ชวนมาฮู้จัก ไดโนเสาร์ที่พบในภาคอีสาน
“ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” (Phuwiangosaurus sirandhornae) เป็นไดโนเสาร์กินพืช อยู่ในกลุ่มซอโรพอด (Sauropod) คอยาว หางยาว มีขนาดใหญ่ เดิน 4 ขา ยาวประมาณ 15 – 20 เมตร จะพบในยุคครีเทเชียสตอนต้น (Early Cretaceous) หรือประมาณ 130 ล้านปีก่อน โดยจังหวัดที่พบได้ คือ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สกลนคร “สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส” (Siamotyrannus isanensis) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ มีขนาดใหญ่ อยู่ในกลุ่มเทอโรพอด (Theropod) เดิน 2 ขา มีขาหลังขนาดใหญและแข็งแรง ลำตัวยาวประมาณ 6.5 เมตร พบในยุคครีเทเชียสตอนต้น (Early Cretaceous) หรือประมาณ 130 ล้านปีก่อน โดยจังหวัดที่พบได้ คือ ขอนแก่น “สยามโมซอรัส สุธีธรนิ” (Siamosaurus suteethorni) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ มีขนาดใหญ่ อยู่ในกลุ่มเทอโรพอด (Theropod) วงศ์สไปโนซอริด เดิน 2 เท้า ความยาวประมาณ 7 เมตร ฟันมีลักษณะเป็นทรงกรวยคล้ายฟันจระเข้ พบในยุคครีเทเชียสตอนต้น (Early Cretaceous) หรือประมาณ 130 ล้านปีก่อน โดยจังหวัดที่พบได้ คือ ขอนแก่น “อิสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ” (Isanosaurus attavipachi) เป็นไดโนเสาร์กินพืช อยู่ในกลุ่มซอโรพอด (Theropod) ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมาในไทย คอและหางยาว เดิน 4 ขา มีความยาวประมาณ 12 – 16 เมตร พบในยุคไทรแอสสิกตอนปลาย (Late Triassic) หรือประมาณ 210 ล้านปีก่อน โดยจังหวัดที่พบได้ คือ ชัยภูมิ “กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส” (Kinnareemimus khonkaenensis) เป็นไดโนเสาร์อยู่ในกลุ่มเทอโรพอด (Theropod) เดิน 2 ขา คล้ายนกกระจอกเทศ วิ่งเร็ว ปราดเปรียว กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ความยาวประมาณ 1 – 2 เมตร พบในยุคครีเทเชียสตอนต้น (Early Cretaceous) หรือประมาณ 130 ล้านปีก่อน โดยจังหวัดที่พบได้ คือ […]
ชวนมาฮู้จัก ไดโนเสาร์ที่พบในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »