June 2024

เผย คนไทยมีเงินติดบัญชี ไม่ถึง 5 หมื่นบาท กว่า 116 ล้านบัญชี (คิดเป็น 88%) และ 93 ล้านราย มีเงินฝากในบัญชีไม่เกิน 5,000 บาท

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เผยบัญชีเงินฝากต่ำกว่า 1 ล้านบาท ลดลง เหตุค่าครองชีพสูง คนต้องนำเงินออมออกมาใช้ ตะลึง ! พบบัญชีเงินฝากกว่า 80% มีเงินน้อยกว่า 5,000 บาท . . ขณะที่จำนวนเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง อยู่ที่ 15.96 ล้านล้านบาท ลดลง 1.32% ซึ่งเกิดจากปัจจัยความผันผวนทางเศรษฐกิจโดยในรายละเอียด พบว่า จำนวนผู้ฝากเงินที่มีเงินฝากไม่เกิน 50,000 บาท หรือส่วนมากไม่เกิน 5,000 บาท ในเดือน ส.ค. 2566 อยู่ที่ 81 ล้านราย จากทั้งหมด 93.46 ล้านราย เติบโต 4.45% ซึ่งในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีเงินฝากไม่ถึง 5,000 บาท แต่จำนวนเงินฝากกลับเริ่มมีการหดตัวตั้งแต่ปี 2565 ที่ ติดลบ 0.63% และในเดือน ส.ค. 2566 ติดลบ 3.61% . ทั้งนี้ ผู้มีเงินฝากมากกว่า 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท มีการปรับตัวลดลง ทั้งจำนวนเงินฝากและจำนวนผู้ฝากตลอดช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผู้ฝากที่มีเงินฝากไม่มากนักจึงต้องนำเงินออมมาใช้จ่าย จนอาจทำให้สุขภาวะที่ดีทางการเงินอ่อนแอลงได้ . คนไทย 88% มีเงินติดบัญชีไม่ถึง 50,000 อ้างอิงข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย แบ่งจำนวนบัญชีเงินฝากในกลุ่มต่างๆ พบว่ากลุ่มไม่เกิน 50,000 บาท เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด มีถึง 116 ล้านบัญชี เมื่อเทียบสัดส่วนกับจำนวนทั้งหมดราวๆ 130 ล้านบัญชี กลุ่มนี้มีมากถึง 88% นอกจากนี้ รายงานข่าวในช่วงปลายปีที่แล้ว พบว่าในกว่าร้อยล้านบัญชีที่ไม่ถึง 50,000 นั้น เฉลี่ยส่วนใหญ่ประชาชนมีเงินฝากในบัญชีไม่เกิน 5,000 บาทต่อคนด้วย โดยแบ่งจำนวนเงินฝากของคนไทยได้ดังนี้… ไม่เกิน 50,000 บาท มี 116 ล้านบัญชี 50,000 – 100,000 บาท มี 4.2 ล้านบัญชี 100,000 – 200,000 บาท มี 3.4 ล้านบัญชี 200,000 – 500,000 บาท มี 3.2 ล้านบัญชี 500,000 – 1,000,000 บาท มี 1.6 …

เผย คนไทยมีเงินติดบัญชี ไม่ถึง 5 หมื่นบาท กว่า 116 ล้านบัญชี (คิดเป็น 88%) และ 93 ล้านราย มีเงินฝากในบัญชีไม่เกิน 5,000 บาท อ่านเพิ่มเติม »

