Nanthawan Laithong

🔎พาเปิดเบิ่ง ภาคอีสาน เบอร์ 1 ผลผลิต “มันสำปะหลัง” เยอะสุดในประเทศ กว่า 16.2 ล้านตัน

ราคามันสำปะหลังไทย “ดิ่งเหว” ต่ำสุดรอบ 10 ปี เมื่อจีนหันไปปลูกเอง และภาคอีสานต้องเป็นผู้รับกรรมหรือไม่⁉️ เมื่อพูดถึง “มันสำปะหลัง” คนส่วนใหญ่อาจมองว่าเป็นเพียงพืชเศรษฐกิจธรรมดาที่ไม่หรูหราเหมือนข้าวหอมมะลิหรือทุเรียนส่งออก แต่สำหรับภาคอีสานของเรา มันสำปะหลังถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจฐานรากที่สามทรถหล่อเลี้ยงครอบครัวนับล้านชีวิต  จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า อีสานคือเบอร์ 1 ของประเทศแหล่งผลิตมันสำปะหลัง กว่า 16.2 ล้านตัน และมีพื้นที่เพาะปลูกกว่า 5 ล้านไร่ โดยมีจังหวัดนครราชสีมานำมาเป็นอันดับ 1 (3.7 ล้านตัน) รองลงมาเป็น ชัยภูมิ และ อุบลราชธานีตามลำดับ แต่แล้ววันนี้ราคามันสำปะหลังในประเทศกลับตกต่ำซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบ 10 ปีเลยทีเดียว โดยหนึ่งในสาเหตุนั้นก็มาจาก จีน ผู้ซื้อหลักของไทยที่ได้หันไปปลูกเองเพื่อพึ่งพาตนเองทางอาหารและอุตสาหกรรม ซึ่งไทยเองก็หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไปที่คู่ค้ากำลังลดการพึ่งพาภายนอกจากไทย   📉จากสินค้าทำเงิน สู่พืชไร้ราคา เกษตรกรอีสานติดหล่มหนี้ ในภาวะที่ราคามันสำปะหลังตกต่ำ หลายครอบครัวในภาคอีสานได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะพืชชนิดนี้ไม่ใช่แค่สร้างรายได้เท่านั้น แต่คือความหวังของเกษตรกรจำนวนมากที่กู้หนี้เพื่อเตรียมพื้นที่ปลูก ซื้อปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า ค่าน้ำมันไถนา และอื่นๆอีกมากมาย เพื่อหวังเก็บเกี่ยวแล้วขายให้มีเงินหมุนเวียนในครัวเรือน แต่แล้ววันนี้ราคาที่ตกต่ำกลับไม่สามารถแม้แต่จะคืนต้นทุนได้ ขณะเดียวกัน ภาคอุตสาหกรรมที่พึ่งพามันสำปะหลัง ไม่ว่าจะเป็น โรงงานผลิตแป้งมัน อาหารสัตว์ หรือเชื้อเพลิงชีวภาพ ก็เริ่มเผชิญปัญหาต้นทุนสูงขึ้น ขณะที่รายได้ลดลงตามราคาตลาด ทำให้เกิดการหดตัวทางเศรษฐกิจในหลายจังหวัดของภาคอีสาน   เกษตรกรวอนรัฐ “อย่าปล่อยให้ตายกลางไร่” เสียงของเกษตรกรดังขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา “เราไม่อยากได้แค่เงินเยียวยา แต่ต้องการแผนการฟื้นฟูและพัฒนาแบบยั่งยืน” ข้อเรียกร้องนี้สะท้อนว่าความช่วยเหลือแบบระยะสั้น ไม่ว่าจะเป็นการรับจำนำ หรือเงินอุดหนุน ไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงระบบได้   อ้างอิงจาก:  – สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร – ลงทุนแมน – Thai PBS   ติดตาม ISAN Insight ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsight #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #มันสำปะหลัง #อุตสาหกรรมมันสำปะหลัง #อุตสาหกรรมมันสำปะหลังในอีสาน #มันสำปะหลังในอีสาน

🔎พาเปิดเบิ่ง ภาคอีสาน เบอร์ 1 ผลผลิต “มันสำปะหลัง” เยอะสุดในประเทศ กว่า 16.2 ล้านตัน อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง ตัวเลขสุดช็อก พบอีสานมีผู้ป่วย “ไตวาย” พุ่งพรวดกว่า 32.9% ในปีเดียว และเพิ่มขึ้นเกือบครึ่งในรอบ 8 ปี‼️

