Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวไทย ในภาคอีสานเป็นจั้งใด๋ ? (ม.ค – ก.ย 2565)

การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวไทย ในภาคอีสานเป็นจั้งใด๋ ? (ม.ค – ก.ย 2565) ในเดือน กันยายน ปี 2565 ภาคอีสานมีจำนวนนักท่องเที่ยว 2,789,487 คน แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวคนไทย 2,680,022 คน และนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ 109,465 คน อีกทั้งยังมีรายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 4,829.9  ล้านบาท โดยรายได้หลักยังคงมาจากคนในประเทศ 3 จังหวัดภาคอีสาน ที่มีการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวไทยสูงสุด ในปี 2565 เทียบกับ ปี 2562 (ก่อนเกิดเหตุการณ์ COVID-19) อันดับ 1. นครพนม ฟื้นตัว 132% จำนวนนักท่องเที่ยวปัจจุบัน 144,267 คน อันดับ 2. บุรีรัมย์     ฟื้นตัว 130% จำนวนนักท่องเที่ยวปัจจุบัน 256,030 คน อันดับ 3. บึงกาฬ     ฟื้นตัว 123% จำนวนนักท่องเที่ยวปัจจุบัน 58,687   คน เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆดีขึ้น คนเริ่มหันมาท่องเที่ยวมากขึ้นโดย ในจังหวัดนครพนม มีแหล่งท่องเที่ยวที่มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นพระธาตุพนม พระธาตุเรณูนคร พญาศรีสัตตนาคราช อีกทั้งยังมีร้านกาแฟ ร้านอาหารแหล่งใหม่และด้านโรงแรมมีการปรับตัวให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ จึงดึงดูดนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น  ทางด้านจังหวัดบุรีรัมย์ก็มีการแข่งขันฟุตบอล ณ ช้างอารีนา บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด โดยในเดือนกันยายน มีการแข่งไฮลักซ์ รีโว่ ไทยลีก 3 คู่ อีกทั้งยังมีการแข่งโออาร์ บีอาร์ไอซี ซูเปอร์ไบค์  ทางด้านจังหวัดบึงกาฬ ก็เป็นที่โด่งดังอยู่แล้วสำหรับถ้ำนาคา หรือจะเป็นหินสามวาฬ ภูสิงห์ และน้ำตกต่างๆ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบธรรมชาติได้เป็นอย่างมาก จึงส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาคของประเทศคาดว่าในไตรมาส 4 นี้สถานการณ์การท่องเที่ยวจะปรับตัวดีขึ้นทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (peak season) และการส่งเสริมกิจกรรมใหม่ ๆ ที่น่าสนใจจาก ททท. โดยผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวจะดีขึ้นมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ รองลงมาคือภาคใต้ และกรุงเทพฯ หากมองเป็นรายธุรกิจพบว่า ผู้ประกอบการร้านอาหาร คาดว่าผลประกอบการในไตรมาส 4 นี้จะดีกว่าไตรมาส 3 ที่ผ่านมา รองลงมาคือ ธุรกิจที่พักแรม และร้านขายของฝาก/ของที่ระลึก อ้างอิงจาก:  กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประชาชาติ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ภาคอีสาน #นักท่องเที่ยว #จำนวนนักท่องเที่ยว #นครพนม #บุรีรัมย์ #บึงกาฬ

การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวไทย ในภาคอีสานเป็นจั้งใด๋ ? (ม.ค – ก.ย 2565) อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง ป้อมพลัง VS ป้อมกิจ

พาส่องเบิ่ง ผลประกอบการ 2 อาณาจักรขายส่งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รายใหญ่ในภาคอีสาน       อ้างอิงจาก: https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0405552000559 https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0305536000559   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ป้อมพลัง #ขอนแก่น #ป้อมพลัง #นครราชสีมา #ขายส่งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  

พาส่องเบิ่ง ป้อมพลัง VS ป้อมกิจ อ่านเพิ่มเติม »

ปังหลายเด้อ ! เปิดลิสต์ร้านใหม่ ร้านเด็ด คว้า ‘มิชลิน ไกด์ 2023’  บุกอีสาน ‘ขอนแก่น-อุบลฯ-โคราช-อุดรฯ’

ปังหลายเด้อ ! เปิดลิสต์ร้านใหม่ ร้านเด็ด คว้า ‘มิชลิน ไกด์ 2023’  บุกอีสาน ‘ขอนแก่น-อุบลฯ-โคราช-อุดรฯ’   มิชลิน ไกด์ (Michelin Guide) จับมือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ออกเดินทางเข้าสู่ประตูอีสาน เพื่อคัดสรรร้านอาหารจาก 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา, อุบลราชธานี, อุดรธานี และขอนแก่น สำหรับการจัดทำคู่มือมิชลิน ไกด์ ประจำปี 2566 สำหรับภาคอีสานของประเทศไทย ถือเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจทางด้านอาหาร เพราะเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การทำปศุสัตว์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวคุณภาพสูง และยังมีปลาน้ำจืดให้เลือกเป็นวัตถุดิบประกอบอาหารได้อีกด้วย รวมถึงเทคนิคการถนอมอาหารที่รู้จักกันดีอย่างปลาร้า ซึ่งเป็นจุดเด่นที่สำคัญมากของวัฒนธรรมด้านอาหารของชาวอีสาน มานูเอล มอนทานา ประธานกลุ่มมิชลิน ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกและออสเตรเลีย เปิดเผยว่า นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีของการเปิดตัวมิชลิน ไกด์ ประจำปี 2566 เนื่องจากเวลานี้ ประเทศไทยกำลังเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้เกิดการกระตุ้นการเดินทางอีกครั้งหนึ่ง ทั้งในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม นอกจากนี้ การจัดอันดับร้านอาหารในมิชลิน ไกด์ ในแต่ละปีก็มีคู่มือของแต่ละจังหวัดเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่เคยมีแค่เฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร กระทั่งครอบคลุมไปในภูมิภาคอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสาน หรือจากจังหวัดในภาคอื่นๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา, เชียงใหม่, ภูเก็ต และพังงา อ้างอิงจาก: เว็บไซต์มิชลินไกด์ มติชน ไทยรัฐ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ภาคอีสาน #ขอนแก่น #อุบลราชธานี #นครราชสีมา #อุดรธานี #MichelinGuide #มิชลินไกด์ #ร้านอาหารอีสาน #ร้านอาหารมิชลิน  #ร้านอาหารมิชลินไกด์

ปังหลายเด้อ ! เปิดลิสต์ร้านใหม่ ร้านเด็ด คว้า ‘มิชลิน ไกด์ 2023’  บุกอีสาน ‘ขอนแก่น-อุบลฯ-โคราช-อุดรฯ’ อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง ศึกอาณาจักรจำหน่ายรถยนต์ รายใหญ่ในภาคอีสาน

