August 2022

พามาเบิ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภคภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋ ? (เดือนกรกฎาคม 2565) อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า 7.09% (YoY)

สถานการณ์ “เงินเฟ้อ” ประจำเดือน กรกฎาคม 2565 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข้อมูลการปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อถึง 7.09% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ก.ค. 64) ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนกรกฎาคม 2565 เท่ากับ 107.41 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM) ลดลง -0.16% (เดือนมิถุนายน 2565 สูงขึ้น 0.90%) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้อยู่ที่ 7.61% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าขยายตัวในอัตรา ที่ใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา โดยอัตราเงินเฟ้อของภาคใต้สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งสูงขึ้น 7.81% รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และกรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงขึ้น 7.80% 7.73% และ 7.68% ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ 7.09% เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ามันเชื้อเพลิง กับข้าว สำเร็จรูป และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ผักและผลไม้ อาทิ ขิง ถั่วฝักยาว มะนาว และส้มเขียวหวาน เป็นต้น อัตราการเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาคอีสานที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น 1. กลุ่มอาหารสดและพลังงาน สูงขึ้น 14.41% โดยเฉพาะพลังงานสูงขึ้นถึง 31.35% เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าจากการอ่อนค่าของเงินบาท และความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้น 9.97% โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 25.57% ปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก 3. หมวดเคหสถาน สูงขึ้น 7.45% โดยเฉพาะค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น 62.71% ตามการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่าเอฟที (FT) ประจำเดือน กันยายน-ธันวาคม 2565 4. หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 7.30% โดยเฉพาะน้ำมันและไขมันสูงขึ้นถึง 33.38% แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าและบริการในวงกว้าง ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และราคาสินค้าเกษตรสำคัญ รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้มากขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อท่ัวไปปี 2565 เป็นระหว่างร้อยละ 5.5 – 6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) จากเดิมที่ คาดการณ์ไว้ในเดือนมีนาคม …

พามาเบิ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภคภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋ ? (เดือนกรกฎาคม 2565) อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า 7.09% (YoY) อ่านเพิ่มเติม »

Influencer ชื่อดังในอีสาน ที่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง 

Influencer ชื่อดังในอีสาน  ที่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง    อ้างอิงจาก:  https://www.bobswinereviews.com/11am-cafe-and-space/ https://www.youtube.com/watch?v=dK6xwmBpAtI  https://www.youtube.com/watch?v=LQylr-U1jaw  https://www.youtube.com/watch?v=8tJAia7VCKA  https://www.youtube.com/watch?v=2OXZKumgoy0  https://www.youtube.com/watch?v=y2lysYQ5JvM&t=8s    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #MayyR #11AM #Paweenees #Fromscrath #แตงโมอวบอึ๋ม #แตงโมแซ่บเวอร์ #ICEPADIE #ไอซ์พาดี้ #HappySunday

