คนไทย🇹🇭 มีลูกน้อยลง นักประชากรศาสตร์ เผย คนไทยอาจเหลือเพียง 60 ล้านคนในอีก 20 ปีข้างหน้า และผู้สูงอายุเกิน 30%

สถิติโลกเผย ประเทศไทยติด TOP3 อัตราการเกิดต่ำลงสุดในโลก ลดลงมากถึง 81% ในรอบ 74 ปีที่ผ่านมา แซงหน้าประเทศญี่ปุ่นเรียบร้อย

ปัญหาการลดลงของประชากร เป็นปัญหาที่ทั่วโลกต้องเจอ เนื่องด้วยเศรษฐกิจ มลภาวะ สภาพแวดล้อมต่างๆ ไม่เอื้อให้คนอยากมีลูก

ล่าสุด Global Statistics ได้ออกมาเปิดสถิติการเกิดของประเทศต่างๆในโลก โดยพบว่า ประเทศไทย มีอัตราการเกิดต่ำอยู่ในอันดับ 3 จาก 80 ประเทศทั่วโลก ลดลงมากถึง 81%


Global Statistics ทำการดึงข้อมูลมาจาก United Nations Population Division (UNPD) และรวบรวมตั้งแต่ปี 1950-2024 ซึ่งประเทศไทยอัตราการเกิดลดลงถึง 81% ในช่วง 74 ปีที่ผ่านมา

โดย 5 อันดับแรก คือ ประเทศ เกาหลีใต้ (88%), จีน (83%), ไทย (81%), ญี่ปุ่น (80%), และ อิหร่าน (75%) ทำให้ชาวเน็ตส่วนหนึ่งวิเคราะห์อันดับการเกิดที่ลงจากประเทศที่ติดอันดับ TOP5 พบว่าหลายประเทศมีความชายเป็นใหญ่ มีกรอบกดทับเพศหญิงเยอะ หรือบางประเทศก็มีปัญหาเรื่องความมั่นคง เศรษฐกิจ ประกอบกับหลายคนให้ความเห็นว่าอาจจะเกี่ยวเนื่องกับปัญหาสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ที่ใช้ชีวิตอยู่กับมลภาวะและอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ส่งผลต่อร่างกาย

กราฟิก

1 ใน 5 ของคนไทยเป็นคนโสด

นอกจากคนโสดจะมีมากขึ้น แต่แนวโน้มของครอบครัวก็มีขนาดลดลง และเป็นครอบครัวที่ไม่มีบุตรมากขึ้น ทั้งด้วยภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือปัจจัยอื่นๆ ซึ่งสามารถอ่านต่อได้ที่บทความที่แนบด้านล่างนี้

สังคมคนโสด Solo Society – เปิดสถิติคนไทยวัยเจริญพันธุ์ โสด เกือบเท่าตัวของค่าเฉลี่ยทุกช่วงวัย

คนไทยอาจเหลือเพียง 60 ล้านคนในอีก 20 ปีข้างหน้า และผู้สูงอายุเกิน 30%

#โลก🌍ในขณะที่ประชากรโลกกำลังเพิ่มช้าลง จำนวนและสัดส่วนของประชากรสูงอายุกลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปี พ.ศ.2565 ทั่วทั้งโลกมีประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มากถึง 1,109 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 14 ของประชากรโลก 8,000 ล้านคน
.
#อาเซียน ในปี พ.ศ.2565 มี 7 ใน 10 ของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ที่มีสัดส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10 เหลือเพียง 3 ประเทศได้แก่ลาวกัมพูชาและฟิลิปปินส์เท่านั้นที่ยังไม่เป็นสังคมผู้สูงอายุ
.
#ประเทศไทย 🇹🇭 ปี 2564 เป็นครั้งแรกที่อัตราการเกิดของเด็กไทยต่ำกว่าอัตราการตาย และอัตราการเกิดมีเเนวโน้มลดลงในทุกๆ ปีเเละคาดการณ์ว่าจะลดลงโดยไม่มีทีท่าจะเพิ่มขึ้น ผนวกกับอัตราการตายที่ลดลง ทำให้อัตราการเปลี่ยนเเปลงของประชากรตามธรรมชาติมีเเนวโน้มลดลงตามไปด้วย ซึ่งการที่อัตราการเปลี่ยนเเปลงของประชากรตามธรรมชาตินี้ลดลง ทำให้ประชากรในอนาคตจะมีอายุเฉลี่ยที่มากขึ้นเรื่อยๆ
.
จากวิถีชีวิตของหนุ่มสาวที่เปลี่ยนไป สถานะภาพทางสังคม และการศึกษาที่สูงขึ้น ผู้หญิงอยู่เป็นโสดมากขึ้น ทำงานนอกบ้านมากขึ้น แต่งงานช้าลง ความต้องการมีบุตรลดลง และผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์มีจำนวนน้อยลง ทำให้อัตราการเกิดลดต่ำลง และก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ #สังคมคนโสด โดยสัดส่วนคนโสดของประชากรวัยเจริญพันธุ์(อายุ 15-49 ปี) เป็นโสดกว่า 40.5% และหากเจาะจงเฉพาะ ช่วงอายุ 15-25 ปี เป็นโสดมากถึง 50.9%
.
ปัจจุบันสัดส่วนผู้สูงอายุของภาคกลาง และภาคเหนือ อยู่ในระดับสูง บางจังหวัดอยู่ในภาวะสังคมผู้สูงอายุ เกิน 25% ของประชากร
.

#อีสาน 𝗜𝗦𝗔𝗡 𝗣𝗼𝗽𝘂𝗹𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานมีประชากรมากถึง 21.7 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ โดยภาคอีสานมีสัดส่วนเฉลี่ยรวมผู้สูงอายุกว่า 17.80% ของประชากรทั้งหมด และหากมองเทียบในระดับภูมิภาค ภาคอีสานมีสัดส่วนผู้สูงอายุน้อยเป็นรองเพียงภาคใต้เท่านั้น

.

ผลกระทบที่ต้องเผชิญของประเทศที่มีประชากรลดลง และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ด้านเศรษฐกิจ
⚠️แรงงานลดลง: ส่งผลต่อภาคการผลิต ภาคบริการ เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว
⚠️ขาดแคลนแรงงานทักษะสูง: ส่งผลต่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
⚠️ภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น: เงินบำนาญ สวัสดิการผู้สูงอายุ
⚠️การบริโภคภายในประเทศลดลง: กำลังซื้อลดลง
⚠️การออมและการลงทุนลดลง: กระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
.
ด้านสังคม
⚠️ปัญหาครอบครัว: ผู้สูงอายุอยู่คนเดียว ภาระดูแลผู้สูงอายุตกอยู่กับคนรุ่นหลัง
⚠️ปัญหาสุขภาพ: โรคเรื้อรัง อุบัติเหตุ
⚠️ปัญหาช่องว่างระหว่างวัย: ความเข้าใจ ความสัมพันธ์
⚠️ปัญหาอาชญากรรม: การฆ่าตัวตาย การกระทำต่อผู้สูงอายุ การเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยวไร้ญาติ
.
ด้านอื่นๆ
⚠️การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร: สัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรวัยทำงานเพิ่มขึ้น
⚠️การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ: มุ่งเน้นไปที่บริการ สุขภาพ เทคโนโลยี
⚠️การเปลี่ยนแปลงนโยบายภาครัฐ: สนับสนุนผู้สูงอายุ ส่งเสริมการมีบุตร
⚠️การเปลี่ยนแปลงค่านิยม: ทัศนคติต่อผู้สูงอายุ ครอบครัว
.
อย่างไรก็ตาม ยังมี โอกาส ที่เกิดขึ้นพร้อมกับ ความท้าทาย ดังนี้
☑️โอกาสทางธุรกิจ: สินค้าและบริการสำหรับผู้สูงอายุ เทคโนโลยีเพื่อผู้สูงอายุ
☑️โอกาสในการพัฒนาทักษะ: ทักษะการดูแลผู้สูงอายุ ทักษะดิจิทัล
☑️โอกาสในการสร้างสังคมใหม่: สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ
ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต่างใช้วิธีการแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นจาก สังคมผู้สูงอายุ ไปในแนวทางที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ บริบท ของแต่ละประเทศ
.

ที่มา:

 

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top