จุดเริ่มต้นของ “โตโยต้าดีเยี่ยม”    “คุณสมชาย” ตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน ไปทำงานตามร้านขายของชำ ขายหนังสือพิมพ์ ฯลฯ ทำทุกอย่างที่ได้เงิน เขาเป็นคนสู้งาน ทำงานที่ไหนเถ้าแก่ก็รัก วันหนึ่งเขาไปทำงานที่บริษัทเสริมสุข ส่ง “เป๊ปซี่” ตามร้านต่างๆ ในจังหวัดอุบลฯ ทำงานไม่กี่เดือน เขาก็ได้เป็น “พนักงานขายดีเด่น” ที่ทำยอดขายสูงสุดในประเทศไทย 1,200 กว่าลังต่อวัน           3 ปีผ่านไป เขาก็ยังรักษาสถิตินักขายดีเด่นเอาไว้ได้ ซึ่งตามหลักเขาควรจะได้รับการโปรโมตในตำแหน่งที่สูงขึ้น แต่ “คุณสมชาย” ไม่ได้ ด้วยเหตุผลว่าตำแหน่งผู้จัดการนั้นต้องมีอายุ 36 ปีขึ้นไป “คุณสมชาย” ตัดสินใจลาออกและเดินตามความฝันในวัยเด็กของเขา เขาชอบ “รถยนต์” “คุณสมชาย” เดินไปสมัครงานที่ “โตโยต้าอุบลราชธานี” ดีลเลอร์ขายรถโตโยต้าเก่าแก่ในเมืองอุบลฯ “เถ้าแก่” ตัดสินใจรับ “คุณสมชาย” เข้าทำงาน เริ่มต้นงานแรกด้วยการปัดกวาดรถและทำทุกอย่างที่ “เถ้าแก่” ใช้ จนวันหนึ่ง “เถ้าแก่” สั่งให้เขาไปส่งรถให้ลูกค้าที่ยโสธร    เมื่อโชว์รูมที่ยโสธรมีปัญหา “เถ้าแก่” จึงส่ง “คุณสมชาย” ไปดูแล 3 เดือนแรกเขาขายไม่ได้เลยสักคันเดียว แต่สิ่งหนึ่งที่ “คุณสมชาย” ค้นพบก็คือ คนที่มีรถเก่า ส่วนใหญ่อยากซื้อรถคันใหม่ แต่จะซื้อได้ก็ต้องขายรถเก่าให้ได้ก่อน “คุณสมชาย” จึงใช้กลยุทธ์หาพ่อค้ารถมือสองมารับซื้อรถ พอขายรถเก่าได้ เขาก็จะมาซื้อรถใหม่กับ “คุณสมชาย” ยอดขายรถโตโยต้าที่ยโสธรพุ่งขึ้นเรื่อยๆ สิ้นปี “เถ้าแก่” จัดงานปีใหม่ และบอกกับพนักงานทุกคนว่าสาขาอุบลฯ นั้นอยู่รอดได้เพราะสาขายโสธร “หนู” ช่วย “ราชสีห์”   “คุณสมชาย” ทำงานที่ “โตโยต้าอุบลฯ” 15 ปี เมื่อ “เถ้าแก่” เสียชีวิต เขาก็ตัดสินใจลาออก เลิกเป็น “ลูกจ้าง” และเริ่มต้นชีวิต “เถ้าแก่โตโยต้าดีเยี่ยม”    ย้อนถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งต้องฝ่าฟันมรสุม “ต้มยำกุ้ง” เมื่อครั้งปี 2540 ช่วงเวลานั้นสถาบันการเงิน 65 แห่งต้องปิดตัวลง นักธุรกิจแทบทุกวงการ ล้วนตกอยู่ในสภาพย่ำแย่ไม่เว้นแม้แต่ตัวเขา แต่หากมัวพร่ำบ่นว่าแย่ คงหมดกำลังใจไปนานแล้ว  “คุณสมชายไม่เคยท้อ เพราะท้อแล้วไม่มีประโยชน์ ท้อแล้วมันทำให้หมดกำลังใจ ต้องเติมกำลังใจให้ตัวเองใหม่ เพราะคนเราขาดกำลังใจไม่ได้ ปัญหาคือความสำเร็จปลอมตัวมาทดสอบเรา เหมือนข้อสอบ”    “ช่วง เศรษฐกิจไม่ดี หลายคนคิดว่าไม่มีโอกาสเพราะตลาดเต็ม แต่คุณสมชายไม่คิดอย่างนั้น กลับกัน คือ ต้องเร่งขยายงาน เพราะคู่แข่งก็คือคู่แข่งอยู่ดี จึงต้องแตกต่างทำงานให้มากกว่าคนอื่น เมื่อมีคนตกงานมาสมัครงานกันมาก เลยสามารถคัดคนได้” คุณสมชาย ยังบอกอีกว่า “คนที่ประสบความสำเร็จมักฉกฉวยโอกาสจากโชคร้าย แต่คนที่ประสบความสำเร็จมากกว่าจะฉกฉวยในทุกโอกาส”    

ชวนเบิ่ง ศึกอาณาจักรจำหน่ายรถยนต์ รายใหญ่ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง “โค้วยู่ฮะมอเตอร์” หนึ่งในผู้จำหน่ายอีซูซุรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

