อุดรธานีเป็นกรณีศึกษาที่สะท้อนให้เห็นว่า การจัดการหนี้สินที่ดีไม่เพียงช่วยลดภาระทางการเงินของครัวเรือน แต่ยังสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับจังหวัดและภูมิภาคอีกด้วย พามาเบิ่ง🤐 💸หนี้ครัวเรือนอีสานปี 2566 สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ ที่มา:  สำนักงานสถิติแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย หมายเหตุ: เป็นข้อมูลในปี 2566, ครัวเรือนรายได้ปานกลางหาจากค่าเฉลี่ยของครัวเรือนกลุ่มควินไทล์ที่ 2-4, ข้อมูลเชิงสถิติอาจมีความคลาดเคลื่อนจากค่าจริง

หาได้ไม่พอจ่าย เเถมเสี่ยงส่งต่อหนี้เป็นมรดก เผยเหตุปัจจัยฉุดกําลังซื้อคนอีสานตํ่าสุดในประเทศ

ภาคอีสานถือเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีประชากรมากที่สุดและมีการพึ่งพาเศรษฐกิจฐานรากเป็นหลัก ทั้งด้านการเกษตร การบริโภคภายในประเทศ ข้อมูลจากธนาคารเเห่งประเทศไทย เผยดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption Index : PCI) ของประเทศไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและอยู่เหนือระดับก่อนโควิด-19 แล้ว ขณะที่ การบริโภคภาคเอกชนของภูมิภาคค่อย ๆ ฟื้นตัวและยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนโควิด-19 โดยภาคอีสานฟื้นตัวช้ากว่าทุกภูมิภาค โดยการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 3 ในปี 2567 มีแนวโน้มหดตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า จากการใช้จ่ายสินค้า ประเภทกึ่งคงทนและคงทนที่มีแนวโน้มลดลง สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคเอกชน มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง    การบริโภคภาคเอกชนมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอีสาน เป็นตัวชี้ทิศทางการอุปโภคบริโภคหรือการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ภาคธุรกิจ และรวมถึงการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งแสดงถึงกำลังซื้อโดยรวมของภาคเอกชน  หากการบริโภคลดลงย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนก็เป็นอีกภาพสะท้อนหนึ่งที่เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าคนในพื้นที่นั้นมีเงินสําหรับการจับจ่ายใช้สอยมากเเค่ไหน ดังเช่นนั้นหากจะสํารวจหรือกล่าวถึงเหตุปัจจัยที่มีผลต่อกำลังซื้อคนอีสานในช่วงที่ผ่านมาและสร้างแรงกดดันต่อการบริโภคของคนอีสาน มีความสําคัญเเละจําเป็นที่ต้องคํานึงเเละพิจารณาถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของภาคอีสาน    รายได้   ทราบหรือไม่ว่ากว่า  58%  ของครัวเรือนในภาคอีสานนั้นอยู่ในภาคการเกษตร เเละมีโครงสร้างของกําลังเเรงงานเเละเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้อง โดยมีเเรงงานอยู่ในภาคเกษตรเกินครึ่งเเต่กลับสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เพียงเเค่  1 ใน 5 ของมูลค่าเศรษฐกิจในภูมิภาค  เเละทราบหรือไม่ว่าอาชีพเกษตกรกลับเป็นกลุ่มอาชีพที่มีคนอยากจนมากที่สุดหากใช้เส้นความยากจนเป็นเกณฆ์โดย 10.62% ของเกษตกรเป็นคนยากจน ซึ่งสูงกว่า สัดส่วนเฉลี่ยของประเทศที่ 4.54% เป็นเท่าตัว   ปัญหาความยากจนดังกล่าวมีสาเหตุมาจากรายได้การเกษตรที่ต่ำ โดยเกษตกรมีรายได้เฉลี่ยจากการเกษตรเพียง 233.61 บาท/วัน ซึ่งตํ่ากว่าค่าเเรงขั้นตํ่าของจังหวัดที่มีค่าเเรงขั้นตํ่าที่สุด ซึ่งอยู่ที่ 332  บาท/วัน นอกจากรายได้น้อยการผลิตยังมีประสิทธิภาพต่ำ จากข้อมูลขององค์การเเรงงานระหว่างประเทศ ประสิทธิภาพการผลิตของเเรงงานภาคเกษตร(รายวัน) เกษตรกรไทยผลิตได้เพียง 8.74 ดอลลาร์ต่อวัน ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเเละเเปซิฟิกเป็นเท่าตัว เท่ากับว่าลงเเรงมากเเต่ได้ผลน้อย    โดยระดับรายได้ของเกษตกรที่น้อยเช่นนี้มิได้เกิดจากความขี้เกียจ หรือไร้สมรรถนะของเกษตรกรไปซะทีเดียว เเต่ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ราคาผลผลิตตํ่าเเละผันผวน เกษตกรกําหนดเองไม่ได้   เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรเน่าเสียได้ง่าย และเกษตรกรมีอำนาจต่อรองน้อยกว่าพ่อค้าคนกลาง เกษตรกรจึงมักถูกบีบให้ขายผลผลิตในราคาต่ำ เกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนในการทำเกษตรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะในครัวเรือนที่ปลูกข้าวและมันสำปะหลัง ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่าต้นทุน การทําการเกษตรมีต้นทุนเเละความเสี่ยงสูง เช่น ด้านความเสี่ยงจากสภาพอากาศ โดยในภาคอีสานมีพื้นที่ชลประทานเพียงร้อยละ 7.8 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด  จึงต้องพึ่งพิงน้ำฝนเป็นหลักเมื่อสภาพภูมิอากาศแปรปรวนย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตและรายได้เกษตรกรที่จะนำไปใช้เพื่อการบริโภค  รายได้หลักที่มาจากเกษตรกรรมจึงมีความผันผวน ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศพึ่งพาฟ้าฝนเป็นหลัก ในช่วงก่อนโควิด-19 ขนาดเศรษฐกิจ (GRP) และรายได้ต่อหัวเฉลี่ย (GRP per capita) ของอีสานมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 3 และร้อยละ 4 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่รายได้ครัวเรือนเติบโตเพียงร้อยละ 1 ต่อปีเท่านั้น แสดงให้เห็นว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจอีสานส่งผ่านมาที่รายได้ครัวเรือนอีสานเพียงเล็กน้อย ทำให้ครัวเรือนอีสานในปัจจุบันมีรายได้สำหรับนำไปใช้จ่ายอย่างจำกัด สะท้อนจากรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยของอีสานที่ต่ำที่สุดในประเทศเพียง 181,231 บาทต่อครัวเรือนต่อปี อีกทั้งสัดส่วนครัวเรือนที่มีรายได้ตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยในปี 2566 ในภาคอีสานที่อยู่ที่ 67 %เเทบจะไม่เปลี่ยนเเปลงไปจากอดีตเมื่อ 10 ปีก่อน  และจำนวนคนฐานะยากจนที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนมากที่สุด ที่อีสานมีมากถึง 277,875 คน หรือร้อยละ …

