Nanthawan Laithong

พามาเบิ่ง ธุรกิจผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ ระดับพันล้านในภาคอีสาน

บริษัทมีผลการดำเนินงานปี 2564 เติบโตกว่าปี 2563 ที่มีรายได้รวม 4,1288 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 504 ล้านบาท เป็นไปตามอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งนี้ บริษัทยังมีรายได้จากการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เข้ามาเพิ่มเติม โดยมีการวางเป้าหมายมีสัดส่วนรายได้มากกว่า 30% ของรายได้รวม ซึ่งที่ผ่านมา PCSGH ก็ได้มีการทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (ปี 63-67) ผ่านมาแล้ว 1 ปี เหลืออีก 4 ปี ในปีนี้บริษัทจะยังคงมุ่งเน้นการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นหลัก เนื่องด้วยปัจจุบันยังมีความต้องการมากอยู่จนกว่าจะเปลี่ยนแปลงไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยวางเป้าหมายจะมีสัดส่วนรายได้จากการผลิตชิ้นส่วน EV เพิ่มเป็น 52% ในปี 2568 ส่วนที่เหลือจะเป็นรายได้จากชิ้นส่วนรถยนต์ที่ไม่ใช่ EV เนื่องจากเทรนด์ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังมา บริษัทฯ ก็ได้เริ่มทำธุรกิจของรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ซึ่งด้วยความสามารถของ PCSGH ก็ถือว่ามีความพร้อมในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าในหลายส่วน เช่น การลดน้ำหนักของตัวรถ โดยเปลี่ยนวัสดุหนักจากเหล็กให้กลายเป็นวัสดุเบาอลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งบริษัทฯ สามารถขยับไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าได้ และเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง ก็เล็งเห็นว่าสินค้าของบริษัทฯ ในกลุ่มที่ไม่ใช่บิ๊กอัพ, ยานยนต์, เครื่องยนต์ และอื่นๆ ก็ยังคงให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง บริษัทยังมีแผนลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อรองรับโปรเจ็คต์ EV ที่น่าจะเริ่มผลิตได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า คาดว่าจะสามารถอนุมัติงบลงทุนได้ในช่วงกลางปีนี้ ขณะที่งบลงทุนอื่นๆ ในปีนี้วางงบไว้ราว 200 ล้านบาทเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบ Smart Factory ในเรื่องของดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น อ้างอิงจาก: https://www.set.or.th/…/financial…/company-highlights https://www.pcsgh.com/th/about/business_overview https://www.moneyclub.asia/pcsgh-%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0…/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ #ธุรกิจพันล้าน #นครราชสีมา

พามาเบิ่ง ธุรกิจผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ ระดับพันล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง เส้นทางธุรกิจคลังน้ำมันเชื้อเพลิง ระดับหลายร้อยล้านในภาคอีสาน

น้ำมันถือเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ “คลังน้ำมัน” ก็จัดเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการกระจายน้ำมันให้ครอบคลุม​ ​PTC หรือ บมจ. พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น ทำธุรกิจ “คลังน้ำมันอิสระ” ที่ทันสมัยที่สุดในภาคอีสาน และเป็นคลังน้ำมันอิสระรายแรกในตลาดหุ้นไทย รองรับเทรนด์ Infrastructure Sharing ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมการกระจายน้ำมันทั่วพื้นที่ภาคอีสานตอนบนและตอนล่าง ผ่านคลังที่ขอนแก่นและศรีสะเกษ ​โดยปัจจุบัน PTC มีรายได้สม่ำเสมอจากผู้เช่าที่เป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ และสามารถสร้างอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยสูงกว่า 40% ต่อปี​ วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาเบิ่งเส้นทางของ PTC ว่ามีความเป็นมาอย่างไร? บริษัท พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจให้บริการคลังรับ เก็บ และจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ด้วยวิสัยทัศน์ และประสบการณ์ของครอบครัวบูรพพัฒนพงศ์ (ผู้ก่อตั้ง) ซึ่งอยู่ในธุรกิจให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงมานานกว่า 20 ปี โดยเริ่มเปิดให้บริการคลังน้ำมันแห่งแรกที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ในปี 2557 ภายใต้ชื่อคลังน้ำมัน PTC ขอนแก่น ด้วยกำลังการจ่ายน้ำมันสูงสุด 3.2 ล้านลิตร เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยมี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้ามาเป็นผู้ใช้บริการในปีเดียวกัน โดยมีสัญญาให้บริการระยะยาว ในปี 2558 บริษัทฯ ได้ลงทุนเพิ่มกำลังการจ่าย และรับน้ำมันเพิ่มอีกอย่างละ 2 ช่องจ่าย โดยทำให้มีกำลังการจ่ายน้ำมันสูงสุดเพิ่มขึ้นเป็น 4.2 ล้านลิตรต่อวัน ทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังทำการติดตั้งระบบป้องกันการรับน้ำมันผิดผลิตภัณฑ์ (Product Unload Contaminated Protection) ซึ่งเป็นระบบที่ป้องกันการผิดพลาดทำให้เกิดความเสียหายกับคุณภาพน้ำมันที่บริษัทฯได้พัฒนาขึ้นมาเอง ในปี 2559 บริษัทฯ ได้ลงทุนก่อสร้างคลังน้ำมันแห่งที่สอง ที่ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในการกระจายน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และเป็นคลังน้ำมันตั้งอยู่บนทำเลที่สามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟได้ทำให้สามารถลดต้นทุนในการขนส่งได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังออกแบบคลังน้ำมันแห่งนี้ให้เป็นระบบ In-Line Blending ทำให้มีความยืดหยุ่นในการปรับสูตรผลิตภัณฑ์และสามารถลดต้นทุนในการขนส่งวัตถุดิบได้มาก ในปี 2561 บริษัทฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นและโครงสร้างต่างๆของบริษัทฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในปี 2562 บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2015, มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001 : 2018, มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO

พาซอมเบิ่ง เส้นทางธุรกิจคลังน้ำมันเชื้อเพลิง ระดับหลายร้อยล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง NER โรงงานผลิตยางพารา หมื่นล้านในภาคอีสาน

รู้หรือไม่ว่าแหล่งผลิตยางพาราคุณภาพของประเทศไทยนั้น นอกจากพื้นที่ภาคใต้ และภาคตะวันออกแล้ว ยังมีอีกพื้นที่หนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูกยางพารา และสามารถผลิตน้ำยางที่มีคุณภาพไม่แพ้ที่อื่น ๆ นั่นคือ พื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งกินพื้นที่กว่า 4 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพาไปดู NER ทำธุรกิจอะไรบ้าง และเติบโตมาไกลแค่ไหน ? จุดเริ่มต้น NER ก่อตั้งโดย คุณชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ เดิมทีครอบครัวคุณชูวิทย์ประกอบอาชีพทำลานมันเส้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จนเมื่อปี พ.ศ. 2527 คุณพ่อของคุณชูวิทย์ได้ริเริ่มการปลูกยางพาราในพื้นที่อีสานใต้ ทำให้เกษตรกรในภาคอีสาน เริ่มสนใจและหันมาปลูกยางพาราเพื่อสร้างรายได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้นก็คือ ที่ภาคอีสานนั้น “ไม่มีสถานที่รับซื้อยางพารา” คุณชูวิทย์และเกษตรกรคนอื่น ๆ ต้องนำผลผลิตยางพาราที่ได้มาไปขายที่จังหวัดระยอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและโดนกดราคา แต่ปัญหาดังกล่าวก็ได้ทำให้คุณชูวิทย์เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจ โดยเขาได้ตัดสินใจตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราขึ้นมาชื่อว่า “นอร์ทอีส รับเบอร์” หรือ NER ในปี พ.ศ. 2549 โดยเริ่มจากการรับซื้อยางจากเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงและนำมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันขายให้กับคู่ค้าทั่วประเทศ แต่ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้น บริษัทได้เจอวิกฤติครั้งใหญ่ จากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยที่ไม่สต็อกของไว้ในมือ เมื่อราคาของยางพาราวิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทไม่มีเงินพอไปซื้อของมาขายตามที่สัญญาไว้ได้ ตอนนั้นคุณชูวิทย์มีทางเลือกอยู่สองทาง หนึ่งคือ การไม่ทำตามสัญญาแล้วออกจากธุรกิจนี้ไป สองคือ การไปเจรจากับคู่ค้าโดยตรง คุณชูวิทย์ตัดสินใจบินไปหาคู่ค้าที่สิงคโปร์ด้วยตัวเองและชี้แจงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยขอผ่อนชำระหนี้ในระยะยาวกับคู่ค้าแทน ซึ่งคู่ค้าก็เห็นด้วย เนื่องจากเป็นการแจ้งล่วงหน้า 3 เดือน ทำให้มีเวลาในการปรับตัว และยังสามารถเป็นคู่ค้ากันต่อไปได้ ผลจากวิกฤติครั้งนี้ทำให้บริษัทเรียนรู้ข้อผิดพลาด และเปลี่ยนวิธีทำธุรกิจโดยการไม่ยุ่งกับตลาดซื้อขายล่วงหน้าอีก แต่ใช้วิธี “Matching” คือ ซื้อเข้ามาแล้วขายออกเลย หรือรับออร์เดอร์ขายเข้ามาก่อน แล้วค่อยซื้อเข้ามาเก็บไว้ ทำให้บริษัทไม่ต้องรับความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของต้นทุนสินค้าอีกต่อไป จุดนี้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถสร้างรายได้สม่ำเสมอในระยะยาว แม้ว่าวัตถุดิบอย่างยางพาราจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ตัวหนึ่งที่มีวัฏจักรราคาหรือรอบของมันก็ตาม เมื่อบริษัทมีความมั่นคงและเป็นที่รู้จักมากขึ้น สามารถขยายโรงงานเพิ่มกำลังการผลิต และออกสินค้าตัวอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมา อย่างยางอัดแท่ง และยางผสม ซึ่งเป็นที่ต้องการของทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ หากพิจารณาผลประกอบการของ NER เป็นอย่างไรบ้างในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ? รายได้และกำไรของ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ปี 2561 รายได้ 10,074 ล้านบาท กำไร 487 ล้านบาท ปี 2562 รายได้ 13,021 ล้านบาท กำไร 539 ล้านบาท ปี 2563 รายได้ 16,365 ล้านบาท กำไร

