อาหารอีสาน แดน ปลาร้า “วันส้มตำสากล” 2 มิ.ย. เปิดประวัติ ‘ส้มตำ’ มาจากไหน มีครั้งแรกเมื่อไหร่?

2 มิถุนายน “วันส้มตำสากล” วันที่นานาชาติให้การยอมรับว่า ส้มตำไทย อร่อย และยกให้ ส้มตำ เป็น อาหารสากล เปิดที่มาของคำว่า “ส้มตำ” มาจากไหน มีครั้งแรกเมื่อไหร่ ส้มตำ ภาพจาก FREEPIK “วันส้มตำสากล” (International Somtum Day) ตรงกับวันที่ 2 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันที่นานาชาติให้การยอมรับว่า ส้มตำไทย นั้นอร่อยและยกย่องให้ ส้มตำ เป็น อาหารสากล ชื่อ ส้มตำ เกิดจากการนำคำสองคำมาผสมกันนั่นเอง คำแรก “ส้ม” มาจากภาษาท้องถิ่น ที่หมายความว่ารสเปรี้ยว ส่วนคำที่สองคือ “ตำ” หมายความว่า การใช้สากหรือสิ่งของอื่นที่คล้ายคลึงทิ่มลงไปอย่างแรงเรื่อยๆ เมื่อสองคำมารวมกันก็จะได้ความหมายคือ อาหารรสเปรี้ยวที่ทำโดยการตำนั่นเอง ที่มาของวันส้มตำสากล เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2559 โดย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับ สมาคมผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารไทยมีการเสนอให้ องค์การสหประชาชาติ (ยูเนสโก้) ขึ้นทะเบียน “ส้มตำ” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 คณะกรรมการมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของยูเนสโก้ ได้พิจารณาและ ให้การรับรองส้มตำ เข้าร่วมในรายการ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของไทย ความหมายของวันส้มตำสากล เป็นการ ยกย่อง ให้ “ส้มตำ” เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เป็นการ ส่งเสริม ให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ได้รู้จัก ลิ้มลอง และชื่นชอบอาหารไทย เป็นการ กระตุ้น เศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและร้านอาหาร เป็นการ อนุรักษ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย กิจกรรมในวันส้มตำสากล มีการจัดงาน เทศกาลส้มตำ ทั่วประเทศ มีการ ประกวดตำส้มตำ ในรูปแบบต่างๆ มีการ จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิญชวนนักท่องเที่ยวให้มาลองชิมส้มตำ มีการ เผยแพร่ข้อมูล เกี่ยวกับส้มตำ ผ่านสื่อต่างๆ ส้มตำ อาหารไทยที่โด่งดังไปทั่วโลก เปรียบเสมือนตัวแทนของวัฒนธรรมไทย การมี “วันส้มตำสากล” จึงเป็นการช่วย ส่งเสริม ให้ส้มตำเป็นที่รู้จัก และ นิยมมากยิ่งขึ้น ข้อสันนิษฐานเรื่องที่มาของ ส้มตำ ส่วนผสมในเอกสารของส้มตำ ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีการนำมะละกอดิบมาปรุงเป็นส้มตำเป็นครั้งแรกเมื่อใด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงที่มาของส่วนประกอบต่างๆ ของส้มตำ อาจได้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการสันนิษฐานถึงที่มาของส้มตำได้ มะละกอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ชาวสเปนและโปรตุเกสนำมาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคต้นกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่ชาวฮอลันดาอาจนำพริกเข้ามาเผยแพร่ในเวลาต่อมาในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีทูตชาวฝรั่งเศสผู้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา คือ นีกอลา แฌร์แวซ (Nicolas Gervaise) และซีมง เดอ ลา ลูแบร์ พรรณนาว่าในเวลานั้นมะละกอได้กลายเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้ว และได้กล่าวถึงกระเทียม มะนาว มะม่วง กุ้งแห้ง ปลาร้า ปลากรอบ กล้วย น้ำตาล แตงกวา พริกไทย ถั่วชนิดต่างๆ ที่ล้วนสามารถใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงส้มตำได้ขณะเดียวกันได้เขียนว่า ในขณะนั้นสยามไม่มีกะหล่ำปลี และชาวสยามนิยมบริโภคข้าวสวย (ในบางหลักฐานหลายอย่างชี้เห็นว่าชาวสยามกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนข้าวเจ้านั้นจะปลูกสำหรับให้กับเจ้านายขุนนางและสำนักราชวังเท่านั้น […]

อาหารอีสาน แดน ปลาร้า “วันส้มตำสากล” 2 มิ.ย. เปิดประวัติ ‘ส้มตำ’ มาจากไหน มีครั้งแรกเมื่อไหร่? อ่านเพิ่มเติม »