‘โดนแฮก’ ไปรษณีย์ไทย ยอมรับ ข้อมูลผู้ใช้ 19 ล้านรายหลุดจริง มีทั้งชื่อ เบอร์ อีเมล และข้อมูลในระบบ CRM

ไปรษณีย์ไทยชี้แจงกรณีพบมีผู้ละเมิดข้อมูลผู้ใช้บริการโดยไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมการเงิน

ไปรษณีย์ไทยออกมายอมรับว่าข้อมูลรั่วไหล หลังจากแฮกเกอร์ประกาศขายข้อมูลบน BreachForum เมื่อวันเสาร์ 29 มีนาคมที่ผ่านมา

ข้อมูลที่คนร้ายประกาศขาย มีทั้งหมด 19 ล้านรายการ น่าจะเป็นข้อมูลระบบ CRM โดยระบุ ชื่อ, นามสกุล, อีเมล, วันเกิด, ข้อมูลติดต่อ, สาขาที่ใช้บริการบ่อย, คะแนนสะสม, ข้อมูลการใช้บริการ

ทางไปรษณีย์ไทยระบุว่าได้ปิดช่องทางเข้าถึงข้อมูลนี้ จากนั้นแจ้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ตลอดจนดำเนินการทางด้านกฎหมายแล้ว

 

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด โพสต์ได้ระบุว่า

“บริษัท ไปรษณีย์ ไทย จำกัด ตรวจพบการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการ ประกอบด้วย ชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล โดยไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมการเงินใดๆ และนำไปเผยแพร่อยู่บน Dark Web ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ดังกล่าวไปรษณีย์ไทยขออภัยและได้ดำเนินการ ปิดช่องทางการเข้าถึงข้อมูลทันที พร้อมคุมเข้มยกระดับมาตรการการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการ รวมถึงได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เพื่อรายงานและร่วมดำเนินมาตรการป้องกันอย่างรัดกุม พร้อมทั้งมีการดำเนินการทางด้านกฎหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ไปรษณีย์ไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้บริการ โดยจะทำการตรวจสอบระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูลผู้ใช้บริการอย่างเข้มงวด ครอบคลุมและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้อีกในอนาคต ทั้งนี้ หากผู้ใช้บริการพบปัญหาหรือมีข้อสงสัยสามารถ ติดต่อได้ที่ THP Contact Center 1545”

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

โดยเบื้องต้นมีการค้นพบการขายข้อมูลที่หลุดจาก ไปรษณีย์ไทย ที่ BreachForums ซึ่งเป็น dark web บริการและขายข้อมูล ใน Hidden Service

 

 

 

ทางด้าน ดร. อุดมธิปก ไพรเกษตร ผู้ก่อตั้งสื่อ PDPA Thailand กล่าวว่า “ฟ้องได้เลยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สามารถไปที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคศ.) แต่กฎหมายยังมีอุปสรรคว่ายังเปิดให้ร้องเรียนเป็นรายบุคคลไป การร้องเรียนแบบกลุ่มยังไม่มี แต่นอกจากช่องทางนี้ ยังสามารถฟ้องอาญาได้ และฟ้องแพ่งเป็นคดีผู้บริโภค ซึ่งฟ้องแบบกลุ่มได้”

 

ข้อมูลจากทางเว็บไซต์ PDPA Thailand  ระบุ
“ตามบทบัญญัติของกฎหมาย PDPA ที่จะบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน นี้ ในกรณีที่ธุรกิจเกิดการรั่วไหลของข้อมูล ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจบทบาทของตนเองก่อน หากธุรกิจของคุณเป็น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ก็มีบทบาทและหน้าที่ดังนี้
  1. จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และเมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงก็ต้องมีการปรับปรุงให้อุปกรณ์หรือเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคต่างๆ อยู่เสมอ และแน่นอนว่าหากไม่มีการจัดการใดๆ ในด้านนี้ แล้วเกิดการละเมิด คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลก็อาจพิจารณาว่า ‘ไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ’
  2. ในกรณีที่ต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่แหล่งอื่น ต้องมีการจัดดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม
  3. มีระบบการตรวจสอบเพื่อลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นระยะเวลาการจัดเก็บ หรือมองว่าไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป หรือปฏิบัติตามคำร้องของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  4. หากเกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลจะต้องแจ้งเหตุแก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภายใน 72 ชม. นับตั้งแต่ทราบเหตุ แต่หากมองว่าเป็นความเสียหาย ‘ร้ายแรง’ อาจจะต้องมีแผนสำหรับการ ‘เยียวยา’ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไม่ล่าช้า”

 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top