ชวนเบิ่ง NER โรงงานผลิตยางพารา หมื่นล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง ธุรกิจสินเชื่อน้องใหม่มาแรง “เงินเทอร์โบ” ขวัญใจคนอีสาน

“เงินเทอร์โบ” ผู้เล่นตลาดสินเชื่อรายย่อย ที่ตัดสินใจกระโดดเข้ามาท้าชิงส่วนแบ่ง ‘เค้กก้อนโต’ จากคู่แข่งในสนามเดียวกัน เพราะเชื่อในการทำธุรกิจที่นึกถึงเบื้องลึกคนรากหญ้า การพัฒนาบุคลากร และตั้งใจคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง บริษัท เงินเทอร์โบ เผยผลประกอบการ 3 ปี โตเกินเท่าตัวทุกปี ชูจุดเด่นเข้าใจความต้องการของลูกค้า สร้างกระแสการแนะนำปากต่อปาก เล็งเข้าตลาดหุ้นกลางปี 65 เสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ ขยายบริการครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อแตะหมื่นล้านภายในปีหน้าเปิดครบ 3,000 สาขา ภายในปี 68 คุณสุธัช เรืองสุทธิภาพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เงินเทอร์โบ จำกัด ผู้ให้บริการทางการเงินภายใต้แบรนด์ “เงินเทอร์โบ ” เปิดเผยว่า บริษัทมีอัตราการเติบโตที่ดีมาก ทั้งรายได้ รวมถึงฐานลูกค้า และจำนวนสาขามาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยปี 63 ที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้โตขึ้น 3 เท่าจากปี 62 ส่วนปีนี้ คาดว่าจะมีรายได้โตเกือบเท่าตัวจากปีก่อน ขณะที่ปี 65 น่าจะมีรายได้โตอีกเกือบเท่าตัว ทั้งนี้ ผลประกอบการของบริษัทถือว่ามีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากปัจจัยสำคัญในเรื่องของการให้บริการที่มีความรวดเร็ว จริงใจ ให้เกียรติ ตรงไปตรงมา สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด สามารถรับเงินได้ทันที ซึ่งมีผลทำให้บริษัทมีอัตราการเติบโตของธุรกิจ อย่างไรก็ตาม จากรูปแบบการให้บริการดังกล่าวได้กลายเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญของบริษัท เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ที่เพิ่มมากขึ้นมาจากการแนะนำกันแบบปากต่อปากของลูกค้าที่เคยใช้บริการสินเชื่อของบริษัท โดยบริษัทจะปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรให้กับพนักงาน ซึ่งจะมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นลำดับแรก อีกทั้งยังมีความเข้าใจสภาพคล่องทางการเงินของลูกค้าที่อาจจะไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเมื่อลูกค้ามีปัญหาก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ ทำให้เกิดความผูกพันระหว่างบริษัทกับลูกค้า คุณสุธัช กล่าวต่อไปว่า บริษัทมีแผนที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ช่วงปี 65 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินมาใช้ในการขยายธุรกิจ ซึ่งบริษัทมีแผนจะขยายสาขาให้ได้ 3,000 สาขาในปี 68 เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้ครอบคลุมทั่วประเทศ จากปัจจุบันที่บริษัทมีสาขาเปิดให้บริการอยู่กว่า 550 สาขา โดยที่สิ้นปีนี้จะเปิดให้บริการเพิ่มเป็น 650 สาขา รวมถึงการนำเงินไปลงทุนขยายทีมเทคโนโลยี ซึ่งบริษัทมองว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำธุรกิจในอนาคต อ้างอิงจาก: https://data.creden.co/company/general/0125560019860 https://www.prachachat.net/public-relations/news-736935 https://www.bangkokbiznews.com/pr-news/biz2u/279348 https://thestandard.co/podcast/thesecretsauce511/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจสินเชื่อ #สินเชื่อ #เงินเทอร์โบ

