ชื่อบริษัท: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เฮียบหงวนมิลเลอร์
- จังหวัด: อุดรธานี
- ปีที่จดทะเบียน: 2500
- อายุบริษัท: 68
- ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท): 10
- ธุรกิจที่ทำตอนจดทะเบียน: จำหน่ายรถยนต์ ขายอะไหล่
- ธุรกิจที่ทำปัจจุบัน: จำหน่ายรถยนต์และอะไหล่รถยนต์ ยี่ห้ออีซูซุ
- รายได้รวม (ล้านบาท): 1,918.5 (-28.8%)
- กำไร (ล้านบาท): 34.9 (-25%)
ชื่อบริษัท: บริษัท เมรัยชัยภูมิ จำกัด
- จังหวัด: ชัยภูมิ
- ปีที่จดทะเบียน: 2503
- อายุบริษัท: 65
- ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท): 21
- ธุรกิจที่ทำตอนจดทะเบียน: ขายส่งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ธุรกิจที่ทำปัจจุบัน: ขายส่ง สุรา เบียร์
- รายได้รวม (ล้านบาท): 1,279.2 (-2.3%)
- กำไร (ล้านบาท): 6.0 (+2,123.9%)
ชื่อบริษัท: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอี๊ยะฮั้วอุบล
- จังหวัด: อุบลราชธานี
- ปีที่จดทะเบียน: 2504
- อายุบริษัท: 64
- ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท): 6
- ธุรกิจที่ทำตอนจดทะเบียน: ขายปลีกเบียร์ และสินค้าเบ็ดเตล็ด
- ธุรกิจที่ทำปัจจุบัน: ขายส่งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- รายได้รวม (ล้านบาท): 1,309.1 (-7.1%)
- กำไร (ล้านบาท): 6.1 (-1.2%)
ชื่อบริษัท: บริษัท สหเรือง จำกัด
- จังหวัด: มุกดาหาร
- ปีที่จดทะเบียน: 2506
- อายุบริษัท: 62
- ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท): 774
- ธุรกิจที่ทำตอนจดทะเบียน: ผลิตและขายส่งน้ำตาลทราย
- ธุรกิจที่ทำปัจจุบัน: โรงงานน้ำตาล
- รายได้รวม (ล้านบาท): 3,074.7 (+2.0%)
- กำไร (ล้านบาท): 462.1 (+6.1%)
ชื่อบริษัท: บริษัท โค้วยู่ฮะมอเตอร์ จำกัด
- จังหวัด: ขอนแก่น
- ปีที่จดทะเบียน: 2507
- อายุบริษัท: 61
- ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท): 2,000
- ธุรกิจที่ทำตอนจดทะเบียน: เข้าซื้อหุ้นในบริษัทอื่นและกิจการอื่น (บริษัทโฮลดิ้ง)
- ธุรกิจที่ทำปัจจุบัน: ขายยานยนต์
- รายได้รวม (ล้านบาท): 5,330.8 (-33.6%)
- กำไร (ล้านบาท): 122.7 (-42.0%)
ชื่อบริษัท: บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน)
- จังหวัด: บุรีรัมย์
- ปีที่จดทะเบียน: 2507
- อายุบริษัท: 61
- ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท): 1,056
- ธุรกิจที่ทำตอนจดทะเบียน: โรงงานน้ำตาล
- ธุรกิจที่ทำปัจจุบัน: ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทอื่น (บริษัทโฮลดิ้ง)
- รายได้รวม (ล้านบาท): 1,011.9 (+187.1%)
- กำไร (ล้านบาท): 567.1 (+1,062.6%)
