🏗️ปี 2567 โรงงานเหล็กของไทย🇹🇭 ปิดตัวลงกว่า 38 แห่ง
ฮู้บ่ว่า? ปัญหาด้านโครงสร้างอาคารและเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานในประเทศไทย อาจไม่ได้เกิดจากการก่อสร้างที่ผิดพลาดเพียงอย่างเดียว หากแต่มีปัจจัยโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ซับซ้อนอยู่เบื้องหลัง
ทั้งการนำเข้าเหล็กจากจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการย้ายฐานการผลิตของโรงงานจีนเข้ามาในไทย ซึ่งส่งผลต่ออุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และอาจเป็นผลทำให้อุตสาหกรรมเหล็กไทยยังอยู่ในอาการที่น่าห่วง จากต้องต่อสู้กับการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากเหล็กนำเข้าที่โหมกระหนํ่าเข้ามาตีตลาดอย่างไม่ขาดสาย มีทั้งเหล็กคุณภาพดีและเหล็กไม่ได้มาตรฐานปะปนมาขายในราคาตํ่า ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็ได้เริ่มที่จะฟุ้งกระจาย จากกรณีอาคารถล่มและเหตุแผ่นดินไหวที่จุดประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับคุณภาพวัสดุก่อสร้าง
ไทยมีการพึ่งพาการนำเข้าเหล็กจากจีนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากภาวะสินค้าทะลักจากจีน ที่เป็นผลสืบเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเหล็กรีดเย็น เหล็กโครงสร้าง และวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูป ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศจากการแข่งขันที่สูงขึ้น รวมถึงปัญหาด้านคุณภาพของสินค้าที่สร้างความกังวลให้กับผู้บริโภคภายในประเทศไทย
นอกจากการทะลักของเหล็กจากต่างประเทศที่สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคแล้ว ยังมีโรงงานเหล็กจีน ที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย ที่ยิ่งเร่งการแข่งขันต่อผู้ประกอบการในประเทศ ตลอดจนปัญหาที่ถูกเปิดเผยในกรณีของตึกถล่ม ที่เป็นโครงการก่อสร้างจากผู้รับเหมาชาวจีน และมีแนวโน้มที่จะใช้วัสดุโครงสร้างจากเหล็กจีน ที่มาจากโรงงานจีนที่ย้ายฐานมาในประเทศไทย
ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กรมโรงงานอุตสาหกรรม
.
การย้ายฐานการผลิตของโรงงานจีนเข้าสู่ไทย ยิ่งเพิ่มการแข่งขันในตลาดในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่า มีโรงงานผลิตเหล็กใหม่ในไทยมากกว่า 28 แห่ง ซึ่งเป็นโรงงานที่มีการลงทุนจากจีนและกระจุกตัวอยู่ในประเภทอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งสร้างความกังวลทั้งด้านความปลอดภัยและภาพลักษณ์ของสินค้าเหล็กไทยในตลาดส่งออกเนื่องจากเหล็กในประเทศมีการปะปน ทั้งจากสินค้านำเข้าจากจีน และสินค้าที่โรงงานจีนเป็นผู้ผลิต
การขึ้นกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ต่อผลิตภัณฑ์เหล็กและอลูมิเนียม ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับไทย ไม่เพียงแค่ทำให้ต้นทุนส่งออกสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้เหล็กจากประเทศอื่นๆ ที่ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ได้หันมาระบายสินค้าสู่ไทยแทน
สถานการณ์นี้จึงไม่ใช่เพียงแค่ปัญหาทางเทคนิคในอุตสาหกรรมก่อสร้าง แต่เป็นภาพสะท้อนของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่ต้องอาศัยการกำกับดูแลอย่างรอบด้าน ทั้งในมิติคุณภาพสินค้า มาตรการทางการค้า และการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไทยให้แข่งขันได้ในระยะยาว
สาเหตุที่เหล็กไทยพ่ายเหล็กจีน
ธุรกิจเหล็กทรงยาว (บิลเลต) ของไทยกำลังเผชิญกับปัญหาความท้าทายครั้งใหญ่จากโรงงานเหล็กจากจีน สาเหตุหลักมาจากปัจจัย 2 อย่างด้วยกัน
- อย่างแรก โรงงานเหล็กจากจีนใช้เตาหลอมแบบ IF ซึ่งเป็นเตาประเภทที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและในประเทศจีนไม่อนุญาตให้ใช้เตาหลอมแบบนี้แล้ว ทำให้โรงงานเหล็กเตาหลอม IF จากจีน ต้องย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ขณะที่เดิมโรงงานเหล็กไทยจะใช้เตาหลอมแบบที่เรียกกว่า EAF หรือ electric arc furnace ซึ่งเตาหลอมแบบ IF มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเตาหลอมแบบ EAF ส่งผลให้โรงงานเหล็กจีนสามารถผลิตเหล็กได้ในราคาที่ต่ำกว่าโรงงานเหล็กไทย
- อย่างที่สอง โรงงานเหล็กจากจีนมีการทุ่มตลาดเหล็กลวดเข้ามาในประเทศไทย ส่งผลให้ราคาเหล็กลวดในประเทศลดลงอย่างมาก โรงงานเหล็กไทยที่ผลิตเหล็กลวดจึงได้รับผลกระทบอย่างหนัก และหลายแห่งต้องปิดกิจการลง
จากปัจจัยทั้งสองประการข้างต้น ทำให้ธุรกิจเหล็กทรงยาวของไทยกำลังถูกบีบให้ต้องแข่งขันอย่างยากลำบาก และมีโอกาสสูงที่จะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับโรงงานเหล็กจากจีน
ปัญหาที่เป็นฝุ่นใต้ซากตึกถล่ม โผล่ มาทีละนิด
ทัวร์ศูนย์เหรียญ
นิคม/โรงงานศูนย์เหรียญ
วิซ่านักท่องเที่ยว/นักศึกษา แต่มาทำงาน คำถามคือมหาวิทยาลัยใด รับรองวิซ่าการศึกษาต่อของคนจีนเหล่านี้?