8 เรื่องที่จะเกิดขึ้น เมื่อสมรสเท่าเทียมผ่าน

วันที่ 18 มิถุนายน 2567 ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ในเรื่องความหลากหลายทางเพศของไทย เพราะเป็นวันที่วุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือที่เรียกกันลำลองว่า ‘ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม’ หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาชั้นแรก ได้ผ่านร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา   จากนี้ไปกระบวนการก็จะเดินต่อตามรัฐธรรมนูญมาตรา 145 กล่าวคือ รัฐสภาก็จะส่งร่างกฎหมายที่เสร็จเรียบร้อยนี้ไปยังนายกรัฐมนตรี และเมื่อนายกรัฐมนตรีได้รับแล้วก็จะรอไว้ 5 วัน เผื่อจะมีประเด็นหยิบยกไปศาลรัฐธรรมนูญ หากมีการตีประเด็นว่า การร่างกฎหมายฉบับนี้มีเนื้อหาตัวบทหรือกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และถ้าไม่มีการชงไปยังศาลรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีก็จะมีหน้าที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อที่ทรงลงพระปรมาภิไธย ทั้งนี้ เมื่อประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้วถึงใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 81   เพื่อประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจและเตรียมต้อนรับกฎหมายฉบับนี้ จึงขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญของกฎหมายสมรสเท่าเทียม รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลใช้บังคับ ดังนี้   1. หมั้นและสมรสได้โดยไม่จำกัดเพศ แต่เดิมการหมั้นและการสมรสต้องเป็นการกระทำระหว่างชายโดยกำเนิดและหญิงโดยกำเนิดเท่านั้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องหมั้น แต่เดิมอนุญาตให้ชายโดยกำเนิดเป็นฝ่ายเข้าไปหมั้นหญิงโดยกำเนิด หญิงจึงเป็นฝ่ายรับหมั้น บัดนี้กฎหมายจะอนุญาตให้บุคคลสองคนไม่ว่าเพศใดก็สามารถหมั้นและสมรสได้ เป็นการปลดล็อกเงื่อนไขเรื่องเพศในการหมั้นและการสมรส   นอกจากนั้นในมุมมองเรื่องหมั้น ที่แต่เดิมให้ชายโดยกำเนิดเท่านั้นที่จะเป็นผู้รุกเริ่มนำของหมั้นไปหมั้นหญิง ก็กลับกลายเป็นว่าใครใคร่หมั้นก็หมั้น ไม่มีข้อที่จะต้องบังคับกะเกณฑ์ว่าเพศชายต้องเป็นฝ่ายรุกเริ่ม ซึ่งหมายความว่า กฎหมายให้อิสระในการกำหนดชีวิตเป็นสถาบันครอบครัวของบุคคลโดยไม่คำนึงเพศ แม้กระทั่งเรื่องฝ่ายเริ่มต้นเข้าหาอีกฝ่ายเพื่อการมอบของหมั้น ก็ไม่มีการกำหนดเจาะจงเพศอีกต่อไป   2. ปรับคำในกฎหมายครอบครัวให้ครอบคลุมโดยไม่จำกัดเพศ ตามที่กฎหมายเดิมใช้คำว่า ‘ชาย’, ‘หญิง’ ซึ่งเป็นการใช้คำที่ระบุถึงเพศกำเนิด นอกจากนั้นยังมีการใช้คำว่า ‘สามี’, ‘ภริยา’ และ ‘สามีและภริยา’ ซึ่งก็เป็นการกำหนดสถานะในกฎหมายครอบครัวที่ขึ้นอยู่กับเพศกำเนิด ดังนั้นเมื่อหลักการต้องการสลายประเด็นเรื่องเงื่อนไขทางเพศกำเนิดให้หมดไป