หากกล่าวถึง “โค้วยู่ฮะ” คงไม่มีใครในที่นี้ไม่รู้จัก และคงไม่เป็นที่รู้จัก หากปราศจากบุคคลผู้สร้างตำนานแห่งความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่ชื่อ ดร.วิญญู คุวานันท์ นับถอยหลังไป เมื่อปีพุทธศักราช 2500 ที่ อ.พล จ.ขอนแก่น ดร.วิญญู คุวานันท์ ในขณะนั้นอยู่ในวัยที่สำเร็จการศึกษาจากกรุงเทพฯ ได้เข้ามารับช่วงกิจการค้าขายสินค้าพื้นเมือง น้ำมันก๊าซและสินค้าพืชไร่ ต่อจากบิดาและมารดา ต่อมาได้เข้าพิธีมงคลสมรสกับคุณมาลิน คุวานันท์ ภรรยาคู่ชีวิต ผู้ที่เป็นกำลังสำคัญยิ่ง ให้คำปรึกษาและเป็นแรงผลักดันในการดำเนินธุรกิจแก่ ดร.วิญญู อีกทั้งด้วยที่ ดร.วิญญู มีนิสัยใฝ่ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องยนต์ จึงก้าวมาสู่นักธุรกิจค้าขายรถยนต์   ในช่วงแรก เป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ก็ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ และในปีพุทธศักราช 2502 โค้วยู่ฮะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จำหน่ายรถยนต์อีซูซุอย่างเป็นทางการ จาก บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของ ดร.วิญญู จึงตัดสินใจขยายกิจการเข้าสู่เมืองใหญ่ คือ จังหวัดขอนแก่น และได้เปลี่ยนชื่อจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็น บริษัท โค้วยู่ฮะมอเตอร์ จำกัด โดยดำเนินธุรกิจรถยนต์อีซูซุ ทั้งในด้านการจำหน่าย การบริการหลังการขายและอะไหล่ แบบครบวงจร   บริษัท โค้วยู่ฮะมอเตอร์ จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 1.5 ล้านบาท ในขณะนั้นมีพนักงานเพียง 20 คน โดยหนึ่งในนั้น คือ คุณประยูร อังสนันท์ ซึ่งปัจจุบันนี้ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ต่อมาได้ขยายกิจการไปยังกรุงเทพฯ ในปีพุทธศักราช 2510 ด้วยความเพียรพยายามของผู้บริหาร และความตั้งใจของทีมงานทุกคน ทำให้ธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันกลุ่มโค้วยู่ฮะ มีทุนจดทะเบียน 1,600 ล้านบาท ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้จำหน่ายอีซูซุรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย       อ้างอิงจาก: https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0405507000022 https://www.kow.co.th/about-us   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โค้วยู่ฮะมอเตอร์ #ขอนแก่น #ผู้จำหน่ายอีซูซุ #ธุรกิจระดับพันล้าน #โค้วยู่ฮะ  

พามาเบิ่ง “โค้วยู่ฮะมอเตอร์” หนึ่งในผู้จำหน่ายอีซูซุรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อ่านเพิ่มเติม »

