พามาเบิ่ง ลายผ้าพื้นเมือง อัตลักษณ์ประจำจังหวัด
กาฬสินธุ์ : ผ้าไหมแพรวาลายนาค ๑๒ แขน เป็นลายที่มีชื่อสัตว์ที่เป็นมงคลตามความเชื่อของคนอีสานลุ่มน้ำโขง และ 12 หมายความตามฮีค 12 ของคนอีสาน
ขอนแก่น : ผ้าลายแคนแก่นคูณ
แคน (KAN) King of Music สัญลักษณ์แทนความเจริญและสนุกสนาน เมืองแห่งหมอแคน
แก่น (KAEN) King of Esan หมายถึงมหานครขอนแก่น
คูน (Koon) King of Tree and Flower สัญลักษณ์ดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น ดอกคูน
ชัยภูมิ : ผ้าลายหมี่คั่นขอนารี เดิมเป็น ลายขอนารี จากนั้นชาวบ้านเขว้านำลายคั่นมาเสริมเพิ่มเข้าไปจึงได้ชื่อว่า ลายหมี่คั่นขอนารี
นครพนม : ผ้ามุก ผ้าทอลายยกมุก มาจากคนในพื้นที่คล้ายนำเอาหอยมุกมาเจียรนัยเข้าไปในเนื้อผ้า เป็นเอกลักษณ์จนถึงปัจจุบัน
นครราชสีมา : ผ้าหางกระรอกสีแสด “เส้นหางกระรอก” ใช้อุปกรณ์ในการตี คือ ไนและโบก และ “สีแสด”เป็นสีของธงประจำกองเสือป่านครราชสีมา ซึ่ง ร.6 พระราชทานให้แก่จังหวัดนครราชสีมา
บึงกาฬ : ผ้าลายหมากเบ็ง (เบญจลักษณ์แห่งบึงกาฬ) สีม่วง-ขาว คือ สีของจังหวัดบึงกาฬ ประกอบไปด้วยแม่น้ำโขง พญานาค ขันหมากเบ็ง ดอกสิรินธรวัลลี และหินสามวาฬ
บุรีรัมย์ : ผ้าหางกระรอกคู่ เป็นลายผ้าลายริ้วที่เกิดจากการสร้างลวดลายด้วยเส้นไหมต่างสี หรือเส้นไหมพิเศษทางเส้นพุ่งควบ 2 เส้น ในเนื้อผ้าดูคล้ายจะมีปุยขนอ่อนขึ้นมาเหมือนกับเส้นขนของหางกระรอก
มหาสารคาม : ผ้าลายสร้อยดอกหมาก มาจากสิ่งใกล้ตัว ดอกหมากหรือพวงของดอกหมาก โดยลายผ้าเกิดจากการมัดหมี่ นำลายโคมเก้าและโคมห้ามามัดซ้อนกัน
มุกดาหาร : ผ้าไหมลายแก้วมุกดา มีลักษณะเป็นดอกสีขาวหรือเรียกว่าลายตุ้ม แก้วมุกดาซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู๋เมืองของชาวมุกดาหาร
ยโสธร : ผ้าลายยศสุนทร (ลายลูกหวาย) เป็นสีฟ้า สีประจำ จ. ยโสธร และลูกหวาย คือต้นหวายที่มีลำต้นอ่อนโยน เหนียว ไม่หักง่าย เป็นตัวแทนของความหนักแน่น มั่นคง สามัคคี
ร้อยเอ็ด : ผ้าไหมลายสาเกต มีสีดอกอินทนิลบก (สีชมพูอมม่วง) เริ่มต้นจากลายโคมเจ็ด นาคน้อย คองเอี้ย ค้ำเพ้า และหมากจับ
เลย : ผ้าลายดอกฝ้ายเมืองเลย ดอกฝ้ายสะท้อนถึงภาพในอดีตของ จ.เลย ที่เคยเป็นแหล่งปลูกฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเป็นลวดลายของต้นดอกฝ้ายทั้งดอกตูม ดอกเล็ก และกวักฝ้าย
ศรีสะเกษ : ผ้าเหยียบลายลูกแก้ว มาจากลวดลายของหวายป่า ลักษณะคล้ายผลระกำหรือสละ มีรูปร่างเป็นช่อคล้ายลูกแก้วในปัจจุบัน
สกลนคร : ผ้าลายนครธรรม ประกอบด้วย 5 ลวดลายที่มาเชื่อมโยงกัน ลายดอกไม้ป่า (ดอกมณีเทวา) อยู่ที่อุทยานแห่งชาติภูพาน, นครธรรม สื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา, ลายหัวใจ 4 ดวง, ลายข้าวพันก้อน สื่อถึงงานบุญผะเหวด และลายเขาภูพาน
สุรินทร์ : ผ้าลายโฮล มีเอกลักษณ์ของชาวสุรินทร์ชาติพันธุ์เชื้อสายเขมรแถบอีสานใต้ โฮล หมายถึง มัดหมี่ ใช้สีหลักๆคือ แดง ดำ น้ำเงิน
หนองคาย : ผ้าลายนาคใหญ่ สัญลักษณ์แทนความเชื่อเรื่องพญานาคในแม่น้ำโขง ประกอบด้วยลายนาคใหญ่ คือกายพญานาค, ลายหยัก คือ แทนแม่น้ำโขง และ ต้นชิงชัน คือ ต้นไม้มงคลของหนองคาย สีจะเป็นสีส้มอิฐ เป็นสีประจำจังหวัด
หนองบัวลำภู : ผ้าลายขิดสลับหมี่ ลายดอกบัวหลวงซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ใช้ด้ายสีชมพูซึ่งเป็นสีประจำจังหวัดอีกด้วย
อำนาจเจริญ : ผ้าลายตะขอสลับเอื้อ นำลายผ้าจากหมอนขิดนำมาคิดค้นเป็นลายใหม่ ตะขอ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตักน้ำ และเอื้อ หมายถึง การเอาใจใส่ มีน้ำใจ
อุดรธานี : ผ้าลายก้นหอย อารยธรรมห้าพันปี แรงบันดาลใจมาจากลายบนเครื่องปั้นดินเผา และลวดลายลกกลิ้ง
อุบลราชธานี : ผ้าไหมลายกาบบัว มีสีแนวธรรมชาติ สีของกาบบัว หรือกลีบบัว โดยมีลักษณะของซิ่นทิว มับไม และมัดหมี่ผ้าขิดหรือจก
อ้างอิงจาก:
สมาคมแม่บ้านมหาดไทย , ระบบสารสนเทศศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight
.
#ISANInsightandOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #ลายผ้าพื้นเมือง #ผ้าไหมแพรวา #ผ้าลายแคนแก่นคูณ #ผ้าลายหมี่คั่นขอนารี #ผ้าทอลายยกมุก #ผ้าหางกระรอกสีแสด #ผ้าลายหมากเบ็ง #ผ้าหางกระรอกคู่ #ผ้าลายสร้อยดอกหมาก #ผ้าไหมลายแก้วมุกดา #ผ้าลายยศสุนทร #ผ้าไหมลายสาเกต #ผ้าลายดอกฝ้ายเมืองเลย #ผ้าเหยียบลายลูกแก้ว #ผ้าลายนครธรรม #ผ้าลายโฮล #ผ้าลายนาคใหญ่ #ผ้าลายขิดสลับหมี่ #ผ้าลายตะขอสลับเอื้อ #ผ้าลายก้นหอย #ผ้าไหมลายกาบบัว