จึงนำไปสู่การปรับใช้คำว่า ‘บุคคล’, ‘ผู้หมั้น’, ‘ผู้รับหมั้น’ และ ‘คู่สมรส’ เข้าไปแทนที่ เพื่อให้ครอบคลุมบุคคล ไม่ว่าจะเป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรส โดยไม่ตีกรอบว่าต้องเป็นเพศใดเพศหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ส่งผลให้มาตราต่างๆ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต้องถูกปรับไปทั้งสิ้น 60 กว่ามาตรา   3. ขยายเหตุเรียกค่าทดแทนและเหตุฟ้องหย่าไปถึงกรณีมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นเพศใด เดิมเรื่องเหตุเรียกค่าทดแทนและเหตุหย่า กฎหมายกำหนดเฉพาะกรณีที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับคู่หมั้นหรือคู่สมรสของตน ในลักษณะจำกัดกรอบว่าเกิดจากกิจกรรมทางเพศที่เรียกว่า ‘การร่วมประเวณี’ หรือความสัมพันธ์ ‘ทำนองชู้สาว’ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการครอบคลุม จึงขยายถ้อยคำไปให้รวมถึงกิจกรรมทางเพศที่ไม่จำกัดเฉพาะแต่เรื่องการร่วมประเวณี ที่อาจถูกตีความว่าเป็นการร่วมเพศกันระหว่างชายและหญิงกันโดยมีการสอดใส่เท่านั้น หากแต่เพิ่มเติมถ้อยคำเพื่อให้รวมถึงกิจกรรมทางเพศที่มุ่งสนองความใคร่ไม่ว่ากระทำกับบุคคลเพศใดด้วย และคำที่ใช้ว่า ‘ทำนองชู้สาว’ ก็ตัดคำว่า ‘สาว’ ออก เป็นคำว่า ‘ทำนองชู้’ เพื่อตัดประเด็นคู่ความสัมพันธ์ในทางเพศ   4. เพิ่มเหตุหย่าให้ชัดเจนสำหรับเรื่องกิจกรรมทางเพศระหว่างคู่สมรสเพศเดียวกัน เหตุหย่าประการหนึ่งที่ให้สิทธิแก่คู่สมรสที่จะใช้สิทธิหย่าหรือไม่ก็ได้ นั่นคือ เมื่อเกิดสถานการณ์ที่อีกฝ่าย ‘ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล’ ดังนั้นเมื่อกฎหมายฉบับนี้เปิดโอกาสให้เพศใดก็สามารถสมรสได้ จึงเพิ่มเติมถ้อยคำให้เป็นเงื่อนไขที่ชัดเจนขึ้นคือ ‘ไม่อาจกระทำหรือยอมรับการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของอีกฝ่ายได้ตลอดกาล’ เป็นเหตุฟ้องหย่าเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อให้เกิดความชัดเจนและป้องกันการตีความคำว่า ‘ไม่อาจร่วมประเวณี’ ที่อาจถูกตีความว่าเป็นเรื่องกิจกรรมทางเพศระหว่างชายและหญิงที่มีการสอดใส่เท่านั้น   5. คู่สมรสผู้มีความหลากหลายทางเพศสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ การรับบุตรบุญธรรมร่วมกันเป็นสิทธิที่ได้มาโดยอัตโนมัติอยู่แล้วมาแต่เดิมสำหรับบุคคลที่เป็นคู่สมรสกัน ดังนั้นเมื่อบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นคู่สมรสกันตามกฎหมายได้แล้ว บทบัญญัติในส่วนการรับบุตรบุญธรรมจึงเปิดช่องให้เข้ามามีสิทธินี้โดยไม่ต้องสงสัย กล่าวได้ว่า ต่อไปนี้คู่สมรสในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นเพศใด ย่อมใช้สิทธิรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้อย่างเสมอภาค   6. อายุขั้นต่ำในการหมั้นและสมรสขยับเป็น 18 ปี …

