สรุปเรื่องน่าฮู้ เกี่ยวกับ “สุรินทร์เมืองช้าง”

จังหวัดสุรินทร์ มีขนาดพื้นที่ 8,124 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 1,368,569 คน และในปี 2564 จังหวัดสุรินทร์มีขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด อยู่ที่ 85,743 ล้านบาท และรายได้ต่อหัวของจังหวัดอยู่ที่ 81,675 บาท

โครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจ SME
– ภาคการบริการ คิดเป็น 47% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร มีผู้ประกอบการอยู่ 3,972 ราย
– ภาคการเกษตร คิดเป็น 26% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การเลี้ยงโคนมและโคเนื้อ มีผู้ประกอบการอยู่ 403 ราย
– ภาคการผลิต คิดเป็น 14% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การทอผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ มีผู้ประกอบการอยู่ 14,426 ราย
– ภาคการค้า คิดเป็น 13% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ ร้านขายของชำ มีผู้ประกอบการอยู่ 7,863 ราย

ตัวอย่างสินค้าของจังหวัด ได้แก่ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ และผ้าไหมมัดหมี่โฮล

ข้อมูสะสมมกราคม – พฤศจิกายน ปี 2566 การค้าชายแดนของจังหวัดสุรินทร์กับกัมพูชา โดยมีมูลค่าการส่งออก อยู่ที่ 4,116 ล้านบาท และมีมูลค่าการนำเข้า อยู่ที่ 2,392 ล้านบาท

ตัวอย่างโบราณสถานสำคัญของจังหวัดสุรินทร์
📍ปราสาทศีขรภูฃมิ – โบราณสถานขอมสมัยนครวัด
สร้างด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลง ประกอบด้วยปรางค์ก่อด้วยอิฐ 5 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส โดยมีปรางค์ประธานตั้งอยู่ตรงกลาง และมีปรางค์บริวาร 4 หลัง ล้อมอยู่ทั้ง 4 ทิศ ปรางค์ประธานมีแผนังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมมุมไม้ยี่สิบ มีประตูทางเข้าทางด้านหน้าเพียงด้านเดียว บริเวณเหนือกรอบประตูพบทับหลังจำหลักเป็นภาพพระศิวะกำลังร่ายรำ มีหงส์แบกอยู่ 3 ตัว เหนือเกียรติมุข มีภาพพระคเณศ พระพรหม พระวิษณุ และพระอุมา ที่เสาประตูจำหลักเป็นภาพนางอัปสราและทวารบาล บริเวณหน้าบันเป็นอิฐประดับลวดลายปูนปั้น

📍ปราสาทบ้านพลวง – ศิลปะขอมแบบบาปวน
เป็นปราสาทขนาดเล็กจำนวน 1 หลัง สร้างด้วย สร้างด้วยหินทรายสีขาวบนฐานศิลาแลง ล้อมรอบด้วยคูน้ำรูปตัวยู องค์ปราสาทมีแผนผัง เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ส่วนฐานศิลาแลงมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทับหลังเหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก จำหลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ยืนบนแท่นเหนือหน้ากาล (เกียรติมุข) ที่หน้าบันจำหลักภาพพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ เพื่อเป็นร่มเงาให้กับโคบาลและโค ส่วนทับหลังเหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือ จำหลักภาพพระกฤษณะต่อสู้กับนาคกาลิยะ เป็นลวดลายศิลปขอมแบบบาปวน ที่หน้าบันจำหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ส่วนหน้าบันด้านทิศใต้จำหลักเป็นรูปบุคคลประทับเหนือหน้ากาล

📍ปราสาทภูมิโปน – ศิลปขอมแบบไพรกเมง (พุทธศตวรรษที่ 12-13)
ประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 หลัง และฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลง 1 หลัง โดยปราสาทอิฐหลังใหญ่ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ก่อด้วยอิฐ มีแผนผังสี่เหลี่ยมจตุรัส ฐานเตี้ย เรือนธาตุทรงสี่เหลี่ยม มีประตูทางเข้า-ออก ทางด้านหน้าประตูเดียว ส่วนยอดก่อเป็นชั้นหลังคาซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ เท่าที่มีสภาพเห็นได้ในปัจจุบัน มีเพียง 3 ชั้นใต้หน้าบันของประตูทางเข้า-ออก มีลายสลักเป็นรูปใบไม้ม้วน แบบศิลปะอินเดีย สมัยหลังคุปตะ และพบชิ้นส่วนจารึก 1 ชิ้น จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ซึ่งมีใช้ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13

อ้างอิงจาก:
– สำนักงานสถิติแห่งชาติ
– สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
– สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
– กระทรวงพาณิชย์
– กรมทรัพย์สินทางปัญญา
silpa-mag.com (ศิลปวัฒนธรรม)

ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#Business #Economy #ISAN #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ#ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #จังหวัดสุรินทร์#สุรินทร์

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top