ธุรกิจอาหาร จากแดนอีสานมาไกลถึงเมืองหลวง

ธุรกิจอาหาร จากแดนอีสานมาไกลถึงเมืองหลวง    เมื่อพูดถึงอีสาน หลายคนจะนึกถึงอาหารอีสานที่มีความแซ่บ ทั้งรสเปรี้ยว เผ็ด เป็นที่นิยมสำหรับคนที่ชื่นชอบอาหารรสจัด วันนี้ ISAN Insight จะพาทุกคนมารู้จักกับร้านอาหารอีสาน ที่มาไกลถึงกรุงเทพฯ   ตำมั่ว (tummour) ตอนนี้ ตำมั่ว ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้เครือบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ยิ่งทำให้แบรนด์เติบโตแบบก้าวกระโดด ศิรุวัฒน์เสริมว่าการตัดสินใจจับมือกับเครือใหญ่อย่างเซ็นกรุ๊ป เพราะต้องการผลักดันแบรนด์ที่เกิดจากคนไทยให้ดังไกลไปต่างแดนจนสร้างความภูมิใจให้กับคนไทย อีกทั้งเพื่อให้จดจำง่ายสำหรับคนที่มาทานหรือต้องการบอกต่อ ได้ทำการตลาดอย่างเหนือชั้นอย่าง Music marketing โปรโมทร้านผ่านเพลง “บ่เป็นหยัง” ของก้องห้วยไร่ ซึ่งปัจจุบันมียอดวิวกว่า 50 ล้านวิว ทำให้ผู้คนรู้จักมากขึ้นไปอีก   ซาว (ZAO) ซาวอุบล คือร้านอาหารอีสานบนถนนเลี่ยงเมืองอุบลที่ก่อตั้งโดย คุณณัฐธิดา พละศักดิ์ (อีฟ) อดีตแฟชั่นดีไซเนอร์ที่กลับบ้านมาตั้งหลักปักฐานทำธุรกิจรถไถนาและขยายออกมาเป็นร้านอาหารอีสานสูตรจากยายจุย ภูภักดี ก่อนจะเป็นร้านซาวอุบล อีฟเคยทำโปรเจกต์ลาวดีเพื่อหาคำตอบให้กับอาหารอีสาน และค่อยๆ เรียนรู้การเลือกใช้วัตถุดิบมาทำอาหารตามฤดูกาลของคนอีสาน การถนอมอาหาร รวมทั้งการปรุงอาหาร โดยเป้าหมายคือการขยายให้ซาวอุบลเติบโตเพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน เพราะเลือกใช้พืชผัก เนื้อสัตว์ และวัตถุดิบต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมาขายเอง ตั้งชื่อร้านว่า ซาวอุบล เพราะในภาษาภาษาอีสานคำว่า “ซาว” แปลว่าควานหรือคว้าอะไรบางอย่างมาใส่ สื่อได้ว่ามีอะไรก็ซาวมาทำอาหาร ซาวพืชผักสวนครัวมา ซาววัตถุดิบที่ชาวบ้านนำมาจากต่างอำเภอ    เผ็ดเผ็ด (Phed Phed) กว่า 6 ปี ของการเริ่มต้นทำร้านสาขาแรก (ตั้งแต่ปี 2559) มาวันนี้เผ็ดเผ็ดสามารถปักหมุดหมายให้บริการลูกค้าในกว่า 6 สาขา ท่ามกลางสถานการณ์ความซบเซาของเศรษฐกิจ และธุรกิจร้านอาหารอีสานที่ดูจะเป็น Red Ocean ในประเทศไทย  ไม่ต้องมีชะลอม กระติ๊บข้าวเหนียว หม้อดิน หรือพร็อพใดๆ ที่สื่อถึงความเป็นร้านอาหารอีสานให้มากความ เพราะเผ็ดเผ็ดเลือกที่จะหยิบจับความโมเดิร์น ความทันสมัย และลุคที่แตกต่างออกไปมาออกแบบร้านของพวกเขาในแต่ละสาขาให้หวือหวา และเก๋ไก๋ สาเหตุที่ทำให้สามารถก้าวข้ามความท้าทายของ โควิด-19 ได้ คือเลือกกระจายความเสี่ยงด้วยการรับลูกค้าในรูปแบบการ Take Away หรือเดลิเวอรี่ด้วย โดยปัจจุบันรายได้ของพวกเขาในส่วนนี้คิดเป็นสัดส่วนมากถึงกว่า 40-50% ต่อสาขาเลยทีเดียว  เป้าหมายในอนาคต อาจจะเลือกแตกแบรนด์ไปทำอาหารในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่ส้มตำ อาจจะเป็นแบรนด์สินค้าแฟชั่น เครื่องแต่งกาย ของที่ระลึก โดยสาระสำคัญคือการที่ทั้งคู่ยังคงต้องสนุก และมีความสุขในสิ่งที่พวกเขาได้ทำ     อ้างอิงจาก:  https://sumrej.com/sumrej-class-best-tummour/ https://tummouroriginal.com/about/  https://adaymagazine.com/zao-ubon/  https://urbancreature.co/zao-ekkamai/  https://thestandard.co/zao-ekkamai-branch/  https://adaymagazine.com/taste-1/  https://www.phedphed.com/?fbclid=IwAR3n2QhxZm70dzOietrM36mGSeF2EauwhjOdDi4wYipzfK15WX0ExHDvWPg  https://thestandard.co/phed-phed-cafe-unique-strategy-that-no-one-else-does/    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ตำมั่ว #tummour #ซาว #ZAO …

