20 ส.ค.นี้ รฟท.เปิดประมูลทางคู่เฟส 2 สายแรก”ขอนแก่น-หนองคาย”2.87 หมื่นล้าน ลุยโยธาติดตั้งระบบ 3 ปี เปิดบริการปี 70

ใกล้แล้ว! รฟท.เปิดประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่เฟส 2 สายแรก ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 167 กม. ราคากลาง 28,719.94 ล้านบาท กำหนดยื่นซองขายซอง 20 ส.ค.67 คาดเซ็นสัญญาปลายปี 67 ลุยก่อสร้าง 3 ปี เปิดบริการปี 70
อาจเป็นรูปภาพของ แผนที่ และ ข้อความพูดว่า "จุดสิ้นสุดโครงการที่ กม.620+500 กม. 0+500 หนองคาย สถานีหนองคาย สถานีนาหา สถานีอุตรธานี สถานีหนองขอนกว้าง สถานีหนองคะไก้ สถานีห้วยสามพาด สถานีกุมภวาปี สถานีห้วยเทิ้ง อุดรธานี นครพนม สถานีโนนสะอาด สถานีเขาสวนกวาง สถานีห้วยเลียว สถานีน้ำพอง สถานีโนนหยอม ขอน ขอนแก่น จุดเริ่ม จุดเริ่มต้นโครงการที่ รที่ กม.453+955 +955 กม. สถานีสำราญ สถานีขอนแท่น มหาสารคาม โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ช่วง ช่วงขอนแก่น หนองค ระยะทางรวม 167 กิโลเมตร ร้อยเอ็ด ร้อย เอ็ด"อาจเป็นรูปภาพของ รถไฟ และ ข้อความ
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (21 มิ.ย.67) นายจเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ลงนามออกประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ด้วยวิธีประกวดราคา.อิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ราคากลาง 28,719.94 ล้านบาท โดยกำหนดยื่นข้อเสนอ วันที่ 20 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00-12.00 น. และคาดว่าจะสรุปได้ตัวผู้รับจ้างภายในเดือนตุลาคม 2567 ลงนามสัญญาปลายปี 2567 เริ่มก่อสร้างต้นปี 2568 ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน แล้วเสร็จเปิดบริการ ปลายปี 2570โดยโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. โดยเป็นการก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มอีก 1 ทางขนานไปกับทางรถไฟเดิม และปรับแนวเส้นทางใหม่บางส่วน พร้อมติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและระบบโทรคมนาคมตลอดสายทาง กำหนดระยะเวลาส่งมอบ 1,080 วัน นับถัดจากวันที่ รฟท.แจ้งให้เริ่มงาน
อาจเป็นรูปภาพของ รถไฟ, ทางรถไฟ และ ข้อความ
สำหรับ TOR กำหนดคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ ต้องมีผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกันกับงานที่ประกวดราคาจ้างก่อสร้างทางรถไฟในวงเงินไม่น้อยกว่า 4,313.85 ล้านบาท และต้องเป็นงานที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานรัฐโดยตรง หรือหน่วยงานเอกชนที่ รฟท.เชื่อถือกรณีเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้จดทะเบียนเกินกว่า 1 ปีกำหนดให้มีมูลค่าสุทธิของกิจการจากผลต่างระหว่างสินทรัพย์สุทธิหักด้วยหนี้สินสุทธิที่ที่ปรากฎในงบแสดงฐานะทางการเงิน ซึ่งต้องมีค่าเป็นบวก 1 ปีสุดท้ายก่อนยื่นข้อเสนอ กรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งยังไม่มีการรายงานงบแสดงฐานะการเงินกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ให้พิจารณาการกำหนดมูลค่าของทุนจดทะเบียน โดยผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระมูลค่าหุ้นแล้ว ณ วันที่ยื่นข้อเสนอ ไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท เป็นต้น

กรณีผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นนิติบุคคลรายเดียว ต้องเป็นนิติบุคคลไทยที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียว ไม่น้อยกว่า 4,313.85 ล้านบาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

กรณีผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้า ต้องมีนิติบุคคลไทยที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยป็นผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) โดยสมาชิกทุกรายที่รวมตัวกันเป็นกิจการร่วมค้านั้นต้องเป็นนิติบุคคล และต้องมีสัดส่วนนิติบุคคลไทยรายเดียวหรือมากกว่าหนึ่งรายรวมกันในการร่วมค้ามากกว่าร้อยละ 50 โดยผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) จะต้องมีสัดส่วนการร่วมค้ามากที่สุดและสัดส่วนนี้จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาโครงการ ซึ่งในวันยื่นเอกสารประกวดราคา จะต้องยื่นเอกสารข้อตกลงสำหรับการร่วมกันเป็นกิจการร่วมค้า

โดยต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียว ไม่น้อยกว่า4,313.85 ล้านบาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วโดยสามารถนำผลงานก่อสร้างของผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) เป็นผลงานของกิจการร่วมค้าได้และผู้เข้าร่วมค้ารายอื่น ๆ ของกิจการร่วมค้าทุกรายต้องมีผลงานอย่างน้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