นอมินีบริษัทจีน โมเดล หุ้นลม คนไทยถือหุ้นใหญ่ 1 คน 49% คนจีน 2 หุ้นรวมกัน 51%
การฮั๊วประมูล และสืบทราบราคากลางงานก่อสร้างของหน่วยงานรัฐ
การประมูล ต่ำกว่าราคากลาง
มีการตั้งข้อสังเกตว่า “ตึก สตง. เป็นงานแรกๆ ระยะเวลาการเริ่มสร้าง ตั้งแต่ปี 2563 เอาจริงๆตึกสูงอย่างมาก 3 ปีก็เสร็จถ้าไม่ผิดปกติจริงๆ นี่ก็ผ่านมา 5 ปีแล้ว โดยบริษัทจีน ก็ใช้ตึก สตง. เป็น reference ในการไปรับงานอื่น ว่ามีประวัติกำลังสร้างงานราชการระดับสูงอยุ่ เลยได้งานมาง่ายๆ ไม่รวมว่าจะมีใต้โต๊ะหรือเปล่า? เพราะถ้างานใหญ่เขาก็เน้นร่วมทุนเป็นกิจการร่วมค้ากับบริษัทก่อสร้างเจ้าใหญ่ เพื่อเลี่ยงกฎหมาย แต่จริงๆ เขาก็บริหารจัดการเองหมด คู่ค้าก็แค่กินหัวคิว สตง. จริงๆ ก็ควรจะรู้กิตติศัพท์บริษัทพวกนี้”
ชมภาพเรนเดอร์โมเดล 3 มิติ ตึก สตง. 30 ชั้น
ในขณะที่ทางเพจ 3117 BIM Management ได้ตั้งข้อสังเกตปัจจัยที่ทำให้ตึกล้มไปด้านหลังทั้งที่ด้านหลังน่าจะแข็งแรงกว่าและทำไม่ปล่องลิฟต์ไม่ยืนชี้ฟ้าเหมือนที่ควรจะเป็น
ภาพจาก เพจ 3117 BIM Management
13 โครงการ ไชน่า เรลเวย์ รัฐร่วมเป็นกิจการร่วมค้า
ตอนนี้พบ 13 โครงการรัฐที่บริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 ได้ร่วมเป็นกิจการร่วมค้าในโครงการภาครัฐ นอกเหนือจากโครงการสำคัญ อย่างโครงการก่อสร้างอาคาร สตง. ที่ถล่ม มูลค่า 2,136 ล้านบาท โดยตั้งแต่ปี 2562 – 2565 โครงการที่ได้ชนะการประมูล มีมูลค่ารวมกว่า 7,232 ล้านบาท มีโครงการสำคัญ ได้แก่
- ท่าอากาศยานนราธิวาส อาคารที่พักผู้โดยสารและสิ่งก่อสร้างประกอบ มูลค่า 639 ล้านบาท
- โครงการเคหะชุมชนภูเก็ตเป็นทาวน์โฮม 354 หน่วย มูลค่า 343 ล้านบาท
- โรงเรียนวัดอมรินทราราม – อาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้าง มูลค่า 160 ล้านบาท
- อาคารคลังพัสดุ รพ.จักรีนฤบดินทร์ มูลค่า 146 ล้านบาท
- หอพักนักศึกษา ม.ราชภัฏภูเก็ต มูลค่า 132 ล้านบาท
- ศูนย์ราชการจังหวัดแพร่ มูลค่า 540 ล้านบาท
- ศูนย์ฝึกกีฬามวย กกท. หัวหมาก มูลค่า 608 ล้านบาท
- ที่พักข้าราชการตุลาการ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มูลค่า 386 ล้านบาท
- ศูนย์บริการลูกค้า การไฟฟ้าภูเก็ต มูลค่า 210 ล้านบาท
- อาคารกองบังคับการ กรมพลาธิการทหารเรือ มูลค่า 179 ล้านบาท
- สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มูลค่า 716 ล้านบาท
- สถาบันวิชาการ กฟภ. มูลค่า 606 ล้านบาท
- อาคารผู้ป่วยนอก รพ.สงขลา มูลค่า 426 ล้านบาท
ล่าสุด คมนาคม ยัน โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ไทยทำ 100%
พามาเบิ่ง แสงไทยเมทัลชีท กล้าฝันกล้าลอง 17 ปีสู่ความสำเร็จรายได้พันล้าน