สถานการณ์โรคไตวายในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอีสานที่กำลังส่งสัญญาณเตือนครั้งใหญ่ หลังข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ในปี 2566 มีผู้ป่วยไตวายในภาคอีสานพุ่งสูงถึง 404,680 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ถึง 32.9% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงผิดปกติ หากเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ที่เพิ่มขึ้นเพียงปีละไม่เกิน 8% นี่จึงไม่ใช่เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงตัวเลขที่ได้นำเสนอไป แต่เป็นการระเบิดของวิกฤตสุขภาพที่อาจส่งผลลึกถึงระดับเศรษฐกิจและนโยบายสาธารณสุขของประเทศ   โรคไตวายเรื้อรังเกิดจากอะไร⁉️ โรคไตวายเรื้อรังมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมและโรคประจำตัวของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน และการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ซึ่งล้วนเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังของคนไทยโดยเฉพาะในภาคอีสานที่นิยมบริโภคอาหารรสจัด เช่น ปลาร้า แจ่ว หรืออาหารหมักดองต่าง ๆ ที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบหลัก นอกจากนี้ยังพบพฤติกรรมเสี่ยงอื่น อย่างเช่น การใช้ยาชุด สมุนไพรพื้นบ้านโดยไม่ควบคุม และการดื่มน้ำสมุนไพรหรือเครื่องดื่มพื้นบ้านที่ไม่ได้ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย แต่ในห้วงเวลาที่วิกฤตไตกำลังปะทุ สิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้นั้นคือ การเปลี่ยนแปลงทางนโยบายในช่วงปลายปี 2564 ที่ “พืชกระท่อม” ถูกปลดล็อกให้ถูกกฎหมายในประเทศไทย การบริโภคกระท่อมในรูปแบบ “น้ำกระท่อม” จึงขยายตัวอย่างรวดเร็วในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและคนทั่วไปที่เข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ กระท่อมแม้จะมีฤทธิ์ลดปวดหรือเพิ่มพลังงาน แต่เมื่อบริโภคในปริมาณมาก หรือถูกนำไปผสมกับน้ำอัดลม พาราเซตามอล ยาแก้ไอ หรือสารเคมีอื่น กลับเป็นการเพิ่มภาระให้กับระบบไตอย่างรุนแรงนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีงานวิจัยในประเทศไทยที่ยืนยันแบบเฉพาะเจาะจงว่า “น้ำกระท่อม” เป็นสาเหตุโดยตรงของโรคไตวาย แต่การที่ตัวเลขผู้ป่วยไตพุ่งขึ้นแบบก้าวกระโดดถึง 32.9% ภายในปีเดียว ขณะที่ใน 7 ปีก่อนหน้านั้นเพิ่มขึ้นเพียงปีละ 4-8% ย่อมเป็นข้อมูลที่ไม่อาจมองข้ามได้   ผลกระทบของโรคไตวายต่อระบบเศรษฐกิจ ผลกระทบของโรคไตวายไม่เพียงจำกัดอยู่ในระบบสาธารณสุข แต่ยังส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจในหลายระดับ เริ่มจากภาระงบประมาณของรัฐที่ต้องแบกรับค่ารักษาผู้ป่วยฟอกไต ซึ่งมีต้นทุนสูงถึงหลักแสนบาทต่อคนต่อปีเลยทีเดียว ขณะที่ครอบครัวของผู้ป่วยจำนวนมากต้องสูญเสียรายได้จากการทำงาน หรือกลายเป็นผู้ดูแลโดยจำเป็น ส่งผลให้เกิดภาวะความยากจนจากโรคเรื้อรังที่ยิ่งตอกย้ำความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในภาคอีสานซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่ำอยู่แล้วนั่นเอง นอกจากนี้ เมื่อกลุ่มแรงงานวัยทำงานกลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง ความสามารถในการผลิตของระบบเศรษฐกิจก็ลดลงทั้งทางตรงและทางอ้อม ขณะที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพืชกระท่อม แม้สร้างรายได้ในระยะสั้น แต่หากปราศจากมาตรการควบคุมและมาตรฐานความปลอดภัยในการบริโภค ก็อาจจะย้อนกลับมาก่อปัญหาสุขภาพระยะยาวซึ่งมีต้นทุนทางเศรษฐกิจสูงกว่าผลประโยชน์ที่ได้หลายเท่านั่นเอง   อ้างอิงจาก: – กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข – กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข – ฐานข้อมูลผู้ป่วยใน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)   – Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ – PPTVHD 36 – The Coverage   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ไตวาย #โรคไตวาย

พาเปิดเบิ่ง ตัวเลขสุดช็อก พบอีสานมีผู้ป่วย “ไตวาย” พุ่งพรวดกว่า 32.9% ในปีเดียว และเพิ่มขึ้นเกือบครึ่งในรอบ 8 ปี‼️ อ่านเพิ่มเติม »

ครูไทยแบกภาระเกินจริงที่ไม่ใช่แค่สอน พาสำรวจเบิ่ง “แม่พิมพ์ของชาติ” ในอีสานมีมากแค่ไหน⁉️

เปิดใจ “ครูไทย” ทำงานเกิน 8 ชม./วัน แถมเวลาสอนหายไป 6 ชม./สัปดาห์ เคยรู้หรือไหมว่า “ครูไทย” ของเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง? พบข้อมูลว่า 95% ของคุณครูต้องทำงานหนักเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ 58% ของครูถูกแย่งเวลาสอนไปถึงสัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง เพื่อไปทำงานอื่นที่ไม่ใช่ภารกิจหลักนั่นเอง นี่คือภาพสะท้อนที่ชัดเจนว่า “แม่พิมพ์ของชาติ” กำลังถูกภาระงานอื่นที่ไม่ใช่การสอนกัดกินเวลาอันมีค่า ทำให้ไม่สามารถทุ่มเทให้กับการพัฒนาลูกศิษย์ได้อย่างเต็มที่ สู่ความจริงอันเจ็บปวด เมื่อ “ครู” ไม่ได้แค่ “สอน” ปัญหาการทำงานเกินหน้าที่ของครูไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นปัญหาเรื้อรังของระบบการศึกษาไทยมาอย่างยาวนาน แม้ภาครัฐจะพยายามแก้ไขด้วยการเพิ่มอัตราการจ้างครูธุรการและภารโรงแล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าความพยายามเหล่านั้นยังคงเป็นเพียงการบรรเทาอาการ ไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุ ข้อมูลจาก The Active Thai PBS และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ (สสค.) ตอกย้ำภาพความจริงอันน่าหดหู่ว่า มีครูไทยกว่า 95% ต้องทำงานนานเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และ 58% ใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ไปกับงานที่ไม่ใช่การสอน ยิ่งไปกว่านั้น ใน 200 วันทำการ ครูต้องเสียเวลาไปกับงานประเมินผลงาน งานแข่งขันวิชาการ และงานจัดทำโครงการมากถึง 84 วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนขนาดเล็กที่ไร้ซึ่งบุคลากรสนับสนุน ปัญหาเหล่านี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก ครูในปัจจุบันไม่ได้มีหน้าที่เพียงถ่ายทอดความรู้เท่านั้น แต่ต้องแบกรับภาระงานสารพัดที่แทบไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็กที่ครูคนเดียวต้องควบรวมบทบาททั้งงานการเงิน พัสดุ ธุรการ และแม้แต่งานด้านกฎหมาย ภาระงานที่ถาโถมนี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของครูเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพการศึกษาของนักเรียนอีกด้วย เนื่องจากครูไม่มีเวลาเพียงพอในการออกแบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ หรือแม้กระทั่งการดูแลพฤติกรรมเด็กอย่างใกล้ชิด ซึ่งก็อาจเป็นเหตุผลของการนำไปสู่การเลือกใช้วิธีการลงโทษที่รุนแรงอันเป็นปลายเหตุของปัญหาความเครียด และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนและเป็นปัญหาสังคมตามมาในที่สุด   ครูอีสานก็แบกรับภาระการศึกษาที่หนักอึ้ง จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า “สัดส่วนครูต่อนักเรียนทั้งหมดในจังหวัด” ซึ่งสะท้อนถึงภาระงานที่ครูแต่ละคนต้องรับผิดชอบในภาคอีสาน เราจะเห็นภาพที่ชัดเจนว่าครูในภูมิภาคนี้กำลังแบกรับภาระที่หนักอึ้งในการขับเคลื่อนการศึกษาของชาติ โดยภาพรวมของทั้ง 20 จังหวัดในภาคอีสาน พบว่าสัดส่วนนักเรียนต่อครูโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1:20 ถึง 1:22 ซึ่งหมายความว่าครูหนึ่งคนจะต้องดูแลนักเรียนถึง 20-22 คน แม้จำนวนครูโดยรวมจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสากล แต่เบื้องลึกกลับน่าเป็นห่วง โรงเรียนหลายแห่งในภาคอีสานกำลังเผชิญวิกฤต ‘ครูขาดแคลน’ โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กกว่า 80% ที่ได้รับผลกระทบหนักหน่วง ปัญหานี้ทำให้แม้จะมีนักเรียนน้อย แต่ครูผู้สอนก็ไม่เพียงพอในแต่ละห้องเรียน ซ้ำร้ายครูยังต้องแบกรับภาระงานธุรการจนแทบไม่มีเวลาดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม จังหวัดมหาสารคามโดดเด่นออกมาจากจังหวัดอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ด้วยสัดส่วนนักเรียนต่อครูที่สูงถึง 1:31 นี่เป็นตัวเลขที่น่าตกใจและสะท้อนให้เห็นว่าครูในจังหวัดมหาสารคามต้องทำงานหนักกว่าครูในจังหวัดอื่นๆ ด้วยจำนวนนักเรียนที่มากขนาดนี้ ครูอาจจะเผชิญกับข้อจำกัดในการให้ความดูแลเอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคลได้อย่างเต็มที่ รวมถึงการจัดการชั้นเรียน การตรวจงาน การให้คำปรึกษา และการพัฒนาศักยภาพนักเรียน ซึ่งเป็นไปได้ยากขึ้นอย่างชัดเจน จากสัดส่วนดังกล่าว ซึ่งก็แสดงถึงภาระต่างๆ ที่ครูอีสานต้องแบกรับในแต่ละวันได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นภาระการสอนที่ต้องเข้มข้น เนื่องจากต้องสอนนักเรียนจำนวนมากในแต่ละคาบ ทำให้เวลาในการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย หรือการให้คำแนะนำรายบุคคลลดลง การสอนอาจเน้นที่การถ่ายทอดความรู้เป็นหลักมากกว่าการพัฒนาทักษะหรือความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีภาระการประเมินผลและการให้คำแนะนำ ซึ่งการตรวจงาน การให้คะแนน และการให้ข้อเสนอแนะแก่นักเรียนจำนวนมากเป็นงานที่ใช้เวลาและพลังงานมหาศาล ครูอาจมีเวลาไม่เพียงพอที่จะให้ข้อเสนอแนะที่ละเอียดและนำไปสู่การพัฒนาที่แท้จริง