8 เรื่องที่จะเกิดขึ้น เมื่อสมรสเท่าเทียมผ่าน อ่านเพิ่มเติม »

อาหารเหนือ บุก อีสาน กับ งาน Northern Thailand Food Valley Road Show ครัวเหนือสู่ตลาดโลก ยกทัพสินค้าระดับพรีเมี่ยม บินลัดฟ้าจากเชียงใหม่สู่อุดรธานี

. จังหวัดเชียงใหม่ โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมบูรณาการจัดงาน Northern Thailand Food Valley Road Show ณ จังหวัดอุดรธานี ขอเชิญชวนพี่น้องชาวอุดรและจังหวัดใกล้เคียง มาเที่ยวงาน Northern Thailand Food Valley Road Show งาน Road Show สุดยิ่งใหญ่ สุดยอดนวัตกรรมอาหารจากครัวเหนือสู่ตลาดโลก ยกทัพสินค้าระดับพรีเมี่ยม บินลัดฟ้าจากเชียงใหม่สู่อุดรธานี ระหว่าง วันที่ 20 – 24 มิถุนายน 2567 ณ ลานกิจกรรม ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอุดร จังหวัดอุดรธานี ภายในงานพบกับกิจกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็น . 1.การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้านวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป มากกว่า 40 คูหา 2.พร้อมเพลิดเพลินกับการแสดงศิลปวัฒนธรรม และกิจกรรมภาคบันเทิงตลอดการจัดงาน . 3.มาร่วมสนุกกับกิจกรรมสาธิตการทำเมนูพิเศษร่วมกับคนพิเศษ . 4.ทั้งยังมีการจัดเจรจาทางธุรกิจ (BusinessMatching) จาก Buyer กลุ่มประเทศ CLMV+จีน อีกด้วย . ยังไม่หมดเพียงเท่านี้….เตรียมพร้อมพบกับ Special Guest สุดพิเศษก่อนใคร..กับ 1.น้องแมทธิว เดวิด แมทธิว โรเบิร์ตส นักแสดงนำซีรีส์ “เดือนพราง“ 2.น้องมีมี กัลย์สุดา ชนาคีรี นักแสดงนำซีรีส์ “เดือนพราง” 3.คุณหมอมินน่า พญ.แก้วทิพย์ นรนิธิวรรณ นางสาวเชียงใหม่ ประจำปี 2567 4.น้องฟ้า จิณณ์พัชญ์ชา กนกรัตนาธรรม รองอันดับ 1 นางสาวเชียงใหม่ ประจำปี 2567#ISANEvent #ISANInsight    

🪙คลังเตรียมเปิดตัว “สลากเกษียณ” ในรูปแบบสลากขูดดิจิทัล ผ่าน กอช. ลุ้นเงินล้านทุกสัปดาห์ ช่วยคนไทยเปลี่ยนเงินซื้อหวย เป็นเงินออมสลาก ถอนเงินซื้อสลากคืนได้เมื่อเกษียณ

