ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่าง “ของฝากสุดแซ่บขึ้นชื่อ” แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน
.
.
ของฝากเด็ดจากดินแดนอีสาน แซ่บถึงใจ!
ภาคอีสานของเรานั้นขึ้นชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบของสินค้าหัตถกรรมและอาหารพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ถ้าใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวภาคอีสานแล้วล่ะก็ ไม่ควรพลาดที่จะนำของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้านไปฝากคนที่คุณรักกันนะคะ
.
วันนี้ ISAN Insight and Outlook จะพาไปตะลุยของฝากเด็ดจากแต่ละจังหวัดในภาคอีสานกัน
- กาฬสินธุ์ หมูทุบ, หมูสวรรค์
- ขอนแก่น หม่ำเมืองพล, ไก่ย่างเขาสวนกวาง
- ชัยภูมิ หม่ำตำนานรัก
- นครพนม กะละแม, เหล้าอุเรณูนคร
- นครราชสีมา ผัดหมี่โคราช, ข้าวตัง
- บึงกาฬ ขนมเบื้องกรอบ
- บุรีรัมย์ กุ้งจ่อม, กุนเชียง
- มหาสารคาม โหน่งปลาร้าบอง
- มุกดาหาร ปอเปี๊ยะสด
- ยโสธร ถั่วคั่วทราย, ไข่มดแดงกระป๋อง
- ร้อยเอ็ด กุนเชียง, แหนม
- เลย มะพร้าวแก้วเชียงคาน, มะขามหวาน
- ศรีสะเกษ ทุเรียนภูเขาไฟ
- สกลนคร โคขุนโพนยางคำ, น้ำหมากเม่า
- สุรินทร์ กุนเชียง, กะละแมสุรินทร์
- หนองคาย แหนมเนือง, หมูยอ
- หนองบัวลำภู ปลาส้ม
- อำนาจเจริญ ปลาทูหอมสมุนไพร, หมู-เนื้อแผ่น
- อุดรธานี แหนมเนือง, ไส้กรอกอีสาน
- อุบลราชธานี หมูยออุบล, ก๋วยจั๊บอุบล
.
นี่เป็นเพียงตัวอย่างของของฝากจากภาคอีสานเท่านั้น ยังมีอีกมากมายให้คุณได้เลือกกัน หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ในการเลือกของฝากจากภาคอีสานนะคะ
.
นอกจากของฝากแดนอีสานแล้ว อีสาน อินไซต์ จะพามาเบิ่ง วัฒนธรรมการให้และรับของขวัญ (Gift Giving) ถือเป็นธรรมเนียมเก่าแก่ที่เกิดมาควบคู่กับมนุษยชาติ และมีวิวัฒนาการไปตามแต่ละยุคสมัย เป็นขนบนิยมสากลทั่วโลกเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน เพราะนัยสำคัญคือการแสดงมิตรไมตรีจิตและการขอบคุณตอบแทนกลับ จะแตกต่างกันก็เพียงรูปแบบและวิธีการ ซึ่งยึดโยงกับประเพณีในพื้นถิ่นนั้น ๆ
แม้ว่าการให้ของขวัญจะไม่จำเป็นต้องตอบแทนกลับในรูปแบบ “สิ่งของ” เสมอไป แต่ตามธรรมเนียมปฏิบัติในหลายประเทศทั่วโลกนั้น การให้และได้รับคืนกลับ คือหลักที่พึงปฏิบัติเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของธรรมเนียมตามปกติ หรือเป็นประเพณีตามเทศกาลโอกาสพิเศษต่าง ๆ และได้กลายเป็นระบบ “เศรษฐกิจของขวัญ” (Gift Economy) ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปแล้วทั่วโลก
ในขณะที่ตลาดอุตสาหกรรมของขวัญของไทย (ล้านบาท)
- ของที่ระลึกขายนักท่องเที่ยว 28,000 ล้านบาท คิดเป็น 43.8%
- ส่งออกต่างประเทศ 24,000 ล้านบาท คิดเป็น 37.5%
- ของชำร่วยส่งเสริมการขาย 10,000 ล้านบาท คิดเป็น 15.6%
- ของขวัญ 2,000 ล้านบาท คิดเป็น 3.1%
Gift Industry อุตสาหกรรมนี้มีผู้เล่นเป็นใครบ้าง?