ครูไทยแบกภาระเกินจริงที่ไม่ใช่แค่สอน พาสำรวจเบิ่ง “แม่พิมพ์ของชาติ” ในอีสานมีมากแค่ไหน⁉️ อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง ขุมทรัพย์เศรษฐกิจ จาก “ประเพณีแห่เทียนพรรษา” ทั่วอีสาน ที่สร้างรายได้มหาศาล❗กระตุ้นเศรษฐกิจพุ่ง❗

ประเพณีแห่เทียนพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานในภาคอีสาน ไม่ได้เป็นเพียงแค่กิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมเท่านั้น แต่ได้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างมูลค่าต่อเศรษฐกิจให้กับภาคอีสานได้อย่างมหาศาล ประเพณีแห่เทียนพรรษา จากพิธีกรรมสู่เทศกาลเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในอดีตประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางพุทธศาสนาที่เน้นการถวายเทียนพรรษาแด่พระสงฆ์ในช่วงจำพรรษา ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น “เทศกาลแห่เทียนพรรษา” ที่ยิ่งใหญ่และดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวและพัฒนาของประเพณีท้องถิ่นให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ซึ่งมีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากความคิดสร้างสรรค์ มรดกทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ประเพณีแห่เทียนพรรษานั้นก็ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรายได้และการจ้างงานอย่างมหาศาล โดยพบว่าเทศกาลแห่เทียนพรรษาในบางจังหวัด อย่างเช่น จังหวัดอุบลราชธานี สามารถสร้างรายได้หมุนเวียนได้หลักพันล้านบาท และมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 1.2 แสนคน ส่งผลให้เกิดการจ้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อมในหลากหลายสาขาอาชีพ ตั้งแต่ช่างแกะสลักเทียน นักแสดง ศิลปิน พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร ไปจนถึงภาคบริการและคมนาคมขนส่ง การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเหล่านี้เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ยังเป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ การหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวจำนวนมากในช่วงเทศกาลส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และการบริการต่าง ๆ ได้รับประโยชน์โดยตรง การที่โรงแรมมีอัตราการเข้าพักเต็ม 100% สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่สูงมาก ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการเติบโตของนักท่องเที่ยวในอนาคตนั่นเอง ประเพณีแห่เทียนพรรษาไม่ได้จำกัดอยู่แค่การแห่เทียนเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงกระบวนการผลิตและสร้างสรรค์ผลงานเทียนพรรษา ซึ่งต้องอาศัยทักษะฝีมือ ความประณีต และภูมิปัญญาของช่างแกะสลักเทียน การพัฒนากระบวนการเหล่านี้ให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับระดับสากลสามารถยกระดับ “สินค้า” ทางวัฒนธรรมนี้ให้มีมูลค่าสูงขึ้น และสร้างความภาคภูมิใจในฝีมือช่างท้องถิ่น การส่งเสริม Soft Power และอัตลักษณ์ท้องถิ่น การจัดงานเทศกาลแห่เทียนพรรษาอย่างยิ่งใหญ่เป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริม Soft Power ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอความงดงามของศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรมอีสานสู่สายตานักท่องเที่ยวทั่วโลก ซึ่งเทียนพรรษาแต่ละต้นที่ถูกแกะสลักอย่างวิจิตรบรรจงเป็นตัวแทนของความคิดสร้างสรรค์ ความศรัทธา และอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งสามารถสร้างการจดจำและความประทับใจให้กับผู้มาเยือน และกระตุ้นให้เกิดการเดินทางกลับมาเยือนอีกในอนาคต และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก การจัดงานในลักษณะ Night Parade และตลาดวัฒนธรรม (Cultural Market) ช่วยสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้าแม่ค้าชุมชน และกลุ่ม OTOP ในการจำหน่ายสินค้าและบริการของตนเองโดยตรง ทำให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ระดับครัวเรือนและชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ประเพณีแห่เทียนพรรษาถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Soft Power และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของภาคอีสาน การแปลงจากพิธีกรรมทางศาสนาไปสู่เทศกาลเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้สร้างรายได้ การจ้างงาน และการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าทางวัฒนธรรมอย่างมหาศาล โดยมีส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น การลงทุนในการส่งเสริมและพัฒนาเทศกาลในลักษณะนี้อย่างต่อเนื่องจะเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างเต็มที่ และสร้างชื่อเสียงให้กับวัฒนธรรมไทยในเวทีโลกได้อย่างภาคภูมิใจนั่นเอง   อ้างอิงจาก: – UBON NOW อุบลนาว – สำนักข่าวไทย – กรุงเทพธุรกิจ – THAIRATH   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ประเพณีแห่เทียนพรรษา #แห่เทียนพรรษา