คลังเตรียมเปิดตัว “สลากเกษียณ” ในรูปแบบสลากขูดดิจิทัล ใบละ 50 บาท ขายผ่านกอช. เพื่อจูงใจให้ออมเงินเพื่อเกษียณ โดยเงินที่ซื้อสลากจะถูกออมในกอช. ถอนได้เมื่ออายุครบ 60 ปี ออกรางวัลทุกวันศุกร์ เวลา 17.00 น. รางวัลที่ 1 รับ 1 ล้านบาท 5 รางวัล คาดเริ่มปี 2568 6 มิ.ย. 2567 ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันไทยมีปัญหาประชาชนเข้าสู่วัยเกษียณ แต่ไร้เงินเก็บ ปัญหานี้จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วของไทย และปัญหานี้แก้ไม่ได้ด้วยการอัดงบประมาณในรูปแบบเบี้ยคนชราจำนวนสูงๆ ซึ่งในที่สุดแล้วระบบงบประมาณไม่มีทางรับไหว ดังนั้น กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณา “นโยบายสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ” หรืออาจเรียกสั้นๆว่า “สลากเกษียณ” หรืออย่างไม่เป็นทางการว่า “หวยเกษียณ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมเชิงนโยบายที่รวมเอาลักษณะการชอบเสี่ยงดวงของคนไทยมาเป็นแรงจูงใจในการเก็บออมที่สามารถถอนเงินที่ซื้อสลากทั้งหมดออกมาได้ตอนเกษียณ (อายุ 60 ปี) โดยมีรายละเอียดเบื้องต้น (สามารถเปลี่ยนได้ภายหลัง) ดังนี้ 1. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ออกสลากขูดแบบดิจิทัล ใบละ 50 บาท เพื่อขายให้กับสมาชิก กอช. ผู้ประกันตน ม. 40 และแรงงานนอกระบบ (กลุ่มเป้าหมายจะเพิ่มเติมภายหลัง) ซื้อได้ไม่เกิน 3,000 บาท ต่อเดือน 2. สามารถซื้อสลากได้ทุกวัน แต่ออกรางวัลทุกวันศุกร์เวลา 17.00 น. ผู้ถูกรางวัลจะได้เงินรางวัลทันที โดยที่เงินค่าซื้อสลากถูกเก็บเป็นเงินออม แม้ว่าจะถูกรางวัลหรือไม่ก็ตาม 3. รางวัลของ ทุกวันศุกร์ กำหนดดังนี้ (อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม) 3.1. รางวัลที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท จำนวน 5 รางวัล 3.2. รางวัลที่ 2 จำนวน 1,000 บาท จำนวน 10,000 รางวัล 4. เงินค่าซื้อสลากทั้งหมดจะเป็นเงินออมของผู้ซื้อสลาก (เงินสะสม) ซึ่งจะนำเงินส่งเข้าบัญชีเงินออมรายบุคคลกับ กอช. โดย กอช. จะเป็นผู้บริหารจัดการเงินจำนวนดังกล่าว และเมื่อผู้ซื้อสลากอายุครบ 60 ปี จะสามารถถอนเงินทั้งหมดที่ซื้อสลากมาทั้งชีวิตออกมาได้ ทั้งนี้ นโยบายนี้จะเข้าแก้ไขปัญหาคนไทยแก่แต่จน แก่แต่ไม่มีเงินเก็บ เพราะการออมภาคสมัครใจในปัจจุบันไม่ได้ผล ต้องอาศัยการออมที่ผูกกับแรงจูงใจซื้อสลาก ถูกกฎหมาย เงินไม่หาย กลายเป็นเงินออมยามเกษียณ ถูกรางวัลได้เงินเลย ไม่ถูกทุกบาททุกสตางค์จะถูกเก็บเป็นเงินออมยามเกษียณ ซื้อมาก ได้ลุ้นมาก มีเงินออมมาก “นโยบายนี้อยู่ระหว่างขัดเกลารายละเอียด และต้องใช้เวลาในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของกองทุนการออมแห่งชาติ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน – 1ปี ไม่เกิดขึ้นเร็วอย่างแน่นอน แต่จะเร่งรัดให้เร็วที่สุด คาดว่าจะเริ่มขายได้ในปีหน้า” ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล ดร. เผ่าภูมิ เปิดเผยต่อว่า สำหรับรูปแบบสลากจะเป็นสลากดิจิทัลแบบขูด ตัวอย่างเช่น สลาก 1 ใบ …

🪙คลังเตรียมเปิดตัว “สลากเกษียณ” ในรูปแบบสลากขูดดิจิทัล ผ่าน กอช. ลุ้นเงินล้านทุกสัปดาห์ ช่วยคนไทยเปลี่ยนเงินซื้อหวย เป็นเงินออมสลาก ถอนเงินซื้อสลากคืนได้เมื่อเกษียณ อ่านเพิ่มเติม »

ISAN Insight Summit 2024 งานเสวนาเศรษฐกิจอีสานแห่งปี ในธีม ISAN Soft Power ขุมทรัพย์ขับเคลื่อน ‘อีสานใหม่’ สู่สากล ‘งานเดียวที่ตอบโจทย์ ทั้งความรู้ และความ “ม่วน” ที่อยู่ในตัวคุณ’

