August 2022

พันธุ์ข้าวในภาคอีสาน มีพันธุ์อะไรบ้าง ? 

พันธุ์ข้าวในภาคอีสาน มีพันธุ์อะไรบ้าง ?    แนวโน้มและโอกาสด้านอุตสาหกรรมข้าว ในปี 2565-2567  มุมมองจากศูนย์วิจัยกรุงศรี ผลผลิตข้าวของไทยมีทิศทางเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยหนุนจากแนวโน้มสภาพอากาศ ปริมาณฝน และน้ำในเขื่อนที่คาดว่าจะเอื้ออำนวย ประกอบกับมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐโดยเฉพาะโครงการประกันรายได้ที่น่าจะมีต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรขยายพื้นที่และเพิ่มรอบการเพาะปลูก  อีกทั้งความต้องการบริโภคข้าวในประเทศมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นตามการฟื้นตัวของธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม และอุตสาหกรรมการผลิตอาหารต่อเนื่อง ด้านการส่งออกคาดว่าจะกลับมาขยายตัวตามกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่ทยอยฟื้นตัว ประกอบกับราคาข้าวของไทยคาดว่าจะปรับลดลงตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น   อ้างอิงจาก: กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.thairicedb.com/rice.php https://www.thairicedb.com/rice.php?cid=1  http://thairiceresearchjournal.ricethailand.go.th/images/PDF/11_1_63/02.pdf  https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=3&chap=1&page=t3-1-infodetail07.html  https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/agriculture/rice/io/io-rice-2022    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #พันธุ์ข้าวภาคอีสาน #ข้าวอีสาน #มหาสารคาม #ร้อยเอ็ด #ยโสธร  #ศรีสะเกษ #สุรินทร์ #สกลนคร #กาฬสินธุ์ #อุบลราชธานี #นครราชสีมา #บุรีรัมย์ #ขอนแก่น #หนองคาย

พาซอมเบิ่ง 7 จังหวัดในภาคอีสานที่มีมูลค่าการลงทุนสะสม เพื่อสร้างโรงงานหลายกว่าหมู่

ในปี 2564 มูลค่าการลงทุนสะสมในภาคอีสานมีจำนวน 637,134 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 2.1% และมีจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจำนวน 8,919 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 3.9% 7 จังหวัดที่มูลค่าการลงทุนสะสมมากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา มีมูลค่า 201,354 ล้านบาท อันดับที่ 2 ขอนแก่น มีมูลค่า 104,376 ล้านบาท อันดับที่ 3 อุบลราชธานี มีมูลค่า 56,062 ล้านบาท อันดับที่ 4 อุดรธานี มีมูลค่า 38,157 ล้านบาท อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ มีมูลค่า 32,330 ล้านบาท อันดับที่ 6 ชัยภูมิ มีมูลค่า 25,444 ล้านบาท อันดับที่ 7 สุรินทร์ มีมูลค่า 22,462 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า จังหวัดนครราชสีมามีมูลค่าการลงทุนสะสมเพื่อสร้างโรงงานมากที่สุดในภาคอีสาน เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีกำลังซื้อสูง และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งในหลายทำเลก็กำลังมีการเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยมีการขยายตัวของเมืองไปยังหัวเมืองต่างๆ อีกทั้งยังมีความพร้อมในการรองรับการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในจังหวัดเองและการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค จึงทำให้นักลงทุนภาคเอกชนเข้ามาลงทุน โดยปัจจุบันเป็นจังหวัดที่มีการลงทุนจากภาคเอกชนเป็นเงินจำนวนมาก แนวโน้มการลงทุนในภาคอีสาน ความกังวลต่อ COVID-19 ที่น้อยลงทำให้การลงทุนในภาคอีสานปรับตัวดีขึ้น แต่ยังคงเน้นที่อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมเป็นหลัก และจากปัจจัยกดดันทั้งด้านต้นทุนที่สูงขึ้น รวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ทำให้แนวโน้มการลงทุนภาคอีสานชะลอตัวลง การลงทุนในภาคอีสานมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีการขยายตัวอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2564 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสินค้าในประเทศคู่ค้าที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างยังคงทรงตัว และมีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อย การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในภาคอีสาน ยังเน้นลงทุนในอุตสาหกรรมเดิม ที่มีศักยภาพเป็นหลัก ซึ่งเน้นอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปอาหาร อ้างอิงจาก: https://www.diw.go.th/webdiw/static-fac/ https://baanbaan.co/story/โคราชดียังไง-ทำไมถึงน่าอยู่/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #มูลค่าการลงทุนสะสม #โรงงานอุตสาหกรรม #นครราชสีมา #ขอนแก่น #อุบลราชธานี #อุดรธานี #บุรีรัมย์ #ชัยภูมิ #สุรินทร์ #โรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ

Big 4 of ISAN จังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน 

Big 4 of ISAN  จังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน    แนวโน้มในอนาคต เนื่องจากภาคอีสานเริ่มมีแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจหลากหลายโครงการ ถ้ามีการเตรียมความพร้อมที่ดี​ จะเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพ​ และมีเศรษฐกิจที่มั่นคง​ เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติ​ ทรัพยากรมนุษย์​ และยังเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอินโดจีน​ ที่มีการคมนาคมเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์​    อ้างอิงจาก: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ  https://www.jangwat.com/northeast/136/ http://www.ubondopa.com/default.aspx  http://www.2014.udonthani.go.th/pdf/udonthani.pdf https://www2.nakhonratchasima.go.th/content/general  http://www.kkpao.go.th/kkpao/uploads/editor/5551be13a81ff.pdf  https://www.koratdaily.com/blog.php?id=13789 

พาส่องเบิ่ง 6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว

ในเดือน มกราคม – มิถุนายน 2565 ภาคอีสานมีมูลค่าการค้าชายแดนกับ สปป.ลาว 106,622 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 12.6% ของการค้าชายแดนทั้งหมดในประเทศ โดยมีการส่งออกมูลค่ากว่า 69,567 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในช่วงเดือนเดียวของปีก่อนหน้า 19.8% และมีมูลค่าการนำเข้ากว่า 37,055 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.3% 6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว หนองคาย => มูลค่าการส่งออก 36,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.5% มุกดาหาร => มูลค่าการส่งออก 17,233 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54% อุบลราชธานี => มูลค่าการส่งออก 8,492 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.2% เลย => มูลค่าการส่งออก 1,830 ล้านบาท ลดลง -25.3% นครพนม => มูลค่าการส่งออก 3,888 ล้านบาท ลดลง -16.4% บึงกาฬ => มูลค่าการส่งออก 1,675 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77.2% จะเห็นได้ว่า หนองคายมูลค่าการส่งออกมากกว่าทุกจังหวัด เนื่องจากเป็นด่านหลักในการส่งออกสินค้าจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไปยัง สปป. ลาว โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็น ถึงแม้ว่า สปป. ลาว จะได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้ออย่างหนัก แต่สินค้าที่ส่งออกจากด่านหนองคาย จะเป็นสินค้ากลุ่มสุดท้ายที่ลาวจะยังมีการนำเข้า อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยที่ตั้งของอีสานที่เป็นด่านสำคัญในการส่งออกสินค้าไป สปป.ลาว รวมถึงปัจจัยสนับสนุนจาก รถไฟจีน–ลาว จึงทําให้อีสานอยากวางตำแหน่งตัวเอง เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง แต่ปัจจุบันจากหลายๆปัจจัยเสี่ยง อาจทําให้แผนในการพัฒนาอีสานเป็น Gate ของภูมิภาคชะงัก อ้างอิงจาาก: http://btsstat.dft.go.th/มูลค่าการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน/การค้าชายแดนไทย-สปปลาว/มูลค่าการค้าชายแดนไทย-สปปลาว-รายจังหวัด #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การค้าชายแดน #การค้าชายแดนไทยลาว #ลาว