ก) ผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 900 ล้านบาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ข) ผลงานก่อสร้างงานโยธา(ข) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 900 ล้านบาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่น้สนอผลิตภัณฑ์สำหรับ 3 ระบบหลักของงานอาณัติสัญญาณ ได้แก่ 1. ระบบบังคับสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Based Interlocking: CBI System) 2. ระบบป้องกันเหตุอันตรายของขบวนรถโดยอัตโนมัติ (Automatic Train Protection: ATP) ตามมาตรฐาน European Train Control System (ETCS) Level 1 และ 3. ระบบควบคุมการเดินรถทางไกล (Centralized Traffic Control: CTC System)
อาจเป็นรูปภาพของ รถไฟ และ ข้อความอาจเป็นรูปภาพของ รถไฟ, ทางรถไฟ และ ข้อความ
พร้อมยื่นหนังสือรับรองผลการใช้งานผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ที่ยื่นเสนอจากผู้ผลิตรายเดียวกันไม่น้อยกว่า 5 ปี หนังสือยืนยันจะจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และหนังสือยืนยันการสำรองอะไหล่ และให้การสนับสนุนด้านเทคนิคสำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแก่ รฟท. โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 20 ปี นับตั้งแต่วันเปิดให้บริการให้แก่โครงการฯ
สำหรับหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาโครงการ คือ จะมีหลักเกณฑ์การพิจารณา 6 หัวข้อ คะแนนรวม 100 คะแนน ผู้ที่จะผ่านการพิจารณาจะต้องได้คะแนนในแต่ละหัวข้อไม่ต่ำกว่า 75% ของคะแนนเต็ม จึงจะถือว่าผ่านการคัดเลือกข้อเสนอ

รถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย  จะเชื่อมต่อเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-สระบุรี-ฉะเชิงเทรา- แหลมฉบัง-มาบตาพุด   ทำให้โครงข่ายทางรางของประเทศไทยมีความสมบูรณ์มากขึ้น  เพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งทางราง  ช่วยลดอุบัติเหตุทางถนน ลดมลพิษ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า สามารถประหยัดการใช้พลังงานของประเทศได้ในระยะยาว  สนับสนุนการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางรางระหว่างประเทศไทย, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และประเทศจีน

อาจเป็นรูปภาพของ รถไฟ, ทางรถไฟ และ ข้อความ

ตลอดเส้นทางยาว 169 กิโลเมตร(กม.) ต่อจากรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น  (เฟส1) จุดเริ่มต้นโครงการกม.454+000 ที่สถานีขอนแก่น และสิ้นสุดกม.623+000 ที่สถานีหนองคาย  เป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ขนาดทาง 1.00 เมตร เพิ่มขึ้น 1 ทาง ขนานไปกับเส้นทางรถไฟเดิม ส่วนใหญ่เป็นทางระดับดิน ระยะทาง 159.5 กม. เป็นทางยกระดับ 2 แห่ง  ระยะทาง 9.5 กม. มี 15 สถานี 2 ที่หยุดรถ โดยเป็นชานชาลาสูงทั้งหมด  มีการก่อสร้างย่านกองเก็บตู้สินค้า(CY) 3 แห่ง ที่สถานีโนนสะอาด พื้นที่ขนาด 10,500 ตารางเมตร(ตร.ม.), สถานีหนองตะไก้ 21,750 ตร.ม. และสถานีนาทา 19,000 ตร.ม.    พร้อมก่อสร้างโรงซ่อมบำรุงเบาที่สถานีหนองคาย และยกเลิกจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับทุกแห่ง  ก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 31 แห่ง ถนนลอดใต้ทางรถไฟ 53 แห่ง และก่อสร้างรั้วตลอดแนวเส้นทางรถไฟ

มีแนวเส้นทางเชื่อม 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น, อุดรธานี และหนองคาย มีสถานี และที่หยุดรถ ประกอบด้วย สถานีขอนแก่น, สถานีสำราญ, สถานีโนนพยอม, ที่หยุดรถบ้านวังชัย, สถานีน้ำพอง, สถานีห้วยเสียว, สถานีเขาสวนกวาง, สถานีโนนสะอาด, สถานีห้วยเกิ้ง, สถานีกุมภวาปี, สถานีห้วยสามพาด, สถานีหนองตะไก้, ที่หยุดรถคำกลิ้ง, สถานีหนองขอนกว้าง, สถานีอุดรธานี, สถานีนาพู่, สถานีนาทา และสถานีหนองคาย

โครงการมีการเวนคืนที่ดินรวมประมาณ 184 ไร่ ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 369 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน หรือ 3 ปี  ในปีแรกของการเปิดบริการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่  3,300 คนต่อวัน และเพิ่มขึ้นเป็น 5,500 คนต่อวันในปีที่ 30 ขณะที่ปริมาณการขนส่งสินค้าอยู่ที่ประมาณ 3.30 ล้านตันต่อปีในปีแรก และเพิ่มขึ้นเป็น 4.20 ล้านตันในปีที่ 30

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top