ISAN Insight Summit 2024 __________________________________ ISAN Soft Power ขุมทรัพย์ขับเคลื่อน ‘อีสานใหม่’ สู่สากล . เตรียมพบกับงานสัมมนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจาก ISAN Insight ‘งานเดียวที่ตอบโจทย์ ทั้งความรู้ และความ “ม่วน” ที่อยู่ในตัวคุณ’ . งานสัมมนาเศรษฐกิจแห่งปี พร้อมโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจอีสาน จากนักวิชาการ นักธุรกิจ และ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละอุตสาหกรรม 5F: Food Fashion Festival Fighting Film งานที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื่องในวาระฉลองครบ 60 ปี จะเป็นสะพานเชื่อม นโยบายสู่โมเดลการพัฒนาเมือง เพื่อประชาชน และสร้างเศรษฐกิจต้อนรับ ‘อีสานใหม่’ . พบกับ 2 องค์ปาฐก ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในหัวข้อ “การขับเคลื่อนอีสานใหม่” นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ในหัวข้อ “ISAN Soft Power โอกาสและความท้าทายในการพลิกเศรษฐกิจอีสานให้รุ่งเรืองและยั่งยืน” . . พร้อมกับ เสวนาหัวข้อ “ISAN Soft Power 5 ขุมทรัพย์ (5F) ขับเคลื่อนอีสานใหม่สู่สากล” . Food อาหารอีสาน “แซ่บ” สู่การเป็นครัวของโลก โดย คุณศิโรรัตน์ เถาว์โท เจ้าของร้าน ‘หมก’ เสิร์ฟรสชาติ Authentic ที่อยู่ในครัวของคนอีสาน . Fashion ผ้าอีสาน “งามโพด” สู่แฟชั่นสร้างสรรค์อินเตอร์ โดย คุณรัฐพล ทองดี เจ้าของแบรนด์ ‘ครามพล’ แบรนด์อีสานที่หยิบผ้าไทยมาผสมผสานแฟชั่นสตรีทแวร์ สู่เวทีระดับสากล VIENNA FASHION WEEK 2023 . Festival เทศกาลอีสาน “ม่วน” สู่แม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดย คุณสุชาติ อินทร์พรหม ผู้ก่อตั้งวงหมอลำ ‘อีสานนครศิลป์’ และผู้อำนวยการรายการ ‘หมอลำไอดอล’ ที่สร้างปรากฏการณ์หมอลำฟีเวอร์ . Fighting กีฬามวยอีสาน “คักขนาด” สู่เวทีมวย โดย ร.ต.อ.นิรันดร์ ยศพล เจ้าของค่ายมวย ‘ดาบรัน สารคาม’ ผู้นำพามวยไทย แดนอีสาน สู่สายตาชาวโลก . Film บันเทิง …

ISAN Insight Summit 2024 งานเสวนาเศรษฐกิจอีสานแห่งปี ในธีม ISAN Soft Power ขุมทรัพย์ขับเคลื่อน ‘อีสานใหม่’ สู่สากล ‘งานเดียวที่ตอบโจทย์ ทั้งความรู้ และความ “ม่วน” ที่อยู่ในตัวคุณ’ อ่านเพิ่มเติม »

อาหารอีสาน แดน ปลาร้า “วันส้มตำสากล” 2 มิ.ย. เปิดประวัติ ‘ส้มตำ’ มาจากไหน มีครั้งแรกเมื่อไหร่?