ชวนเบิ่ง การใช้ไฟฟ้าของคนในภาคอีสาน

เห็นได้ว่าในช่วงนี้ มีการขึ้นค่า Ft งวด ก.ย.-ธ.ค. 2565 ด้วยการขึ้นค่าไฟ 4.72 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือปรับขึ้น 17% จากค่า Ft อยู่ที่ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย วันนี้ ISAN insight & Outlook จะพามาดูการใช้ไฟฟ้าของคนในภาคอีสานว่ามากน้อยเพียงใด ในโลกยุคดิจิทัล ไฟฟ้าแทบจะถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตเลยทีเดียว เพราะชีวิตของเราต้องพึ่งพาพลังงานจากไฟฟ้าแทบจะตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่การให้แสงสว่าง การทำความเย็น การประกอบอาหาร การเดินทาง รวมไปถึงการติดต่อสื่อสารผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ดังนั้น ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าจึงเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถเจาะลึกไปถึงพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า และความเป็นอยู่ของทุกครัวเรือนไทย นอกจากจะมีความสำคัญโดยตรงต่อธุรกิจไฟฟ้าแล้ว ข้อมูลพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้ายังมีประโยชน์ในแง่ของการกำหนดนโยบายต่างๆ อีกด้วย อีสานบ้านเรามีการใช้ไฟฟ้ากันมากไหม? ภาพรวมของภาคอีสานในปี 2564 พลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายและใช้จำนวน 23,138 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง มีสัดส่วนอยู่ที่ 17% ของประเทศไทย ซึ่งเป็นรองภาคกลาง มีพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายและใช้อยู่ที่ 80,724 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วน 59.2% ของประเทศไทย รองลงมาเป็น ภาคเหนือ 12.1% และภาคใต้ 11.8% ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการใช้ไฟฟ้าเป็นประเภทในภาคอีสาน พบว่า การใช้ไฟฟ้าในบ้านอยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 42.4% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด รองลงมา คือ กิจการขนาดใหญ่คิดเป็นสัดส่วน 25.2% และใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร 0.7% แต่เมื่อพิจารณาการใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร พบว่า ภาคอีสานใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร 40.1% ของใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตรทั้งหมดใช้ประเทศ (อันดับที่ 2 ของประเทศ) เนื่องจากภาคอีสานเป็นแหล่งภาคการเกษตรที่สำคัญของประเทศ 5 อันดับจังหวัดที่มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา 6,235 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 2 ขอนแก่น 2,521 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 3 อุบลราชธานี 1,719 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 4 อุดรธานี 1,614 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ 1,302 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง จะเห็นได้ว่า นครราชสีมามีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และยังเป็นแหล่งศูนย์กลางความเจริญของภาคอีสาน อีกทั้งยังมีนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมายในช่วง 10 ปีหลัง และนครราชสีมายังเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังของประเทศ โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และวังน้ำเขียว มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 5 ล้านคนต่อปี จึงทำให้ธุรกิจบริการเกิดขึ้นใหม่มากมาย ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าจึงมากกว่าทุกจังหวัด เมื่อพิจารณาการใช้ไฟฟ้าทั้งภาคีอสาน จะเห็นได้ว่า จากสภาพอากาศที่ร้อนระอุตลอดทั้งปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งบางวันมีอุณหภูมิมากถึง …

ชวนเบิ่ง การใช้ไฟฟ้าของคนในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง พันธุ์ข้าวจากจังหวัด สุรินทร์

พามาเบิ่ง พันธุ์ข้าวจากจังหวัด สุรินทร์   อ้างอิงจาก: https://www.thairicedb.com/rice-detail.php?id=6 https://www.thairicedb.com/rice-detail.php?id=35 https://www.thairicedb.com/rice-detail.php?id=17  https://www.thairicedb.com/rice-detail.php?id=22 https://www.thairicedb.com/rice-detail.php?id=39    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ข้าวสุรินทร์ #สุรินทร์

Update ราคาข้าวเปลือกในภาคอีสาน (10 สิงหาคม 2565)