หาได้ไม่พอจ่าย เเถมเสี่ยงส่งต่อหนี้เป็นมรดก เผยเหตุปัจจัยฉุดกําลังซื้อคนอีสานตํ่าสุดในประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🤐 💸หนี้ครัวเรือนอีสานปี 2566 สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ

พามาเบิ่งหนี้ครัวเรือนอีสานปี 2566 สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ..หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนปี 2566 มีการปรับเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อน Covid-19 (ปี 2562) โดยหนี้ครัวเรือนของภาคอีสานในปีนี้สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ ถึงแม้จะลดลงจากอันดับ 2 ในปี 2562 ก็ตาม แต่ก็ถือว่ามีการปรับเพิ่มขึ้นของหนี้สินครัวเรือน.วัตถุประสงค์ในการกู้ยืม 3 อันดับแรกอุปโภคบริโภค 43.9%ทำการเกษตร 25.3%เช่า/ซื้อบ้านและที่ดิน 21.3%.อาชีพที่มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงสุด 3 อันดับแรกลูกจ้างที่เป็นผู้จัดการ นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ 492,856 บาทผู้ถือครองทำการเกษตรที่เช่าที่ดิน 318,161 บาทผู้ประกอบธุรกิจของตนเอง 268,949 บาท.โดยภาคอีสานเป็นภาคที่มีจำนวนครัวเรือนที่มีหนี้สินสัดส่วนที่สูงสุดของประเทศ โดยมีสัดส่วนสูงถึง 60.8% และส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคกว่า 43.9% สะท้อนให้เห็นว่าคนอีสานมีกำลังใช้จ่ายที่จำกัด ทำให้ต้องมีการกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค.และเมื่อมาดูอาชีพที่มีการกู้ยืมหนี้สินสูงที่สุดของภาคอีสาน พบว่า ลูกจ้างที่เป็นผู้จัดการ นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ มีการกู้ยืมเฉลี่ยสูงถึง 492,856 บาท เนื่องจากกลุ่มอาชีพนี้เป็นกลุ่มที่ได้รายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดในทุกอาชีพ โดยมีรายได้เฉลี่ยกว่า 53,156 บาทต่อเดือน ซึ่งทำให้มีเครดิตที่ดีในการกู้ยืม จึงทำให้กลุ่มอาชีพนี้มีการกู้ยืมที่สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ.จึงสรุปได้ว่า หนี้สินครัวเรือนเฉลี่ยในปี 2566 นี้ มีการปรับเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงเศรษฐกิจอีสานที่ฟื้นตัวช้า รายได้ไม่พอรายจ่าย ทำให้ครัวเรือนต้องกู้ยืมเงินเพิ่มเติมเพื่อทดแทนรายได้ที่หายไป..อ้างอิงจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ.ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่https://linktr.ee/isan.insight.#ISANInsightandOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #หนี้ #หนี้ครัวเรือน #หนี้คนไทย #ดอกเบี้ย

ภาษีมูลค่าเพิ่มกับประเทศไทย ของแสลงคนไทย รายได้หลักรัฐบาล

“บนโลกนี้ไม่มีสิ่งใดแน่นอนนอกจากความตายและภาษี” – Benjamin Franklin, 1789 – จากส่วนหนึ่งของประโยค “Our new Constitution is now established, everything seems to promise it will be durable; but, in this world, nothing is certain except death and taxes.” ประโยคดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของจดหมายที่เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) เขียนถึงฌอง-บัปติสต์ เลอรัว (Jean-Baptiste Le Roy) ในปี ค.ศ. 1789 สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองเชิงปรัชญาเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของชีวิตและข้อเท็จจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในโลก ซึ่งก็คือ “ความตาย” และ “ภาษี” และยังคงสะท้อนถึงความจริงที่ยังคงเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน   แต่สำหรับกรณีประเทศไทยนั้นภาษีนั้นอาจจะเรียกได้ว่าเป็นของแสลงต่อกัน ที่หลายคนมีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีอย่างสุดความสามารถ ขณะที่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ทำตามระบบอย่างเคร่งครัดเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดและโดนเรียกภาษีย้อนหลังซึ่งถือเป็นฝันร้ายสำหรับใครหลายๆ คน   จากกรณีในช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมาที่มีการรายงานข่าวว่ารัฐบาลกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยเป็น 15% จากปัจจุบันที่มีการบังคับใช้อยู่ที่ 7% จึงทำให้เกิดข้อโต้แย้งและการตั้งคำถามว่าการที่คิดจะปรับภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นเท่าตัวนั้นเหมาะสมแล้วจริงๆหรือ? หากดูจากสถานการณ์ปัจจุบันของไทยนั้นควรจะทำหรือไม่? ซึ่งในทุกครั้งที่ไม่ว่ารัฐบาลไหนก็ตามมีการพูดถึงการปรับขึ้น หรือการไม่ต่อพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเกิดการตั้งคำถามทุกครั้งว่าเหมาะสมแล้วหรือยัง?   ทำไมภาษีจึงสำคัญ? แท้จริงแล้วไม่ใช่เพียงภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้นที่สำคัญ แต่ภาษีทุกตัวล้วนมีความสำคัญต่อประเทศทั้งหมด เพราะเงินภาษีที่ได้มากจากประชาชนนั้นจะเป็นแหล่งงบประมาณของรัฐบาลในปีงบประมาณต่อไป ซึ่งหากเงินภาษีที่เก็บมาได้นั้นไม่เพียงพอต่องบประมาณจะทำให้รัฐบาลต้องไปกู้เงินจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาเป็นงบประมาณของรัฐบาลในปีนั้นๆ หากดูสัดส่วนรายได้จากภาษีของไทยจะพบว่ารายได้หลักของรัฐบาลที่มีสัดส่วนมากที่สุด 5 อันดับแรก ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งมีสัดส่วนเฉลี่ย 25% ของรายได้ทั้งหมดต่อปี ภาษีเงินได้นิติบุคคล 20.8% ต่อปี ภาษีสรรพสามิต 18.6% ต่อปี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 11.3% ต่อปี และภาษีศุลกากร 7.5% ต่อปี ขณะที่รายได้จากแหล่งอื่น ๆ รวมกันคิดเป็น 16.7% ของรายได้ทั้งหมด จะเห็นได้ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มถือเป็นรายได้ที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล โดยมีสัดส่วนสูงสุดต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มได้ถึง 947,320 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงที่สุดตั้งแต่เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต สอดคล้องกับการเติบโตของรายได้ที่สามารถจัดเก็บได้ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มคาดว่าจะยังคงอยู่ที่ประมาณ 30% ของรายได้ทั้งหมด รูปที่ 1: สัดส่วนการจัดเก็บรายได้รัฐบาล ปีงบประมาณ 2533 – 2567 ที่มา: ส่วนนโยบายรายได้ …

ภาษีมูลค่าเพิ่มกับประเทศไทย ของแสลงคนไทย รายได้หลักรัฐบาล อ่านเพิ่มเติม »

ยโสธรเมืองพญาแถน แดนบั้งไฟ ผลักดันเทศกาลไทย ไปนานาชาติ

ยโสธร จังหวัดที่ถือได้ว่าได้กลายเป็น “ภาพจำแห่งวิถีชีวิตอีสาน” ในสายตาคนทั่วไป ซึ่งหากพูดถึงยโสธร หลายคนคงนึกถึงนากว้างใหญ่เขียวขจีและวัฒนธรรมอีสานดั้งเดิม ซึ่งได้ถูกสะท้อนออกมาจากภาพยนต์ไทยระดับตำนานอย่าง “แหยม ยโสธร” จนกลายเป็นภาพจำ โดยบทความนี้ อีสาน อินไซต์ สิพามาสำรวจถึง เศรษฐกิจ สังคม และประเด็นที่น่าสนใจว่า “บั้งไฟเมืองยโส” ถึงได้ดังไกลระดับนานาชาติจริงหรือ?   จังหวัดยโสธร เป็นจังหวัดเล็กๆอยู่ในอีสานตอนกลาง มีเนื้อที่ 4,161.664 ไร่ หรือ 2,601,040.0 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 17 ของภาค ประกอบด้วย 9 อำเภอ 78 ตำบล และ 885 หมู่บ้าน ซึ่งลักษณะพื้นที่ของจังหวัดจะมีลักษณะโดดเด่นคล้ายกับรูปพระจันทร์เสี้ยว โดยยโสธรมีอาณาเขตติดกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดร้อยเอ็ดและมุกดาหาร ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานี ทิศใต้ ติดกับจังหวัดศรีสะเกษ ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มารูปภาพ:https://www2.yasothon.go.th/general-information/   ด้านประชากร ในปี 2566 จังหวัดยโสธรมีประชากรประมาณ 528,878 คน ซึ่งประชากรในจังหวัดมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องทุกๆปี และมีประชากรผู้สูงอายุ 20% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งปัญหาด้านการลดลงของประชากรและสังคมผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับจังหวัดยโสธร ในด้านเศรษฐกิจ จังหวัดยโสธรมีมูลค่าผลิตมวลรวมจังหวัด (GPP) ปี 2565 เท่ากับ 32,468 ล้านบาท ซึ่งก็ถือว่ามีขนาดเศรษฐกิจที่ไม่ใหญ่มาก อยู่ที่อันดับ 16 ของภาค มีรายได้ต่อหัวของคนในจังหวัดเท่ากับ 72,523 บาท โดยมีมูลค่าและสัดส่วนภาคเศรษฐกิจหลักๆ ดังนี้ สาขาเกษตรกรรม 8,218 ล้านบาท (25%) สาขาการศึกษา 4,654 ล้านบาท (14%) สาขาการผลิตอุตสาหกรรม 4,381 ล้านบาท (13%) สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์และจักรยานยนต์ 3,588 ล้านบาท (11%)   จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจจังหวัดยโสธรพึ่งพาการทำการเกษตรเป็นหลัก โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรกว่า 1,824,765 ไร่ หรือประมาณ 70% ของพื้นที่จังหวัด โดยมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ซึ่งมีพื้นที่นาข้าวเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของพื้นที่จังหวัด โดยปี 2566 มีผลผลิตข้าวนาปีและนาปรังรวมกันกว่า 622,232 ตัน พืชเศรษฐกิจอื่นๆ ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน เป็นต้น ในด้านการเลี้ยงปศุสัตว์ในพื้นที่ยโสธร มีการเลี้ยง โคเนื้อ กระบือ สุกร ไก่ เป็ดและแพะ เป็นต้น โดยในปี 2565 …

ยโสธรเมืองพญาแถน แดนบั้งไฟ ผลักดันเทศกาลไทย ไปนานาชาติ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง อัตราการว่างงานของแต่ละประเทศใน CLMV