พาเปิดเบิ่ง ขุมทรัพย์เศรษฐกิจ จาก “ประเพณีแห่เทียนพรรษา” ทั่วอีสาน ที่สร้างรายได้มหาศาล❗กระตุ้นเศรษฐกิจพุ่ง❗ อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง แผนที่ขุมทรัพย์ 9 จุดไทยส่งไฟฟ้าให้กัมพูชา โกยเงินเข้าประเทศ 48 ล้านต่อเดือน

ท่ามกลางประเด็นพิพาทระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา แม้จะมีเสียงยืนยันจากฝ่ายไทยถึงความพยายามในการเจรจา แต่การตอบโต้ที่ร้อนแรง อย่างเช่น การปิดด่านชายแดน และการประกาศตัดไฟฟ้า-อินเทอร์เน็ต ได้สะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่ยังคงเปราะบางในทางปฏิบัติ การซื้อขายกระแสไฟฟ้าที่หล่อเลี้ยงพื้นที่ชายแดนของกัมพูชาด้วยเงินกว่า 48 ล้านบาทต่อเดือน จาก 9 จุดเชื่อมโยงไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) แม้ความขัดแย้งทางการเมืองจะปะทุขึ้นเป็นระยะ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) เป็นผู้เล่นหลักในการส่งออกไฟฟ้าไปยังกัมพูชาผ่านจุดเชื่อมโยงในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคอีสานของไทย 9 จุดไทยที่ส่งไฟฟ้าให้กัมพูชา อยู่ที่ไหนบ้าง⁉️ เทศบาลบ้านคลองลึก อำภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (วงจจรที่ 1 และ วงจรที่ 2) ปริมาณกำลังไฟฟ้าสูงสุดตามสัญญา : 20.0 MW สถานีไฟฟ้าต้นทาง : สถานีไฟฟ้าอรัญประเทศ 2 ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย/เดือนในปี 2567 : วงจรที่ 1 : 14,332,546.20 บาท และวงจรที่ 2 : 12,854,255.39 บาท บ้านด่าน ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ปริมาณกำลังไฟฟ้าสูงสุดตามสัญญา : 3.5 MW สถานีไฟฟ้าต้นทาง : สถานีไฟฟ้าปราสาท 1 ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย/เดือนในปี 2567 : 2,205,183.80 บาท บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ปริมาณกำลังไฟฟ้าสูงสุดตามสัญญา : 10.0 MW สถานีไฟฟ้าต้นทาง : สถานีไฟฟ้าคลองใหญ่ ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย/เดือนในปี 2567 : 9,476,227.31 บาท บ้านซับตารี ตำบลทุ่งขนาน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ปริมาณกำลังไฟฟ้าสูงสุดตามสัญญา : 3.0 MW สถานีไฟฟ้าต้นทาง : สถานีไฟฟ้าสอยดาว ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย/เดือนในปี 2567 : 2,041,783.55 บาท บ้านสวนสัม อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ปริมาณกำลังไฟฟ้าสูงสุดตามสัญญา : 1.0 MW สถานีไฟฟ้าต้นทาง : สถานีไฟฟ้าโป่งน้ำร้อน 2 (ชั่วคราว) ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย/เดือนในปี 2567 : 1,607,943.24 บาท บ้านเขาดิน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ปริมาณกำลังไฟฟ้าสูงสุดตามสัญญา : 8.0 MW สถานีไฟฟ้าต้นทาง : สถานีไฟฟ้าวังน้ำเย็น ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย/เดือนในปี 2567

พาเปิดเบิ่ง แผนที่ขุมทรัพย์ 9 จุดไทยส่งไฟฟ้าให้กัมพูชา โกยเงินเข้าประเทศ 48 ล้านต่อเดือน อ่านเพิ่มเติม »

พาย้อนเบิ่ง ปมขัดแย้ง 46 ปี จากหักมิตรรักสู่ศัตรู “อิสราเอล-อิหร่าน” จุดฉนวนวิกฤตพลังงานโลกที่ไทยถึงต้องจับตา