60 ปีหากเป็นอายุของคนก็คงถึงเวลาพักผ่อนจากการทำงาน ได้เวลาเกษียณตัวเองเพื่อใช้ชีวิตกับสิ่งที่รักหลังจากได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และความสามารถมาหลายสิบปีด้วยเงินเก็บที่มี เวลาที่เหลืออยู่ และครอบครัวอันเป็นที่รัก ทั้งหมดนี้คือสิ่งสำคัญที่อยู่ร่วมกันจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตแต่กับ “ธุรกิจ” ไม่เป็นเช่นนั้น
60 ปีสำหรับบริษัท คือหลักฐานแห่งความมั่นคงยิ่งอยู่มานานเกินครึ่งศตวรรษ ยิ่งสะท้อนถึงความแข็งแกร่ง การผ่านร้อนผ่านหนาว และความสามารถในการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง เพราะเบื้องหลังของการยืนหยัดมาได้ถึงวันนี้ คือ คนในองค์กรที่ร่วมแรงร่วมใจ บริหารจัดการ และขับเคลื่อนด้วยความมุ่งมั่น จนได้รับความไว้วางใจจากทุกภาคส่วน และกลายเป็นรากฐานสำคัญของความสำเร็จในระยะยาว
ธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ดำเนินกิจการมาอย่างยาวนานกว่า 60 ปีส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในกลุ่มภาคการค้า โดยเฉพาะการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น บริษัท เมรัยชัยภูมิ จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด เอี๊ยะฮั้วอุบล ซึ่งจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ “ปัจจัย 4” ของการดำรงชีวิตที่เป็นสินค้าจำเป็นทำให้ลูกค้ายังคงมีความจำเป็นต้องใช้บริการหรือทำการค้าด้วยอย่างต่อเนื่อง อีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจการค้าที่มีบทบาทสำคัญในภาคอีสานคือการค้ารถยนต์โดยเฉพาะรถกระบะ เนื่องจากยานยนต์ถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวัน และยังมีบทบาทในการประกอบอาชีพโดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในอาชีพหลักของประชาชนในภูมิภาคนี้ความต้องการใช้รถยนต์เพื่อการขนส่งผลผลิตทางการเกษตร จึงทำให้ธุรกิจขายรถยนต์มีความเติบโตและมีความสำคัญอย่างต่อเนื่อง
อีกหนึ่งภาคธุรกิจที่มีความมั่นคงและดำเนินกิจการมาอย่างยาวนานกว่า 60 ปีในภาคอีสาน คือ ภาคการผลิต ซึ่งเติบโตควบคู่กับการเป็นแหล่งแรงงานสำคัญของประเทศภาคอีสานมีประชากรราว 1 ใน 3 ของประเทศ โดยมีแรงงานวัยทำงานประมาณ 9.3 ล้านคนและมากกว่าครึ่งหนึ่งทำงานในภาคเกษตรกรรม ทำให้ภาคการผลิตในอีสานไม่เพียงแต่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาค แต่ยังมีบทบาทสำคัญในระดับประเท โดยเฉพาะโรงงานผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งล้วนเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ส่งผลให้โรงงานเหล่านี้สามารถดำเนินกิจการต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปีและยังคงมีบทบาทในการส่งเสริมการจ้างงานและพัฒนาเศรษฐกิจของอีสานอย่างยั่งยืน
ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า ธุรกิจที่สามารถยืนหยัดได้มากกว่า 60 ปีในภาคอีสาน ไม่ใช่เพียงแค่การอยู่รอด แต่คือการสร้างคุณค่า สร้างโอกาส และเป็นรากฐานที่มั่นคงของสังคมและเศรษฐกิจ
ธุรกิจ 60 ปี เสมือนคนวัยเกษียณ?