ปี 2024 ทั่วโลกจะมีคนว่างงานเพิ่มขึ้น 2 ล้านคน อัตราการว่างงานเพิ่มเป็น 5.2% จากการคาดการณ์เมื่อต้นปี 2024 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คาดว่าปีนี้ทั่วโลกจะมีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 2 ล้านคน อัตราการว่างงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.2% วันที่ 10 มกราคม 2024 รอยเตอร์ (Reuters) รายงานว่า องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เผยคาดการณ์ว่า อัตราการว่างงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.2% ในปีนี้ โดยสาเหตุหลักมาจากการว่างงานที่เพิ่มขึ้นในประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว รายงานนี้ยังบอกอีกว่า การจ้างงานจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับบนในช่วง 2 ปีข้างหน้า แต่การจ้างงานในประเทศรายได้น้อยและประเทศรายได้ปานกลางระดับล่างจะยังคงแข็งแกร่ง ISAN Insight and Outlook พามาเบิ่ง สถานะการณ์สรุป อัตราการว่างงานของแต่ละประเทศใน CLMV ในปี 2023 ที่ผ่านมา ประเทศไทย จำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ  : 40.8 ล้านคน จำนวนคนว่างงานในประเทศ        : 371,000 คน เปอร์เซ็นต์ของคนว่างงานคิดเป็น  : 0.91% ประเทศลาว จำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ   : 3.17 ล้านคน จำนวนคนว่างงานในประเทศ         : 38,040 คน เปอร์เซ็นต์ของคนว่างงานคิดเป็น   : 1.2% ประเทศพม่า จำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ   : 22.88 ล้านคน จำนวนคนว่างงานในประเทศ         : 664,000 คน เปอร์เซ็นต์ของคนว่างงานคิดเป็น   : 2.9 % ประเทศเวียดนาม จำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ   : 56.1 ล้านคน จำนวนคนว่างงานในประเทศ         : 900,000 คน เปอร์เซ็นต์ของคนว่างงานคิดเป็น   : 1.6% ประเทศกัมพูชา จำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ   : 9.17 ล้านคน จำนวนคนว่างงานในประเทศ         : 21,930 คน …

พามาเบิ่ง อัตราการว่างงานของแต่ละประเทศใน CLMV อ่านเพิ่มเติม »

พามาสำรวจ Top 3 โรคยอดฮิต พระภิกษุ-สามเณร แต่ละเขตสุขภาพอีสาน

. โรคร้ายเป็นปัญหาสุขภาพที่รบกวนหลายๆคนอยู่บ่อยครั้ง บ้างก็เกิดจากการดูแลสุขภาพไม่ดี เช่น อาหารการกิน พฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน รวมถึงพระภิษุ-สามเณร ด้วยเช่นกัน . วันนี้ทางอีสานอินไซต์จะขอพาทุกท่านมาดูโรคร้าย สาเหตุที่พระภิษุ-สามเณร ป่วยมากที่สุด 3 อันดับแรกในแต่ละเขตสุขภาพ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีข้อมูลดังนี้ . เขตสุขภาพที่ 7 มีจังหวัด ขอนแก่น, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ 1.เบาหวาน: ผู้ป่วย 2,414 รูป 2.ความผิดปกติของฟันและโครงสร้าง: ผู้ป่วย 2,298 รูป 3.ความดันโลหิตสูง: ผู้ป่วย 2,048 รูป   เขตสุขภาพที่ 8 มีจังหวัด บึงกาฬ, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, เลย, หนองคาย, สกลนคร และนครพนม 1.ความผิดปกติของฟันและโครงสร้าง: ผู้ป่วย 2,484 รูป 2.เบาหวาน: ผู้ป่วย 2,339 รูป 3.ความดันโลหิตสูง: ผู้ป่วย 2,156 รูป   เขตสุขภาพที่ 9 มีจังหวัด นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์ และชัยภูมิ 1.ความดันโลหิตสูงที่ไม่มีสาเหตุนำ: ผู้ป่วย 3,465 รูป 2.เบาหวาน: ผู้ป่วย 3,411 รูป 3.ความผิดปกติของฟันและโครงสร้าง: ผู้ป่วย 3,222 รูป   เขตสุขภาพที่ 10 มีจังหวัด ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, ยโสธร, อำนาจเจริญ และมุกดาหาร 1.ความผิดปกติของฟันและโครงสร้าง: ผู้ป่วย 2,135 รูป 2.เบาหวาน: ผู้ป่วย 1,756 รูป 3.ความดันโลหิตสูงที่ไม่มีสาเหตุนำ: ผู้ป่วย 1,620 รูป . หมายเหตุ: 1.เขตสุขภาพที่ 7 – 10 เป็นเขตสุขภาพของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2.จำนวนผู้ป่วยนับรวมเฉพาะ พระภิษุ-สามเณร ในเขตสุขภาพที่ 7 – 10 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้บันทึกไว้เท่านั้น ไม่ได้หมายถึงจำนวนพระภิษุ-สามเณร ทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   ที่มา: กระทรวงสาธารณสุข . . ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight #ISANInsightAndOutlook …

