พามาเบิ่ง .. “อีสาน” อันดับที่ 1 ปลูกข้าวนาปีมากที่สุดในไทยกว่า 38 ล้านไร่

การปลูกข้าวจะเน้นพึ่งน้ำฝน มีช่วงเวลาเพาะปลูกสำคัญตั้งแต่ช่วงเข้าหน้าฝน (เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมของทุกปี) และเก็บเกี่ยวในช่วงปลายปี (เดือนตุลาคม) เรียกว่า “ข้าวนาปี” มีผลผลิตทั้งข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียว ซึ่งมีปริมาณรวมกันกว่า 81% ของผลผลิตข้าวรวมทั้งประเทศในแต่ละรอบปีการเพาะปลูก ส่วนที่เหลือประมาณ 19% เป็น “ข้าวนาปรัง” .

ในปีเพาะปลูก 2566/67 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปี อยู่ที่ 62 ล้านไร่ และมีผลผลิต 27 ล้านตัน

แล้วรู้หรือไหมว่าภาคอีสานมีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวนาปีมากแค่ไหน?

 

โดยในภาคอีสานของเรามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีมากกว่า 38 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 61.5% ของขนาดพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งหมดในประเทศ และมีผลผลิตมากกว่า 13 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 49.7% ของผลผลิตปลูกข้าวนาปีทั้งหมดในประเทศ ซึ่งทั้งพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวนาปีในอีสานมากเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ

 

หากลงไปดูข้อมูลรายจังหวัดจะเห็นได้ว่า พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่จังหวัดในอีสานตอนล่าง อย่างจังหวัดอุบลราชธานี นครราชสีมา สุรินทร์ และศรีสะเกษ ซึ่งเพียง 4 จังหวัดนี้ก็มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีมากกว่า 13.8 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 36% เลยทีเดียว

 

ทำไมถึงการปลูกข้าวนาปีส่วนใหญ่ถึงปลูกมากในอีสานตอนล่าง?

 

อีสานตอนล่างที่ลักษณะพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งเป็นบริเวณที่เหมาะแก่การปลูกข้าว ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวของอีสานตอนล่างมากกว่าพื้นที่อื่นๆ และยังเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมดอกมะลิ 105 และกับข้าว กข.15 ที่มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ อีกทั้งการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักของชาวนาในพื้นที่

 

 

แนวโน้มอุตสาหกรรมข้าวจะเป็นอย่างไร?

 

ในปี 2568-2569 ผลผลิตมีทิศทางขยายตัวจากการเข้าสู่ลานีญาในไตรมาส 3 ของปี 2567 ทำให้ไทยได้อานิสงส์จากปริมาณฝนที่มากขึ้น ประกอบกับแรงจูงใจด้านราคาทำให้เกษตรกรหันกลับมาเพาะปลูก อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตยังเผชิญต้นทุนที่ทรงตัวสูง

 

ด้านความต้องการบริโภคข้าวในประเทศปี 2567-2569 มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นตามการฟื้นตัวของธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม และอุตสาหกรรมอาหาร

 

ด้านการส่งออกอาจเข้าสู่ภาวะหดตัวในปี 2568-2569 จากแนวโน้มการกลับมาส่งออกของอินเดีย ท่ามกลางอุปทานของโลกที่เพิ่มขึ้นจากคู่แข่งที่ได้เปรียบด้านราคา ขณะที่ราคาข้าวของไทยยังมีแนวโน้มทรงตัวสูงในปี 2567 ก่อนจะเริ่มปรับลดลงตามผลผลิตที่ทยอยออกมากขึ้นในช่วงปี 2568-2569

 

 

อ้างอิงจาก: 

– สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

– วิจัยกรุงศรี

– กรมวิชาการเกษตร

 

ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่

https://linktr.ee/isan.insight

 

#ISANInsightandOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ข้าวนาปี #อุตสาหกรรมข้าว #อุตสาหกรรมข้าวในอีสาน #ข้าวนาปีในอีสาน #ข้าว

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top