ฮู้บ่ว่าล่ามภาษามือทั่วไทยเหลือเพียง 202 คน เท่านั้น และในภาคอีสานก็มีล่ามเพียง 17 คนเท่านั้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
.
ISAN Insight and Outlook พามาเบิ่ง
เช็กจำนวนล่ามภาษามือในอีสาน อยู่จังหวัดไหนกันบ้าง ?
.
.
#ล่ามภาษามือ ในไทย พบว่ามีจำนวนไม่สัมพันธ์กันกับคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อสารความหมาย จากเดิมที่มีการจดแจ้งไว้กับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เมื่อปี 2552 – 2560 จำนวน 659 คน แต่ปัจจุบันมีเพียง 202 คน เท่านั้น* แบ่งเป็นล่ามภาษามือหูดี 186 คน, ล่ามภาษามือหูหนวก 14 คน และล่ามภาษามือหูตึง 2 คน
.
นอกจากนี้ ยังพบว่าจังหวัดที่มีล่ามภาษามือคอยให้บริการประชาชนมีเพียง 44 จังหวัด (จากทั้งหมด 77 จังหวัด) ส่วนใหญ่กระจุกตัวในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยจังหวัดที่มีล่ามภาษามือมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ (75 คน) , นครปฐม (21 คน) และนนทบุรี (17 คน)
.
ประเทศไทยมีคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อสารความหมาย ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ทั้งหมด 423,973 คน จากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 67 โดยภูมิภาคที่มีคนพิการทางการได้ยินมากที่สุดคือภาคอีสาน (162,456 คน) รองลงมาคือ ภาคกลางและตะวันออก (84,350 คน) ภาคใต้ (55,020 คน) และ กทม. (22,884 คน)
.
อย่างไรก็ตามทางสมาคมล่ามภาษามือแห่งประเทศไทย เคยวิเคราะห์ข้อมูลเฉลี่ยความสามารถในการให้บริการด้านภาษามือชุมชน ไว้ว่าคนหูหนวก 10 คนต่อล่ามภาษามือ 1 คน ดังนั้น ประเทศไทยควรมีล่ามภาษามือในสัดส่วนที่เหมาะสม ประมาณ 42,000 คน
.
.
อ้างอิงจาก:
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ข้อมูล ณ วันที่ 20 ส.ค. 2567
.
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ล่ามภาษามือ #ล่ามภาษามืออีสาน