บริษัทที่เสียภาษีนิติบุคคลในไทยมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัทและกำไรสุทธิ โดยทั่วไปแล้วมี 2 อัตราหลักๆ คือ
- อัตราสำหรับ SME: หากบริษัทมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการตลอดทั้งปีไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้รับอัตราภาษีพิเศษสำหรับ SME โดยมีรายละเอียดดังนี้
- กำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก: ยกเว้นภาษี
- กำไรสุทธิ 300,001 – 3,000,000 บาท: 15%
- กำไรสุทธิมากกว่า 3,000,000 บาท: 20%
- อัตราทั่วไป: บริษัทที่ไม่เข้าข่าย SME จะเสียภาษีในอัตราคงที่ 20% ของกำไรสุทธิตั้งแต่บาทแรก
โดยภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จัดเก็บในปีงบประมาณ 2567 มีมูลค่าประมาณ 780,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้อันดับ 2 ของประเทศไทย รองจากภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ที่มีมูลค่าประมาณ 950,000 ล้านบาท
และจาก 20 บริษัทยักษ์ใหญ่ในอีสาน ที่เสียภาษีมากที่สุดบ่งบอกถึง ธุรกิจมีกำไรมาก และมีศักยภาพทางธุรกิจ เพราะแม้จะหักลดหย่อนภาษีแล้ว ก็ยังต้องจ่ายภาษี
จุดสังเกตของบริษัทที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล
บริษัทที่เรารู้จักรอบตัว จะทำบัญชีแบบไหนกันระหว่าง
- มี 2 บัญชี ยัดค่าใช้จ่ายตัวเองเข้าไปในค่าใช้จ่ายในบริษัทเยอะๆ ให้กำไรบางๆ บริษัทจะได้เสียภาษีน้อยๆ
- มีบัญชีเดียว ตรงไปตรงมา และยินดีเสียภาษีตามที่บริษัทกำไรจริง
แล้วคุณคิดว่า กิจการส่วนใหญ่เป็นแบบไหน?
ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือภาษีเงินได้นิติบุคคลที่รัฐเก็บได้ตอนนี้ มักจะเก็บได้จากบริษัทใหญ่ มากกว่าบริษัทขนาดเล็ก โดยเฉพาะบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น ต้องมีการทำบัญชีเดียว และชี้แจงบัญชีอย่างตรงไปตรงมาต่อตลาดทุน และนักลงทุน ซึ่งใน 20 อันดับมีอยู่ 3 บริษัท ที่เป็นบริษัท มหาชน (บมจ.) ได้แก่ บมจ.สยามโกลบอลเฮ้าส์, บมจ.ดูโฮม, บมจ.นอร์ทอีส รับเบอร์, บมจ.โรงพยาบาลราชพฤกษ์, และ บมจ.พี.ซี.เอส. แมชีน กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด
ซึ่ง 20 อันดับที่กล่าวมานั้นจะพบว่า เป็นบริษัทที่อยู่ในภาคการค้า 4 บริษัท ได้แก่ โกลบอลเฮ้าส์, ดูโฮม ที่ค้าวัสดุก่อสร้าง, บจก.โตโยต้าดีเยี่ยม ที่เป็นตัวแทนค้ารถยนต์ และ บจก.ยิ่งยง มินิมาร์ท ที่อยู่ในธุรกิจค้าปลีก และยังเป็นผู้ถือสิทธิ์แฟรนไชส์ 7-11 ใน สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และ อุบลราชธานี
ส่วนอีก 15 บริษัท เป็นธุรกิจในภาคการผลิตหรือแปรรูป ทั้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น การแปรรูปผลผลิต มันสำปะหลัง, อ้อย, ยางพารา รวมไปถึงการผลิตแปรรูปอาหารและขนมขบเคี้ยว และสุดท้ายคือผู้ผลิตวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงบริษัทที่ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อตอบสนอง Supply chain ของการผลิตรถยนต์ นั่นเอง
และกลุ่มธุรกิจภาคบริการเพียง 1 เดียวใน 20 อันดับนี้ อย่าง บมจ.โรงพยาบาลราชพฤกษ์ ที่ประกอบธุรกิจ โรงพยาบาลเอกชน ที่ให้บริการด้านสุขภาพและสาธารณสุข
โดยสรุปแล้ว ถ้าบริษัทนิติบุคคลเสียภาษีเยอะ อาจบ่งชี้ถึงสิ่งต่างๆ ได้ดังนี้
- มีกำไรสุทธิมาก: ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิของบริษัท ดังนั้นการเสียภาษีมากหมายความว่าบริษัทมีกำไรมาก ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ
- มีการบริหารจัดการที่ดี: บริษัทที่เสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นผลมาจากการบริหารจัดการที่ดี
- มีโอกาสเติบโต: บริษัทที่ทำกำไรได้มาก มีศักยภาพในการขยายธุรกิจ เพิ่มการลงทุน หรือจ้างงานเพิ่ม ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ดังนั้น หากบริษัทมีผลประกอบการที่ดี มีการจ่ายภาษีอย่างถูกต้อง ย่อมส่งผลให้เกิดผลดีต่อสังคมส่วนร่วมทั้งในแง่เป็นรายได้ของประเทศในการนำมาพัฒนาประเทศ สามารถสร้างงานและจ้างงานคนมากขึ้น รวมถึงยังเป็นอีก 1 ฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนั่นเอง
อ้างอิงจาก
- เว็บไซต์ของบริษัท
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- ส่วนบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศกระทรวงการคลัง
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight
#ISANInsightandOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ธุรกิจแดนอีสาน #ธุรกิจภูธรแดนอีสาน #ธุรกิจอีสาน #ธุรกิจในอีสาน