Update #ราคาข้าว ราคาข้าวเปลือกในภาคอีสาน  (10 สิงหาคม 2565)   จากสถานการณ์ราคาข้าวตลาดโลกกำลังผันผวน ราคาข้าวจึงขยับขึ้นขยับลงตามสถานการณ์ราคาโลก ซึ่งทำให้โรงสีจำเป็นต้องซื้อในราคาที่ลดลงเพื่อเป็นการลดต้นทุน เพราะโรงสีอยู่ตรงกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้ส่งออก เมื่อราคาข้าวในตลาดขยับตัวลง ทางโรงสีก็ต้องบริหารจัดการโดยการลดราคารับซื้อข้าวลง ซึ่งเป็นไปตามกลไกตลาด   ทั้งนี้ ราคาข้าวมีการปรับราคาขึ้นสูงมากเมื่อเดือนก่อนหน้านี้ บวกกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าก็เป็นผลดีต่อการส่งออก ทำให้ราคาข้าวปรับขึ้น แต่ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาก็เริ่มขยับลงมา ซึ่งคาดว่าราคาที่ขยับลงมาจากราคาปลายทางที่ลง หรือมีปัญหาอุปสรรคในการขนส่งข้าว เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝน ทำให้เกิดปัญหาการขนส่งข้าวขึ้นเรือใหญ่ไม่ได้ ส่งผลให้ไม่สามารถส่งออกข้าวได้เต็มที่   ปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า ราคาข้าวเปลือกที่ปรับลดลงขณะนี้ เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังครั้งที่ 2 ทำให้ข้าวในตลาดมีอยู่มาก ซึ่งทางสมาคมจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น   อ้างอิงจาก: สมาคมโรงสีข้าวไทย https://www.bangkokbiznews.com/business/1011506 http://www.thairicemillers.org/images/introc_1429264173/pricerice10082565.pdf    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ราคาข้าวเปลือกในภาคอีสาน #ราคาข้าวอีสาน

พาส่องเบิ่ง สถานการณ์ด้านอุปสงค์ตลาดที่อยู่อาศัยของภาคอีสาน ไตรมาส 1 ปี 2565

การโอนกรรมสิทธ์ิที่อยู่อาศัย ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศจำนวน 80,019 หน่วย มีมูลค่า 215,417 ล้านบาท ซึ่งมีการขยายตัวลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า -2.7% และ -4.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งจำนวนหน่วยยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 (ปี 2558 – 2562) ซึ่งมีจำนวนเฉลี่ย 90,233 หน่วย แต่มูลค่ากลับสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ซึ่งมีจำนวน 199,395 ล้านบาท จากข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่าในไตรมาสนี้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่สูงขึ้นโดยมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราคาเฉลี่ย 2.69 ล้านบาทต่อหน่วยในไตรมาสนี้ สูงกว่าระดับราคาโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ที่มีระดับราคาเฉลี่ย 2.21 ล้านบาทต่อหน่วย หากแยกตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่า ที่อยู่อาศัยแนวราบมีการโอนจำนวน 60,133 หน่วย ลดลง จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -0.3% แต่มีมูลค่า 163,125 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 0.6% ส่วนอาคารชุดมีการโอนจำนวน19,886 หน่วย ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -9.2% และมีมูลค่า 52,291 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -17.9% หากพิจารณาการโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะภาคอีสาน พบว่า มีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 8,527 หน่วย ขยายตัวลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -1.8% และมีมูลค่า 14,217 ล้านบาท ลดลง -3.9% จังหวัดท่ีมีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในภาคอีสาน ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันมากถึง 43% ของจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในภาคอีสาน และมีสัดส่วนมูลค่ารวมกัน 51.5% นครราชสีมา มีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 1,944 หน่วย ลดลง -0.3% แต่มีมูลค่า 4,075 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.5% โดยมีที่อยู่อาศัยแนวราบโอนกรรมสิทธิ์มากในอำเภอเมืองนครราชสีมา สูงเนิน และปากช่อง ส่วนอาคารชุดโอกรรมสิทธิ์นมากในอำเภอเมืองนครราชสีมา ปากช่อง และสูงเนิน ขอนแก่น มีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 1,736 หน่วย เพิ่มขึ้น 10.4% มูลค่า 3,201 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.6% โดยมีที่อยู่อาศัยแนวราบโอนกรรมสิทธิ์มากในอำเภอเมืองขอนแก่น ชุมแพ และน้ำพอง ส่วนอาคารชุดมีการโอนกรรมสิทธิ์ในอำเภอเมืองขอนแก่นเพียงอำเภอเดียว มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบแยกตามระดับราคามากที่สุด 3 ลำดับแรก ในไตรมาส 1 ปี 2565 พบว่า เป็นช่วงราคาเดียวกับภาพรวมมูลค่าการโอนตลาดที่อยู่อาศัย ได้แก่ ระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท ระดับราคา …