หากลองร่างแผนภาพซัพพลายของอุตสาหกรรมของขวัญ จะพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายธุรกิจ เริ่มตั้งแต่
- ผู้ผลิตสินค้าที่ถูกนำมาใช้เป็นของขวัญ
อ้างอิงจากการแบ่งหมวดหมู่สินค้าของกลุ่มอุตสาหกรรม จากสมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตกแต่งบ้าน (Thai Gifts Premiums & Decorative Association: TGP) ซึ่งมีการแบ่งหมวดหมู่สินค้าที่เกี่ยวข้องไว้ทั้งสิ้น 18 ประเภท ประกอบด้วย
1. ดอกไม้ประดิษฐ์ (Artificial flower)
2. ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและของเล่น (Baby & Toys)
3. ผลิตภัณฑ์ความงามและสปา (Beauty & Spa)
4. เซรามิก/ แก้ว/ เครื่องปั้นดินเผา (Ceramic/ Glass/ Pottery)
5. เครื่องแต่งกาย/ เครื่องประดับ (Costume/ Jewelry)
6. ของตกแต่งบ้าน (Home decorative)
7. ผลิตภัณฑ์จากเรซิ่น (Resin decorative)
8. เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
9. ผ้าและสิ่งทอสำหรับตกแต่งบ้าน (Fabric/ Home textiles)
10. เฟอร์นิเจอร์ (Furniture)
11. เครื่องครัว (Kitchenware)
12. กระเป๋าหนังและอุปกรณ์ตกแต่งที่ทำจากหนัง (Bag and leather)
13. ผลิตภัณฑ์จากโลหะ/ ทองแดง/ ทองเหลือง / พิวเตอร์ (Metal/ Bronze/ Brass/ Pewter)
14. กระดาษ/ กระดาษสา (Paper and Saa paper)
15. ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง (Pet product)
16. บุหงา/ เทียนหอม / ธูปหอม (Potpourri/ Candle/ Aroma incense)
17. ของพรีเมี่ยม (Premiums and promotional product)
18. ผลิตภัณฑ์จากไม้ (Wood product) - ผู้ผลิตสินค้าเกี่ยวเนื่อง
เป็นสินค้ากลุ่มอุปกรณ์ตกแต่งให้สมบูรณ์สวยงาม เช่น บรรจุภัณฑ์ กระดาษห่อของขวัญ อุปกรณ์ตกแต่ง และการ์ดอวยพร - ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า และ E-commerce: ที่เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าของขวัญ รวมไปถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการจัดเซ็ตของขวัญ การห่อและตกแต่ง เป็นต้น
- เดลิเวอรี่และงานบริการส่งมอบของขวัญ: ปัจจุบัน ธุรกิจเดลิเวอรีเริ่มทำธุรกิจนอกเหนือจากการเป็นผู้ส่งของเพียงอย่างเดียว โดยบริษัทบางแห่งเพิ่มฟังก์ชั่นให้พนักงานส่งของทำหน้าที่สร้างบรรยากาศและประสบการณ์ประทับใจแก่ผู้รับของขวัญแทนผู้ให้ด้วย เช่น ในโอกาสวันเกิดและวันวาเลนไทน์
ไลฟ์สไตล์ไทย ๆ ฟันเฟืองสำคัญขับเคลื่อน Gift Economy
ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย ปัจจุบันมีจำนวนรวมกว่า 6,000 กิจการ จากการรวบรวมข้อมูลของสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทยปี 2562 พบว่า ตลาดของขวัญ ของชำร่วย และของตกแต่งบ้านทั้งในประเทศและส่งออก มีมูลค่ารวมกว่า 64,000 ล้านบาท
ในจำนวนนี้ แบ่งเป็นตลาดของที่ระลึกที่ขายให้กับนักท่องเที่ยว มูลค่ามากกว่าปีละ 28,000 ล้านบาท ตลาดของชำร่วยที่บริษัทห้างร้านต่าง ๆ ใช้ในการส่งเสริมการขาย ปีละกว่า 10,000 ล้านบาท และตลาดของขวัญ ของชำร่วย ตระกร้าของขวัญ อีกกว่า 2,000 ล้านบาท ส่วนการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศมีมูลค่าประมาณ 24,000 ล้านบาท
ตลาดของขวัญ ของชำร่วยของไทย
ปัจจุบัน ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ ประสบปัญหาเรื่องการขาดสภาพคล่องเป็นหลัก จากผลกระทบโควิด-19 เนื่องจากธุรกิจกว่า 81.3 % พึ่งพิงรายได้จากต่างชาติเป็นหลัก ทั้งในส่วนของการขายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ
ทั้งนี้ ในภาพรวมของอุตสาหกรรม ทางสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย คาดการณ์ว่าปี 2563 มูลค่าตลาดจะลดลงมากกว่า 40% ในจำนวนนี้เป็นยอดส่งออกที่จะลดลงกว่า 20% ขณะที่ตลาดในประเทศ ยังได้รับผลกระทบซ้ำจากการไหลบ่าของสินค้านำเข้าจากจีนราคาถูก ผ่านผู้ค้ารายย่อยตาม E-commerce Platform ต่าง ๆ กลุ่มผู้บริโภคชาวไทยจึงมีแนวโน้มใช้สินค้าที่ออกแบบและผลิตภายในประเทศในสัดส่วนที่ต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมหลายราย หันไปผลิตหน้ากากอนามัยและถุงผ้า เพื่อประคองธุรกิจเป็นการชั่วคราว