พามาสำรวจ Top 3 โรคยอดฮิต พระภิกษุ-สามเณร แต่ละเขตสุขภาพอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง สถานะการณ์เงินเฟ้อในลาวเป็นจังได๋แหน่

ISAN Insight สิพามาเบิ่ง สถานะการณ์เงินเฟ้อในลาวเป็นจังได๋แหน่   . อัตราเงินเฟ้อที่สูงสามารถสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศนั้นๆ กระจายไปสู่ภาคธุรกิจ รวมถึงผู้คนในประเทศ ทั้งในด้านของ การลดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความไม่แน่นอนทางการเงิน ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จนถึงกำลังซื้อที่ลดลงของผู้บริโภค จากราคาสินค้าที่สูงขึ้นและรายได้ตามไม่ทันเงินเฟ้อ อีกทั้งเงินเฟ้อที่สูงยังสามารถเป็นปัจจัยหนุนให้ค่าเงินในประเทศนั้นๆอ่อนค่าลงไปได้อีกด้วย    . อัตราเงินเฟ้อในลาวเคยสูงถึง 41.3%  ในเดือนกุมภาพันธุ์ปี 2566 อัตราเงินเฟ้อในลาวพุ่งสูงขึ้น จากวิกฤติโควิด 19 ซึ่งทำให้หนี้ต่างประเทศของลาวเพิ่มสูงขึ้นจากการกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ บวกกับหนี้ก่อนหน้าที่ลาวได้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานร่วมกับจีน ส่งผลให้หนี้ต่างประเทศของลาวมีสูงถึง 1.38 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเทียบเท่ากับ 108% ของ GDP ในปลายปี 2566 ทำให้เงินกีบอ่อนค่าลงและต้นทุนในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมีสูง ส่งผลต่อเนื่องไปยังราคาสินค้าภายในประเทศที่สูงขึ้นเช่นกัน   . การปรับตัวลงของอัตราเงินเฟ้อในลาว ข้อมูลล่าสุดของเดือนพฤศจิกายน ปี 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของงลาวมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ซึ่งข้อมูล ณ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ลาวมีอัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ 18.3% ซึ่งแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของลาวจะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูงและน่าเป็นกังวล   . การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศลาว (BOL) ภายในปี 2567 ธนาคารแห่งประเทศลาวได้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มี.ค.เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจาก 7.5% เป็น 8.5% ครั้งต่อมาเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.เพิ่มจาก 8.5% เป็น 10% และล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ส.ค. เพิ่มจาก 10% เป็น 10.5% และยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนถึงปัจจุบัน  ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลาวทยอยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง   ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ เศรษฐกิจลาว หนี้ต่างประเทศสูง 1.5 หมื่นล้าน USD กำหนดจ่ายปีละ 1.3 พันล้าน USD จีนเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่มากกว่า 50% ทุนสำรองที่มีเพียง 1.8 พันล้าน USD หนี้สาธารณะ 108% ของ GDP ผลกระทบจาก covid ลาวฟื้นตัวช้า สินค้าส่งออกมีน้อย และกระจุกตัวในสินค้าไม่กี่อย่าง ค่าเงินกีบอ่อนค่ารุนแรง คนในประเทศเลือกใช้เงินตราต่างประเทศ USD หยวน บาท ส่งผลให้เครื่องมือด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลใช้ได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร การพิมพ์เงิน QE ที่เป็นนโยบายการเงิน ช่วยให้เงินหมุนในระบบได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งยิ่งกระตุ้นการอ่อนค่าของเงินกีบเนื่องจากคนในประเทศไม่นิยมใช้ ( supply ลาวกีบเพิ่ม USD มีเท่าเดิม) จีนถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ดึงลาวเข้าสู่กับดักหนี้ จากโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน – ลาว …

พามาเบิ่ง สถานะการณ์เงินเฟ้อในลาวเป็นจังได๋แหน่ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง พื้นที่อำเภอเมืองทั้ง 20 จังหวัดของอีสาน “ใหญ่ส่ำได๋”

. ภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเรา ทุกท่านต่างทราบดีว่าเป็นภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทั้งด้านพื้นที่และจำนวนประชากร โดยอำเภอเมืองในแต่ละจังหวัดมักเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และการปกครอง การศึกษาเกี่ยวกับขนาดพื้นที่ของอำเภอเมืองในภาคอีสานจึงช่วยให้เราเข้าใจถึงความแตกต่างของศักยภาพในแต่ละจังหวัดได้ชัดเจนมากขึ้น   ทางอีสานอินไซต์จึงจะพาทุกท่านมาดูขนาดพื้นที่อำเภอเมืองใน 20 จังหวัดของภาคอีสานกันว่ามีพื้นที่เท่าไหร่กันบ้าง และหากพิจารณาถึงพื้นที่และศักยภาพของเศรษฐกิจพบว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างปฎิเสธไม่ได้ ตัวอย่างเช่น อำเภอเมืองของจังหวัดสกลนครมีพื้นที่กว้างขวางถึง 1,496 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 16% ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ทำให้อำเภอนี้สามารถการพัฒนาทั้งในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมได้ด้วย ในขณะที่อำเภอเมืองของจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีพื้นที่เพียง 558 ตารางกิโลเมตร หรือ 10% ของพื้นที่จังหวัด อาจมีความเหมาะสมสำหรับการพัฒนาชุมชนเมืองและบริการด้านการศึกษา   อีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือ จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเมืองมีพื้นที่ 853 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 5% ของทั้งจังหวัด ซึ่งสะท้อนถึงความหนาแน่นในพื้นที่ชุมชนและความพร้อมด้านเศรษฐกิจ ส่วนอำเภอเมืองของจังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่เพียง 406 ตารางกิโลเมตร หรือ 3% ของจังหวัด แม้จะเล็กกว่า แต่ยังมีศักยภาพในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงเกษตรและการท่องเที่ยว   ฉนั้นในการศึกษาขนาดพื้นที่ของอำเภอเมืองใน 20 จังหวัดของภาคอีสานจะช่วยให้เห็นถึงความแตกต่างและเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ข้อมูลนี้ไม่เพียงสะท้อนถึงศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ที่สำคัญคือยังชี้ให้เห็นโอกาสในการวางแผนและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในแต่ละจังหวัดอีกด้วย . อ้างอิงจาก: กระทรวงพลังงาน . ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ขนาดอำเภอ #ขนาดอำเภออีสาน #อำเภอเมือง #อำเภอในอีสาน

พามาเบิ่ง ย้อนรอยข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนไทย – กัมพูชา