พาส่องเบิ่ง สถานการณ์ด้านอุปสงค์ตลาดที่อยู่อาศัยของภาคอีสาน ไตรมาส 1 ปี 2565 อ่านเพิ่มเติม »

1 ปีผ่านไป “ทีดี ตะวันแดง” ปั้นร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ผลเป็นอย่างไร ?

1 ปีผ่านไป “ทีดี ตะวันแดง” ปั้นร้าน  “ถูกดี มีมาตรฐาน” ผลเป็นอย่างไร ?   นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีก “ถูกดี มีมาตรฐาน” เปิดเผยว่า ด้วยวิสัยทัศน์ของร้านค้าปลีก “ถูกดี มีมาตรฐาน” มุ่งสร้างมาตรฐานร้านค้าปลีกชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานเศรษฐกิจที่สำคัญ ด้วยการยกระดับมาตรฐานร้านค้าปลีกให้ทันสมัยด้วยความรู้ และเทคโนโลยีการบริหารจัดการร้าน โดยเน้น “ร้านค้าของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน”   ทั้งนี้เริ่มจากจังหวัดนครปฐม ขอนแก่น  อุดรธานี ขยายไปยังภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง พบว่าได้รับการตอบรับที่ดี สามารถเพิ่มรายได้ให้กับโชห่วย จากเดิมที่ขายสินค้าได้ 3-5 พันบาทต่อวัน เพิ่มเป็นมากกว่าหมื่นบาทต่อวัน สามารถช่วยเจ้าของร้านฝ่าวิกฤตต่างๆ สร้างชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปัจจุบัน ร้านถูกดี มีมาตรฐานดำเนินการมาแล้วกว่า 1 ปี และมีสาขากว่า 5,000 สาขาทั่วประเทศ แม้จะเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ประกาศไว้เมื่อคราวแถลงข่าวใหญ่ปีที่แล้วที่มีเป้าหมายอยู่ที่การมีจำนวนสาขาทั้งหมด 8,000 สาขา แต่ตัวเลขที่มีอยู่ก็ถือว่าเป็นจำนวนที่น่าสนใจ   โดย ทีดี ตะวันแดง ยังมีกิจกรรมการตลาดเพื่อโปรโมทร้านถูกและดี มีมาตรฐาน เช่น มีโปรโมชั่นชิงทองคำ 1 สลึง และมอเตอร์ไซค์ รวมมูลค่าของรางวัลกว่า 1 ล้านบาท ถือเป็นการช่วยกระตุ้นยอดขาย โดยการร่วมสนุกกับแคมเปญจะเป็นการซื้อครบ 150 บาท ส่งผลให้มีการซื้อต่อบิลที่มากขึ้น อีกทั้ง ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ประกาศร่วมลงทุนกลุ่มธุรกิจคาราบาว วงเงินกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท รุกแผนพัฒนาร้านสะดวกซื้อชุมชน “ถูกดี มีมาตรฐาน” เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนทั่วไทย ทำให้คนในชุมชนได้ใช้บริการการเงินและสินเชื่อครบวงจร ตั้งเป้ามีผู้ใช้บริการทางการเงินและสินเชื่อครบวงจร 30,000 ร้าน ภายในปี 2567 ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับร้าน ถูกดี มีมาตรฐาน ในตลาดค้าปลีกได้มากยิ่งขึ้น   ยุทธศาสตร์ของบริษัทในการพัฒนา “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน ไม่ได้มองเพียงการเข้ามาพัฒนาและปรับร้านโชห่วยให้มีความทันสมัยเท่านั้น แต่วางเป้าหมายเป็นเสมือน แพลตฟอร์มและ โครงข่ายที่เชื่อมโยงกันเพื่อสนองความต้องการของคนในชุมชนทั่วประเทศ และเชื่อมต่อผู้ผลิต และผู้ให้บริการต่างๆ ที่คนในชุมชนเคยเข้าถึงได้ยาก เช่น บริการทางการเงิน, เป็นจุดรับส่งสินค้าในชุมชน, บริการสินค้าทางการเกษตร โดยเฉพาะในชุมชน หมู่บ้านที่ห่างไกล ที่สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ยังเข้าไม่ถึง   อ้างอิงจาก:  https://www.kaohoon.com/pr/460397  https://www.kaohoon.com/pr/516149  https://www.brandage.com/article/29738/TD-Tawandang  https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?release=y&ref=M&id=VXo3d3F1Z0R4UWM9  #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ถูกดีมีมาตรฐาน #ทีดีตะวันแดง