วิกฤตตะวันออกกลางปะทุ อิสราเอลเปิดฉาก “Operation Rising Lion” ถล่มอิหร่าน ส่งผลให้สงครามทวีความรุนแรง กลางเดือนมิถุนายน 2025 สถานการณ์ในตะวันออกกลางเข้าสู่จุดเดือดสูงสุด เมื่ออิสราเอลได้เปิดปฏิบัติการโจมตีครั้งใหญ่ในอิหร่านภายใต้รหัส “Operation Rising Lion” โดยมีเป้าหมายทำลายโครงสร้างพื้นฐานนิวเคลียร์ โรงงานผลิตมิสไซล์ และผู้นำทางทหารของอิหร่าน รายงานยืนยันการเสียชีวิตของ นายพลฮอสเซน ซาลามี ผู้บัญชาการกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม และนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์คนสำคัญ ซึ่งถือเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของอิหร่าน การโจมตีครั้งนี้จุดชนวนให้อิหร่านตอบโต้กลับทันที ด้วยการยิงมิสไซล์ถล่มเมืองเทลอาวีฟและไฮฟาทางตอนเหนือของอิสราเอลอย่างรุนแรง สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อโรงไฟฟ้าและโรงกลั่นน้ำมันในไฮฟา และมีรายงานผู้เสียชีวิตหลายราย นอกจากนี้ ยังมีข่าวว่าอาคารสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลอิหร่านในกรุงเตหะรานก็ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีด้วยเช่นกัน หัวใจของความขัดแย้งเชิงยุทธศาสตร์นี้ยังคงอยู่ที่โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน อิสราเอลมองว่าการที่อิหร่านครอบครองอาวุธนิวเคลียร์จะกลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการดำรงอยู่ของตน ขณะที่อิหร่านยืนกรานว่าโครงการนิวเคลียร์มีวัตถุประสงค์เพื่อสันติ เช่น การผลิตพลังงานและการแพทย์ แต่เคยมีคำกล่าวบางส่วนจากผู้นำอิหร่านที่เคยแย้มถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพื่อการป้องปราม ได้ยิ่งเพิ่มความกังวลและเชื้อไฟให้กับสถานการณ์ที่ตึงเครียดอยู่แล้วให้ปะทุขึ้นไปอีกขั้น นี่ไม่ใช่แค่การปะทะ แต่คือจุดสูงสุดของความขัดแย้งที่ยาวนานกว่า 46 ปี ระหว่างสองขั้วอำนาจในตะวันออกกลาง แม้เหตุการณ์จะเกิดห่างไกลออกไปหลายพันกิโลเมตร แต่คลื่นกระแทกกลับสะเทือนมาถึงประเทศไทย โดยเฉพาะหัวใจของแรงงานไทยอย่างภาคอีสาน จากมิตรสู่ศัตรู รอยร้าวประวัติศาสตร์ที่นำไปสู่ความเดือดระอุ ความสัมพันธ์อิสราเอล-อิหร่านเคยรุ่งเรืองด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจก่อนปี 1979 หลังการปฏิวัติอิสลาม อิหร่านได้ประกาศตนเป็นศัตรูถาวรของรัฐยิว โดยไม่ยอมรับการมีอยู่ของอิสราเอล และเริ่มให้การสนับสนุน กลุ่มต่อต้านอิสราเอล เช่น Hezbollah ในเลบานอน Hamas ในฉนวนกาซา Houthi ในเยเมน รวมถึงกองกำลังติดอาวุธในอิรักและซีเรีย ทำให้ความขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศกลายเป็นสงครามตัวแทนที่แผ่ขยายไปทั่วภูมิภาค   ในปัจจุบันความขัดแย้งในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง โดยเฉพาะตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของพลังงานโลก ส่งผลกระทบมาถึงประเทศปลายทางอย่างประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อความตึงเครียดพุ่งสูง ความเสี่ยงในการขนส่งน้ำมันผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญที่ลำเลียงน้ำมันกว่า 20% ของโลกก็เพิ่มขึ้นตามมา ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งทะยานกดดันต้นทุนการผลิต การขนส่ง และค่าครองชีพภายในประเทศ เศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักต้องเผชิญกับภาวะชะลอตัว เนื่องจากต้นทุนโลจิสติกส์ที่สูงขึ้น และความกังวลของคู่ค้าต่อสถานการณ์ความไม่แน่นอนในตลาดโลก ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้น กดดันให้ประชาชนต้องแบกรับภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นไปอีก อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในอิสราเอลและอิหร่าน ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของคนจากภาคอีสาน จากข้อมูลล่าสุด มีแรงงานไทยในอิสราเอลมากถึง 24,494 คน และในอิหร่านอีกราว 90 คน ที่น่าตกใจคือ กว่า 80% ของแรงงานเหล่านี้มาจากภาคอีสาน ไม่ว่าจะเป็นครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี และมุกดาหาร ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ทำงานในภาคเกษตร ปศุสัตว์ และก่อสร้าง ส่งเงินกลับบ้านเพื่อจุนเจือครอบครัว สร้างบ้าน ส่งลูกเรียน และปลดหนี้สิน นี่คือก็ถือได้ว่าคือกระดูกสันหลังของครอบครัวนั่นเอง เมื่อสถานการณ์ตึงเครียด รัฐบาลอิสราเอลอาจสั่งอพยพหรือจำกัดพื้นที่แรงงาน ส่งผลให้การส่งเงินกลับบ้านหยุดชะงักทันที ครอบครัวในอีสานนับหมื่นต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินอย่างไม่ทันตั้งตัว หากสถานการณ์ลุกลามจนกลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบ และแรงงานนับหมื่นต้องอพยพกลับไทย นั่นอาจหมายถึงการที่ตลาดแรงงานในประเทศต้องรองรับแรงงานจำนวนมหาศาลอย่างกะทันหัน ซึ่งเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะดูดซับแรงงานเหล่านี้ได้ทั้งหมด การหายไปของรายได้จากแรงงานต่างแดนจะสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาคอีสาน ตั้งแต่ร้านค้าชุมชน ตลาดสด ไปจนถึงหนี้สินครัวเรือนและการลงทุนในท้องถิ่นนั่นเอง อ้างอิงจาก: – ประชาชาติธุรกิจ – Thai PBS – บีบีซีไทย   ติดตาม

พาย้อนเบิ่ง ปมขัดแย้ง 46 ปี จากหักมิตรรักสู่ศัตรู “อิสราเอล-อิหร่าน” จุดฉนวนวิกฤตพลังงานโลกที่ไทยถึงต้องจับตา อ่านเพิ่มเติม »

“ทัพไทย” เบอร์ 14 โลก🏆พาส่องเบิ่ง “กองกำลังรบ” เพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขง และบทบาทสำคัญของกองกำลังสุรนารี