Local Market คือทางออก
หากเกิดการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ หรือ การเปิดประเทศล่าช้ากว่าที่คาดการณ์กันไว้ ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย จะปรับกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อรักษาตัวรอดอย่างไร หากเรายังยึดโยงกับเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวหรือภาคการส่งออกเป็นหลัก ดังนั้น การผลักดันให้เกิดการอุปโภค-บริโภคสินค้าภายในประเทศ เฉกเช่นเดียวกับ ญี่ปุ่น และ จีน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะการสร้าง Gift Economy ให้เป็นระบบ ซึ่งจะเป็นการสร้างศักยภาพใหม่ให้กับเศรษฐกิจไทย โดยมีประเด็นที่ควรต้องเร่งทำความเข้าใจ ดังนี้
Age Group
● ศึกษาและทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละช่วงวัย เพราะเชื่อว่าแต่ละกลุ่มอายุย่อมมีความต้องการที่จะเสพสินค้าไลฟ์สไตล์ในฟังก์ชั่นที่แตกต่างกัน การพัฒนาสินค้า 1 ชิ้น ให้ตอบโจทย์ให้ครบทุกวัย อาจจะไม่ใช่แนวคิดที่ดีอีกต่อไป
Trend
● สร้างสรรค์สินค้าตามเทรนด์ที่ผู้บริโภคกำลังให้ความนิยม เช่น สินค้าเฉพาะบุคคล ที่เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสามารถกำหนดสีและวัสดุที่ใช้ทำได้ด้วยตัวเอง แม้กระทั่งการพัฒนา Character หรือใส่ข้อความและภาพที่สื่ออัตลักษณ์ความเป็นตัวตนเข้าไปในชิ้นงานได้ น่าจะช่วยเพิ่มกำไรได้มากกว่า
Technology
● สินค้าในกลุ่มไลฟ์สไตล์ส่วนใหญ่มักพึ่งพาแรงงานฝีมือ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงและส่อเค้าจะหาแรงงานเข้ามาทำงานได้ยากขึ้น ดังนั้น การหาตัวช่วยในการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน อาทิ 3D Printing หรือเครื่องกัดขึ้นรูปวัสดุ (CNC Milling Machine) อาจเป็นตัวเลือกเพื่อย่นระยะเวลา หรือลดต้นทุนในการผลิตของกิจการได้
Collaboration
● การคอลแลบกันระหว่างแบรนด์ หรือ Co-Brand เป็นวิธีการทางการตลาดที่ได้รับความนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หากแต่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต้องมีกระบวนความคิดที่ยืดหยุ่น และไม่ยึดติดกับแนวทางการพัฒนาสินค้าแบบเดิม ๆ พยายามมองหาฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ที่แบรนด์ไม่สามารถเข้าถึงได้หากขายสินค้าแบบเดิม ๆ หรือง่ายที่สุดคือ การร่วมพัฒนาสินค้ากับคนดัง หรือ Influencers ที่มีฐานแฟนคลับที่แข็งแรง
Create Demand
● การจะพึ่งพาตลาดในประเทศเพื่อทดแทนกำลังซื้อเดิมนั้น อาจจำเป็นต้องใช้การสร้างดีมานด์อย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานภาครัฐและสมาคมวิชาชีพในกลุ่มสินค้าของขวัญและไลฟ์สไตล์ไทย รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการเงิน อาจร่วมมือกันเพื่อช่วยส่งเสริม ตั้งแต่การช่วยเรื่องเงินทุนหมุนเวียนในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้ากลุ่มไลฟ์สไตล์ภายในประเทศ ไปจนถึงการออกนโยบายสนับสนุนต่าง ๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อนำสินค้าไปใช้ในส่วนราชการ คล้ายกับการส่งเสริมสินค้านวัตกรรมผ่านบัญชีนวัตกรรมไทย โดยการจัดซื้อเพื่อนำไปใช้สอย ตกแต่ง ซ่อมแซม อาคารสถานที่ รวมไปถึงการจัดซื้อเพื่อใช้เป็นของที่ระลึกประจำส่วนงาน หรือไว้สำหรับมอบให้กับหน่วยงานพาร์ทเนอร์ ทั้งในและต่างประเทศตามโอกาสสำคัญต่าง ๆ เป็นต้น
.
อ้างอิงจาก:
– เว็บไซต์หน่วยงานราชการของจังหวัด
– เว็บไซต์ของแบรนด์สินค้า
– CEA; Gift Economy สุขนี้มีมูลค่า 2 ล้านล้าน
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่นี่
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ของฝากอีสาน #ของฝาก