ชวนเบิ่ง ธุรกิจสินเชื่อน้องใหม่มาแรง “เงินเทอร์โบ” ขวัญใจคนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง เส้นทาง “ห้างทวีกิจซุปเปอร์เซ็นเตอร์”

หลายบริษัทที่มีมูลค่าหลักหมื่นล้านบาท มักมีจุดเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ แล้วขยายออกสู่ต่างจังหวัด แต่ไม่ใช่ “ทวีกิจซุปเปอร์เซ็นเตอร์” ซึ่งมีผู้ก่อตั้งธุรกิจที่เป็นคนภาคอีสาน ​​สำหรับคนบุรีรัมย์และชาวอีสานใต้คงคุ้นหูกับชื่อ “ห้างทวีกิจ” ห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ที่อยู่คู่เมืองบุรีรัมย์มายาวนานกว่า 45 ปี ทวีกิจ เริ่มต้นมาจากร้านขายของชำเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง จนก้าวขึ้นมาเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของจังหวัด ขยายกิจการใหญ่โต และที่สำคัญเส้นทางของทวีกิจกว่าจะมาถึงวันนี้ไม่ธรรมดาเพราะต้องฝ่าฟันวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ชนิดแทบเอาตัวไม่รอดด้วยพลังของผู้ชายหัวใจสิงห์ที่ชื่อ “คุณทวี โรจนสินวิไล” ผู้ก่อตั้ง กับคุณปราณี โรจนสินวิไล ภรรยาและลูก ๆ จนสามารถกลับมาเริ่มต้นธุรกิจได้อีกครั้งในปี 2545 ภายใต้ชื่อ “ทวีกิจ ซุปเปอร์เซ็นเตอร์” นอกจากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ คือ ทวีกิจ พลาซ่า, ทวีกิจ ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ ในจังหวัดบุรีรัมย์ และทวีกิจคอมเพล็กซ์ จังหวัดสระบุรีแล้ว ยังมีร้านค้าสาขาในอาณาจักรทวีกิจอีก 166 สาขา กระจายอยู่ในพื้นที่อีสานใต้ อาทิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม นครราชสีมา สระแก้ว และอุบลราชธานี คุณทวี เพลิดเพลินกับการขยายสาขาและการลงทุนแบบไม่ทันยั้งคิดว่า มรสุมก้อนใหญ่กำลังเคลื่อนเข้ามาแค่เอื้อม วีมาร์ท เปิดเมื่อประมาณวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ช่วงนั้นธุรกิจค้าปลีกประเภทซูเปอร์เซ็นเตอร์กำลังมาแรง คุณทวีได้ไอเดียมาจากห้าง Wall Mart ที่อเมริกา เมื่อเขามีวอล์ลมาร์ท เราก็มีวีมาร์ท โดยที่ไม่ทันฉุกคิดว่าจะเจอวิกฤตต้มยำกุ้งที่ทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งด้วยความที่หอบเงินลงทุนก้อนโตลุยขยายกิจการ เมื่อภัยต้มยำกุ้งมาเยือน ทำให้คุณทวีและครอบครัวประสบปัญหาหนักที่สุดในชีวิต เกิดหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะกู้เงินมาขยายสาขา หมุนเงินไม่ทัน จำต้องปิดสาขาวีมาร์ททั้ง 2 สาขา เพื่อห้ามเลือดให้หยุดไหล เหลือเพียงทวีกิจพลาซ่าหน้าอำเภอ และทวีกิจคอมเพล็กซ์สระบุรี “วีมาร์ท” จึงถูกปิดตัวลงเมื่อววันที่ 13 เดือนเมษายน พ.ศ.2541 หลังจากเปิดบริการได้เพียง 6 เดือนเท่านั้นด้วยหัวใจที่ปวดร้าวแต่ในใจของทวีคิดแต่เพียงว่าเขาจะต้องเปิดห้างนี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้งให้ได้ วันนี้ ทวีกิจ ขยายสาขาไปตามอำเภอ และตำบลต่าง ๆ ทั้งในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง รวมแล้ว 166 สาขา และจะขยายสาขาต่อไปอย่างน้อยปีละ 10 สาขา โดยเน้นนโยบายทำเลจากใกล้ไปไกล ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปแและยังยืนยันที่จะลงทุนเองทั้งหมด ยังไม่มีแผนขายแฟรนไชส์แต่อย่างใด ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจดังเดิม ที่ว่า “ทวีกิจนำความประหยัดและความสุขไปสู่ชุมชน” ที่สำคัญ ทวีกิจทุกสาขา ไม่ขายเหล้า เบียร์ บุหรี่ แม้ว่าจะมียอดขายและกำไรที่ดีมากก็ตาม ตามสโลแกนที่ว่า ทวีกิจไม่ขายเหล้าเบียร์ บุหรี่ เพราะเราห่วงใยคุณและทุกคนในครอบครัว ปัจจุบัน ทวีกิจ บริหารงานโดยทายาทรุ่นที่ 2 ที่ยอมรับว่า การเปิดตัวของโมเดิร์นเทรดในจังหวัดบุรีรัมย์ทำให้ทวีกิจได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมองว่าคู่แข่งที่เข้ามาทำให้ทวีกิจได้พัฒนาห้างอย่างก้าวกระโดดเพื่อสามารถแข่งขันและรองรับความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้อย่างเต็มที่ สุดท้ายนี้ “คุณดรุณี – คุณศิรินันท์ โรจนสินวิไล” บอกว่า

พาซอมเบิ่ง เส้นทาง “ห้างทวีกิจซุปเปอร์เซ็นเตอร์” อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง ธุรกิจผับรายใหญ่ ในภาคอีสาน

การทำธุรกิจต้องมีการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจ พร้อมสํารวจพฤติกรรมและความต้องการสินค้าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ก่อน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อ้างอิงจาก: https://data.creden.co/company/general/0343547001053 https://www.awaygpub.com/u-bar-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8…/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจผับ #ยูบาร์ #Ubar #อุบลราชธานี

พาส่องเบิ่ง ธุรกิจผับรายใหญ่ ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง “ข้าวไดโนเสาร์” สุดยอดแบรนด์ข้าวหอมมะลิของคนอีสาน

“ข้าวไดโนเสาร์” เป็นชื่อที่ถูกพูดถึงมากที่สุดบนโลกโซเชียลในขณะนี้ ซึ่งหาไม่ได้ง่าย ๆ ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูจุดเริ่มต้นและความลับของข้าวไดโนเสาร์ว่ามีอะไรบ้าง?? จุดเริ่มต้นของ “ข้าวไดโนเสาร์” คุณจำนงค์ รุ่งโรจน์นิมิตชัย เล่าว่า “สมัยก่อนคุณพ่อเคยเป็นหลงจู๊หรือเป็นผู้จัดการโรงสีให้คนอื่นเขา ตั้งแต่เด็กๆ เราก็ได้ช่วยงานพ่อ เป็นเสมียนคอยดูข้าว ชั่งข้าว ทำให้เราซึมซับมาเรื่อย ๆ และกลายเป็นงานที่เราถนัด จนกระทั่งเรียนจบ เราก็มาซื้อโรงสีเก่าขนาดเล็กๆ ต่อจากเค้า แล้วก็ปรับปรุงมาเรื่อย ๆ จากโรงสีขนาดเล็กก็ค่อยๆ เติบโตขึ้นมาทีละนิด จนตอนนี้ก็ทำมา 30 ปีแล้วครับ” จากโรงสีเก่าขนาดเล็กในอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ก็ค่อย ๆ เติบโตและกลายเป็นโรงสีพงษ์ชัยธัญญาพืช ต้นกำเนิดข้าวไดโนเสาร์” ซึ่ง “ข้าวไดโนเสาร์” จะใช้ข้าวหอมมะลิเป็นหลัก ชื่อเต็มของข้าวหอมมะลิคือข้าวขาวดอกมะลิ ปลูกในนาปี คือปลูกได้เฉพาะฤดูฝนเพราะเป็นพันธุ์ข้าวที่ไวต่อแสง ข้าวนาปีต้องปลูกให้ตรงตามฤดูถึงจะได้คุณภาพ พอเข้าสู่ฤดูหนาวที่ช่วงแสงสั้นลง ข้าวมันจะรู้เองอัตโนมัติว่าถึงเวลาต้องออกรวงแล้ว แม้จะปลูกต่างกัน 10 วัน ก็เกี่ยวพร้อมกัน ซึ่งโดยปกติข้าวหอมมะลิจะใช้เวลา 170-175 วัน โดยจะแตกต่างจากข้าวนาปรังที่ปลูกได้ทั้งปี ครบ 90-100 วันแล้วก็เกี่ยว คุณจำนงค์ยังเล่าด้วยว่า เรื่องของดินก็มีผลต่อข้าวเหมือนกัน “ข้าวหอมมะลิจะปลูกดีในนาทราย อย่างข้าวที่ปลูกในนาทรายแถบภาคอีสานเม็ดจะเรียวและขาวใสกว่า จะไม่อ้วนเท่ากับข้าวหอมมะลิที่ปลูกทางภาคกลางซึ่งเป็นนาดินเหนียว แต่ว่าความหอมเนี่ยจะขึ้นอยู่กับอายุของข้าว ถ้าเก็บเกี่ยวในช่วงที่เหมาะสมตามฤดูกาล ในขณะที่ข้าวไม่สุกจนเกินไป ก็จะได้ความหอมขึ้นมา รวงของเขาจะเป็นสีเหลืองพลับพลึง เหลืองเหมือนกล้วยอมเขียวนิด ๆ แสดงว่าเริ่มเกี่ยวได้แล้ว ถ้าปล่อยให้ข้าวกลายเป็นสีเหลืองน้ำตาลมันจะสุกเกินไป แต่ชาวบ้านหลายคนเกี่ยวในช่วงนี้เพราะจะได้ปริมาณแป้งและได้น้ำหนักที่มากขึ้น” สิ่งที่ทำให้ข้าวไดโนเสาร์พิเศษกว่าข้าวอื่น ๆ คือ กระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบคุณภาพดีอย่างพิถีพิถัน โดยเริ่มจากวัตถุดิบที่ดีก่อน เวลาชาวบ้านขายข้าวเปลือกมาให้ สิ่งแรกที่ต้องดูคือเป็นข้าวหอมมะลิแท้หรือไม่ มีข้าวพันธุ์อื่นปนมามั้ย จากนั้นก็จะทำการคัดเกรดข้าว โดยคุณสมบัติ 2 ข้อที่ขาดไม่ได้คือความหอมและความนุ่ม โดยใช้หม้อหุงข้าวเล็ก ๆ หุงชิมตรงนั้นเลย ชิมเองบ้าง เสมียนชิมบ้าง แม่บ้านชิมบ้าง เพราะในสายพันธุ์ข้าวหอมไม่ได้มีแค่ข้าวหอมมะลิ ข้าวปทุมก็หอม ข้าวกข79 ก็หอม ทุกสายพันธุ์จะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ทีมงานจะจำรสชาติข้าวหอมมะลิได้เพราะชิมทุกวัน ชิมแล้วรู้เลยว่าตัวนี้ผ่านหรือไม่ผ่าน พอคัดข้าวเปลือกดีแล้ว อีกขั้นตอนที่สำคัญก็คือการจัดเก็บ โดยจะนำข้าวเปลือกไปเก็บไว้ในถังไซโลแล้วอัดอากาศเย็นและแห้งขึ้นไปจากด้านล่าง เพื่อรักษาอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 25-28 องศา ให้ข้าวคงความหอมนุ่ม พอมีออเดอร์มาแล้ว จะมีการปล่อยข้าวจากถังไซโลออกมาสี ซึ่งจะไม่สีแล้วกองทิ้งไว้ เพราะการเก็บเป็นข้าวเปลือกจะคงคุณภาพได้ดีกว่า พอสีเสร็จแล้วก็แพ็กขายย่อยทุกวัน วันละ 1-2 คันรถเท่านั้น เหตุผลที่ไม่มีขายในห้าง จนกลายเป็น Rare item หลายคนพยายามเสิร์ชหาในกูเกิลว่าข้าวไดโนเสาร์ซื้อได้ที่ไหน เพราะมันไม่ได้วางขายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ซึ่งจะเกี่ยวกับปริมาณวัตถุดิบที่ปีนึงโรงสีจะซื้อข้าวคุณภาพดีมาได้เท่านี้ มีห้างมาชวนหลายเจ้า แต่ด้วยปริมาณของของโรงสีมีจำกัด โดยในขณะนี้ก็ยังคงขายอยู่ในร้านค้าแบบดั้งเดิม บางร้านก็นำไปขายบนออนไลน์อย่าง Shopee หรือ LAZADA ซึ่งก็สะดวกกับผู้บริโภค

ชวนเบิ่ง “ข้าวไดโนเสาร์” สุดยอดแบรนด์ข้าวหอมมะลิของคนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง เส้นทาง Class Café