ทัพไทยอันดับ 14 โลก พลานุภาพทางทหารในลุ่มน้ำโขง และบทบาทสำคัญของกองกำลังสุรนารี ต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ และธุรกิจ สถานการณ์ชายแดนเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวและมีความสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ตามแนวชายแดนในลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เผชิญกับความท้าทายด้านความมั่นคงในหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด การค้ามนุษย์ และที่สำคัญ คือ การลักลอบเข้าเมือง หรือแม้แต่ความขัดแย้งภายในประเทศเพื่อนบ้านที่อาจส่งผลกระทบข้ามมายังฝั่งไทย จากข้อมูล Global Firepower 2025 กองทัพไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 14 ของโลก ด้วยจำนวนกำลังพลประจำการกว่า 363,850 นาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของกองทัพไทยในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในเทคโนโลยีทางการทหารที่ทันสมัย การฝึกซ้อมที่เข้มข้น และยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอด พลานุภาพนี้ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือในการปกป้องอธิปไตยเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย เมื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขง พบว่าจีนเป็นมหาอำนาจทางทหารอันดับ 1 ของโลก (2,035,000 นาย) ตามมาด้วยเวียดนามอันดับ 10 (600,000 นาย) กัมพูชาอันดับ 23 (221,000 นาย) เมียนมาอันดับ 38 (150,000 นาย) และลาวอันดับ 53 (130,000 นาย) โดยการจัดอันดับและจำนวนกำลังพลเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของพลานุภาพทางทหารในภูมิภาค และชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ไทยจะต้องรักษาสมดุลทางอำนาจและเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพนั่นเอง   บทบาทสำคัญของกองกำลังสุรนารีมีอะไรบ้าง⁉️ ในด้านของความมั่นคงภายในประเทศและชายแดน “กองกำลังสุรนารี” ซึ่งมีที่ตั้งและขอบเขตความรับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (อย่างเช่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี) มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการปกป้องอธิปไตยและรักษาความสงบสุขในพื้นที่ ภารกิจหลักของกองกำลังสุรนารีไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การป้องกันการรุกรานจากภายนอกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการแก้ไขปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและการดำเนินธุรกิจในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น การปราบปรามยาเสพติด การค้ามนุษย์ การลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งตามแนวชายแดน และการพัฒนาและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ห่างไกล หน่วยงานหลักในสังกัดของกองกำลังสุรนารี เช่น หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 26 และ 23 ที่รับผิดชอบพื้นที่ชายแดนในจังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์ รวมถึงหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 12 ซึ่งมีภารกิจในการสนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยทหารหลัก แสดงให้เห็นถึงการจัดโครงสร้างที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการรับมือกับภัยคุกคามในหลากหลายรูปแบบ   ความมั่นคงชายแดนที่เข้มแข็งจากบทบาทของทัพไทยและกองกำลังสุรนารีส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจอย่างไร⁉️ เมื่อพื้นที่ชายแดนมีความปลอดภัยและมีเสถียรภาพ ก็จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนและการค้าชายแดน ผู้ประกอบการเองก็จะมีความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนและดำเนินธุรกิจมากขึ้นนั่นเอง อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการค้าชายแดนที่เติบโตอย่างยั่งยืน หรือแม้กระทั่งการส่งเสริมการท่องเที่ยว ความปลอดภัยก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สุดในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว หากพื้นที่ชายแดนมีความมั่นคง การท่องเที่ยวในจังหวัดชายแดนภาคอีสานก็จะเติบโต ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและรายได้ให้กับคนในพื้นที่   การที่ทัพไทยติดอันดับ 14 ของโลก ไม่ได้เป็นเพียงตัวเลขที่น่าภาคภูมิใจเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงขีดความสามารถในการปกป้องประเทศชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน “ช่องบก” จ.อุบลราชธานีนี้ ก็มีกองกำลังสุรนารีเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนภาคตอีสาน ซึ่งบทบาทของกองกำลังเหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การทหาร แต่ยังครอบคลุมไปถึงมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และการพัฒนา การรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาคนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่เพื่อปกป้องอธิปไตยเท่านั้น แต่ยังเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและธุรกิจ สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชายแดนอย่างยั่งยืนนั่นเอง   อ้างอิงจาก: – Global Fire Power 2025 – TNN  

“ทัพไทย” เบอร์ 14 โลก🏆พาส่องเบิ่ง “กองกำลังรบ” เพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขง และบทบาทสำคัญของกองกำลังสุรนารี อ่านเพิ่มเติม »

เมื่อ ‘คนไทย’ ไม่แพ้ใคร…แม้แต่เรื่องงาน‼️ พาส่องเบิ่ง ชั่วโมงทำงานของคนไทยและเพื่อนบ้านอาเซียน