ธุรกิจอาหาร จากแดนอีสานมาไกลถึงเมืองหลวง อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง เงินฝากของคนในอีสาน เป็นจังใด๋แหน่

ในเดือนพฤษภาคม 2565 สถาบันการเงินในภาคอีสานมีจำนวน 804 แห่ง ซึ่งจำนวนสาขาธนาคารลดลงจากเดือนมกราคม จำนวน 16 แห่ง เนื่องจากการใช้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันธนาคารยังเน้นการขยายสาขาในห้างสรรพสินค้า เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน ด้านเงินฝากคงค้างของภาคอีสาน อยู่ที่ 944,174 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนมีเพียง 5.6% ของยอดเงินฝากคงค้างประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นเงินฝากในรูปบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ 759,703 ล้านบาท (คิดเป็น 80.5%) รองลงมาเป็นเงินฝากประจำ 158,104 ล้านบาท (คิดเป็น 16.7%) และอื่นๆ (คิดเป็น 2.8%) ตามรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจำนวน โดยยอดเงินฝาก 59.2% กระจายอยู่ใน 5 จังหวัดหลักของภาคอีสาน ได้แก่ อันดับที่ 1 นครราชสีมา 189,880 ล้านบาท อันดับที่ 2 ขอนแก่น 131,693 ล้านบาท อันดับที่ 3 อุดรธานี 100,397 ล้านบาท อันดับที่ 4 อุบลราชธานี 85,824 ล้านบาท อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ 51,216 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับปี 2564 พบว่า ยอดเงินฝากคงค้างในปี 2565 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.8% โดยเงินฝากประจำมีการปรับสัดส่วนลดลง 18,002 ล้านบาท หรือ -10.2% และเงินฝากออมทรัพย์มีการปรับสัดส่วนเพิ่มขึ้น 59,411 ล้านบาท หรือ 8.5% ทั้งนี้ในเดือน พฤษภาคม ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ปี 2561 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 725,910 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.5% (YoY) ปี 2562 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 755,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.0% (YoY) ปี 2563 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 844,314 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.8% (YoY) ปี 2564 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 900,877 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.7% (YoY) ปี 2565 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 944,174 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.8% (YoY) จะเห็นได้ว่า เงินฝากขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ ตามการทยอยลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินหลายครั้ง จากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เงินเฟ้อ …

พาส่องเบิ่ง เงินฝากของคนในอีสาน เป็นจังใด๋แหน่ อ่านเพิ่มเติม »

มิตรผล ฟื้นชีพตึกร้างทุ่มพันล้านพลิกโฉมสู่ “ Khon Kaen Innovation Center ”

