อีสาน 11 ปีที่เปลี่ยนไป พาส่องเบิ่ง รายได้ต่อหัวแต่ละจังหวัด ใครคือ “ดาวรุ่ง” ใครยัง “ท้าทาย”
GPP per Capita หมายถึง ค่าเฉลี่ยที่แสดงมูลค่าการผลิตของจังหวัดต่าง ๆ เฉลี่ยต่อประชากร 1 คน มิใช่ตัวเลขที่แสดงระดับรายได้ที่ประชาชนได้รับ GPP หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด หมายถึง ผลรวมของมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Product) ของจังหวัดต่างๆ . และ GPP per Capita หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว หมายถึง ค่าเฉลี่ยที่แสดงมูลค่าการผลิตของจังหวัดต่าง ๆ เฉลี่ยต่อประชากร 1 คน . GPP per Capita จะเป็นรายได้คาดการณ์ที่คน 1 คนจะทำรายได้ให้จังหวัด ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่แสดงระดับรายได้ที่ประชาชนได้รับ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าจังหวัดที่มี GPP อยู่ในอันดับต้นๆของภาค กลับมี GPP per Capita ไม่ได้อยู่อันดับต้นๆตามอันดับของ GPP เลย . สาเหตุมาจากอะไร? อีสานอินไซต์จะพาไปเบิ่ง . . จังหวัดที่มี GPP สูงที่สุดอย่างนครราชสีมาและขอนแก่น เป็นเพียง 2 จังหวัดที่มีอันดับของมูลค่า GPP สัมพันธ์กับอันดับของ GPP per Capita ที่เป็นอันดับ 1 และ 2 เหมือนกัน ถึงแม้จะมีประชากรจำนวนมาก แต่ประชากรยังสามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดได้มาก เพราะ 2 จังหวัดนี้เน้นการทำอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้สูง แต่เมื่อสังเกตจังหวัดอื่นๆ เช่น อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ที่มีมูลค่า GPP อยู่ในอันดับต้นๆของภาค กลับมี GPP per Capita น้อยกว่าจังหวัดที่มีมูลค่า GPP ต่ำกว่า . สาเหตุหนึ่งเป็นผลมาจาก หลายจังหวัดสามารถสร้างมูลค่า GPP มาจากภาคเกษตรเป็นหลัก ซึ่งมีความไม่แน่นอนทั้งด้านปริมาณและราคาผลผลิต . ส่วนการผลิตภาคนอกเกษตรต่าง ๆ โดยเฉพาะการผลิตอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มาก จะมีสัดส่วนที่น้อย ทำให้ศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับจังหวัดโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ และก็จะมีจังหวัดที่มี GPP per Capita สูงเป็นอันดับต้นๆ เช่น เลย หนองคาย และนครพนม แต่มีขนาดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าจังหวัดอื่นๆ โดยเมื่อสังเกตจะพบว่าจังหวัดที่มี GPP per Capita สูง จะเป็นจังหวัดที่ติดกับชายแดน สามารถค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านได้ อีกทั้งยังมีเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เป็นตัวดึงดูดนักลงทุนและทำให้มูลค่าอุตสาหกรรมการผลิตหรือการค้าของจังหวัดมากพอ โดยการค้าผ่านชายแดนของไทยถือว่ามากเป็น 10% ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมด จึงเป็นสาเหตุให้จังหวัดสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ในจังหวัดจะมีจำนวนประชากรที่น้อยกว่าจังหวัดอื่นๆที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ . สรุปได้ว่า จังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ๆ ไม่จำเป็นที่ประชากรในพื้นที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับพื้นที่ได้มากตามไปด้วย … Continue reading อีสาน 11 ปีที่เปลี่ยนไป พาส่องเบิ่ง รายได้ต่อหัวแต่ละจังหวัด ใครคือ “ดาวรุ่ง” ใครยัง “ท้าทาย”
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed