พามาเบิ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภคภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋ ? (เดือนกรกฎาคม 2565) อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า 7.09% (YoY)

สถานการณ์ “เงินเฟ้อ” ประจำเดือน กรกฎาคม 2565 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข้อมูลการปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อถึง 7.09% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ก.ค. 64)

ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนกรกฎาคม 2565 เท่ากับ 107.41 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM) ลดลง -0.16% (เดือนมิถุนายน 2565 สูงขึ้น 0.90%) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้อยู่ที่ 7.61% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าขยายตัวในอัตรา ที่ใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา โดยอัตราเงินเฟ้อของภาคใต้สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งสูงขึ้น 7.81% รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และกรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงขึ้น 7.80% 7.73% และ 7.68% ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ 7.09%

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ามันเชื้อเพลิง กับข้าว สำเร็จรูป และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ผักและผลไม้ อาทิ ขิง ถั่วฝักยาว มะนาว และส้มเขียวหวาน เป็นต้น

อัตราการเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาคอีสานที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น

1. กลุ่มอาหารสดและพลังงาน สูงขึ้น 14.41% โดยเฉพาะพลังงานสูงขึ้นถึง 31.35% เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าจากการอ่อนค่าของเงินบาท และความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้น 9.97% โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 25.57% ปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก

3. หมวดเคหสถาน สูงขึ้น 7.45% โดยเฉพาะค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น 62.71% ตามการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่าเอฟที (FT) ประจำเดือน กันยายน-ธันวาคม 2565

4. หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 7.30% โดยเฉพาะน้ำมันและไขมันสูงขึ้นถึง 33.38%

แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2565

คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าและบริการในวงกว้าง ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และราคาสินค้าเกษตรสำคัญ รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้มากขึ้น

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อท่ัวไปปี 2565 เป็นระหว่างร้อยละ 5.5 – 6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) จากเดิมที่ คาดการณ์ไว้ในเดือนมีนาคม 2565 ระหว่างร้อยละ 4.0 – 5.0 (ค่ากลางร้อยละ 4.5) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย

อ้างอิงจาก:

https://www.price.moc.go.th/…/file_cpi/Cpi_tg.pdf…

http://www.indexpr.moc.go.th/…/TableIndexG_region.asp…

https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/177814

https://thestandard.co/inflation-in-july-2565/

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top