ISAN Insight สิพามาเบิ่ง สถานะการณ์เงินเฟ้อในลาวเป็นจังได๋แหน่
.
อัตราเงินเฟ้อที่สูงสามารถสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศนั้นๆ กระจายไปสู่ภาคธุรกิจ รวมถึงผู้คนในประเทศ ทั้งในด้านของ การลดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความไม่แน่นอนทางการเงิน ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จนถึงกำลังซื้อที่ลดลงของผู้บริโภค จากราคาสินค้าที่สูงขึ้นและรายได้ตามไม่ทันเงินเฟ้อ อีกทั้งเงินเฟ้อที่สูงยังสามารถเป็นปัจจัยหนุนให้ค่าเงินในประเทศนั้นๆอ่อนค่าลงไปได้อีกด้วย
.
อัตราเงินเฟ้อในลาวเคยสูงถึง 41.3%
ในเดือนกุมภาพันธุ์ปี 2566 อัตราเงินเฟ้อในลาวพุ่งสูงขึ้น จากวิกฤติโควิด 19 ซึ่งทำให้หนี้ต่างประเทศของลาวเพิ่มสูงขึ้นจากการกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ บวกกับหนี้ก่อนหน้าที่ลาวได้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานร่วมกับจีน ส่งผลให้หนี้ต่างประเทศของลาวมีสูงถึง 1.38 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเทียบเท่ากับ 108% ของ GDP ในปลายปี 2566 ทำให้เงินกีบอ่อนค่าลงและต้นทุนในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมีสูง ส่งผลต่อเนื่องไปยังราคาสินค้าภายในประเทศที่สูงขึ้นเช่นกัน
.
การปรับตัวลงของอัตราเงินเฟ้อในลาว
ข้อมูลล่าสุดของเดือนพฤศจิกายน ปี 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของงลาวมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ซึ่งข้อมูล ณ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ลาวมีอัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ 18.3% ซึ่งแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของลาวจะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูงและน่าเป็นกังวล
.
การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศลาว (BOL)
ภายในปี 2567 ธนาคารแห่งประเทศลาวได้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มี.ค.เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจาก 7.5% เป็น 8.5% ครั้งต่อมาเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.เพิ่มจาก 8.5% เป็น 10% และล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ส.ค. เพิ่มจาก 10% เป็น 10.5% และยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลาวทยอยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ เศรษฐกิจลาว
- หนี้ต่างประเทศสูง 1.5 หมื่นล้าน USD กำหนดจ่ายปีละ 1.3 พันล้าน USD จีนเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่มากกว่า 50%
- ทุนสำรองที่มีเพียง 1.8 พันล้าน USD
- หนี้สาธารณะ 108% ของ GDP
- ผลกระทบจาก covid ลาวฟื้นตัวช้า สินค้าส่งออกมีน้อย และกระจุกตัวในสินค้าไม่กี่อย่าง
- ค่าเงินกีบอ่อนค่ารุนแรง คนในประเทศเลือกใช้เงินตราต่างประเทศ USD หยวน บาท
- ส่งผลให้เครื่องมือด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลใช้ได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
- การพิมพ์เงิน QE ที่เป็นนโยบายการเงิน ช่วยให้เงินหมุนในระบบได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งยิ่งกระตุ้นการอ่อนค่าของเงินกีบเนื่องจากคนในประเทศไม่นิยมใช้ ( supply ลาวกีบเพิ่ม USD มีเท่าเดิม)
- จีนถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ดึงลาวเข้าสู่กับดักหนี้ จากโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน – ลาว
- Debate บ้างก็ว่าลาวคุ้มแล้วและลงทุนน้อยเกินไปด้วยซ้ำ สำหรับ infrastructure
- เริ่ม 2016 รถไฟ 6 พันล้านจีนถือ 70 ลาว 30
- ตอนที่เริ่มโครงการมีหนี้อยู่ประมาณ 69% ของ GDP
- หนี้ที่เพิ่มขึ้นในปี 20 21 เกิดจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติ
แนวทาง
- เปลี่ยนระบบปริวรรตเงินตรา จาก crawling peg exchange rate system เป็น fix exchange rate system ที่เป็น currency on board
- การลดการพึ่งพาจีนให้น้อยลง
- การแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติ ให้เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มูลค่าสูงขึ้น เช่น แบตเตอรี่
- การกู้จากกองทุน Chiang Mai initiative multilateralization
ข้อเสนอจาก world bank
- การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มกลับไปที่ 10% และปฏิรูปภาษีสรรพสามิต เพิ่มการใช้จ่ายในฝั่งสวัสดิการสังคม
- การเจรจาหนี้ใหม่ และบริหารจัดการหนี้สาธารณะ
- การจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ และหนี้รัฐที่ทำร่วมกับเอกชน
- การดูแลเสถียรภาพทางการเงิน
- ส่งเสริมการส่งงออก
Additional information
- ลาวมีพื้นที่เยอะ แต่มีประชากรน้อย ทำให้ประชากรต่อพทน้อย
- โครงสร้างเศรษฐกิจลาวเป็น natural resource base
ผลกระทบต่อไทย
- เราเป็นหนึ่งในเจ้าหนี้ ลาว การเจรจาเรื่องการชำระหนี้จำเป็นต้องมี
- เปลี่ยนมุมมองที่เคยดูถูกดูแคลนประเทศเพื่อนบ้าน เป็นมุมมองที่ดีที่สามารถทำร่วมกันได้ในอนาคต ทั้งด้านความร่วมมือทางการค้า การลงทุนที่ดีขึ้น หากลาวประสบความสำเร็จ
ผลกระทบในภาคอีสาน
- จากสินค้าจีนที่เพิ่มขึ้นตอนโครงการเสร็จ ดูจากมูลค่าการนำเข้าส่งออกในด่านอีสานที่เปลี่ยนแปลงไป
- การท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป
- การเชื่อมต่อทางการค้าของไทยกับประเทศ จีน ยุโรป รัสเซีย สามารถทำได้หากเกิดการพัฒนารถไฟจากจังหวัดหนองคายไปเวียงจันทร์ ที่ทำให้การส่งสินค้าสามารถทำได้ง่ายผ่านเส้นทางรถไฟจีน โดยสร้างแค่ 20 กม
อิทธิพลของจีน
- ต้องยอมรับว่าอิทธิพลจากจีนมีการขยายตัวมาในภูมิภาคนี้จริงๆ และหลายประเทศเลือกข้างจีนไปแล้ว
- ต้องมีการสมดุลด้านความสัมพัธ์ระหว่างประเทศให้ดี เนื่องจากทั้งจีน และสหรัฐฯต่างก็เป็นคู่ค้าสำคัญของไทยทั้งนั้น
ผลกระทบจากเงินเฟ้อลาวต่ออีสาน
- Cost Benefit
- ดูการวิเคราะห์ของข้อได้เปรียบเสียเปรียบจากแหล่งข่าว
- วิเคราะห์ผ่านข้อมูล
ที่มา: Bank of Lao P.D.R., KResearch