ซอมเบิ่ง 3 ธุรกิจบริการปี 2566 สร้างรายได้เข้าประเทศ

ซอมเบิ่ง  3 ธุรกิจบริการปี 2566  สร้างรายได้เข้าประเทศ   กระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป้า ปี 2566 ผลักดัน 3 ธุรกิจบริการ  “ร้านอาหาร  ดูแลผู้สูงอายุ  Wellness” สร้างรายได้เข้าประเทศ พร้อมเร่งผลักดันสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ ภาครัฐพร้อมให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกเต็มที่   นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า จุดอ่อนสำคัญของธุรกิจบริการไทย คือ ขาดองค์ความรู้ที่จำเป็นในการบริหารธุรกิจ เช่น การคำนวณต้นทุน การตลาด การบริหารงานบุคคล การเงินและบัญชี ระบบภาษี ความรู้ด้านกฎหมาย การนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจ รวมทั้ง ต้องเผชิญกับภาวการณ์แข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น   ดังนั้น การเพิ่มองค์ความรู้เชิงลึกแบบครบทุกมิติจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจธุรกิจมากขึ้น มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อความเข้มแข็งของธุรกิจระยะยาว พร้อมที่จะขยายและพัฒนาธุรกิจให้เติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น และมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจต่อเนื่องที่หลากหลาย   การค้าภาคบริการเป็นภาคเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ประเทศในระดับสูง อีกทั้ง ความต้องการใช้บริการทุกภาคบริการมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยมี 3 ธุรกิจที่น่าจับตามองในปีหหน้าประกอบด้วย    – ธุรกิจร้านอาหาร  – ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ – ธุรกิจบริการความงามและสุขภาพ (Wellness)    โดยเน้นการเสริมสร้างองค์ความรู้เชิงลึกแบบครบทุกมิติ ทั้งการตลาด การบริหารจัดการธุรกิจ การเงินและบัญชี การขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ กลยุทธ์การบริการเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจและกลับมาใช้บริการซ้ำ    ทั้งนี้ ภาครัฐพร้อมให้การสนับสนุนภาคธุรกิจบริการเต็มที่ เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ และจะเป็นตัวกลางช่วยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ธุรกิจบริการกลุ่มเป้าหมายได้รับความสะดวกรวดเร็วในการประกอบธุรกิจ ส่งผลต่อดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมต่อไป     อ้างอิงจาก: ฐานเศรษฐกิจ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจบริการ #ร้านอาหาร  #ดูแลผู้สูงอายุ  #Wellness #ผู้สูงอายุภาคอีสาน

ซอมเบิ่ง 3 ธุรกิจบริการปี 2566 สร้างรายได้เข้าประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง “นครชัยแอร์” อาณาจักรธุรกิจรถทัวร์รายใหญ่ ระดับพันล้าน

นครชัยแอร์ ก่อตั้งปี พ.ศ. 2529 โดยตระกูลวงศ์เบญจรัตน์ เริ่มแรกให้บริการเส้นทางการเดินรถทัวร์ 2 เส้นคือ กรุงเทพ – ขอนแก่น และกรุงเทพ – อุบลราชธานี ต่อมาได้ขยายเส้นทางเดินรถเพิ่มอีกหลายแห่ง จนมีเส้นทางทั้งหมด 39 เส้นทาง ครอบคลุมทุกเส้นทางตลอดภาคเหนือ อีสาน ตะวันออก และภาคกลาง และล่าสุดเพิ่งเปิดเส้นทาง กรุงเทพฯ – ปากแซง จ.อุบลฯ สำหรับผู้โดยสารที่อยากเดินทางไปประเทศลาว โดยนครชัยแอร์มีรถโดยสารวิ่งให้บริการทั้งสิ้น 362 คัน ตัวหมากสำคัญที่ทำให้นครชัยแอร์ขยายกิจการใหญ่โต จนเป็นที่รู้จักระดับประเทศ และปรับตัวอยู่รอดมาได้จนถึงวันนี้คือ วิสัยทัศน์ของคุณเครือวัลย์ วงศ์รักมิตร CEO ของบริษัท เธอเคยเป็นพนักงานธนาคารกรุงเทพมาก่อนรับช่วงต่อกิจการรถทัวร์ของครอบครัว ที่ตอนนั้นมีรถวิ่งเพียง 20 คัน ถ้าเทียบกับสายการบินโลว์คอสต์ รถทัวร์สู้ไม่ได้อยู่แล้วในเรื่องระยะเวลาเดินทาง สิ่งที่พอสู้ได้ คงเป็นเรื่อง ราคาตั๋วที่ถูกกว่า และการสร้างบริการที่ดีเกินราคา คุณเครือวัลย์ พยายามบริหารนครชัยแอร์โดยควบคุมต้นทุนการเดินรถ และต้นทุนต่างๆ อย่างรัดกุมมากที่สุด เพื่อให้ผู้โดยสารได้เดินทางด้วยตั๋วราคาถูก ทั้งนี้ ผู้โดยสารจะไม่มีค่าโหลดสัมภาระ ค่าประกัน และค่าอื่นๆ เพิ่มเติม เหมือนสายการบิน เพื่อให้ค่าโดยสารโดยรวมทั้งหมดถูกกว่า สายการบินโลว์คอสต์เท่าตัว แถมมีบริการแจกอาหาร น้ำ ขนมให้แก่ผู้โดยสาร ระหว่างเดินทางด้วย และเรื่องต่อมาที่เน้นคือ บริการคุณภาพที่ทันสมัย นครชัยแอร์ต้องการให้พนักงานสุภาพ บริการผู้โดยสารเป็นอย่างดี บริษัทจึงต้องเน้นพัฒนาพนักงาน ดูแลพนักงาน ให้โอกาสในหน้าที่การงานและความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อพนักงานจะได้ส่งมอบบริการดีๆ ให้แก่ลูกค้าได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ บริษัทยังปรับ เพิ่ม และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าประทับใจมากที่สุด ตั้งแต่การซื้อตั๋วโดยสาร ซึ่งสามารถซื้อตั๋วได้ผ่านทางเว็บไซต์ NCA Booking, แอปพลิเคชัน NCA Mobile, เคาน์เตอร์เซอร์วิส ในร้าน 7-11 ทุกสาขา รวมถึงจองตั๋วผ่าน LINE / Facebook และ Call Center โดยสามารถจองล่วงหน้าได้ถึง 365 วัน เพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้า ไม่จำเป็นต้องไปซื้อตั๋วที่สถานีเดินรถเอง เมื่อมาถึงสถานีเดินรถนครชัยแอร์ ก็จะพบสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นที่จอดรถ ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และรถโดยสารก็ถูกปรับโฉมใหม่ให้มีความทันสมัย สร้างความเป็นส่วนตัว และนั่งสบายมากขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในรถ เช่น ทีวีส่วนตัวระบบ Touch Screen, เก้าอี้นวดไฟฟ้า, หูฟัง, ผ้าห่ม นครชัยแอร์ยังหารายได้เสริมจากช่องทางอื่นนอกจากค่าโดยสาร ได้แก่ บริการส่งพัสดุด่วนภายใน 24 ชม. ตามเส้นทางที่รถโดยสารนครชัยแอร์วิ่งผ่าน ให้พื้นที่โฆษณา เช่น