“สตาร์บัคส์แห่งภาคอีสาน” จะเป็นของใครไปไม่ได้ นอกจาก “ร้านกาแฟสัญชาติไทย Class Café” ขวัญใจชาวอีสาน จากร้านกาแฟที่มีขนาดพื้นที่เล็ก ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา ทำยอดขายได้วันละไม่กี่สิบแก้ว ผ่านมากว่า 8 ปี Class Café ประสบความสำเร็จอย่างมาก พร้อมขึ้นแท่นร้านกาแฟขวัญใจ Youth Generation ที่มีดีไซน์เฉพาะตัว เรียบง่าย ทันสมัย และมีความเป็น Co-working Space ที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่นักเรียน นักศึกษา และคนทำงานฟรีแลนซ์ จุดเริ่มต้น Class Café คุณกอล์ฟ มารุต ชุ่มขุนทด หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท คลาส คอฟฟี่ จำกัด เจ้าของร้านกาแฟ Class Café เคยทำงานในสายเทคโนโลยีมาตลอด แต่เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ธุรกิจร้านกาแฟยังไม่เป็นที่นิยมมากในเมืองไทย ทำให้เริ่มมองเห็นช่องว่างทางการตลาดเลยตัดสินใจลาออกจากงานประจำในบริษัท แล้วชักชวนญาติอีก 2 ท่าน มาทำร้านกาแฟด้วยกัน โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ สร้างคาแรกเตอร์ของร้านกาแฟที่สมบูรณ์แบบและแตกต่างจากร้านอื่น โดยผมรับหน้าที่ดูแลเรื่องมาร์เก็ตติ้ง ส่วนผู้ร่วมก่อตั้งอีก 2 ท่าน ดูแลเรื่องอาหาร และวัตถุดิบ ปัจจุบันผมและร่วมผู้ก่อตั้งบริษัทถือหุ้นรวมกันประมาณ 75% คุณกอล์ฟ เล่าว่า ในช่วงปีแรกที่มียอดขายเยอะ มีการวางแผนเปิดสาขาใหม่ สัปดาห์ละ 1 สาขา เพราะอยากมีสาขาให้มากที่สุด เคยวางเป้าหมายไว้ว่า จะต้องมีสาขา 50-100 สาขา ภายใน 3 ปีข้างหน้า (ปี 2562-2564) พร้อมกับวางแผนระยะยาวว่า จะต้องสร้างเชนร้านกาแฟใหญ่ ๆ แต่เมื่อเกิด Covid-19 ทำให้ต้องกลับมาทบทวนโมเดลธุรกิจกันใหม่ เพราะธุรกิจทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรคครั้งใหญ่ ในช่วงเกิด Covid-19 ในเมื่อ Class Café ทำธุรกิจแบบ Open Coffee Platform ฉะนั้นอาจไม่จำเป็นต้องขยายสาขาใหม่ถี่ ๆ เหมือนแต่ก่อน แต่ควรจะหันมาใช้ประโยชน์จากการมี Platform ของตัวเองมากกว่า เช่น ไม่จำกัดตัวอยู่เพียงเครื่องดื่มกาแฟ แต่กระจายตัวไปสู่สินค้าประเภทอื่น ๆ เช่น น้ำผลไม้, โยเกิร์ต, เบเกอรี่, หูฟัง, ลูวิ่ง, โลชั่นทาผิวที่ทำมาจากชาเขียว รวมถึงการเปลี่ยนคู่แข่งให้เป็นคู่ค้า ด้วยการขายโปรดักส์ของเราให้กับคู่แข่ง เพื่อให้สินค้าถึงมือลูกค้าเร็วขึ้น เป็นต้น ปัจจุบัน Class Café มีทั้งหมด 21 สาขา กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ตามต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ ในส่วนของต่างจังหวัดจะเน้นเปิดสาขาตามแนวรถไฟฟ้าความเร็วสูง เช่น นครราชสีมา, ขอนแก่น, อุดรธานี,

พาส่องเบิ่ง เส้นทาง Class Café อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง อาณาจักร Mongni Cafe ชานมไข่มุกรายใหญ่ในภาคอีสาน

