หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมีติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับใหม่ หนึ่งในนั้นเป็นการปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพ ให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ได้ ดังนี้
.
– ขอเลือก : กรณีให้ผู้ประกันตนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถเลือกรับเงินบำนาญชราภาพหรือเงินบำเหน็จชราภาพ
– ขอคืน : กรณีให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนมาใช้ก่อนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
– ขอกู้ : กรณีให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักค้ำประกันการกู้เงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินได้
.
โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน
..
ทั้งนี้ กรณีชราภาพถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทน หรือผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้หักเงินชราภาพของผู้ประกันตนซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระอันเกิดจากการดำเนินการที่นำเงินชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินไว้เพื่อส่งใช้กองทุนก่อน ในกรณียังมีเงินชราภาพเหลืออยู่ ให้ทายาทมีสิทธิได้รับเงิน โดยต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข อัตรา และการหักส่วนลดเงินบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพที่จะได้รับตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
.
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในการดึงเงินชราภาพมาใช้ก่อนถึงอายุ 55 ปี ถือเป็นหนึ่งในแนวคิดที่จะช่วยผู้ประกันตน โดยเฉพาะลูกจ้างที่ได้รับความเดือดร้อน สามารถนำเงินที่สะสมมาใช้ก่อนได้บางส่วน โดยอาจนำมาใช้ได้ 20-30% ตามความเหมาะสม หรือใช้ในช่วงเวลาเกิดวิกฤต เหมือนตอนนี้ที่มีการระบาดของ COVID-19
.
อย่างไรก็ตาม ยังมีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีอื่นนอกเหนือกรณีชราภาพ เช่น เพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพจาก 50% เป็น 70% ของค่าจ้าง, ลาคลอด ได้เงินสงเคราะห์เหมาจ่าย 50% ของค่าจ้างจากเดิม 90 วัน เป็น 98 วัน และมาตรา 39 สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างได้เงินสงเคราะห์บุตรต่อ 6 เดือน เป็นต้น
.
.
ที่มา : https://kku.world/9udy9
https://kku.world/csynw
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ประกันสังคม #ชราภาพ