เรื่องของ “เนื้อโคขุนโพนยางคำ” 🥩🐂
พามาเบิ่งแนวทางในการพัฒนา
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 จังหวัดอุดรธานี ตระหนักถึงความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการผลิตสินค้าอัตลักษณ์ ซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) จึงดำเนินการแนวทางพัฒนาเกษตรอัตลักษณ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับพื้นที่
เนื้อโคขุนโพนยางคำ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสินค้า GI จังหวัดสกลนคร และเป็นสินค้าที่มีศักยภาพด้านการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ รวมถึงรายได้ของจังหวัดสกลนคร
โดยโครงการนี้มีวัตุประสงค์ศึกษาแนวทางการพัฒนาเนื้อโคขุนโพนยางคำของเกษตรกรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และมีการเปรียบเทียบต้นทุนของผลตอบแทนการผลิตเนื้อโคขุนโพนยางคำของเกษตรกรที่มีการใช้ และไม่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม (การผลิตอาหารผสมครบส่วนหนืออาหาร TMR: Total Mixed Ration)
ซึ่งมีกระบวนการตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง อีกทั้งยังมีข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาในอนาคต คือ ควรศึกษาการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้กับสินค้าอัตลักษณ์ชนิดอื่น ๆ เพื่อเป็นข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตรให้แก่หน่วยงาน ผู้ประกอบการ เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป อีกทั้งวางแผนบริหารจัดการสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรมีอัตลักษณ์พื้นถิ่นมากยิ่งขึ้น
อ้างอิงจาก:
ส่วนบริหารกองทุนภาคการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2566/OAE793WebOK.pdf
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เนื้อโคขุนโพนยางคำ #อุดรธานี #สกลนคร #โคเนื้อ