แม้ว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมจะมีความมั่นคงในระดับหนึ่ง แต่หากมองลึกลงไปถึงชีวิตแรงงาน จะพบว่าความมั่นคงนั้นอาจยังไปไม่ถึงพวกเขา  จากข้อมูลล่าสุดในปี 2567 คนไทยมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 42.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของหลายประเทศในอาเซียน และสูงเป็นอันดับ 5 รองจากกัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน ขณะที่ประเทศอื่นอย่างอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์ ซึ่งมีระบบแรงงานใกล้เคียง กลับมีชั่วโมงการทำงานที่ต่ำกว่าชัดเจน เมื่อย้อนดูข้อมูลย้อนหลัง 12 ปี จะพบว่าแนวโน้มชั่วโมงการทำงานของคนไทยมีความเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2556 คนไทยเคยทำงานเฉลี่ยสูงถึง 44.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เลยทีเดียว จากนั้นลดลงอย่างต่อเนื่องถึงจุดต่ำสุดที่ 40.8 ชั่วโมงในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศต้องเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 อย่างเต็มที่ และจะเห็นได้ว่าหลังจากนั้น ชั่วโมงการทำงานกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปี 2564-2567 ซึ่งอาจหมายถึงความจำเป็นของแรงงานที่ต้องทำงานมากขึ้นเพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปในช่วงวิกฤต และเพื่อให้เพียงพอกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเอง การที่คนไทยต้องทำงานมากกว่าหลายประเทศนั้น ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีชั่วโมงการทำงานใกล้เคียงกันอย่างสิงคโปร์หรือมาเลเซีย จะพบว่าผลิตภาพแรงงานของไทยยังตามหลังอยู่ สะท้อนถึงระบบเศรษฐกิจที่ยังอาศัยแรงงานในภาคที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ ทั้งการผลิตที่ไม่เน้นนวัตกรรม หรือภาคบริการที่ยังอยู่ในระดับพื้นฐาน ทำให้การทำงานในแต่ละชั่วโมงของแรงงานไทยไม่สามารถสร้างผลผลิตได้อย่างคุ้มค่า ส่งผลให้รายได้ต่อชั่วโมงต่ำ และต้องชดเชยด้วยการทำงานเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง โดยสิ่งที่น่ากังวลไปยิ่งกว่านั้นคือผลกระทบทางสังคมและคุณภาพชีวิตของแรงงานชาวไทย ชั่วโมงการทำงานที่สูงนั่นต้องแลกมาด้วยเวลาที่ลดลงในการดูแลครอบครัว พัฒนาทักษะตนเอง หรือแม้แต่การพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจในระยะยาว โดยเฉพาะในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ ประเทศต่าง ๆ เริ่มให้ความสำคัญกับแนวคิด “ทำงานอย่างชาญฉลาด มากกว่าทำงานหนัก” หรือ Work smart, not work hard แต่ประเทศไทยยังคงวนเวียนอยู่ในวัฒนธรรมการทำงานหนักเพื่อแลกกับรายได้ที่ยังไม่มั่นคงเพียงพอ การทำงานที่ยาวนานของแรงงานส่วนหนึ่งสะท้อนถึงระบบค่าจ้างขั้นต่ำที่ยังไม่เพียงพอกับค่าครองชีพในเมืองใหญ่ นอกจากนี้แรงงานจำนวนมากยังทำงานแบบชั่วคราวหรือพาร์ทไทม์ ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูงแต่จะไม่มีหลักประกันทางสังคม และไม่มีสวัสดิการใดรองรับหากเกิดปัญหาเรื่องสุขภาพหรือรายได้นั่นเอง   อ้างอิงจาก: – Statista – สำนักงานสถิติแห่งชาติ – The Standard – BLT Bangkok – AMARIN 34 HD   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ชั่วโมงการทำงาน #ชั่วโมงการทำงานของคนไทย #คนไทยทำงานหนัก #แรงงานไทย

เมื่อ ‘คนไทย’ ไม่แพ้ใคร…แม้แต่เรื่องงาน‼️ พาส่องเบิ่ง ชั่วโมงทำงานของคนไทยและเพื่อนบ้านอาเซียน อ่านเพิ่มเติม »

จากอ่าวไทยสู่แหล่งพลังงานหลักในภาคอีสาน พาเปิดขุมทรัพย์ “ปิโตรเลียม” ที่สร้างมูลค่ามหาศาล

ปิโตรเลียมพลิกโฉมเศรษฐกิจไทย พยุงความมั่นคงทางพลังงาน ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความมั่นคงทางพลังงานอย่างเต็มตัวนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ด้วยการค้นพบและเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติ จากแหล่งเอราวัณในอ่าวไทย ตามมาด้วยการผลิตน้ำมันดิบ จากแหล่งสิริกิติ์ จังหวัดกำแพงเพชรในปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นการพลิกโฉมพลังงานของประเทศจากผู้พึ่งพิงสู่ผู้ผลิตเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง แหล่งปิโตรเลียมของไทยนั้นมีความหลากหลาย ทั้งในอ่าวไทยและบนบก โดยในภาคอีสานของเรา ก็เป็นที่ตั้งของขุมทรัพย์พลังงานสำคัญอย่างแหล่งก๊าซธรรมชาติ สินภูฮ่อม และแหล่งก๊าซธรรมชาติ น้ำพอง สองฟันเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นและเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของชาติ   แหล่งสินภูฮ่อม ขุมทรัพย์แห่งความมั่งคั่งและการพึ่งพาตนเอง แหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม ซึ่งตั้งอยู่บนแปลงสัมปทาน EU1 และ E5N ครอบคลุมพื้นที่ 232.2 ตารางกิโลเมตร ในจังหวัดอุดรธานีและขอนแก่น ได้เริ่มเดินเครื่องผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยให้ผลผลิตเป็นก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว ด้วยอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 95 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลวเฉลี่ย 200 บาร์เรลต่อวัน (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2567) คิดเป็นสัดส่วนถึง 3% ของปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติทั้งประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพอันมหาศาลของแหล่งสินภูฮ่อมในการเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพลังงานของประเทศนั่นเอง การที่แหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อมสามารถสร้างรายได้กว่า 2,425.2 ล้านบาท ในช่วงปี 2560-2563 ยิ่งตอกย้ำถึงศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่สูงมาก การลงทุนในโครงการปิโตรเลียมขนาดใหญ่นี้จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น การค้นพบก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ประมาณ 30 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ถือเป็นข่าวดีอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย ในสภาวะที่ราคาพลังงานโลกผันผวนและไม่แน่นอน การมีแหล่งพลังงานภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ลดการนำเข้าของพลังงาน ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดโลก และสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศในระยะยาวอีกด้วย การผลิตปิโตรเลียมในปริมาณมากย่อมนำมาซึ่งโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การดำเนินงานของแหล่งสินภูฮ่อมในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและขอนแก่นยังเป็นการกระจายเม็ดเงินลงทุนและรายได้ไปสู่ภูมิภาค ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น สร้างงาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่โดยตรง   แหล่งน้ำพอง หัวใจแห่งการผลิตกระแสไฟฟ้าภาคอีสาน แหล่งก๊าซน้ำพอง ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2522 และเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2533 โดยมีพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมจำนวน 34.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอน้ำพอง และอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น มีการผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งถูกส่งตรงไปยังโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงประชาชนกว่าล้านครัวเรือนในภาคอีสาน นอกจากนี้ แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพองยังสร้างรายได้กว่า 750 ล้านบาท แหล่งก๊าซน้ำพองมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าในภาคอีสาน การมีแหล่งพลังงานในท้องถิ่นช่วยลดการสูญเสียพลังงานจากการส่งผ่านระยะไกล และสร้างความมั่นคงทางไฟฟ้าให้กับภูมิภาคอีกด้วย การใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งภายในประเทศย่อมมีต้นทุนที่ถูกกว่าการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและท้ายที่สุดก็ส่งผลดีต่อค่าครองชีพของประชาชน การดำเนินงานของแหล่งก๊าซน้ำพองสร้างโอกาสในการจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่น ทั้งในส่วนของการสำรวจ การผลิต การบำรุงรักษา และบริการที่เกี่ยวข้อง     แหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อมและแหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพอง ไม่เพียงแต่เป็นขุมทรัพย์พลังงานที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ แต่ยังเป็นเสาหลักสำคัญในการค้ำจุน ความมั่นคงทางพลังงาน และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอย่างแท้จริง การลงทุนและพัฒนาแหล่งพลังงานภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจแหล่งใหม่ๆ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ในขณะที่สถานการณ์พลังงานโลกที่มีความผันผวนและปัจจัยต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป การมีแหล่งพลังงานภายในประเทศที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงต่างชาติ