ISAN Insight สิพามาย้อนเบิ่ง เหตุการข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนไทย – กัมพูชา เป็นมาจังได๋   . ไทย กับกัมพูชานับว่าเป็นเพื่อนบ้านที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในภาคอีสาน ที่มีพื้นที่พรมแดนติดกับประเทศกัมพูชา ทำให้คนในพื้นที่ชายแดนในภาคอีสานมีการใช้วัฒนธรรมบางส่วนร่วมกันกับกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็น ด้านประเพณี ศาสนา รวมถึงสถาปัตยกรรม แต่ยุคสมัยล่าอาณานิคม ไทยได้สูญเสียดินแดนบางส่วนในกัมพูชา ณ ปัจจุบันให้กับฝรั่งเศสไป ทำให้เกิดการปิดกั้นด้านการติดต่อระหว่างประเทศของคนในพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็นเวลากว่า 90 ปีที่กัมพูชาอยู่ภายใต้ฝรั่งเศส   . ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กัมพูชาได้ประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส และได้ยึดเอาเส้นแบ่งเขตแดนที่เคยอยู่ในสนธิสัญญาสยาม – ฝรั่งเศสเป็นหมุดในการขีดเส้นเขตแดนประเทศโดยใช้เส้นสันปันน้ำที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้น ซึ่งในบางกรณีไทยไม่ได้ยอมรับแผนที่เหล่านั้นอย่างเป็นทางการ ทำให้ในแถบชายแดนบางพื้นที่กลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่ต้องมีการเจรจาตกลงกัน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ    . ข้อพิพาทคดีปราสาทพระวิหารที่ถูกตัดสินไปเมื่อปี พ.ศ.2505  โดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เริ่มจากมีบทความในปี พ.ศ.2501 ที่พาดพิงจากกัมพูชาถึงการใช้กำลังทหารเข้ายึดปราสาทเขาพระวิหารโดยไทย และสื่อวิทยุจากฝั่งกัมพูชาก็พยายามผลักดันเรื่องนี้จนเกิดกระแส การทวงคืนปราสาทพระวิหารจากไทย แม้ว่าจะยังไม่รุนแรงมากนัก แต่เนื่องจากอาชญกรรมในแถบชายแดนที่เกิดขึ้น ทำให้รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้เสนอให้มีการดำเนินการตรวจสอบเส้นเขตแดน แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลกัมพูชา ทำให้ความสัมพันธ์เริ่มทรุดลงอย่างรวดเร็ว    ต่อมารัฐบาลของไทยได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่จังหวัดที่ติดกับกัมพูชา อีกทั้งยังมีการเดินขบวนของคนไทยเพื่อประท้วงกัมพูชาในการอ้างกรรมสิทธิเหนือเขาพระวิหาร และมีการโจมตีโต้ตอบกันระหว่างสื่ออยู่เรื่อยๆ นำไปสู่การตัดสัมพันธ์ทางการทูตและฟ้องร้องต่อศาลโลกในที่สุด   ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินคดีของเขาพระวิหารด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 และยกให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาในที่สุด เนื่องจากในอดีตไทยเคยพบว่ามีปัญหาพื้นที่ทับซ้อนนี้อยู่แล้ว แต่ยังคงใช้แผนที่ที่แสดงว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาอยู่ และพิจารณาว่ารัฐบาลไทยในขณะนั้นได้ยอมรับว่า ฝรั่งเศส มีอำนาจอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นเวลายาวนานถึง 50 ปีมาแล้ว จึงทำให้เป็นการยอมรับไปโดยปริยาย   . กรณีพิพาทพรมแดนไทย – กัมพูชา พ.ศ.2554 นับเป็นการพิพาทระหว่างประเทศที่ค่อนข้างรุนแรงระหว่างไทยและกัมพูชา เนื่องจากเกิดการปะทะกันทางกำลังทหารระหว่าง 2 ประเทศ และหลายพื้นที่ชายแดนในอีสานใต้ได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติสงคราม อีกทั้งยังมีทหารและพลเรือนเสียชีวิตหลายราย    เหตุการณ์ความขัดแย้งเริ่มต้นจากการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของทางกัมพูชา ซึ่งได้ขีดเส้นล้ำเข้ามายังพื้นที่ทับซ้อนที่บริเวณพื้นที่รอบๆปราสาท ซึ่งทางไทยได้ออกมาโต้แย้งและเกิดการชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบด้านการแบ่งเขตแดนอีกครั้ง และทางกัมพูชาจึงได้เปลี่ยนแผนที่แบ่งเขตแดนใหม่ซึ่งจดทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้นโดยไม่ล้ำเข้ามาในพื้นที่ของไทย โดยที่ทางสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้มีการพิจารณาเห็นชอบแล้ว   ต่อมาได้มีการเดินประท้วงจากฝั่งไทยเนื่องจากไม่ได้มีการเปิดเผยแผนที่ให้ประชาชนรับรู้ในกรณีข้อพิพาทปราสาทพระวิหาร และได้รวบรวมรายชื่อเพื่อคัดค้านการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของทางกัมพูชา แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการขึ้นทะเบียนไว้ได้ ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์และการตั้งข้อสงสัยของการตัดสินมากมายจากประชาชนชาวไทย ลุกลามไปจนถึงการปะทะกันทางกำลังทหารของทั้ง 2 ประเทศครั้งแรกภายในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552 อีกทั้งยังเกิดเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงหลายต่อหลายครั้งและเกิดการปะทะกันในที่ชุมนุมจนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บไปจำนวนหนึ่ง    เหตุการณ์ปะทะกันด้วยกำลังทหารในพื้นที่ชายแดนลากยาวไปจนกระทั่งปี 2554 ที่กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 และยื่นคำร้องต่อศาลเดียวกันเพื่อขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเพื่อรักษาสิทธิของกัมพูชาอย่างเร่งด่วน ซึ่งปัจจุบันคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างกระบวนพิจารณาของศาล   . พื้นที่ทับซ้อนในแถบอีสานใต้ ณ ปัจจุบัน ปัจจุบันพื้นที่ในแถบชายแดนไทย – กัมพูชาในจังหวัด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมภ์ยังคงมีพื้นที่ทับซ้อนที่ไม่ได้มีเส้นแบ่งเขตแดนที่ชัดเจนอยู่ ซึ่งได้มีการสำรวจและกำกับดูแลจากหลายหน่วยงานของภาครัฐอยู่เรื่อยๆ อีกทั้งชาวบ้านในแถบชายแดนก็ยังมีการใช้พื้นที่ร่วมกัน ทั้งในการทำเกษตรกรรมรวมไปถึงการค้าชายแดน   . พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล และความกังวลของคนไทยในเรื่องเกาะกูด การขีดเส้นแบ่งทางทะเลนับว่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่หลายๆประเทศต้องเผชิญคล้ายๆกัน เนื่องจากความต้องการในการใช้ทรัพยากรที่อยู่ใต้ทะเล …

พามาเบิ่ง ย้อนรอยข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนไทย – กัมพูชา อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top