2 มิถุนายน “วันส้มตำสากล” วันที่นานาชาติให้การยอมรับว่า ส้มตำไทย อร่อย และยกให้ ส้มตำ เป็น อาหารสากล เปิดที่มาของคำว่า “ส้มตำ” มาจากไหน มีครั้งแรกเมื่อไหร่ ส้มตำ ภาพจาก FREEPIK “วันส้มตำสากล” (International Somtum Day) ตรงกับวันที่ 2 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันที่นานาชาติให้การยอมรับว่า ส้มตำไทย นั้นอร่อยและยกย่องให้ ส้มตำ เป็น อาหารสากล ชื่อ ส้มตำ เกิดจากการนำคำสองคำมาผสมกันนั่นเอง คำแรก “ส้ม” มาจากภาษาท้องถิ่น ที่หมายความว่ารสเปรี้ยว ส่วนคำที่สองคือ “ตำ” หมายความว่า การใช้สากหรือสิ่งของอื่นที่คล้ายคลึงทิ่มลงไปอย่างแรงเรื่อยๆ เมื่อสองคำมารวมกันก็จะได้ความหมายคือ อาหารรสเปรี้ยวที่ทำโดยการตำนั่นเอง ที่มาของวันส้มตำสากล เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2559 โดย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับ สมาคมผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารไทยมีการเสนอให้ องค์การสหประชาชาติ (ยูเนสโก้) ขึ้นทะเบียน “ส้มตำ” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 คณะกรรมการมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของยูเนสโก้ ได้พิจารณาและ ให้การรับรองส้มตำ เข้าร่วมในรายการ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของไทย ความหมายของวันส้มตำสากล เป็นการ ยกย่อง ให้ “ส้มตำ” เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เป็นการ ส่งเสริม ให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ได้รู้จัก ลิ้มลอง และชื่นชอบอาหารไทย เป็นการ กระตุ้น เศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและร้านอาหาร เป็นการ อนุรักษ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย กิจกรรมในวันส้มตำสากล มีการจัดงาน เทศกาลส้มตำ ทั่วประเทศ มีการ ประกวดตำส้มตำ ในรูปแบบต่างๆ มีการ จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิญชวนนักท่องเที่ยวให้มาลองชิมส้มตำ มีการ เผยแพร่ข้อมูล เกี่ยวกับส้มตำ ผ่านสื่อต่างๆ ส้มตำ อาหารไทยที่โด่งดังไปทั่วโลก เปรียบเสมือนตัวแทนของวัฒนธรรมไทย การมี “วันส้มตำสากล” จึงเป็นการช่วย ส่งเสริม ให้ส้มตำเป็นที่รู้จัก และ นิยมมากยิ่งขึ้น ข้อสันนิษฐานเรื่องที่มาของ ส้มตำ ส่วนผสมในเอกสารของส้มตำ ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีการนำมะละกอดิบมาปรุงเป็นส้มตำเป็นครั้งแรกเมื่อใด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงที่มาของส่วนประกอบต่างๆ ของส้มตำ อาจได้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการสันนิษฐานถึงที่มาของส้มตำได้ มะละกอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ชาวสเปนและโปรตุเกสนำมาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคต้นกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่ชาวฮอลันดาอาจนำพริกเข้ามาเผยแพร่ในเวลาต่อมาในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีทูตชาวฝรั่งเศสผู้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา คือ นีกอลา แฌร์แวซ (Nicolas Gervaise) และซีมง เดอ ลา ลูแบร์ พรรณนาว่าในเวลานั้นมะละกอได้กลายเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้ว และได้กล่าวถึงกระเทียม มะนาว มะม่วง กุ้งแห้ง ปลาร้า ปลากรอบ กล้วย น้ำตาล แตงกวา พริกไทย ถั่วชนิดต่างๆ ที่ล้วนสามารถใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงส้มตำได้ขณะเดียวกันได้เขียนว่า ในขณะนั้นสยามไม่มีกะหล่ำปลี และชาวสยามนิยมบริโภคข้าวสวย (ในบางหลักฐานหลายอย่างชี้เห็นว่าชาวสยามกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนข้าวเจ้านั้นจะปลูกสำหรับให้กับเจ้านายขุนนางและสำนักราชวังเท่านั้น …

อาหารอีสาน แดน ปลาร้า “วันส้มตำสากล” 2 มิ.ย. เปิดประวัติ ‘ส้มตำ’ มาจากไหน มีครั้งแรกเมื่อไหร่? อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top