ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามกำลังแซงหน้าประเทศไทย!
.
สาเหตุที่เวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ต้นทุนแรงงาน: เวียดนามมีต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่าไทย ทำให้สามารถผลิตข้าวในราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น
- เทคโนโลยีการเกษตร: รัฐบาลเวียดนามสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ในระดับที่สูงกว่าไทย (เฉลี่ยประมาณ 970 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ไทยประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่)
- ความยืดหยุ่นในการทำการค้า: เวียดนามมีความสามารถในการเจรจาข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ ซึ่งช่วยลดอุปสรรคทางภาษีและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
- การขยายตลาดใหม่: เวียดนามเน้นการขยายตลาดส่งออกข้าวไปยังประเทศในแอฟริกา, จีน, และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีความต้องการข้าวราคาประหยัดและข้าวที่มีคุณภาพหลากหลาย
ความต่างของการส่งออกข้าวระหว่างไทยกับเวียดนาม
เวียดนามส่งออกข้าวเกรดรองในปริมาณมาก ซึ่งมีราคาที่ต่ำกว่าและเป็นที่ต้องการของตลาดประเทศกำลังพัฒนา เช่น แอฟริกาและเอเชียใต้ ในขณะที่ไทยมุ่งเน้นการส่งออกข้าวหอมมะลิและข้าวเกรดพรีเมียมที่มีราคาสูง ทำให้เสียส่วนแบ่งตลาดข้าวทั่วไปให้กับเวียดนาม
ปี | ไทย(ล้านตัน) | เวียดนาม(ล้านตัน) |
2019 | 7.6 | 6.4 |
2020 | 5.7 | 6.2 |
2021 | 6.1 | 6.2 |
2022 | 7.7 | 7.1 |
2023 | 8.7 | 8.1 |
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2563-2566 ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปี 2566 เวียดนามสามารถส่งออกข้าวได้มากกว่าไทย
ขณะที่ตลาดสำคัญของข้าวหอมมะลิยังคงนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เช่น สหรัฐฯ แคนาดา ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คาดว่า หลังจากนี้ตลาดจะกลับเข้าสู่ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงอีกครั้ง เนื่องจากอินเดียได้ยกเลิกมาตรการจำกัดการส่งออก ทั้งการยกเลิกภาษีส่งออกและการกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำ ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกของอินเดียสามารถส่งออกได้โดยไม่มีข้อจำกัด ประกอบกับอินเดียยังมีอุปทานข้าวปริมาณมากและราคาค่อนข้างต่ำ
![🧑🌾](https://static.xx.fbcdn.net/images/emoji.php/v9/tda/1/16/1f9d1_200d_1f33e.png)
.
ที่มา
เว็ปไซต์: fftc.org,กระทรวงพาณิชย์,statista