ไทยครองอันดับ 2 ประเทศที่มีแนวโน้มการผูกขาดในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุด จากทุกประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)

 

ฮู้บ่ว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มการผูกขาดในตลาดแอลกอฮอล์มากที่สุดเป็นอันดับ 2 จากประเทศทั้งหมดในแถบลุ่มแม่น้ำโขง

 

.

การกระจุกตัวของผู้เล่นในตลาดที่สูง สามารถบ่งบอกถึงแนวโน้มด้านการแข่งขันในตลาดที่น้อย และบ่งบอกถึงอำนาจของบริษัทเจ้าใหญ่ที่มีต่อตลาด อีกทั้งความเข้มข้นของแข่งขันในตลาดที่น้อยสามารถส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในด้านคุณภาพ ความหลากหลาย และราคาของสินค้านั้นๆ 

 

.

โดยค่าดัชนีการกระจุกตัวของตลาด(HHI) สามารถบ่งบอกถึงแนวโน้มของการผุกขาดและความเข้มข้นของการแข่งขันภายในตลาดนั้นๆได้ ค่า HHI ที่สูงกว่า 2,500 หมายความว่าตลาดมีการแข่งขันน้อยและมีการกระจุกตัวของผู้เล่นสูง ค่า HHI อยู่ระหว่าง 2500 ถึง 1500 หมายความว่าตลาดมีการแข่งขันและการกระจุกตัวปานกลาง และค่า HHI ที่น้อยกว่า 1500 หมายความว่าตลาดมีความเข้มข้นในการแข่งขันสูง มีการกระจุกตัวของผู้เล่นต่ำ ในขณะเดียวกัน ค่า HHI ก็ไม่สามารถบ่งบอกได้อย่างแน่ชัดว่า ตลาดนั้นๆเป็นตลาดที่ถูกผูกขาดหรือไม่ เนื่องจากยังมีปัจจัยในด้านอื่นๆ เช่น  พฤติกรรมของผู้เล่นในตลาด โครงสร้างอุตสาหกรรม และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถส่งผลต่ออำนาจการผูกขาดของผู้เล่นในตลาดนั้นๆ ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นค่า HHI จึงสามารถบ่งบอกได้เพียงแนวโน้มของการผูกขาดและความเข้มข้นของการแข่งขันในตลาดเท่านั้น 

 

.

ตลาดสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในแต่ละประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) มีความแตกต่างกันในแง่ของความเข้มข้นของการแข่งขันเป็นอย่างมาก และบริษัทภายในประเทศไทยเองก็มีบทบาทสำคัญในตลาดต่างประเทศอีกด้วย เช่น บริษัทไทยเบฟเวอเรจ ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดติดอันดับสูงในตลาดของประเทศ GMS อาธิ ส่วนแบ่งการตลาด 45.1%.ในไทย, 33.5% ในเวียดนาม และ 15.3% ในเมียนมา ซึ่งแสดงถึงศักยภาพสินค้าไทยที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างชัดเจน 

 

.

กลุ่มประเทศที่มีแนวโน้มการผูกขาดในตลาดสูง 

 

ไทย มีแนวโน้มการผูกขาดที่สูงเป็นอันดับ 2 รองจากลาว และมีเจ้าใหญ่ในตลาด 2 รายคือ ไทยเบฟเวอเรจและบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ส่งผลให้เรามักจะเห็นสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในตลาดของไทยไม่หลากหลายมากนัก โดยที่สองบริษัทนี้มีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันอยู่ที่ 86.5% อีกทั้งสินค้าของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ยังมีศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดต่างประเทศที่สูง จากการเข้าครองส่วนแบ่งการตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย

 

ลาว มีแนวโน้มการผูกขาดที่สูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศใน GMS เนื่องจากมีเจ้าใหญ่เพียงเจ้าเดียวคือ คาร์ลสเบิร์ก เอ/เอส ที่กินส่วนแบ่งการตลาดไปมากถึง 83.7% ทำให้ความเข้มข้นของการแข่งขันในตลาดเครื่องดื่มแอลลกอฮอล์ในลาวมีน้อยและนับได้ว่ามีโอกาศเกิดการผูกขาดในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงมาก 

 

เวียดนาม มาเป็นอันดับ 3 ของการมีแนวโน้มการผูกขาดสูง ที่มีเจ้าใหญ่ในตลาด 2 รายคือไฮเนเก้น เอ็นวี และ ไทยเบฟเวอเรจที่เป็นบริษัทของไทยนี่เอง โดยมีส่วนแบ่งการตลาดของ 2 เจ้าใหญ่รวมกันอยู่ที่ 75.9%

 

.

กลุ่มประเทศที่มีแนวโน้มการผูกขาดในตลาดปานกลางประกอบด้วย กัมพูชา และเมียนมา ส่วนของประเทศที่มีแนวโน้มการผูกขาดน้อยที่สุดคือ จีนที่เป็นประเทศที่มีความเข้มข้นของการแข่งขันในตลาดมากที่สุด เนื่องจากมีบริษัทที่เป็นอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลายเจ้า และผู้เล่นรายใหญ่ไม่ได้ครองส่วนแบ่งการตลาดในสัดส่วนที่สูงมากนัก ทำให้สินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศจีนมีความหลากหลาย ส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพและราคาที่เข้มข้น ซึ่งส่งผลดีให้กับผู้บริโภคภายในประเทศโดยตรง

 

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top