เครื่องวัดระดับน้ำในนาข้าว ลดการใช้น้ำ 30-50% รองรับชาวนายุคใหม่

สภาพอากาศที่ผันผวนจนเกิดความไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม หรือน้ำแล้ง ล้วนมีผลกระทบต่อการบริหารต้นทุนน้ำของกรมชลประทาน และผลผลิตของเกษตรกร
.
ล่าสุด กรมชลประทานได้ร่วมมือกับกรมการข้าว และกรมพัฒนาที่ดิน (พด.) วิจัยและพัฒนาเครื่องวัดระดับน้ำในนาข้าว เพื่อช่วยเหลือชาวนา โดยใช้แปลงนาของกรมการข้าวเป็นโมเดล
.
ผลปรากฏว่า ตัวช่วยวัดระดับน้ำในนาข้าวสามารถเปลี่ยนการทำนาแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้น้ำประมาณ 1,200-1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ เป็นการทำนาแบบแม่นยำ ซึ่งประหยัดน้ำได้ 30-50%
.
ทั้งนี้ การใช้เครื่องวัดระดับน้ำในนาข้าวจะเหมาะกับการทำนาแบบรักษาระดับความชื้นของดิน (Saturated Soil) ซึ่งเป็นการให้น้ำแบบไม่มีน้ำท่วมขัง
.
หลักคือ หลังจากที่หว่านข้าวไปแล้ว 10 วัน จะเริ่มให้น้ำจนดินชุ่ม และให้อีกทีเมื่อดินเริ่มแห้ง โดยรักษาความชื้นแบบให้ดินอิ่มตัวเท่านั้น ทำแบบนี้ตลอดฤดูปลูก จนก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 10 วัน จึงระบายน้ำออกจากแปลง
.
การพัฒนาครั้งนี้ นอกจากมุ่งหวังให้เกิดการทำนาได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องการรองรับแรงงานคืนถิ่นที่สนใจทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
.
นายชวกร ริ้วตระกูลไพบูลย์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาวิศกรรมการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน กล่าวว่า
.
“ไทยใช้น้ำทำนาในฤดูแล้งประมาณ 11,700 ล้านลบ.ม. ส่วนทำนาในฤดูฝนประมาณ 21,800 ล้านลบ.ม. เนื่องจากฤดูฝนจะมีพื้นที่ปลูกมากกว่าฤดูแล้งเกือบเท่าตัว หากใช้เครื่องมือวัดระดับน้ำในนาข้าว เพื่อทำนารักษาระดับความชื้นของดิน จะสามารถคาดการณ์ได้แม่นยำ ประหยัดน้ำในการทำนาได้มาก”
.
อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยครั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลาอีกไม่เกิน 1 ปีครึ่ง จึงสำเร็จและพร้อมใช้งานในที่นาของชาวนาได้จริง
.
.
ที่มา: มติชนออนไลน์
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เครื่องวัดระดับน้ำในนาข้าว

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top