พามาเบิ่ง ครึ่งปีแรก ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร  ด้านผลผลิตพืช  เป็นจั่งใด๋ ?

พามาเบิ่ง

ครึ่งปีแรก ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร 

ด้านผลผลิตพืช  เป็นจั่งใด๋ ?

 

มาดูเหตุผลที่ทำให้ผลผลิตแต่ละอย่างเพิ่มขึ้น

 

ข้าวนาปรัง

ผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจาก เกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม รวมทั้งเกษตรกร

ขยายเนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง

 

อ้อยโรงงาน

ผลผลิตเพิ่มขึ้นเพราะราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้เกษตรกรเอาใจใส่ผลผลิต อีกทั้งตลาดยังมีความต้องการ ทำให้ราคานํ้าตาลในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาขายปรับตัวเพิ่มขึ้น

 

ยางพารา

ผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้ดูแลรักษามากขึ้น และเพิ่มจำนวนวันกรีด ทำให้ปริมาณ การผลิตยางพาราโดยรวมเพิ่มขึ้น อีกทั้งความต้องการใช้ยางพาราในอุตสาหกรรมยังมีอย่างต่อเนื่อง 

 

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกและเกษตรกรมีความชำนาญในการ

กำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชมากขึ้น อีกทั้งตลาดมีความต้องการนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ราคาจึงปรับตัวสูงขึ้น 

 

สับปะรด

เนื่องจากเกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูกช่วงต้นปี 2564 มีปริมาณน้ำเพียงพอส่งผลให้ผลผลิตภาพรวมเพิ่มขึ้น ด้านราคาที่ลดลงเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้โรงงานแปรรูปสับปะรดลดกำลังการผลิตลง

 

สาเหตุที่ทำให้ผลผลิตลดลง 

ข้าวเจ้านาปี & ข้าวเหนียวนาปี

ผลผลิตลดลง เนื่องจากผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงเดือนกันยายนของปี 2564 ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวบางส่วนได้รับความเสียหาย ส่วนใหญ่เกิดในบริเวณจังหวัดนครราชสีมาและชัยภูมิ ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตลดลง 

อีกทั้งระดับราคายังลดลงอีกด้วย เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจากสถานการณ์การโควิด-19 ทำให้กำลังซื้อลดลง และกระทบต่อการบริโภคภายในประเทศที่มีนักท่องเที่ยวลดลง ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลง

 

มันสำปะหลัง

เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม ปี 2564 ทำให้เนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลงและเกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกอ้อยโรงงานที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตลดลงเล็กน้อย

แต่มีราคาที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์

หันมาใช้มันสำปะหลังทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 

อ้างอิงจาก : 

ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

 

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การเกษตร #เกษตรอีสาน #ผลผลิตการเกษตร

 

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top