ภาคการเกษตรนับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อประเทศ แต่กำลังเผชิญกับปัญหาผลิตภาพการผลิตของแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำและเพิ่มขึ้นในอัตราท่ีช้า เมื่อเทียบกับภาคเศรษฐกิจอื่น
ISAN Insight & Outlook วันนี้จะพามาดูเกษตรกรรมในภาคอีสานว่าเป็นอย่างไร?
ภาคอีสานมีจำนวนครัวเรือนเกษตรกร 3,503,763 ครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วน 47.6% ของจำนวนครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมดในประเทศ ซึ่งจำนวนครัวเรือนเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากปี 2563 เพียง 0.8% และ GRP ภาคเกษตรกรรม อยู่ที่ 311,615 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19.6% ของ GRP ทั้งหมดในภาคอีสาน ซึ่งลดลง -0.3% จากปี 2562
โดย 5 อันดับจังหวัดที่มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรสูงสุด
1 นครราชสีมา 324,968 ครัวเรือน
2 อุบลราชธานี 324,801 ครัวเรือน
3 ศรีสะเกษ 251,498 ครัวเรือน
4 ขอนแก่น 248,717 ครัวเรือน
5 ร้อยเอ็ด 240,605 ครัวเรือน
5 อันดับผลผลิตสูงสุดทางการเกษตรของภาคอีสาน
1 อ้อย 38.5 ล้านตัน
2 มันสำปะหลัง 19.9 ล้านตัน
3 ข้าวนาปี 12.9 ล้านตัน
4 ยางพารา 1.3 ล้านตัน
5 ข้าวนาปรัง 1.1 ล้านตัน
จะเห็นได้ว่า อ้อยเป็นผลผลิตสูงสุดของภาคอีสาน เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเพาะปลูกจากปริมาณน้ำฝนท่ีเพิ่มข้ึน ประกอบกับการสร้างความเชื่อมั่นด้วยการประกันราคารับซื้ออ้อยให้แก่ชาวไร่อ้อย เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเพาะปลูก
นอกจากน้ี มาตรการส่งเสริมของภาครัฐท่ีให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อตัดอ้อยสด ทำให้ ชาวไร่อ้อยมีรายได้จากการเพาะปลูกอ้อยเพื่อส่งมอบให้แก่โรงงาน รองรับความต้องการบริโภคน้ำตาลท่ีคาดว่าจะฟื้นตัวดีข้ึนหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย
อ้างอิงจาก:
https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=gross_regional
http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/11.aspx
https://www.oae.go.th/…/ebook…/68_yearbookedited2564/…
https://www.oae.go.th/…/trendstat2565-Final-Download.pdf
https://esd.kps.ku.ac.th/kuk…/docs_general/3_spec_oral.pdf