มิตรผล ฟื้นชีพตึกร้างทุ่มพันล้านพลิกโฉมสู่  “ Khon Kaen Innovation Center ”   อาคารร้าง สูง 28 ชั้น ที่ตั้งใจกลางเมืองขอนแก่น ของกลุ่มโฆษะ มากว่า 23 ปี กำลังจะกลายเป็นอดีต เมื่อประธานใหญ่ของกลุ่มน้ำตาลมิตรผล คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ได้ตัดสินใจเจรจากับประธานกลุ่มโฆษะ คุณชาติชาย โฆษะวิสุทธิ์  ซื้อที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวเมื่อช่วงปลายปี 2560 พร้อมกับจัดตั้ง “บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด” ขึ้น เพื่อประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และให้บริการบริหารอาคารดังกล่าว ด้วยทุนจดทะเบียน 980 ล้านบาท   “ Khon Kaen Innovation Center ” ศูนย์นวัตกรรมด้านการพัฒนานวัตกรรมการเกษตร อาหาร และไบโอเทค โดยหัวใจหลักคือ เป็นศูนย์นวัตกรรมที่เน้นการบ่มเพาะธุรกิจ (Incubation center) ให้กับสตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในท้องถิ่นหรือทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาใช้บริการได้ ด้วยพื้นที่ห้องปฏิบัติการ 1,200 – 1,300 ตารางเมตร หรือกินพื้นที่ทั้งหมด 1 ชั้นครึ่งให้กับการวิจัยและการพัฒนาโดยเฉพาะ   อีกทั้งยังมีพื้นที่โรงแรมเพื่อเตรียมพร้อมรองรับคนจากที่ต่างๆ บริการโดยโรงแรม Ad Lib ซึ่งจะอยู่พื้นที่ด้านบนสุดของอาคาร ชั้น 27-28 เป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว ที่ทันสมัย มีวิวทิวทัศน์สวยงาม เห็นตัวเมืองขอนแก่นได้โดยรอบ   ศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้ยังมีแผนที่จะเปิดเป็นศูนย์ธุรกิจด้านบริการสุขภาพ (Wellness Clinic) ซึ่งเป็นการต่อยอดจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีโครงการ Medical Hub ให้มีบริการที่ทันสมัยใจกลางเมือง ตอบโจทย์กับผู้มาใช้บริการ ซึ่งทั้งหมดนี้ยังมี บมจ.บ้านปูเข้ามาช่วยดูแลพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ภายในอาคารให้อีกด้วย และจะมีการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar System) และศูนย์บริการให้เช่ารถยนต์ไฟฟ้า (EV) ต่ออีกในอนาคต และ คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการในช่วงสิ้นปี 65 นี้   อ้างอิงจาก:  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) https://www.nia.or.th/KKInnoCenter  https://www.prachachat.net/local-economy/news-541037  ขอบคุณรูปภาพจาก: Khon Kaen Talk

Update “ถนนวงแหวนรอบเมืองโคราช” ดำเนินการแล้วกว่า 80% คาดสร้างเสร็จปี 66

Update “ถนนวงแหวนรอบเมืองโคราช”  ดำเนินการแล้วกว่า 85% คาดสร้างเสร็จปี 66   ถนนวงแหวน (Ring Road) เป็นถนนที่สร้างขึ้นล้อมรอบตัวเมือง สามารถเดินทางจากฝั่งเมืองหนึ่ง ไปอีกฝั่งหนึ่งของเมืองได้โดยไม่ต้องเข้าเมืองเพื่อเปลี่ยนเส้นทาง ช่วยแบ่งเบาภาระการจราจรและรองรับการขยายตัวของเมือง โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 290 สายถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา (วงแหวนรอบเมืองโคราช) งบประมาณรวม 12,429 ล้านบาท มีระยะทางทั้งหมด 110 กิโลเมตร คืบหน้าแล้วกว่า 85% ปัจจุบันยังเหลือการก่อสร้างอีกประมาณ 30 กิโลเมตร คิดเป็น 15% จากงบประมาณรวมทั้งหมด คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งโครงการปี 2566   โครงการได้เริ่มก่อสร้างถนนวงแหวนรอบเมืองขึ้นในปี 2549 เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่จึงมีการแบ่งงานก่อสร้างออกเป็นช่วงๆ เริ่มตั้งแต่ทางหลวงหมายเลข 205 – ทางหลวงหมายเลข 224 อยู่ในพื้นที่ อ.ปักธงชัย, อ.เมืองนครราชสีมา และ อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา เป็นถนนวงแหวนรอบเมืองที่มีขนาดใหญ่และมีระยะทางยาวที่สุดในต่างจังหวัด    อีกทั้งยังถือเป็นถนนวงแหวนที่มีระยะทางยาวเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย รองมาจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) การก่อสร้างของโครงการ แบ่งออกเป็น 11 ตอน ได้แก่ ทิศเหนือ 4 ตอน (ระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร) ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 ตอน อีก 2 ตอนอยู่ระหว่างดำเนินการ และทิศใต้ 7 ตอน (ระยะทางประมาณ 62 กิโลเมตร) ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 ตอน อีก 5 ตอนอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยตลอดแนวที่ถนนตัดผ่านนั้น พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและพื้นที่เกษตรกรรม โดยที่ผ่านมา ได้เปิดใช้เส้นทางวงแหวนด้านใต้บางส่วน ระยะทางรวม 29.22 กิโลเมตร ที่ต้องการบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะเป็นเส้นทางที่สามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้เส้นทางและประชาชนในพื้นที่ตัวเมืองนครราชสีมาและโดยรอบ ส่งเสริมศักยภาพทางด้านการคมนาคม การค้า การขนส่ง โดยรวมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสามารถรองรับการขยายตัวของผังเมืองรวมในอนาคตอีกด้วย   อ้างอิงจาก : https://www.thansettakij.com/economy/534019  http://www.doh.go.th/content/page/news/144083  https://mgronline.com/columnist/detail/9650000004673  #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โคราช #นครราชสีมา #ถนนวงแหวนรอบเมืองโคราช #วงแหวนรอบเมืองโคราช