“บ้านปู เน็กซ์” จับมือ “เชิดชัยฯ” และ “ดูราเพาเวอร์” ตั้งโรงงานแบตเตอรี่ 1.4 พันล้านบาท ที่ จ.นครราชสีมา

“บ้านปู เน็กซ์” จับมือ “เชิดชัยฯ” และ “ดูราเพาเวอร์” ตั้งโรงงานแบตเตอรี่  มูลค่า 1.4 พันล้านบาท ที่ จ.นครราชสีมา   บ้านปู เน็กซ์ ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานฉลาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประกาศลงนามความร่วมมือ 2 พันธมิตรผู้นำทางธุรกิจ เชิดชัยมอเตอร์เซลส์ ผู้ให้บริการรถบัสรายใหญ่ที่สุดในไทย และดูราเพาเวอร์ ผู้นำด้านระบบแบตเตอรี่จัดเก็บพลังงานแบบลิเธียมไอออนระดับโลก    นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของผู้นำธุรกิจจาก 3 อุตสาหกรรม ที่มุ่งมั่นขยายธุรกิจไปกับทิศทาง และเทรนด์ของโลกอนาคต โดยเฉพาะการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 13.52% หรือมีมูลค่ากว่า 8.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2570* ทั้งยังเห็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจแบตเตอรี่ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท    การจัดตั้งโรงงานแห่งนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนแนวทางของภาครัฐที่ต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถ EV โดยตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน กำลังการผลิต 1 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) ในจังหวัดนครราชสีมา    ซึ่งมีเชิดชัยมอเตอร์เซลส์ ถือหุ้นสัดส่วน 40% บ้านปู เน็กซ์ ถือหุ้น 30 % และดูราเพาเวอร์ ถือหุ้น 30% คาดจะใช้เงินลงทุนราว 1,400 ล้านบาท ในการขยายกำลังการผลิตสู่ 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงภายในปี 2569 เพื่อบุกตลาดในเอเชียแปซิฟิก   โดยระยะแรกจะมีกำลังผลิตเริ่มต้นที่ 200 เมกะวัตต์ชั่วโมง (MWh) คาดว่าปี 2566 จะเริ่มดำเนินการได้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ   ดร.อัสนี เชิดชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชิดชัยมอเตอร์เซลส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทเล็งเห็นแนวโน้มของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในไทยที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับราคาน้ำมันที่แพงขึ้น และเมกะเทรนด์ด้านความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม จึงมองหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์อย่างบ้านปู เน็กซ์ และดูราเพาเวอร์ เพื่อรุกตลาดรถบัสไฟฟ้า (e-Bus) เพื่อช่วยสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้ธุรกิจ และขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ๆ ที่หลากหลาย   การร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งพลังที่จะช่วยสนับสนุน และสอดรับกับนโยบายการผลิต และการใช้ยานยนต์ไร้มลพิษของภาครัฐ (Zero Emission Vehicle: ZEV) ที่มุ่งเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ พร้อมช่วยขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ   อ้างอิงจาก:  https://www.banpunext.co.th/news-updates/  https://www.thansettakij.com/economy/industry/534727  https://workpointtoday.com/banpu-next-with-partner-build-lithium-ion-battery-factory/    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บ้านปูเนกซ์ #Banpunext #เชิดชัย #Cherdchai #ดูราเพาเวอร์ #Durapower #โคราช #นครราชสีมา

Scroll to Top