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มที่ฮิตและปังที่สุดในตอนนี้ ก็คงจะหนีไม่พ้น “ชานมไข่มุก” โดยวันนี้เราจะพามาที่ร้าน “Mongni Cafe” ร้านชานมไข่มุกขอนแก่น ที่ฮอตฮิตจนขยายแฟรนไชส์ไปแล้วหลายจังหวัด ! Mongni cafe เดิมทีเป็นร้านคาเฟ่ธรรมดา ๆ ในย่านกังสดาล ม.ขอนแก่น Mongni Cafe ชื่อภาษาอังกฤษ อ่านว่า “หม่อง-นี่ คาเฟ่” ร้านชานมขนาดเล็ก โดยชื่อออกเสียงเข้ากับสไตล์คาเฟ่ดูเป็นญี่ปุ่น แต่ที่แท้เป็นภาษาอีสาน บ่งบอกที่มา ก่อตั้งขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยชาวอีสาน ก่อนจะขยายเครือข่ายทั่วประเทศ ราว ๆ 60 แห่งแล้ว รวมทั้งที่ ภูเก็ต เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ ต่อมาชานมไข่มุกกำลังดังในช่วงนั้นพอดี ทางร้านจึงได้เดินทางไปไต้หวัน เพื่อไปลองชิมไข่มุกลาวา และได้นำมาดัดแปลงสูตร จนได้นำไปออกบูธของทางร้าน แถมได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก ลูกค้าต่างชื่นชอบและติดใจ จึงมีการเรียกร้องให้นำมาขายที่ Mongni Cafe ทำให้ชานมไข่มุกลาวา ถือกำเนิดขึ้นในชื่อติดปากว่า “ชานมหม่องนี่” Mongni Cafe มีสไตล์การตกแต่งแบบโทนสีเหลืองสดใส มีโลโก้ที่เป็นเอกลักษณ์และจำง่าย ความพิเศษไม่เหมือนใครอยู่ที่ตัวไข่มุกหวานอุ่น กับน้ำที่รสจืดทั้งหมด โดยไข่มุกลาวาที่เป็นไข่มุกสูตรเฉพาะของทางร้าน Mongni Cafe ที่นำมาเคี่ยวกับน้ำตาล ทำให้มีรสชาติหอมหวานและมีกลิ่นไหม้นิด ๆ อันเป็นเสน่ห์ของไข่มุกลาวา แล้วนำมาใส่ในเครื่องดื่มเพื่อชูรสหวาน อ้างอิงจาก: https://data.creden.co/company/general/0413562002358 https://data.creden.co/company/general/0405562005260 https://food.trueid.net/detail/yGQgayk1QdN7 https://marketeeronline.co/archives/209512 https://www.wongnai.com/articles/mongni-cafe-khonkaen #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ชานมไข่มุก #MongniCafe #Mongni #หม่องนี่ #ขอนแก่น

ชวนเบิ่ง อาณาจักร Mongni Cafe ชานมไข่มุกรายใหญ่ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง ศึกธุรกิจน้ำปลาร้า ของเหล่าคนดังในภาคอีสาน

หากมองเข้ามาที่ตลาดน้ำปลาร้าของบ้านเราที่มีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาทแล้ว จะพบว่า การเข้าตลาดนี้มีอุปสรรคในการเข้าค่อนข้างต่ำ เพราะนอกจากจะมีโรงงานที่ผลิตสินค้าทำ OEM เพื่อนำไปติดแบรนด์ของตัวเองกระจายอยู่ทั่วประเทศเป็นจำนวนมากแล้ว หากคนที่จะเข้ามาทำตลาดเป็นคนที่มีชื่อเสียง หรือเป็นดารา นักร้อง ที่สามารถเอา Personal Brand ของตัวเองไป Endorse เพื่อทำแบรนด์น้ำปลาร้าของตัวเองเข้าทำตลาด ก็จะทำให้ทุกอย่างเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ทำให้ตลาดน้ำปลาร้าในปัจจุบัน มีแบรนด์อยู่ในตลาดถึง 200 – 300 แบรนด์เลยทีเดียว ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจก็คือเหล่าบรรดาคนที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ต่างก็เข้ามาทำแบรนด์ของตัวเองเพื่อลุยตลาด ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลาร้าแบรนด์แซ่บไมค์ ของนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง “ไมค์ ภิรมย์พร” น้ำปลาร้าแบรนด์หม่ำ จ๊กม๊ก หรือแม้แต่น้ำปลาร้าสุนารี ไม่เว้นแม้แต่นักมวยดังอย่าง “บัวขาว บัญชาเมฆ” ก็มีน้ำปลาร้า แบรนด์บัญชาเมฆ กับเขาด้วย อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าตลาดนี้จะทำได้ค่อนข้างง่าย แต่การจะทำให้ประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องที่ดูเหมือนง่าย แต่ทำออกมาค่อนข้างยาก เพราะแม้จะมีชื่อเสียงของตัวเองเข้ามา Endorse ไปกับแบรนด์ แต่หากไม่มีกลยุทธ์การตลาดที่ดีเข้ามาประกอบ โดยเฉพาะเรื่องของการจัดจำหน่าย โอกาสที่จะสามารถสร้างสเกลให้เป็นแมสตามคุณสมบัติของสินค้าตัวนี้ก็มียากขึ้นตามไปด้วย อ้างอิงจาก: https://www.brandage.com/article/20910/ZAB-MIKE https://data.creden.co/company/general/0125562012391 https://data.creden.co/company/general/0105562115165 https://data.creden.co/company/general/0105560011401 https://data.creden.co/company/general/0405560004169 https://www.nationtv.tv/entertainment/378862786 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจน้ำปลาร้า #น้ำปลาร้า #น้ำปลาร้าแซ่บไมค์ #น้ำปลาร้าสุนารี #น้ำปลาร้าเอ็มยูเอ็มรสชาตินัว #น้ำปลาร้าบัญชาเมฆ

พาส่องเบิ่ง ศึกธุรกิจน้ำปลาร้า ของเหล่าคนดังในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top