ชวนเบิ่ง GPP แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน เป็นจังใด๋แหน่

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) หมายถึง มูลค่าการผลิตสินค้าและ บริการขั้นสุดท้ายของจังหวัด ซึ่งมีค่าเท่ากับมูลค่าเพิ่ม (value added) จากกิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดที่ผลิตขึ้นในขอบเขตของจังหวัด ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน (Per capita GPP) เป็นตัวเลขท่ีแสดงถึงความสามารถในการสร้างรายได้ของจังหวัดเฉลี่ยต่อคน ข้อมูลนี้ใช้เปรียบเทียบกันระหว่างจังหวัด เพื่อดูระดับความแตกตางของความสามารถในการสร้าง รายได้ (Generated of factor income) จังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงแสดงถึงความสามารถ หรือศักยภาพในการสร้างรายได้ท่ีสูงกว่าจังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยตํ่า ในปี 2563 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอีสาน หรือที่เรียกว่า GRP (Gross Regional Product) มีมูลค่าเท่ากับ 1,590,894 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าในส่วนนี้ คิดเป็นสัดส่วนได้เพียง 10.2% ของมูลค่า GDP ของประเทศไทยทั้งประเทศ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 16 ล้านล้านบาท ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในภาคอีสาน เท่ากับ 86,233 บาทต่อปี หรือ 7,186 บาทต่อเดือน ซึ่งน้อยที่สุดในบรรดาภูมิภาคทั้ง 6 ภาคของประเทศไทย และเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทย ที่เท่ากับ 224,962 บาท จะเห็นว่า รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในภาคอีสานน้อยกว่ารายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทยเกือบ 3 เท่า หรือ 38.3% ของรายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทย 5 อันดับจังหวัดที่มี GPP สูงสุด 1. นครราชสีมา มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 294,604 ล้านบาท 2. ขอนแก่น มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 208,472 ล้านบาท 3. อุบลราชธานี มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 129,081 ล้านบาท 4. อุดรธานี มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 108,113 ล้านบาท 5. บุรีรัมย์ มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 92,023 ล้านบาท จะเห็นว่า จังหวัดที่กล่าวมา มีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกันกว่า 832,293 ล้านบาท หรือ 52.3% ของมูลค่าเศรษฐกิจของภาคอีสาน แสดงให้เห็นว่า ความมั่งคั่งของคนในภาคอีสานมีความกระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่จังหวัด ทำให้เกิดปัญหาที่ตามมา คือ แรงงานจากจังหวัดในภาคอีสานจำนวนมากไปทำงานใน 5 จังหวัดที่มั่งคั่งดังกล่าว และบางส่วนอาจย้ายเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ เพื่อหาโอกาสในชีวิตที่ดีขึ้น นี่คือสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมของภาคอีสานไม่ได้ถูกขับเคลื่อนให้กระจายไปแต่ละพื้นที่ได้ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ทุกภาคส่วนควรกระตุ้นให้เศรษฐกิจภาคอีสานเติบโตมากขึ้นกว่านี้ และส่งเสริมให้ประชากรอีสานมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง เมื่อภาคอีสานมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ก็จะทำให้เศรษฐกิจทั้งประเทศไทยดีขึ้นตามทั้งทางตรงและทางอ้อม อ้างอิงจาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=12388… https://www.longtunman.com/25407 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #GPPแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน #ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด #ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน

Scroll to Top