ชวนเบิ่ง “นครชัยแอร์” อาณาจักรธุรกิจรถทัวร์รายใหญ่ ระดับพันล้าน อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง “พี.เค.เอ็ม.ที (2002)” อาณาจักรธุรกิจบริการด้านการขนส่งรายใหญ่ในภาคอีสาน

อ้างอิงจาก: https://www.pkmt2002.com/ https://data.creden.co/company/general/0415545000239 https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0415545000239   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #พีเคเอ็มที #อุดรธานี #PKMT #ธุรกิจบริการด้านการขนส่ง

พาซอมเบิ่ง “พี.เค.เอ็ม.ที (2002)” อาณาจักรธุรกิจบริการด้านการขนส่งรายใหญ่ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พื้นที่สีเขียวเฉลี่ยต่อคน จังหวัดใด๋หลายกว่าหมู่?

พื้นที่สีเขียวเฉลี่ยต่อคน  จังหวัดใด๋หลายกว่าหมู่?   พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองสำคัญอย่างไร? ต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุข (Well-Being) ของคนเมือง เมืองที่ดีควรมีพื้นที่สีเขียวในปริมาณที่เหมาะสม ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ยิ่งถ้าเมืองนั้นมีประชากรหนาแน่น พื้นที่สีเขียวก็จะยิ่งมีคุณค่า โดยเฉพาะต่อสุขภาวะทางกายและใจของคน รวมไปถึงคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมของเมืองที่ส่งผลเป็นวงกว้าง เช่น การลดอุณหภูมิความร้อน การดูดซับมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง การเป็นพื้นที่ชะลอน้ำ ระบายน้ำ เป็นต้น   โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดมาตรฐานเพื่อส่งเสริมให้เมืองต่างๆ พัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนประชากรในแต่ละเมือง โดยกำหนดเอาไว้ว่า ประชาชน 1 คนควรมีพื้นที่สีเขียว 9-15 ตารางเมตร เมืองนั้นจึงถือว่าเป็นเมืองที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี   ซึ่งประโยชน์ของพื้นที่สีเขียวมีมากมายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ด้านสุขภาพจิต ด้านสุขภาพทางร่างกาย ด้านสังคม นอกจากประโยชน์ทั้ง 3 ด้านนี้ พื้นที่สีเขียวก็ยังสร้างประโยชน์ให้แก่เมือง ทั้งการช่วยลดปัญหาฝุ่นควัน มลพิษต่างๆ ช่วยเพิ่มระดับคุณภาพทางอากาศ หรือเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกด้วย   อีกทั้งเรายังควรอนุรักษ์รักษ์สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น เพื่อให้มีพื้นที่สีเขียวให้คงอยู่และมีมากขึ้นต่อไปในอนาคต โดยเกิดเทรนด์ “การท่องเที่ยวสีเขียว” หนึ่งในรูปแบบการท่องเที่ยวสีเขียว คือ “การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism)”   การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Tourism เป็นการท่องเที่ยวที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและรบกวนสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำสามารถเป็นการท่องเที่ยวแบบง่ายๆ ตามความชอบของนักท่องเที่ยว เพียงแต่กิจกรรมการท่องเที่ยวนั้นต้องให้ความสำคัญรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการลดก๊าซคาร์บอน   ยกตัวอย่างเช่น การเลือกยานพาหนะในการเดินทาง การรับประทานอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบในท้องถิ่น การทำกิจกรรมท่องเที่ยวด้านสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมปลูกป่า ปลูกปะการัง การเก็บขยะ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากกว่าการท่องเที่ยวแบบทั่วไป อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกับการรักษ์โลกและเพื่อเพิ่มไอเดียในการพัฒนาธุรกิจของตนเองให้เข้ากับเทรนด์ในตอนนี้อีกด้วย   อ้างอิงจาก: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #พื้นที่สีเขียว #พื้นที่สีเขียวต่อคน #พื้นที่สีเขียวต่อประชากร #LowCarbonTourism #การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ #บึงกาฬ #นครพนม #เลย  

พื้นที่สีเขียวเฉลี่ยต่อคน จังหวัดใด๋หลายกว่าหมู่? อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง “ยิ่งยง มินิมาร์ท” ตำนวนค้าปลีกสู่เจ้าพ่อร้านสะดวกซื้ออีสานใต้ กับวิถีการปรับตัวของห้างภูธร สร้างจุดแตกต่างในวงล้อมยักษ์ใหญ่