ภาพจาก Product Life Cycle (With Diagram)
4 Stages การเติบโตของธุรกิจ
Stages 1 | ช่วงเริ่มต้น
- ธุรกิจใช้เงินลงทุนมาก ทำการตลาด ขยายฐานลูกค้า
หาความรู้แฟรนไชส์
ขอคำแนะนำแฟรนไชส์ซอร์
Stages 2 | ช่วงเติบโต
- ธุรกิจมีฐานลูกค้า มีรายได้ มีการขยายสาขา
ตรวจสอบกระแสเงินสด
พัฒนาทีมงานให้แข็งแกร่ง
Stages 3 | ช่วงอิ่มตัว
- ธุรกิจเติบโตเต็มที่ มีรายได้ มีกำไร มีสาขามาก
ปรับตัวธุรกิจให้เข้าสถานการณ์
ติดตามข่าวสารธุรกิจอื่นๆ
Stages 4 | ช่วงถดถอย
- ธุรกิจถดถอย ยอดขายลดลง ลูกค้าหาย เสียส่วนแบ่งทางตลาด
ขายกิจการให้คนอื่น
พัฒนาสินค้า-บริการใหม่
ทำอย่างไร? ให้ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าอยู่ในตลาดได้นานขึ้น
กลยุทธ์ปรับปรุงสินค้าในขั้นเจริญเติบโต
- เพิ่มรูปลักษณ์ใหม่ของสินค้า เนื่องจากเมื่อจำนวนลูกค้ามากขึ้น ความต้องการที่หลากหลายย่อมเกิดขึ้น ผู้ประกอบการและ SME อาจต้องเพิ่มขนาดบรรจุ เพิ่มกลิ่น หรือเพิ่มรสชาติใหม่
- ขยายช่องทางการจำหน่าย เพราะจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นมาจากหลายพื้นที่ ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องขยายช่องทางการจำหน่ายให้กว้างขวางขึ้น เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสะดวกในการซื้อ
- ส่งเสริมการตลาดให้เกิดความชอบในตราสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของการโฆษณาต้องเปลี่ยนจากการสร้างการรับรู้ (Awareness) มาสู่การสร้างความชอบในตัวสินค้า (Preference) เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าของเราแทนการซื้อสินค้าของคู่แข่งขัน
กลยุทธ์ปรับปรุงสินค้าในขั้นอิ่มตัว
- ปรับปรุงตลาด โดยการเข้าสู่ตลาดใหม่ที่ลูกค้ามีศักยภาพที่จะซื้อสินค้าได้ และอาจจะใช้การเพิ่มความถี่ในการใช้งานหรือเพิ่มโอกาสในการใช้สินค้าให้แก่ลูกค้าเดิมก็ได้
- ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้ดีขึ้น ปรับปรุงรูปลักษณ์ของสินค้าให้ดูทันสมัยยิ่งขึ้น และปรับปรุงสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป
- ปรับปรุงส่วนประสมทางการตลาด อาทิ การลดราคาสินค้าลงจากเดิม เพราะต้นทุนในการผลิตต่อหน่วยลดลงจากการผลิตจำนวนมาก หรือการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ เช่น การตลาดออนไลน์
กลยุทธ์การตลาดในขั้นยอดขายตกต่ำ
- เร่งระบายสินค้าออกจากตลาด เมื่อแนวโน้มสินค้ากำลังจะไม่เป็นที่ต้องการตลาด และระบายไปยังตลาดใหม่ที่ผู้บริโภคยังไม่รู้จัก หรือยังไม่อิ่มตัวกับสินค้า
- เดินหน้าผลิตสินค้าเดิม เพราะการเลิกใช้สินค้าของลูกค้าไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีทันใด ดังนั้นผู้ประกอบการและ SME จึงยังคงจำหน่ายสินค้าให้แก่กลุ่มลูกค้าที่เข้ามาทีหลังได้ เช่น กาแฟรสชาติธรรมดายังสามารถจำหน่ายให้แก่ลูกค้าที่เพิ่งหัดดื่มกาแฟได้ เป็นต้น
- ปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสามารถทำได้ทั้งการเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์และการปรับแต่งคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ เพื่อถึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ หรือเพิ่มอัตราการใช้ต่อคนให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยดึงดูดใจลูกค้าและขับเคลื่อนยอดขายให้ไปต่อได้
อีกทั้งยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อธุรกิจที่มีความทันสมัยเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ซึ่งการปรับเปลี่ยนปรับปรุงสินค้าอาจใช้เงินจำนวนน้อยกว่าการพัฒนาผลิตสินค้าใหม่ได้หลายเท่า ทั้งยังช่วยสร้างความจงรักภักดีของลูกค้าในตลาดที่คุณแข่งขันอยู่จนทำให้ธุรกิจคู่แข่งออกไปจากตลาดเองอีกด้วย
ที่มา:
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
- ชวนรู้จักกลยุทธ์ปรับปรุงสินค้าเดิมเพื่อเพิ่มยอดขาย สร้างรายได้ผ่าน Product Life Cycle, ธนาคารกรุงเทพ
- 4 Stages การเติบโตของธุรกิจ, 4 ThaiFranchiseCenter.com