จากอ่าวไทยสู่แหล่งพลังงานหลักในภาคอีสาน พาเปิดขุมทรัพย์ “ปิโตรเลียม” ที่สร้างมูลค่ามหาศาล อ่านเพิ่มเติม »

จาก ‘หน้าฮ้าน’ สู่ ‘เงินล้าน พามาเบิ่ง 14 หมอลำหญิงเสียงทองแห่งแดนอีสาน

เสียงพิณเสียงแคนสะท้านโลก นักร้องหมอลำหญิง ปลดล็อก Soft Power อีสาน สู่มูลค่าเศรษฐกิจพันล้านบาท ภาคอีสาน ดินแดนแห่งวัฒนธรรมอันสวยงาม ไม่ได้มีเพียงข้าวเหนียวและทุ่งกุลาร้องไห้ แต่มี “หมอลำ” ที่เป็นมากกว่าการแสดงพื้นบ้าน แต่มันคือจิตวิญญาณแห่งวิถีชีวิตของคนอีสาน เป็นเครื่องมือสื่อสารเรื่องราวประวัติศาสตร์ สังคม และความรู้สึกนึกคิดของคนอีสาน และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการที่หมอลำได้ขึ้นมาเป็น Soft Power อันทรงพลัง ที่ไม่เพียงสร้างความบันเทิง แต่ยังเป็นจักรกลขับเคลื่อนเศรษฐกิจและธุรกิจในภูมิภาคให้เติบโตอย่างมหาศาล    หมอลำ Soft Power อีสาน ที่หยั่งรากลึกและผลิบาน ในยุคที่ Soft Power ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบัน หมอลำได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันโดดเด่นนี้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเนื้อหาที่เข้าถึงง่าย ดนตรีที่มีจังหวะเร้าใจ และการแสดงที่เต็มไปด้วยพลัง หมอลำได้ก้าวข้ามขีดจำกัดทางภูมิศาสตร์และภาษา ไม่ใช่แค่คนอีสานเท่านั้นที่หลงใหล แต่ยังขยายฐานแฟนคลับไปทั่วประเทศและในหมู่คนไทย รวมถึงชาวต่างชาติที่เริ่มให้ความสนใจ นักร้องหมอลำหญิง คือ หนึ่งในหัวใจสำคัญของ Soft Power ชิ้นนี้ ด้วยน้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ ลีลาการแสดงที่ตื่นตาตื่นใจ และความสามารถในการสื่อสารอารมณ์ผ่านบทเพลง ต่างก็ได้กลายเป็น สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันผ่านเสียงเพลง ไม่ว่าจะเป็น “ราชินีหมอลำ” ระดับตำนาน ไปจนถึงดาวรุ่งพุ่งแรงในยุคดิจิทัล พวกเขาเหล่านี้ไม่ได้ขายเพียงบทเพลง แต่ขาย “ตัวตน” “เรื่องราว” และ “วิถีชีวิต” ที่สะท้อนความเป็นอีสานอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความผูกพันทางอารมณ์กับผู้ฟังอย่างลึกซึ้งนั่นเอง   จากเวทีสู่มูลค่าเศรษฐกิจ หมอลำสร้างเงินได้อย่างไร? การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของหมอลำนั้นมีความซับซ้อน แต่สามารถประมาณการณ์ได้อย่างคร่าวๆ ว่ามีมูลค่าไม่ต่ำกว่า พันล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มูลค่านี้เกิดจากหลายภาคส่วนที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ โดยมีคณะหมอลำเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อน ซึ่งธุรกิจการแสดงและคอนเสิร์ต นี่คือแหล่งรายได้หลักที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด วงหมอลำคณะใหญ่ๆ โดยเฉพาะวงที่มีนักร้องหมอลำหญิงและชายเป็นแม่เหล็กดึงดูด สามารถทำรายได้จากการเดินสายแสดงทั่วประเทศได้มหาศาลต่อปี ค่าจ้างแสดงของศิลปินเบอร์ต้นๆ และวงขนาดใหญ่ มีตั้งแต่หลักแสนถึงหลักล้านบาทต่อคืน หากรวมค่าใช้จ่ายในการจัดงาน เวที แสง สี เสียง ทีมงาน การขนส่ง และค่าบัตรเข้าชม จะเห็นว่ามีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือฤดูกาลการแสดง ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างแท้จริง หรือแม้กระทั่ง ธุรกิจบันเทิงดิจิทัลในยุคดิจิทัล แพลตฟอร์มออนไลน์ได้กลายเป็นช่องทางสร้างรายได้มหาศาล นักร้องหมอลำหญิงหลายคนมีผู้ติดตามบน YouTube, TikTok, Facebook และแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งอื่นๆ เป็นจำนวนมาก รายได้จากยอดวิว โฆษณา การขายเพลงดิจิทัล การไลฟ์สด และการรับบริจาค (Super Chat/Sticker) เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญอย่างยิ่ง ยิ่งไปกว่านั้น การสร้างคอนเทนต์เบื้องหลัง การทำ Vlog ชีวิตส่วนตัว และการสร้างปฏิสัมพันธ์กับแฟนคลับผ่านช่องทางดิจิทัล ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายฐานแฟนคลับให้กว้างขวางขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย สินค้าที่ระลึกและธุรกิจต่อเนื่อง ความนิยมของนักร้องหมอลำนำไปสู่การพัฒนาสินค้าที่ระลึกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ โปสเตอร์ อัลบั้มเพลง หรือแม้กระทั่งสินค้าแบรนด์ของศิลปินเอง ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่น นอกจากนี้ ธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น

จาก ‘หน้าฮ้าน’ สู่ ‘เงินล้าน พามาเบิ่ง 14 หมอลำหญิงเสียงทองแห่งแดนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top