ย้อนหลังไปเมื่อกว่า 30 ปีก่อนหน้านี้ เส้นแบ่งระหว่าง ห้างสรรพสินค้าภูธร กับห้างในส่วนกลาง มีออกมาอย่างชัดเจน โดยมีไลฟ์สไตล์หรือพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่ม ที่มีความแตกต่างเป็นตัวแบ่ง และห้างในต่างจังหวัดที่เรารู้จัก จึงมีออกมาในลักษณะของการเป็นห้างของคนท้องถิ่น ไม่ว่าห้างตันตราภัณฑ์ แห่งเชียงใหม่ เจริญศรี พลาซ่า จังหวัดอุดรธานี หรือยิ่งยง จังหวัดอุบลราชธานี แต่เมื่อต่างจังหวัด มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งจากผลผลิตทางการเกษตร ราคาที่ดิน ทำให้เกิดคนชั้นกลางที่มีการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับสังคมเมืองทั่วไป ทำให้มุมมองของกลุ่มทุนค้าปลีกจากส่วนกลาง ที่มีต่อคนต่างจังหวัดเปลี่ยนไป ยิ่งความเป็น Urbanization หรือความเป็นอยู่แบบสังคมเมือง แผ่ขยายไปอย่างรวดเร็วเท่าไร ก็ยิ่งเป็นตัวที่เข้ามากวักมือเรียกให้ยักษ์ค้าปลีกเหล่านี้ เร่งขยายการลงทุนเข้าไป เพื่อรองรับกับการเติบโตดังกล่าวที่เห็นภาพชัดเจนสุดก็มี กลุ่มเซ็นทรัล Retail Conglomerate ซึ่งมีทิศทางการลงทุนที่ชัดเจน ด้วยรูปแบบของโมเดลศูนย์การค้าที่สามารถเข้าไปในทุกไซส์ของตลาด โดยมีการผสานกองทัพธุรกิจในเครือทั้งหมดเข้าเป็นแพ็ก และเดินหน้าเข้าไปลงทุนอย่างเต็มรูปแบบ แน่นอนว่า การขยายตัวทั้งหมดกลายเป็นแรงกระตุ้นให้ห้างท้องถิ่นต้องเร่งปรับตัวเพื่อหาจุดยืนที่มั่นคงให้กับตัวเอง เหมือนกับที่ห้างยิ่งยงสรรพสินค้า ห้างภูธรชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี ที่วันนี้มีการแปลงร่างตัวเองจากห้าง สรรพสินค้าสู่การเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ ภายใต้แบรนด์ Y Square Food Mall (Y2 Food Mall) ซึ่งมีที่มาจาก Y 2 ตัว ซึ่งย่อมาจาก ยิ่งยง เพราะธุรกิจเดิมคือ ทำห้างยิ่งยงสรรพสินค้า คุณไพบูลย์ จงสุวัฒน์ หรือ “โกเฒ่า” เจ้าของและผู้บริหารของคอมมูนิตี้มอลล์แห่งนี้ กล่าวว่า “Y Square Food Mall เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการปรับตัวของผู้ประกอบการท้องถิ่นที่เลือกจะเจาะตลาดด้วยการสร้างนิช มาร์เก็ตของตัวเอง โดยเลี่ยงที่จะชนกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่ขยายมาจากส่วนกลาง” ห้างยิ่งยง คือ 1 ในผู้ประกอบการห้างท้องถิ่นเก่าแก่ของภูธรในจังหวัดอุบลราชธานี เปิดตัวครั้งแรกในปี 2527 มีจุดกำเนิดที่แทบจะไม่แตกต่างจากห้างต่างจังหวัด คือเป็นร้าน “เซ็นเตอร์” ที่ขายเสื้อผ้า กางเกงยีนส์มาก่อนที่จะขยับขยายมาเปิดห้างเมื่อกิจการเติบโตขึ้น ห้างท้องถิ่นรายนี้ถูกดึงเข้ามาร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัลในปี 2538 ที่ในตอนนั้น เซ็นทรัลได้ร่วมทุนกับโรบินสัน พร้อมกับขยายสาขาของโรบินสันออกไปในต่างจังหวัด ส่วนหนึ่งจะมีการดึงเอาห้างท้องถิ่นมาร่วมทุนด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการทำตลาด การร่วมทุนกับกลุ่มทุนจากส่วนกลางดูเหมือนจะดี เพราะแทนที่จะแข่งกับเขา ก็หันมาเป็นพันธมิตรร่วมกันทำตลาดแทน แต่เมื่อกลุ่มเซ็นทรัลเข้าไปลงทุนเปิดศูนย์การค้าเองพร้อมนำโรบินสันเข้าไปเป็นแมกเน็ตหนึ่งในศูนย์ สาขาที่ร่วมทุนกับยิ่งยงจึงต้องปิดตัวลง แต่สัญญาที่เซ็นกันยังเหลือ ซึ่งถ้าไม่ทำต่อก็ต้องปิดตัวลง นั่นหมายถึงเป็นการปิดตำนานของห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของจังหวัดอุบลราชธานีด้วย เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ “โกเฒ่า” ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ต้องกลับมาลงทุนปลุกตำนานที่มีชีวิตนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง “โกเฒ่า” ยังกล่าวอีกว่า คอมมูนิตี้มอลล์แห่งใหม่นี้ จะเป็นไลฟ์สไตล์มอลล์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยจะมีร้านอาหารชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี และจากส่วนกลางเข้ามาเปิดในศูนย์ อาทิ ร้านอินโดจีน เป็นร้านอาหารเวียดนามชื่อดังของอุบล ร้าน Y-Space ที่ประกอบด้วย 4 ร้านย่อย คือ U-bao, Summer Spoon, Rocky และ Trocadero ร้านยำนัว

พามาเบิ่ง “ยิ่งยง มินิมาร์ท” ตำนวนค้าปลีกสู่เจ้าพ่อร้านสะดวกซื้ออีสานใต้ กับวิถีการปรับตัวของห้างภูธร สร้างจุดแตกต่างในวงล้อมยักษ์ใหญ่ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top