ภาคอีสานนับว่าเป็นภูมิภาคที่มีเขื่อนขนาดใหญ่จำนวนมากที่สุดในประเทศ ด้วยพื้นที่ทำการเกษตรที่มีค่อนข้างมาก แต่มักประสบปัญหาคุณภาพดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ และยังต้องเผชิญกับฝนทิ้งช่วง ต้นฤดูกาลฝนตกน้อยทำให้ขาดแคลนน้ำ แต่ปลายฤดูฝนกลับตกหนักทำให้เกิดอุทกภัย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูก ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ส่งผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวอีสานเรื่อยมา
.
มีหลายโครงการที่ทำการก่อสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ซึ่งในปัจจุบันภาคอีสานมีเขื่อนทั้งหมด 12 เขื่อน มากที่สุดในประเทศ โดยเขื่อนที่สามารถกักเก็บน้ำได้มากที่สุด 7 อันดับแรกคือ
.
อันดับ 1 เขื่อนอุบลรัตน์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เขื่อนพองหนีบ ตั้งอยู่ที่ ต.เขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรกในภาคอีสาน และเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของประเทศไทย ที่ถูกเปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี 2509 มีประโยชน์มากมายหลายด้าน ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้า การเกษตร การประมง การป้องกันอุทกภัย การคมนาคม ตลอดจนเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ
.
ปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 699 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 2,431 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 1,700 ล้านลูกบาศก์เมตร
.
อันดับ 2 เขื่อนลำปาว ตั้งอยู่ที่ ต.ลำปาว อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เริ่มก่อสร้างในปี 2511 ช่วยบรรเทาอุทกภัยและใช้ประโยชน์ทางการเกษตร นอกจากนี้ยังเป็นเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และมีหาดดอกเกดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
.
ปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 648 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 1,980 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 1,300 ล้านลูกบาศก์เมตร
.
อันดับ 3 เขื่อนสิรินธร ตั้งอยู่ที่ ต.นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ให้ประโยชน์ทางด้านการชลประทาน การเกษตร ด้านการผลิตไฟฟ้า ทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต่างแวะเวียนเข้ามาชมความสวยงามของเขื่อน
.
ปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 1,237 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 1,966 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 700 ล้านลูกบาศก์เมตร
.
อันดับ 4 เขื่อนน้ำอูน ตั้งอยู่ที่ ต.แร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร สร้างเสร็จเมื่อปี 2517 ใช้เพื่อกักเก็บน้ำในการชลประทาน บรรยากาศรอบเขื่อนเหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ขณะนี้มีปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 221 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 520 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 290 ล้านลูกบาศก์เมตร
.
อันดับ 5 เขื่อนลำตะคอง ตั้งอยู่ที่ ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา สร้างเสร็จเมื่อปี 2512 ใช้ประโยชน์สำหรับการเพาะปลูก ใช้เพื่อการประปา อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอุทกภัย ขณะนี้มีปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 191 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 314 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 120 ล้านลูกบาศก์เมตร
.
อันดับ 6 เขื่อนลำแชะ ตั้งอยู่ที่ ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา สร้างขึ้นในปี 2537 เพื่อบรรเทาอุทกภัยบริเวณลุ่มน้ำมูล พร้อมทั้งพัฒนาเป็นพื้นที่ทำกินให้กับประชาชน ขณะนี้มีปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 153 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 275 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 120 ล้านลูกบาศก์เมตร
.
อันดับ 7 เขื่อนน้ำพุง ตั้งอยู่ที่ ต.โคกภู อ.ภูพาน จ.สกลนคร เป็นโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำที่ก่อสร้าง แล้วเสร็จเป็นแห่งแรกในภาคอีสาน สร้างเสร็จเมื่อปี 2508 เพื่ออำนวยประโยชน์ด้านการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ การป้องกันอุทกภัย การชลประทาน นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งด้วย ขณะนี้มีปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 55 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 165 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร
.
อ้างอิง
https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content…
https://thai.tourismthailand.org/Attraction/เขื่อนน้ำอูน
http://lproject.rid.go.th/…/128…/229-2015-06-22-09-52-21
.
อ้างอิงรูปภาพ
1. เขื่อนอุบลรัตน์ https://www.touronthai.com/article/2769
2. เขื่อนลำปาว https://kalasin.mots.go.th/news_view.php?nid=336
3. เขื่อนสิรินธร https://www.wongnai.com/attractions/326803Ha-เขื่อนสิรินธร
4. เขื่อนน้ำอูน http://mis-web.rid.go.th/reservoir/6
5. เขื่อนลำตะคอง https://mgronline.com/travel/detail/9630000111871
6. เขื่อนลำแชะ https://www.matichon.co.th/region/news_2268259
7. เขื่อนน้ำพุง https://fr-fr.facebook.com/mahatsachansakon/posts/3234652183270383/